[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 12:13:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วาทะ ท่านคุรุนาคารชุน  (อ่าน 8254 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2553 14:11:25 »




วาทะ ท่านคุรุนาคารชุน
ปณามคาถา.

“ พระมหาสมณะอันบังเกิดในภัทรกัลป์นี้ พระองค์ใดนามว่า โคตม
ผู้ทรงแสดงธรรมดุจกระทำสิ่งที่คว่ำให้หงาย
แลเป็นผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราชด้วยคุณอันเป็นจริงนั้น

ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระมหาสมณะพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า”

“ ธรรมเหล่าใดอันบังเกิดแล้วแต่พระมหาสมณะนั้น
ย่อมยังจิตแห่งชนทั้งหลายเหล่าใดให้เกษม
ด้วยคุณนั้นขอความเป็นผู้มีจิตอันเกษม จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าในบัดดล”

“สงฆ์สาวกแห่งพระมหาสมณะนั้นเหล่าใด
ประพฤติการอันสมควรแก่การดับทุกข์แล้วไซร้
ข้าพเจ้าจักบูชาองค์แห่งคุณนั้นด้วยมโนทวาร”

“คุรุใดบังเกิดในบวรพระพุทธศาสนานี้แล้วไซร้
มีนามว่า นาคารชุน ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณมีทาน ศีล เป็นต้น
ด้วยการกล่าวองค์คุณแห่งความเป็นจริงในพระรัตนตรัยนั้น

ขอความสวัสดีจงบังเกิดมี

แลขอข้าพเจ้าปริวรรตคัมภีร์อันมีนามว่า มหายานวีสติศาสตร์
อันคุรุนาคารชุน รจนาไว้ดีแล้วนั้น
จงสำเร็จลุล่วงไปด้วยเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนทั้งหลาย”


大乘二十頌論 [ มหายานวีสติคาถาศาสตร์ ]
คุรุนาครชุน รจนา

พระตรีปิฏกธราจารย์ทานปาละ พากษ์จีน
สามเณรศุภโชค ตีรถะ พากษ์ไทย


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2553 15:35:58 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2553 14:26:46 »




คุรุนาคารชุน(บรมครูมหายาน)


歸命不可思議性  諸佛無著真實智
諸法非言非無言  佛悲愍故善宣說

“อันว่าความเคารพนอบน้อมที่มิได้คำนึงในภาวะ
เหล่าพุทธะผู้ไม่ขัดข้องในปรมัตถ์สัจจะโดยปัญญา
ธรรมทั้งหลายมิใช่มิกล่าวไม่ใช่ไร้การกล่าว
ด้วยความเมตตาแห่งพุทธะจักกล่าวคำอันเป็นกุศล”



第一義無生  隨轉而無性
佛眾生一相  如虛空平等

“ปรมัตถ์สัจจะไร้การเกิด
ตามการเปลี่ยนแปลงแลอภาวะ
พุทธะแลสรรพสัตว์เป็นเอกลักษณะ
ประดุจสูญญตาอันสมภาพ”



此彼岸無生  自性緣所生
彼諸行皆空  一切智智行

“นั้นแลคือฝั่งแห่งนิพพาน
สวภาวะเป็นปัจจัยแห่งการเกิด
มรรคาทั้งหลายนั้นล้วนเป็นศูนยตา
รวมถึงมรรคาแห่งสัพพัญญู”



無染真如性  無二等寂靜
諸法性自性  如影像無異

“ไร้ปรารถนาในภูตตถตาภาวะ
แลที่ไม่เป็นสองนั้นคือนิพพาน
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
ประดุจดังภาพสะท้อนอันไร้แตกต่าง”



凡夫分別心  無實我計我
故起諸煩性  及苦樂捨等

“ปุถุชนผู้แบ่งแยกจิต
ไร้ภูตตถตาหาตรรกในตัวตน”
ย่อมยังให้บังเกิดบรรดากุกกุจจะภาวะ
แลทุกขภาวะ สุขภาวะ อุเบกขาภาวะเป็นอาทิ



世間老病死  為苦不可愛
隨諸業墜墮  此實無有樂

“โลกนี้ความชราความเจ็บไข้แลมรณา
เป็นทุกข์อันมิน่าปรารถนา
คล้อยตามลงสู่กรรมทั้งหลาย
นั้นคือความจริงอันไร้สุข ”



天趣勝妙樂  地獄極大苦
皆不實境界  六趣常輪轉

“สวรรค์คติอันวิจิตรตระการตาแลสุขอันเป็นเลิศ
นรกอันเป็นยอดแห่งทุกข์อันยิ่งใหญ่”
เพราะต่างก็มิเข้าใจในสัจจะ
จึงยังหมุนเวียนในคติทั้งหกนี้เป็นนิจ



眾生妄分別  煩惱火燒燃
墮地獄等趣  如野火燒林

“สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นผิดย่อมแบ่งแยก
กิเลศคือไฟอันร้อนแรง
เมื่อคล้อยตามย่อมตกสู่นรกคติเป็นอาทิ
อุปมาดังไฟที่แผดเผดป่าไม้ฉันนั้น”



眾生本如幻  復取幻境界
履幻所成道  不了從緣生

“มูลเดิมแห่งสรรพสัตว์นั้นดังมายา
ย้อนคืนสู่อุปทานมายาเขต
ประพฤติในมายาสู่สำเร็จมรรค
ย่อมไม่ย้อนกลับเป็นปัจจัยให้บังเกิด”



