[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 05:17:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “หยก” อัญมณีล้ำค่าของชาวจีน  (อ่าน 166 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 มิถุนายน 2566 14:16:28 »



เปิดที่มาคำว่า “หยก” อัญมณีล้ำค่าของชาวจีน

ผู้เขียน - ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2566


เมื่อพูดถึงเครื่องประดับที่นำมาตกแต่งกายให้สวยงามแล้วนั้น หลายคนคงจะนึกถึง เพชร พลอย หรือทับทิม ฯลฯ แต่อีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ “หยก” ซึ่งเป็นอัญมณีที่คนจำนวนมากมองว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ผู้สวมใส่มีความเจริญรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยโชคลาภ

หลายคนคงทราบดีว่าคำว่าหยกนั้นน่าจะมาจาก “ภาษาจีน” แต่เนื่องจากประเทศจีนนั้นเต็มไปด้วยชนกลุ่มต่างๆ มากมาย แล้วสรุปว่าคำว่าหยกมาจากจีนกลุ่มภาษาอะไร?

วรศักดิ์ มหัทธโนบล ที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายถึงคำว่า “หยก” ผ่านบทความ “คำจีนสยาม : หยก” ใน “มติชน สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 26 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549” ไว้ว่า

“หยกที่กําลังจะกล่าวถึงนี้ หมายถึง หินเนื้อละเอียด แข็ง มีหลายสี ใช้ทำเครื่องประดับและของใช้ ถือว่าเป็นของมีค่าและเป็นมงคล ด้วยเหตุที่เป็นเครื่องประดับและของใช้ หยกจึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

คำว่าหยกเป็นคําในภาษาจีนฮกเกี้ยน เสียงจริงๆ นั้นออกค่อนข้างยาก คือออก ทํานองว่า ‘จี-ยก’ โดยออกเร็วๆ และเสียงจะขึ้นจมูกเล็กน้อย ส่วนเสียงจีนกลางออกว่า ‘อวี่’ หรือ ‘ยวี่’ (yu)

การที่คําว่าหยกมาจากเสียงจีนฮกเกี้ยนดังกล่าว ทําให้เห็นได้ว่า หยกคงจะได้เข้ามายังสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างช้า เพราะในสมัยนี้คนจีนที่เข้ามายังราชสํานักสยามโดยมากมักเป็นจีนฮกเกี้ยน และคนจีนฮกเกี้ยนก็คงจะเรียกหยกตามสําเนียงพูดของตนเองและทําให้ไทยรับมาด้วย แต่ถ้าดูจากที่ไทยมีความสัมพันธ์กับจีนมา ก่อนที่อยุธยาจะรุ่งเรืองแล้ว ก็น่าเชื่อว่าหยกอาจจะเข้ามาก่อนหน้าสมัยที่ว่านี้ก็ได้

กล่าวสําหรับสังคมจีนแล้วหยกในฐานะเครื่องประดับหรือของใช้นั้น ได้ปรากฏมานานหลายพันปีแล้ว เท่าที่ได้มีการขุดค้น พบว่าหยกมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (1600-1100 ก่อนค.ศ.) กล่าวคือ ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีก่อน

หยกที่ค้นพบนี้มีอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นแท่งสี่เหลี่ยมสูงประมาณฟุตเศษ ๆ กว้างยาวไม่ถึง 1 นิ้ว มีสีเขียวเข้มและถูกสลักเสลาอย่างงดงาม ที่น่าสนใจคือ มีบางส่วนถูกสลักเป็นรูปสัตว์ประหลาดที่จีนเรียกว่า ‘เทาเที่ย’ (Taotie) อันเป็นสัตว์ที่อยู่ในความเชื่อของจีนในเวลานั้น

อย่างไรก็ดี แม้หยกจะปรากฏหลักฐานว่ามีขึ้นในสมัยราชวงศ์ซางก็จริง แต่ก็หวังกันว่าหากการขุดค้นพบมีความก้าวหน้ามากขึ้น บางทีจะพบว่าหยกอาจมีมาก่อนหน้านั้นก็ได้ แต่กระนั้น นับจากราชวงศ์ซางไปจนเมื่อจีนเข้าสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วหยกก็อยู่คู่สังคมจีนมาโดยตลอด

‘หยก’ ในสังคมจีนนอกจากจะเป็นเครื่องประดับและของใช้แล้ว ยังเป็นสิ่งมงคลในความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย บ้างก็ว่าหยกมีคุณภาพดีนั้น สามารถทําปฏิกิริยากับสิ่งเป็นพิษได้ เช่น หากสงสัยว่าเครื่องดื่มที่อยู่ตรงหน้ามีผู้ลอบวางยาพิษหรือไม่ ก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการนำหยกจุ่มลงในถ้วยหรือแก้วเครื่องดื่มและหากมีพิษจริงหยกก็จะกลายสีไปทันที (ด้วยว่าถูกยาพิษกัด)

บางความเชื่อก็ว่าหยกเป็นเครื่องรางของขลังที่สามารถปกป้องชีวิตได้ เช่น เชื่อว่า หากหยกที่สวมใส่เป็นเครื่องประดับอยู่จู่ ๆ ก็เกิดแตกร้าวหรือหักขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ แสดงว่าเจ้าของหยกกําลังมีเคราะห์ร้าย

ความเชื่อนี้ถูกอธิบายว่า ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหยกเป็นหินที่มีความเย็นแฝงอยู่ ส่วนคนที่กําลังมีเคราะห์นั้นจะมีความร้อนแฝงภายใน (เพราะเคราะห์ร้ายกําลังมาเยือนและโดยที่เจ้าตัวไม่รู้)

และความร้อนแฝงนี้เองที่จะไปสู้กับความเย็นแฝงของหยกที่ประดับกาย ถ้าเคราะห์เบาหยกก็แค่ร้าว ถ้าเคราะห์หนักหยกก็แตก เป็นต้น






หยกผักกาดขาว สมัยราชวงศ์ชิง ภาพจาก National Palace Museum (Taipei, Taiwan)

นอกจากนี้บางความเชื่อยังไปไกลถึงขั้นที่ว่าหยกสามารถป้องกันรักษาชีวิตได้อย่างฉับพลันทันที คือพลันที่เจอเหตุร้าย เจ้าตัวก็จะรอดด้วย หยกป้องกันเอาไว้ โดยหยกจะต้องแตกหักไป

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าหยกจะอยู่ในฐานะเครื่องประดับหรือของใช้ก็ตาม สิ่งที่ทําให้หยกแตกต่างไปจากสิ่งของประเภทเดียวกัน ก็คือความเชื่อนั่นเอง ทุกวันนี้แม้จะมีหินมีค่าคล้ายกับหยกอยู่ไม่น้อยที่ถูกนำมาอธิบายความเชื่อดังกล่าวที่คล้ายกัน แต่ก็ดูเหมือนว่า จะไม่มีหินมีค่าใดที่จะถูกทําให้เชื่อได้มากเท่ากับหยก ที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากเหตุที่หยกมีมาช้านานกว่า และถูกบอกเล่าในแง่ความเชื่อมากกว่านั่นเอง”

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2566 14:19:04 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.252 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 16:50:53