[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 20:22:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเชื่อเรื่อง “เสามงคล” ของชาวล้านนา  (อ่าน 190 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2329


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2566 14:20:16 »





ความเชื่อเรื่อง “เสามงคล” ของชาวล้านนา

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2566




อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “เสามงกน” แปลว่า เสามงคล

เสา คือโครงสร้างหลักในการรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาหรือโครงสร้างพื้น สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่สร้างด้วยไม้ในล้านนาจะเริ่มก่อสร้างโดยการปักเสาลงดินหรือตั้งเสาบนตอม่อ

เสามงคล เป็นชื่อเรียกเสาต้นแรกที่ตั้งหรือปักขึ้น แล้วยึดประกอบกับเสาต้นที่สองที่สามต่อเนื่องกันไป เสามงคลนี้มีความสำคัญเป็น “เสาเอก” ตามที่รู้จักกันในสังคมไทย บางท้องที่เรียกว่า “เสาขวัญ” เสาที่ตั้งถัดไปจากเสาเอกเป็นต้นที่สองล้านนาเรียกว่า “เสานาง” ภาคกลางรู้จักอีกชื่อว่า “เสาโท”

หลังจากที่ปราชญ์ชุมชนได้ช่วยเลือกบริเวณจะสร้างเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่สำคัญ โดยใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษที่สะสมความรู้จนเชี่ยวชาญและสั่งสอนสืบต่อกันมาหลายช่วงอายุ บางแห่งมีการบันทึกองค์ความรู้ในรูปแบบจารลงใบลานหรือเขียนลงปั๊บ (หนังสือ) ความรู้และจารีตในการเตรียมก่อสร้างอาคาร

มีพิธีกรรมเสี่ยงทายเลือกที่ตั้งอาคารโดยพิจารณาจากคุณลักษณะดิน เช่น สัณฐาน สี กลิ่น รส และความชื้น การเสี่ยงทายอาจแตกต่างกันบ้างตามท้องที่ เช่น การขุดโพรงดินเพื่อทดสอบการกักเก็บไข่ ใบไม้ ฯลฯ

ช่วงข้ามวันข้ามคืน พิธีกรรมที่สำคัญมากคือการตั้งเสามงคล ชะตาเกิดของเจ้าของเรือนหรืออาคารจะถูกนำมาพิจารณาในการประกอบพิธีกรรมการลงเสาเอก ชะตาเกิดของคนจะเกี่ยวข้องกับดวงดาวซึ่งสัมพันธ์กับธาตุทั้งสี่ ช่วงเวลาเกิดและเดือนปีก็เป็นส่วนประกอบในดวงชะตา

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับพญานาคเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนที่นำมาพิจารณาความเหมาะสมในการเลือกวัน เวลา และข้อปฏิบัติในการลงเสามงคล

ทิศเป็นอีกสิ่งที่สำคัญในการจัดเรียงตั้งแนวเสาอาคาร ซึ่งระบบการวางผังเสาอาคารจะสอดคล้องไปกับทิศทางการหันหน้าอาคาร หน้าเรือนในล้านนาให้ความสำคัญกับทิศใต้

รองลงมาคือทิศเหนือ ส่วนอาคารทางพุทธศาสนาที่มาภายหลังศาสนาผีเดิม ได้ให้ความสำคัญต่อการหันหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเป็นอันดับแรก แต่มีข้อยกเว้นของการหันหน้าอาคารหลักทางพุทธศาสนาที่หันไปทางทางสัญจรหลัก เช่น แม่น้ำ หรือถนน




เสามงคลได้แก่ต้นซ้ายสุด
เสามงคลเป็นเสาต้นแรกในสุดของห้องนอน ตำแหน่งหัวนอนพ่อเรือน
ถัดมาเสาต้นที่สองเป็นเสานาง ตำแหน่งหัวนอนแม่เรือน


พิธีกรรมตั้งเสามงคล เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น เช่น แม่พระธรณี รุกขเทวดา พญานาค และเจ้าที่ รวมทั้งการสักการะและขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกปักคุ้มครองและช่วยให้มีความเป็นอยู่และชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง ในล้านนาพิธีกรรมการตั้งเสาเอกอาคารมีการผสมผสานความเชื่อศาสนาผี พราหมณ์ และพุทธเข้าด้วยกัน มีการไหว้ผีเจ้าที่ ผีป่าเขาและแหล่งน้ำ

หลังจากนั้นจะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ (พิธีบูชาพระอินทร์ เทวดาผู้เป็นใหญ่ทั้งสี่ทิศ และแม่พระธรณี) จากนั้นในยุคหลังนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์

เสามงคลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเจ้าเรือนที่เป็นผู้นำครอบครัวเป็นอย่างมาก แสดงถึงสถานะของผู้นำและการทำหน้าที่ และทรงไว้ซึ่งผู้ที่ต้องเป็นที่เคารพเชื่อฟังสูงสุดของสมาชิกในครอบครัว

เสามงคลยังเป็นที่อัญเชิญวิญญาณบรรพบุรุษมาสิงสถิต นิยมทำห้องบูชาบนเสามงคลหรือสร้างหิ้งระหว่างเสามงคลและเสานาง เสามงคลกำหนดเป็นทิศหัวนอนเจ้าบ้าน ทางด้านซ้ายของเจ้าบ้านเป็นที่นอนของภรรยาซึ่งหันหัวตรงกับเสานาง

ด้วยเสามงคลเป็นเสาต้นแรกและอยู่ในห้องนอนส่วนที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดของเจ้าเรือนคืออยู่มุมด้านในสุดของห้อง

เสามงคลจึงเปรียบเป็นที่อยู่ของขวัญเขาเจ้าเรือนเช่นกัน •


 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความเชื่อเรื่อง "โชคลาง"
สุขใจ ตลาดสด
Kimleng 1 2430 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2555 23:57:38
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความเชื่อเรื่อง “ลั่นทม”
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 3059 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2558 16:34:36
โดย Kimleng
พิธี การเสียผี หรือผิดผี ของชาวล้านนา
สุขใจ ตลาดสด
Kimleng 0 21945 กระทู้ล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2559 13:00:08
โดย Kimleng
ความเชื่อเรื่อง เวทมนตร์คาถา ในสมัยอยุธยา นิยมทั้งราษฎรไปจนถึงราชสำนัก
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
หมีงงในพงหญ้า 0 698 กระทู้ล่าสุด 07 สิงหาคม 2564 10:46:05
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความเชื่อเรื่อง “เวทมนตร์คาถา” สมัยอยุธยา? นิยมทั้งราษฎรไปจนถึงราชสำนัก
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
ใบบุญ 0 49 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2567 15:45:28
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.243 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 เมษายน 2567 19:06:10