如世間畫師  畫作夜叉相
自畫己自怖  此名無智者

“อุปมาดั่งศิลปาจารย์ในโลกนี้
รังสรรค์ยักษลักษณะ
คือตนแสดงความหวั่นกลัวแห่งตน
จึงได้ซื่อผู้ไร้ปัญญานัก”



眾生自起染  造彼輪迴因
造已怖墜墮  無智不解脫

“สรรพสัตว์ใดที่บังเกิดความด่างพร้อยในตน
กล่าวว่านั้นคือเหตุของสังสารวัฏ
แลกล่าวว่าหากน้อมลงสู่ความกลัวแห่งตน
คือไร้ปัญญาหาใช่วิมุตติไม่”



眾生虛妄心  起疑惑垢染
無性計有性  受苦中極苦

“สัตว์หมู่ใดลวงหลอกเข้าใจผิดในจิต
ย่อมบังเกิดวิจิกิฉากิเลศเครื่องเศร้าหมองอันเป็นมลทินแลด่างพร้อย
ไร้สภาวะแต่กับคิดหาสภาวะ
ย่อมได้รับทุกข์เวทนาแลมีเวทนานั้นแลเป็นที่สุดรอบ”



佛見彼無救  乃起悲愍意
故發菩提心  廣修菩提行

“พุทธทัศนะนั้นไร้การอ้อนวอน
แต่ถึงกระนั้นบังเกิดความเมตตากรุณาด้วยเจตนา
ย่อมกระทำการตั้งโพธิจิต
อันเป็นแบบประพฤติในโพธิมรรค”



得無上智果  即觀察世間
分別所纏縛  故為作利益

“ย่อมสำเร็จในอนุตริยะปัญญาผล
จักบังเกิดเจโตปริญญาญาณบนโลก
การแบ่งแยกในกุศลพันธะ
กระทำไซร้นั้นเพื่อการแห่งประโยชน์ ”



從生及生已  悉示正真義
後觀世間空  離初中後際

“จากการบังเกิดแลบังเกิดแล้ว
ย่อมแสดงความถูกต้องแห่งปรมัตถสัจจะ
หลังการพิจารณาโลกนี้คือความว่าง
ย่อมละจุดกำเนิดที่เริ่มต้น”



觀生死涅盤  是二俱無我
無染亦無壞  本清淨常寂

“หากพิจารณาการเกิดตายแลนิพพาน
ก็แค่สองคำคือไร้ตน
มิด่างพร้อยอีกทั้งมิแปรปรวน
มูลเดิมบริสุทธิ์แลสงบเป็นนิจ”



夢中諸境界  覺已悉無見
智者寤癡睡  亦不見生死

“ในขอบเขตกึ่งกลางแห่งความฝันทั้งหลายนั้น
โพธิอันบริบูรณ์แล้วย่อมไร้ทัศนะ
ปัญญานั้นมีลักษณะคลายจากถีนมิทธะ
อีกทั้งมิพานพบการเกิดแลการตาย”



愚癡闇蔽者  墜墮生死海
無生計有生  起世間分別

“อันโมหะวิจิกิฉาแลความหลอกลวงปิดบังนั้น
หากคล้อยตามก็ย่อมลงสู่ทะเลแห่งทะเลแห่งความเกิดตาย
ไร้บังเกิดแต่กลับคิดหาความบังเกิด
ย่อมบังเกิดความแบ่งแยกให้โลกนี้”



若分別有生  眾生不如理
於生死法中  起常樂我想

“หากแบ่งแยกในภาวะ
สรรพสัตว์นั้นไม่สมดังเหตุผล
ในการเกิดดับในธรรมนั้น
บังเกิดสัญญาในความสุขของตน”



此一切唯心  安立幻化相
作善不善業  感善不善生

“สิ่งทั้งหลายนั้นสักแต่ว่าจิต
ความสงบสุขนั้นบังเกิดเป็นมายาแลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะ
กระทำกุศลมิใช่กุศลกรรม
สัมผัสกุศลกุศลไม่บังเกิด”



若滅於心輪  即滅一切法
是諸法無我  諸法悉清淨

“หากนิโรธในจิตอันเปลี่ยนแปลง
ก็บังเกิดนิโรธในธรรมทั้งหลาย
คือสรรพธรรมนั้นเป็นอนัตตา
ธรรมทั้งหลายนั้นย่อมบริสุทธิ์”



佛廣宣說世間法  當知即是無明緣
若能不起分別心  一切眾生何所生

“พระพุทธเจ้าผู้ประกาศธรรมธรรมในโลกนี้
ย่อมทราบเหตุปัจจัยในการบังเกิดของอวิชชา
หากสามารถบังเกิดการไม่แบ่งแยกแห่งจิต
สรรพสัตว์จักเกิดได้แต่ที่ไหน”



於彼諸法法性中  實求少法不可得
如世幻師作幻事  智者應當如是知

“ในธรรมทั้งหลายนั้นธรรมภาวะอันเป็นกลาง
ด้วยสัจจะนั้น หากจะขอให้ธรรมนั้นมีน้อยย่อมเป็นบ่มิได้
ประดุจดังมายาจารย์ในโลกกระทำมายากิจ
ปัญญานั้นพึงทราบดังเช่นนี้”



