[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 ธันวาคม 2567 05:01:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี  (อ่าน 408 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5775


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2566 17:31:48 »




สาธุสะพระนอนสิงขรเขา   พระพุทธเจ้าหลวงสร้างแต่ปางหลัง
ยี่สิบวาฝากั้นเปนบัลลังก์    ดูเปล่งปลั่งปลื้มใจกระไรเลย    
พระเนตรหลับทับพระบาทไสยาสน์เหยียด   อ่อนละเมียดอาสนะพระเขนย
พระเจ้างามยามประธมน่าชมเชย           ช่วยรำเพยพัชนีนั่งวีลม
นิราศเมืองเพ็ชร ของสุนทรภู่

วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน)
ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี


วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) ตั้งอยู่บนถนนคีรีรัถยา ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยสังเกตจากพระพุทธไสยาสน์ ที่มีความยาวประมาณ ๔๓ เมตร องค์พระก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ในองค์พระเป็นโพรง ฝ่าพระบาทเขียนลายทองเป็นภาพปราสาท พระพรหม ฉัตรพระมหามงกุฎ บาตร คนโทน้ำ สังข์ พระขรรค์ ช้าง ปลา ถาดทอง พัดใบตาล พัดหางนกยูง ดอกบัวแก้ว เดิมสร้างไว้กลางแจ้ง ต่อมาได้สร้างหลังคาคลุมไว้ พร้อมทำผนังรอบองค์พระ นับเป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย

องค์พระพุทธไสยาสน์เป็นศิลปะอยุธยา  บรรทมอยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา เรียกว่า “สีหไสยาสน์” คือ ท่านอนแบบราชสีห์ บนแท่นสูง ๑ เมตร ลืมพระเนตร ผินพระพักตร์สู่เบื้องทิศใต้ (ตำราพระพุทธไสยาสน์จะสร้างให้หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก พระเศียรพุ่งสู่ทิศใต้ และมีแม่น้ำอยู่ด้านหน้า)  พระเศียรพุ่งตรงไปยังทิศตะวันตก ทอดพระวรกายเหยียดยาวไปทางทิศตะวันออก  พระกรขวาหงายพระหัตถ์ ตั้งรับประคองพระเศียรซึ่งหนุนด้วยพระเขนยทรงกลมซ้อนกัน ๓ ชั้น หน้าพระเขนยมีลายดาวปั้นประดับกระจกชั้นละดวง ไล่ขนาดจากเล็กไปใหญ่  พระพักตร์เรียวงดงาม พระนาสิกโด่ง พระขนงโก่งรับกับพระพักตร์ที่งดงาม พระโอษฐ์ยิ้ม มีเส้นขอบพระโอษฐ์  พระกรรณยาว ส่วนพระกรซ้ายวางบนพระวรกายแนบพระปรัศว์พระวรกายช่วงล่าง จนถึงพระบาทซ้อนอยู่ในแนวเดียวกัน   ฝ่าพระบาททั้งสองซ้อนทับทำมุมฉาก ที่ฝ่าพระบาทเขียนจิตรกรรมด้วยชาดประดับลวดลายมงคล ๑๐๘ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งมหาบุรุษ  ลักษณะพระนอนครองจีวรห่มดอง สังฆาฏิซ้อนกันสองชั้นเฉลียงจากไหล่ซ้ายลงมากลางพระอุระจรดพระนาภี ขอบสบงทำเป็นแถบหนา มีหน้านาง



ประวัติ :           เดิมองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้งบนไหล่เขาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระนครคีรี  ส่วนฝาผนังวิหารพระนอนนั้นน่าจะมีอยู่ก่อนแล้ว เพราะในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ท่านมาเมืองเพชรบุรี (สมัยรัชกาลที่ ๓) ได้มานมัสการพระนอน ระบุว่ามีฝาผนังแล้ว  ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำหลังคาสังกะสีคลุมองค์พระ  ต่อในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำฝาผนังขึ้นใหม่แทนของเก่าที่ชำรุด


พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่
             

พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ :                                                                                         ประดิษฐาน หน้าวิหารน้อยวัดพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) สร้างด้วยวัสดุสัมฤทธิ์ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑ เมตร ๕๐ เซนติเมตร สูง ๒ เมตร ๕๐ เซนติเมตร  ศิลปะอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (๒๑๗๒-๒๑๙๙) พุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศเมรุราย วัดไชยวัฒนาราม และวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  พระพักตร์อิ่ม เรียว พระโอษฐ์ยิ้ม มีเส้นขอบพระโอษฐ์ พระเนตรเหลือบต่ำ พระกรรณยาว สังฆาฏิซ้อนสองชั้นยาวเฉลียงจากพระอังสาซ้ายพาดยาวลงมากลางพระอุระ ปลายสังฆาฏิเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ห้อยลงมาเหนือพระนาภี (เช่นเดียวกับวัดไชยวัฒนาราม แต่ปลายสังฆาฏิของพระทรงเครื่องวัดหน้าพระเมรุตัดตรง) ประทับนั่งบนบัลลังก์ดอกบัว มีผ้าทิพย์ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกสี สร้างขึ้นใหม่ไม่ร่วมสมัยกับพระพุทธรูป แต่สันนิษฐานว่าครั้งก่อนคงจะเห็นฐานของพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะอยุธยาร่วมสมัยกับพระพุทธรูปอย่างชัดเจน
ประวัติ :                           เครื่องทรงของพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่เท่าที่ปรากฏอยู่บนองค์พระนี้ ประกอบด้วยมงกุฎทรงเทริด กุณฑลกรรเจียกจรทำด้วยแผ่นโลหะลายกระหนกเหลือติดอยู่ด้านหลังพระกรรณเพียงเล็กน้อย เครื่องทรงที่สวมพระพุทธรูปจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องทรงของกษัตริย์ ประกอบด้วย กรองศอ สรวมสังวาลสองเส้นเฉลียงพระอังสาทั้งสองห้อยยาวแนบบั้นพระองค์ มีทับทรวงวางทับสังวาลทั้งสองเส้นนั้นอยู่กึ่งกลางพระอุระ ทรงพาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท สวมพระธำมรงค์

ลักษณะโดยทั่วไปตามคติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องนี้ คือ ยกย่องกษัตริย์ให้เทียบเท่าพระพุทธเจ้าตามคติ “เทวราชา” และเปลี่ยนเป็น “พุทธราชา” ทำให้พระพุทธรูปทรงเครื่องนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์รวมระหว่างกษัตริย์กับพระพุทธเจ้าเข้าด้วยกัน แต่น่าเสียดายที่พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์นี้ถูกโจรกรรมเครื่องทรงที่กล่าวในข้างต้นเสียจนสิ้น คงไว้แต่ร่องรอยของความงดงามที่พอจะสังเกตได้บนองค์พระพุทธรูปเท่านั้น


"พระยืน" พระพุทธฉายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพเขียนบนผนังประทับยืนพระหัตถ์ทรงแสดงปางประทานอภัย












Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2566 17:36:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.362 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 23:25:36