[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:25:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอินทร์ เทพแห่งพายุฝน  (อ่าน 205 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2566 15:40:28 »


พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จำลองมาจากภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
หรือสมเด็จครู  ซึ่งทรงวาดถวายรัชกาลที่ ๖


พระอินทร์ เทพแห่งพายุฝน

ในวัฒนธรรมของโลกตะวันออก ”เทพแห่งพายุฝน” ถือเป็นเทพเจ้าเก่าแก่กลุ่มแรกๆ ที่ได้รับการสักการบูชา เนื่องจากมนุษย์เชื่อว่าเป็นเทพเจ้าที่มีอิทธิฤทธิ์และอำนาจในการดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่โลกมนุษย์และจักรวาล ซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่ยังคงดำรงชีพด้วยการเพาะปลูกและทำการเกษตรโดยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก

เทพแห่งพายุฝนองค์แรกๆ ที่ถูกกล่าวถึงในสมัยพระเวทอันเป็นยุคสมัยที่เรียนขานตามชื่อคัมภีร์พระเวทที่เป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นั้น คือ ”พระอินทร์” โดยพบว่าในคัมภีร์ฤคเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดของพระเวทมีบทสดุดีสรรเสริญพระอินทร์โดยลำพังอยู่มากถึง ๒๕๐ บท ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสี่ส่วนของคัมภีร์

ตามเรื่องราวที่ปรากฏในคัมภีร์พระเวท พระอินทร์เป็นเทพเจ้าสำคัญจัดอยู่ในกลุ่มเทพที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ เป็นผู้ปกครองสวรรค์และเป็นประมุขของเหล่าทวยเทพ ทั้งเป็นผู้อภิบาลมนุษย์โลก มีหน้าที่สำคัญคือการปราบอสูรวฤตระหรืออสูรแห่งความแห้งแล้งและความมืด เพื่อยังให้เกิดน้ำและแสงสว่างแก่โลก

เทวลักษณะของพระอินทร์ตามคัมภีร์พระเวทนั้น มีพระวรกายเป็นสีทองอำพัน มีศัตราวุธประจำพระองค์ ได้แก่ วัชระ ลูกธนูกับคันศร อังกุศะ และชาละ มีช้างเอาราวันเป็นเทพพาหนะ ซึ่งทั้งศัตราวุธและเทพพาหนะล้วนมีนัยแห่งรูปลักษณ์และอานุภาพที่เชื่อมโยงกับท้องฟ้าและพายุฝนทั้งสิ้น




ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  จังหวัดสมุทรปราการ


ศัตราวุธและเทพพาหนะของพระอินทร์

วัชระ หรือ สายฟ้า มีชื่อเรียกว่า “วชิราวุธ” เป็นศัตราวุธที่มีลักษณะเป็นแฉกคมกล้าดั่งเพชรและทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ดุจเดียวกับสายฟ้าที่พาดผ่านโลก

ลูกธนู และ คันศร เป็นศัตราวุธที่เชื่อมโยงกับท้องฟ้า

กล่าวกันว่าคันศรของพระอินทร์เปรียบได้กับสายรุ้ง ส่วนลูกธนูที่ยิงออกจากมหาคันศรนั้นมีอานุภาพและรังสีร้อนแรงดุจแสงอาทิตย์ ทั้งยังยิงออกกระจายได้ดั่งสายฝน

อุงกุศะ หรือ ขอสับช้าง เป็นศัตราวุธที่พระอินทร์ใช้เพื่อประทานความมั่งคั่งให้แก่ผู้เซ่นสรวงบูชาพระองค์ และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับ ช้างเอราวัณ เทพพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งเป็นช้างที่มี ๓๓ เศียร ทั้งนี้ในวัฒนธรรมอินเดียเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์ให้น้ำ เนื่องจากมีผิวสีเทาเหมือนสีของเมฆฝน และมีงวงคล้ายกับนาคที่สามารถพ่นน้ำได้ ช้างจึงเป็นสัตว์มงคลที่ใช้แทนสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และการที่พระอินทร์มีอังกุศะเป็นศัตราวุธนี้ปรากฏในคัมภีร์อาถรรพ์เวท โดยเปรียบเทียบอากาศว่าเป็นดั่งข่ายของพระอินทร์

นอกจากนี้ในคัมภีร์อื่นๆ เช่น คัมภีร์มหาภารตะ ได้กล่าวถึงศัตราวุธชนิดอื่นของพระอินทร์ เช่น ปาศะ (บ่วงบาศ) ใช้ต่อสู้กับท้าวพลิ ดาบ และ เกราะ ใช้ต่อสู้กับเหล่าอสูร และ สังข์เทวทัตตะ ซึ่งพระอินทร์นำมาใช้สอนอรชุน

ต่อมาในช่วงสมัยหลัง พระอินทร์ไม่ได้รับการสรรเสริญบูชาในฐานะเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่อีกต่อไป ทั้งยังมีบทบาทรองจากเทพตรีมูรติ กระทั่งชื่อของพระอินทร์ก็กลายเป็นเพียงชื่อตำแหน่งของเทพเจ้าองค์หนึ่งเท่านั้น  ครั้นเมื่อศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มาถึงดินแดนไทย  พระอินทร์ได้ถูกกล่าวถึงในนามท้าวสักกเทวราชผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนา และเป็นเทพประจำทิศตะวันออก  ลักษณะเด่น คือ มีพระวรกายสีขาวและทรงช้างเอราวัณ

อย่างไรก็ดี พระอินทร์ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อสังคมวัฒนธรรมไทย ในฐานะท้าวสักกเทวราช และยังคงเป็นเทวดาที่มีอิทธิฤทธิ์ในการดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อันเป็นคุณลักษณะสำคัญที่สืบทอดมาจากความเป็นเทพแห่งพายุฝนในสมัยพระเวท หากแต่บทบาทสำคัญที่โดดเด่นกลับเป็นบทบาทในการบำรุงพระพุทธศาสนาและผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มากกว่า ดังเห็นได้จากการประกอบพระราชพิธีพรุณศาสตร์ซึ่งเป็นพระราชพิธีขอฝนอย่างโบราณที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่แม้จะมีการบูชาพระอินทร์และเทพยดาองค์อื่นๆ ที่ดลบันดาลให้เกิดฝน แต่กลับสรรเสริญและให้ความสำคัญกับพระสุภูตมหาเถรเจ้าซึ่งเป็นผู้อาราธนาขอฝน ขณะที่ชาวบ้านและเกษตรกรในชนบทจะนิยมขอฝนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พญาแถน หรือสวดบูชาสัตว์ให้น้ำ เช่น พญานาค พญาคันคาก หรือปลาช่อน ฯลฯ ตามความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น มากกว่าการบูชาพระอินทร์ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ให้ฝนในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

ส่วนช้างเอราวัณ เทพพาหนะของพระอินทร์ก็ได้รับการสักการะในฐานะเทพที่ดลบันดาลให้เกิดความมั่งมีแทนที่การเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะแนวคิดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนจากความต้องการให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลไปเป็นความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเดิมเคยดำรงอยู่ในฐานะเทพแห่งพายุฝน จึงถูกบูชาในฐานะเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยที่ให้เงินทอง ให้หวย และให้โชคลาภแทนนั่นเอง



ที่มาข้อมูล : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.617 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 16:38:15