生死輪迴大海中  眾生煩惱水充滿
若不運載以大乘  畢竟何能到彼岸

“ในสังสารวัฏอันมีเกิดตายที่มากมาย
สรรพสัตว์มีความรำคาญฟุ้งซ่านดังน้ำที่อัดแน่น
หากมิขับเคลื่อนในมหายาน
ท้ายที่สุดนั้นอะไรสามารถถึงฝั่งแห่งนิพพาน”



ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เว็ปไซด์ ลานธรรมเสวนา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2553 15:46:25 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2553 16:21:32 »




ท่านนาคารชุนะ

ปรัชญามหายาน นิกายศูนยตวาทิน (มาธยามิกะ)

อาจารย์นาคารชุนได้ประกาศทฤษฎีศูนยตวาทินด้วยอาศัย
หลักปัจจยการและอนัตตาของพระพุทธองค์เป็นปทัฏฐาน ท่านกล่าวว่า
สังขตธรรม อสังขตธรรม*
มีสภาพเท่ากันคือสูญ ไม่มีอะไรที่เป็นอยู่มี ด้วยตัวของมันเองได้อย่างปราศจาก

เหตุปัจจัยปรุงแต่งแม้กระทั่งพระนิรวาณเพราะฉะนั้นอย่าว่าแต่สังขธรรมเป็นมายา
ไร้แก่นสารเลย พระนิรวาณก็เป็นมายาด้วย สิ่งที่อาจารย์นาคารชุนปฏิเสธคือ
"สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง" ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอยู่โดยสมมติหรือปรมัตถ์

ก็สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองนั้นกินความหมายรวมทั้งอาตมันหรืออัตตาด้วย
แต่เรื่องอาตมันนั้น พระพุทธศาสนาทุกนิกาย
(ยกเว้นนิกายวัชชีบุตรและพวกจิตสากล) ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่ยอมให้
เหลือเศษอะไรอยู่แล้ว แต่ตามทัศนะของอาจารย์นาคารชุน

ท่านคณาจารย์เหล่านั้นถึงแม้ปฏิเสธความมีอยู่ด้วยตัวของมันเอง
เพียงแต่อาตมันเท่านั้น
แท้จริงยังไม่เกิดอุปาทานยึดสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมันเองในขันธ์ธาตุอายตนะ

พระนิรวาณว่ามีอยู่ด้วยตัวของตัวเองอีกเห็นว่ามีกิเลสต้องละและมีพระนิรวาณ
เป็นที่บรรลุ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
นาคารชุนกล่าวว่า สิ่งที่เราเข้าใจว่ามันเป็นสิ่งจุดสุดท้ายที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองนั้น

แท้จริงก็เกิดจากปัจจัยอื่นอีกมากหลายปรุงแต่งขึ้น เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่มีภาวะ
อันใดแน่นอนของตัวเองเช่นนี้
สิ่งเหล่านั้น ก็เป็นประดุจมายาสิ่งใดเป็นมายาสิ่งนั้นก็ไร้ความจริง จึงจัดว่าสูญ

นาคารชุนอธิบายว่าสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองย่อมบ่งถึงความเป็นอิสระ
ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น จะเปลี่ยนแปลงมิได้
ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็เป็นการขัดต่อกฎปัจจยาการของพระพุทธศาสนา

เพราะตามกฎแห่งปัจจัยสิ่งทั้งปวงย่อมอาศัยเหตุปัจจัยจึงมีขึ้น ไม่ได้มี
สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอยู่โดยโดดเดี่ยว
เช่นนี้ย่อมจัดเป็น*สัสสตทิฏฐิไป อนึ่งถ้ามีความเห็นว่าทั้งปวงขาดสูญ
ปฏิเสธต่อบาปบุญคุณโทษเล่าก็เป็น*อุจเฉททิฏฐิ

หลักธรรมฝ่ายศูนยตวาทินจึงไม่เป็นทั้งฝ่ายสัสสตทิฏฐิ

ก็เพราะแสดงถึงแก่นความจริงว่า สรวม ศูนยมด้วยความเป็นที่ไร้ภาวะ
ที่โดดเดี่ยวโดยตัวของมันเอง

และไม่เป็นทั้งอุจเฉททิฏฐิหรือนัตถิกทิฏฐิก็เพราะแสดงว่าสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุ
เป็นปัจจัยดุจมายา มีอยู่ด้วยสมมติบัญญัติ
ด้วยประการดังนี้อาจารย์นาคารชุนกล่าวว่าการหลุดรอดจากบาปทั้งปวง
ต้องทำลายความติดอยู่

ในภาวะหรือสัสสตความเป็นอยู่ซึ่งจัดว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และทำลาย
ความติดในอภาวะหรืออสัสสต ความไม่เป็นอยู่
ซึ่งเป็นนัตถิกทิฏฐิเสียนั่นแหละจึงบรรลุถึงมัชฌิมาปฏิปทา

เพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้อาจารย์นาคารชุนยกพระพุทธภาษิต
ที่ตรัสแก่พระกัจจายนะ ขึ้นอ้างว่า

"ดูก่อนกัจจายนะ ข้อที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่เป็นส่วนสุดข้างหนึ่งข้อที่ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ก็เป็นส่วนสุดอีกข้างหนึ่ง
ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยท่ามกลาง  ไม่เกี่ยวข้องส่วนสุดทั้งสองนั้น"


เพราะฉะนั้นศูนยตวาทินจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามาธยามิกะ ซึ่งต่อไปจะเรียกชื่อนี้
แทนชื่อเดิมต่ออสังขธรรม  ฝ่ายมาธยามิกะมีทัศนะว่า
อสังขธรรมนั้นย่อมไม่มีความเกิดปรากฏขึ้น อันใดความเกิดไม่มีอันนั้นจะมีอยู่อย่างไร

อุปมาดังดอกฟ้าและเขากระต่ายหรือนางหินมีครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีในโลก
และไม่เคยมีปรากฏ ด้วยอันดอกฟ้านั้นใครบ้างเคยเห็น
กระต่ายเกิดมีเขางอก หรือรูปปั้นสตรีเกิดมีครรภ์ขึ้นได้นั้น  ล้วนเป็นมายา

อนึ่งถ้าพระนิรวาณมีอยู่ไซร้ พระนิรวาณจักชื่อว่ามีการเกิดขึ้น
สิ่งใดมีการเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง
เป็นการขัดกันและหากสิ่งใด มีอยู่โดยลำพังตัวเองจะปราศจากการิยรูป

หรือคุณภาพมิได้สิ่งใดมีการิยรูปหรือคุณภาพย่อมบ่งให้เห็นว่าสิ่งนั้นมีการปรุงแต่งอยู่
ดังนั้นจึงสรุปว่านิรวาณ
ก็เป็นประดุจมายา เพราะไม่มีการเกิดขึ้นเหมือนดอกฟ้าเขากระต่ายหรือนางหินมีครรภ์

อนึ่งถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งความเกิดความดับที่แท้ก็ไม่เป็นอื่นไปนอกจาก
ความไม่เกิด ไม่ดับนั้นเอง
พระนิรวาณมิใช่จักเป็นภาวะใดภาวะหนึ่งนอกจากปรากฏการณ์ทั้งหลาย



********


สังขตธรรม(ธรรมะของขันธ์ 5 หรือโลกียะธรรม หรือสังขารธรรม
ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. )
อสังขตธรรม(ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ)

* ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ
ประกอบมาจากคำสองคำคืออุจเฉทะ(ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)
และทิฏฐิ๑ (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ, ทฤษฎี, ทัศนะ)

อุจเฉททิฏฐิ หมายความว่าทัศนะที่เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่า ขาดสูญ
หมายความว่า เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด
กล่าวคือ หลังจากตายแล้ว อัตตาทุกประเภท ไม่มีการเกิดอีก

อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไม่มีแห่งผลของการกระทำทุกอย่าง
คือ ไม่ยอมรับว่ามีผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทำ
ทุกอย่างจบสิ้นเพียงแค่เชิงตะกอน หลังจากตายแล้ว อัตตาและโลกไม่เกิดอีก
เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)


สัสสตทิฏฐิ - ความเห็นว่าเที่ยง
 คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว

ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ
ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;  ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ


นัตถิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นว่าไม่มี หมายความว่า ความเห็นที่ยอมรับแต่ความไม่มี
ปฏิเสธความมีอยู่ทุกอย่าง หรือ ความเห็นว่าสิ่งที่ทำแล้วไม่มีผลย้อนกลับต่อผู้กระทำความดี
 เป็นความเห็นที่ปฏิเสธผลของการกระทำเป็นต้น ดังพุทธพจน์ที่ว่า

. . .สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล
การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี คุณของมารดาไม่มี คุณของบิดาไม่มี

โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลก. . .
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2553 16:53:03 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2553 16:50:31 »






หลักปัจจยาการที่แท้ก็คือความไม่เกิดไม่ดับและเป็นทั้งมัชฌิมาปฏิปทาด้วย
ถ้าเราพิจารณาด้วยสายสมุทัยคือ อวิชชาเป็นปัจจัย
ให้เกิดสังขารๆเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ เช่นนั้นโดยลำดับ โลกสมุทัยก็เกิดขึ้น

ถ้าพิจารณาสายดับคือ เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับเพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับฯลฯ
เช่นนี้โดยลำดับไซร้
ก็เป็นโลกนิโรธะ (คือพระนิรวาณ)ฝ่ายมัธยามิกะยกพระพุทธภาษิตขึ้นอ้างอีกว่า

"เมื่อสิ่งอันนี้มีอยู่ สิ่งอันนั้นก็จักเกิดขึ้นเพราะเกิดขึ้นแห่งสิ่งอันนี้

เมื่อสิ่งอันนั้นไม่มีอยู่สิ่งอันนี้ย่อมไม่มี สิ่งอันนี้จะดับได้ก็เพราะดับแห่งสิ่งอันนั้น"
ในปัจจยการนั่นเอง เมื่อกล่าวโดยสายเกิด
ก็เป็นโลกสมุทัย เมื่อกล่าวโดยสายดับก็เป็นโลกนิโรธะหรือพระนิรวาณ

เพราะฉะนั้นใช่ว่าจะมีพระนิรวาณต่างหากนอกเหนือปรากฏการแห่งปัจจยการนี้ไม่
เพราะเห็นแจ้งในโลกสมุทัย
นัตถิกทิฏฐิจึงไม่เกิดขึ้นและเพราะแจ้งในโลกนิโรธะ สัสสตทิฏฐิจึงไม่อุบัติ...

อรรถกถาของท่านนิลเนตรได้ให้ข้ออุปมาโดยง่าย ๆ ว่า

เหมือนกับเมล็ดพืชเมล็ดแรกนั้นเกิดขึ้นในสมัยใดแม้เราจะสืบสวนไปจนถึง
เบื้องปฐมกัลป์ เราก็หาไม่พบว่า
เมล็ดพืชเมล็ดแรกเกิดขึ้นอย่างไรและมีอะไรเป็นปฐมเหตุเราไม่อาจหาไปจนพบ

ถ้ามีปฐมเหตุอะไรเป็นปฐมเหตุให้เกิดปฐมเหตุนั้นอีกเล่าสืบสวนไป ไม่มีที่สิ้นสุด
ความเกิดแห่งเมล็ดนี้จึงไม่ปรากฏ (ที่ปรากฏว่าเมล็ดพืชนั้นเป็นมายา)

เมื่อเมล็ดความเกิด  ไม่ปรากฏ  จะกล่าวว่าเมล็ดพืชนั้นดับไม่มีเลยหรือก็หามิได้
เพราะเมล็ดพืชที่เราเห็นอยู่นั้นมี (อย่างมายา) สืบเนื่องกันมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน

และจากปัจจุบันจะสืบเนื่องไปจนถึงอนาคตถ้ากระนั้นเมล็ดพืชก็มีภาวะเที่ยงนะซิ
เปล่าเลย
เพราะถ้ามีภาวะเที่ยงแล้วไซร้เมล็ดพืชจะงอกงามเป็นต้นกิ่งก้านใบสาขาไม่ได้

ถ้าไม่เที่ยงเมล็ดพืชนั้นชื่อว่าขาดสูญด้วยหรือไม่  ไม่ขาดสูญหรอก
เพราะกิ่งก้านใบสาขาใบดอกของพืชนั้นย่อมสืบสันตติเนื่องมาจากเมล็ด

ดังนั้นไซร้ควรกล่าวว่าเป็นหนึ่งก็ไม่ควรเพราะหากเป็นหนึ่งแล้วกิ่งใบดอกผล
จะมีไม่ได้ จะต้องเป็นตัวเมล็ดพืชนั้นเอง
ถ้ามิใช่หนึ่งก็สมควรว่าต่างแตกแยกจากเมล็ดพืชเด็ดขาดหรือ มิได้เลย

หากต่างแตกแยกจากเมล็ดพืชแล้วกิ่งก้านสาขาใบดอกก็ออกจากเม็ดพืช
เหมือนงูเลื้อยออกจากโพรงอย่างนั้นซิ เปล่าอีกเหมือนกัน
เพราะเราต่อยเมล็ดพืชนั้นออกเราก็หาไม่พบกิ่งก้านสาขาใบดอกในเมล็ดนั้น

ฉะนั้นเราจึงลงบัญญัติได้ว่าเมล็ดพืชนั้นเป็นเพียงมายา ...

สำหรับทฤษฎีเรื่องพุทธภาวะมีอยู่ในสรรพสัตว์นั้น อาจารย์นาคารชุนไม่รับรอง
ทฤษฎีนี้ ถือว่าถ้าอย่างนั้นก็จัดว่า
เป็นพวกวาทะผลอยู่ในเหตุฝ่ายมัธยามิกะย่อมถือว่าสัตว์ทั้งหลายมีความสามารถ

ที่จะบรรลุความเป็นพุทธได้เพราะสัตว์ทั้งปวงไม่มีภาวะอันคงที่ดั้งเดิม ทำกรรมใด
ย่อมได้รับผลกรรมนั้น เมื่อลงสร้างทศบารมีเมศสมบูรณ์ก็จักบรรลุเป็นสัมพุทธะได้

ไม่ใช่ว่ามีพุทธภาวะ ที่บริสุทธิ์ที่เป็นอมตะอยู่ก่อนเป็นอนมตัคคะแต่ถูกหุ้ม
อย่างฝ่ายภูตตถาวาท
ทั้งนี้เนื่องด้วยการถือว่ามีพุทธภาวะที่แน่นอนอยู่ก่อนแล้วนั้นชื่อว่าเป็นการถือ

"สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง"นั่นเอง อนึ่งเมื่อธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัย
จึงปราศจากแก่นสารตัวตน เมื่อปราศจากตัวตน
อะไรเล่าเป็นตัวท่องเที่ยวในวัฏฏสังสาร  อะไรเล่าเป็นตัวดับกิเลสบรรลุพระนิรวาณ

เราจะเห็นว่าว่างเปล่าทั้งสิ้นไม่มีสภาวะเกิดหรือดับไป เพราะฉะนั้นผู้บรรลุนิรวาณ
ไม่มีแล้ว พระนิรวาณอันผู้นั้นจะบรรลุจึงพลอยไม่มีไปด้วย
ท่านนาคารชุนอรรถาธิบายต่อไปอีกว่าพระพุทธเจ้าตรัสเทศนา


หลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รวมลงได้ที่ศูนยตานี้เองและดังนั้นในปรัชญาปารมิตาสูตร
จึงกล่าวว่า  รูปํ ศูนยตา ศูนยตาตท รูปํ
รูปคือความสูญ ความสูญคือรูป นั้นคือสังขตะ อสังขตะแท้ก็เป็นเพียงสมมติบัญญัติ



ความจริงย่อมเป็นสูญ บัณฑิตที่สอดส่องด้วยปัญญาเท่านั้นจึงจักตรัสรู้ถึง
เพราะอสังขตะย่อมเป็นธรรมคู่กับสังขตะ ปราศจากสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองเหมือนกัน
เมื่อแสดงปรัชญามาถึงตอนนี้พวกอัสติวาทินก็แย้งขึ้นมาว่าเมื่อสังขตะอสังขตะ

ล้วนเป็นสูญไปแล้ว การบำเพ็ญมรรคผลต่างๆ มิไร้สาระไปด้วยหรือ ความเป็นอย่างนี้
มิเป็นอุจเฉทวาทหรือ ท่านนาคารชุนก็โต้กลับไปว่าเพราะสิ่งทั้งปวง

เป็นของสูญ ปราศจากสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเองนะซิ ปุถุชนจึงบำเพ็ญมรรคภาวนา
เป็นอริยบุคคลได้ คนทำชั่วจึงลงนรกได้ คนทำดีจึงไปสวรรค์ได้

ถ้าหากมีสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเองแล้ว มันจะเกิดแปรเปลี่ยนภาวะจากปุถุชน
เป็นอริยเจ้าได้อย่างไรหนอ เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเอง
ย่อมหมายถึงสิ่งนั้นต้องไม่อิงอาศัยสิ่งอื่นเลยสำเร็จในตัวของมันเอง ดำรงอยู่ด้วย

ตัวของมันเองเช่นนี้ย่อมเป็นการหักล้างกฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของพระพุทธองค์
และทิฏฐิอย่างนี้มิเป็นสัตตวาทหรือ
ฝ่ายมัธยามิกะอุปมาอย่างโลก ๆ ว่าเหมือนกับอาศัยที่ว่าง เราปราถนาจะสร้างอะไรๆ
จึงจักสร้างขึ้นได้ ณเนื้อที่ว่างเปล่าตรงนั้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อย อุปไมยดังอาศัยศูนยตา


เหตุปัจจัยทั้งหลายจึงจักแสดงบัญญัติขึ้นมาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น..
ธรรมทั้งหลาย ไม่อุบัติขึ้นเอง ไม่อุบัติจากสิ่งอื่น
ทั้งไม่อุบัติขึ้นเองด้วย ไม่อุบัติจากสิ่งอื่นรวมอยู่ด้วยกัน
และไม่ใช่ปราศจากเหตุ.. เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่าไม่มีการอุบัติขึ้นลย



เสถียร โพธินันทะ ,ปรัชญามหายาน


"สังขตธรรมทั้งปวง มีอุปมาดั่งความฝัน ดั่งภาพมายา ดั่งฟองน้ำ
ดั่งเงา ดั่งน้ำค้าง
และดั่งสายฟ้าแลบ พึงเพ่งพิจารณาโดยอาการเช่นนี้แล"


วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร





 ยิ้ม http://board.palungjit.com/f13/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%99-213512.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2553 21:10:04 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2553 09:05:55 »




ท่านนาคารชุนะ
จากส่วนหนึ่งในหนังสือ พระนาคารชุนะกับคำสอนว่าด้วยทางสายกลาง
เขียนโดย คุณสุมาลี มหณรงค์ชัย
อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือพระนาคารชุนะกับคำสอนว่าด้วยทางสายกลาง

เรียบเรียงเพื่อเผยแพร่ทางเน็ต by : suparatta

....ภายใต้กรอบของอภิธรรม ความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเพียงเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสาย เป็นคำสอนที่เกิดขึ้นเพื่ออธิบายกฎไตรลักษณ์ มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อสร้างเหตุผลที่ดีที่สุดในการอธิบายความมีอยู่แบบชั่วขณะจิต สำนักพุทธใหญ่ๆ ที่ได้รับการยอมรับมีคำอธิบายที่ต่างกันไปในเรื่องนี้ และนั่นนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมสงฆ์ก่อนหน้าที่ท่านนาคารชุนะจะถือกำเนิด

มาธยมิกะคือกลุ่มของชาวพุทธที่ยอมรับคำสอนว่าด้วยเรื่องของความว่าง ทางสายกลาง และการอิงอาศัยกันและกันในการมีอยู่ของสรรพสิ่ง โดยบุคคลที่วางรากฐานคำสอนคือท่านนาคารชุนะ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง สำนักพุทธมหายานทุกแห่งทั้งที่อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และทิเบต ต่างได้รับอิทธิพลคำสอนของท่าน

สำนักพุทธในยุคหลังโดยมากจะพัฒนาหลักคำสอนเชิงปรัชญา โดยเชื่อมโยงกับหลักศูนยตา (สุญญตา) ของสำนักนี้ ท่านนาคารชุนนะจึงได้รับการยกย่องให้อยู่ในฐานเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง การศึกษาเรื่องของท่านจึงมีความสำคัญ หากต้องการรู้จักพุทธศาสนาให้กว้างกว่าที่คุ้นเคย

เหตุที่ดลใจให้ปฐมาจารย์ของสำนักคือท่านนาคารชุนะ เขียนงานอธิบายคำสอนว่าด้วยหลักการสายกลาง เพราะเกิดจากทั้งปัจจัยภายนอก อันได้แก่แนวคิดของฮินดูโบราณเช่นเรื่องสางขยะ เรื่อยไปถึงการอิทธิพลของพระสูตรชิ้นสำคัญ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ที่ได้รับการอ้างว่าค้นพบโดยท่านนาคารชุนะ ไปถึงปัจจัยภายใน อันได้แก่ความขัดแย้งในการตีความหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ที่มีการให้ความสำคัญกับตัวพระพุทธเจ้าแทนที่พระธรรมและคำสั่งสอน ซึ่งเบี่ยงเบนออกจากพระพุทธประสงค์ เหล่านี้.. จึงนำให้ไปสู่การแสวงหาทางสายกลางในศาสนาพุทธ

น่าสังเกตุว่าปัจจัยภายในคือแรงผลักดันแท้จริงที่มีผลทำให้เกิดสำนักมาธยมิกะ ปัจจัยภายนอกนั้นเป็นเพียงแรงเสริม มาธยมิกะหรือเรียกอีกอย่างว่า ศูนยตาวาท หมายถึงคำสอนที่ประกาศความว่างในสิ่งทั้งหลาย หรือแปลว่าผู้นับถือคำสอนเรื่องทางสายกลาง เนื้อหาคำสอนในเรื่องทางสายกลางจะเรียกว่า “มัธยมกะ” (ความเป็นมาของสำนักนี้สามารถสืบย้อนไปในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (หลังพุทธปรินิพพานประมาณสองร้อยกว่าปี ซึ่งมีการสังคายนาพุทธศาสนาครั้งที่สาม)

นักปราชญ์หลายคนเชื่อว่ามัธยมกะ เกิดขึ้นจากการที่พยายามจะอธิบายท่าทีของพระพุทธองค์เมื่อไม่ทรงตอบคำถามบางอย่าง ซึ่งเรียกว่า"ปัญหาอัพยากฤติ" ทั้งนี้ไม่ใช่ทรงตอบไม่ได้ แต่เป็นเพราะไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็คงไม่อาจพ้นไปจากการทำให้คนฟังเข้าใจผิด ยิ่งถ้าผู้ฟังยอมรับสมมติฐานบางอย่างล่วงหน้าอยู่ในใจแล้ว จะทำให้เข้าใจคำตอบไปตามจริตตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤษภาคม 2553 09:34:30 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2553 09:13:32 »



ความเห็นที่เป็นปัญหาอัพยากฤติ*

ในทางเถรวาทมีอยู่ 10 ข้อ ได้แก่ 1.โลกเที่ยง 2.โลกไม่เที่ยง 3.โลกมีที่สุดหรือมีข้อจำกัด 4.โลกไม่มีที่สุดหรือไม่มีข้อจำกัด 5.ชีวะเหมือนกับสรีระ 6.ชีวะต่างกับสรีระ 7.ตถาคตตายแล้วเกิด 8.ตถาคตตายแล้วไม่เกิด 9. ตถาคตตายแล้วทั้งเกิดและไม่เกิด 10.ตถาคตตายแล้วเกิดก็ไม่ใช่ไม่เกิดก็ไม่ใช่

ในทางมหายานแบ่งออกเป็น 14 ข้อ จัดได้ 4 กลุ่ม

กลุ่มแรก 1.โลกเที่ยง 2.โลกไม่เที่ยง 3.โลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง 4.โลกไม่ใช่ทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง กลุ่มสอง 5.โลกมีที่สุด 6.โลกไม่มีที่สุด 7.โลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด 8.โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่ กลุ่มสาม 9.วิญญาณเหมือนกับร่างกาย 10.วิญญาณต่างจากร่างกาย กลุ่มสี่ 11.ตถาคตมีอยู่หลังปรินิพพาน 12.ตถาคตไม่มีอยู่หลังปรินิพพาน 13.ตถาคตทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่ภายหลังปรินิพพาน 14.ตถาคตภายหลังปรินิพพานมีอยู่ก็ไม่ใช่ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่

อาการนิ่งของพระพุทธเจ้าก่อให้เกิดความเข้าใจผิดมากมายในสายตาคนนอก ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่รู้จริง หรือรู้แต่ไม่สามารถอธิบาย เหตุผลของการไม่ชี้แจงนี้เป็นเรื่องที่พุทธฝ่ายเดิมไม่สนใจ แต่สงฆ์บางกลุ่มเห็นว่าประเด็นนี้มองข้ามไม่ได้ เพราะเชื่อในความเป็นผู้รู้ทุกอย่างของพระพุทธองค์ กลุ่มเหล่านี้จึงเป็นพวกแรกที่ทำให้พระพุทธเจ้ามีสถานะเหนือมนุษย์ธรรมดา ความสามารถของพระองค์ท่านเป็นสิ่งที่ชาวบ้านไม่อาจหยั่งถึง นานวัน พวกเขาก็ยิ่งทำให้พระพุทธเจ้ากับพระธรรมคำสั่งสอนเป็นภาวะเหนือโลก แยกความจริงทางโลกทางธรรมออกจากกันเด็ดขาด

ประเด็นก็คือ หากโลกิยวิถีแยกขาดจากโลกุตรวิถี แล้วคนจะหลุดพ้นได้อย่างไร ท่านนาคารชุนะมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นผู้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของความเชื่อเช่นนี้

วิภาษวิธีของท่านคือตัวอย่างอันดีเยี่ยมที่ใช้ทำลายมิจฉาทิฐิในใจคน ในแง่หนึ่งช่วยอธิบายอาการนิ่งของพระพุทธองค์ โดยให้เห็นอาการนิ่งเชื่อมโยงกับคำสอนว่าด้วยเรื่องทางสายกลาง และเพราะเหตุนี้ทำให้บางท่านสรุปว่า นาคารชุนะเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในระดับลึก (profound revolution) จากอาการนิ่งของพระพุทธองค์ ท่านสามารถอธิบายไปสู่การวิพากษ์ทัศนะทั้งหลายไปอย่างกว้างขวาง

พระนาคารชุนะ (นาคารชุน) เป็นที่รู้จักและกล่าวถึงเรื่อยมาตั้งแต่อดีต ประวัติศาสตร์ของพุทธมหายาน มักปรากฏชื่อของท่านในฐานะครูผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งเสมอ ท่านได้รับการยกย่องอย่างมาก แต่ในขณะที่ได้รับการสรรเสริญ ผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยก็วิพากษ์ตัวท่านและงานของท่าน นับว่านาคารชุนะคือปราชญ์ชาวพุทธที่ได้รับความสนใจในระดับต้นๆ เสมอมา

เป็นเรื่องยากมากที่จะถ่ายทอดคำสอนของท่านนาคารชุนะ เหตุเพราะความคิดของท่านเป็นนามธรรมเข้าใจยาก ถ้าอธิบายไม่ดีคำสอนของท่านจะถูกโต้แย้งว่าเป็นทิฐิอันหนึ่งทันที



*อัพยากฤต - “ซึ่งท่านไม่พยากรณ์”, บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือ เป็นกลางๆ  ไม่ดีไม่ชั่ว  ไม่ใช่กุศล  ไม่ใช่อกุศล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2553 18:03:35 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2553 09:53:19 »



ปรัชญาปารมิตา เป็นคัมภีร์เก่าแก่ของชาวพุทธที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง ตำนานฝ่ายมหายานเชื่อว่า นาคารชุนะได้รับพระสูตรนี้มาจากดินแดนของนาค เป็นบทรวบรวมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสอนลึกซึ้งที่จะได้รับการค้นพบโดยบุคคลที่มีปัญญาเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร พระสูตรความยาวหนึ่งแสนโศลกนี้ก็ได้เชื่อว่าเป็นสื่อแห่งปัญญาของชาวพุทธโดยแท้ เนื่องจากพระสูตรเผยให้เห็นความไร้แก่นสารของสรรพสิ่ง ไม่มีอะไรที่ใครจะยึดถือได้ จึงเข้ากับกฎไตรลักษณ์

ปรัชญาปารมิตาจึงชื่อว่าเป็นคำสอนที่ประกาศความว่างในธรรม (ธรรมศูนยตา) ลึกซึ้งกว่าคำสอนพุทธทั่วไป ที่ประกาศความว่างในบุคคลเท่านั้น (ปุคคลศูนยตา)

ส่วนของปรัชญาปารมิตาสูตรที่ชาวพุทธนิยมอ่านและได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วหลายสำนวนคือ วัชรเฉทิก (วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร) กับ ปรัชญาปารมิตาหฤทัย (มหาปรัชญาปารมิตาหนึ่งแสนโศลก ในส่วนวัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร 600 ผูก หรือวัชรปรัชญาปารมิตา นับเป็นหัวใจของมหายานและเกี่ยวเนื่องกับโพธิสัตว์ด้วย ..)

เนื้อหาสำคัญคือ ผู้ฝึกฝนเป็นโพธิสัตว์ จะต้องหมั่นพิจารณาความจริงที่ว่า แม้ว่าโลกนี้จะมีสัตว์อุบัติขึ้นมากมาย มีทั้งที่ประกอบด้วยสัญญาหรือไม่ก็ตาม มีการรับรู้หรือไม่มี กำเนิดแบบไหนก็ตาม หน้าที่ของโพธิสัตว์คือช่วยสัตว์เหล่านั้นให้หลุดพ้นโดยไม่ละเว้นใคร และแม้จะช่วยสัตว์ให้หลุดพ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ความจริง หาได้มีสัตว์ใดที่โพธิสัตว์ช่วยให้หลุดพ้น ไม่มีผู้ช่วยให้หลุดพ้น ไม่มีกระทั่งการหลุดพ้น โพธิสัตว์จะต้องมองทุกอย่างโดยว่างไปหมด ไม่เช่นนั้นแล้วจะเท่ากับกำลังสร้างทวิภาวะระหว่างตนกับผู้อื่น หรือจิตกับธรรม

ง่ายๆ คือ หากมีความคิดปรุงแต่งตัวเรา-เขาอยู่ในการฝึกฝน อาทิ มีตัวเราคอยช่วย มีผู้อื่นถูกช่วย การคิดแบบนี้ถือว่าเป็นการแบ่งแยกในระดับละเอียด แม้ไม่เกี่ยวกับเรื่องดีชั่ว แต่ทวิภาวะก็เกิดขึ้นจากการหล่อเลี้ยงอัตตา ตัวตน บุคคล สิ่งของ



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=03-2006&date=21&group=2&blog=1   
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2553 11:30:42 »





ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คำสอนฮวงโป ฉบับภาษาไทย แปล โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ( ฟังได้ โหลดได้ . MP3 )
เพลงสวดมนต์
มดเอ๊ก 2 8051 กระทู้ล่าสุด 03 กรกฎาคม 2553 08:11:21
โดย sometime
พุทธศาสนาในมุมมองของแม่ชีฝรั่ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
sometime 3 3939 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2553 15:06:38
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.351 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 21 มีนาคม 2567 06:19:20