[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 10:46:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักฐาน”การฝังมุก”ชายไทยในอดีต จากเอกสารต่างชาติ  (อ่าน 114 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2566 14:19:59 »



หลักฐาน”การฝังมุก”ชายไทยในอดีต
จากเอกสารต่างชาติ หรือจะมาจากการหึงหวงใน “ชายรักชาย”

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2562
คอลัมน์   ปริศนา - โบราณคดี
ผู้เขียน -เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2566



บทความชิ้นนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเรื่องลามกอนาจาร หรือเรื่องใต้สะดือที่เป็นของต้องห้ามต่อสื่อสาธารณะแต่อย่างใด

ทว่า ดิฉันต้องการนำเสนอ “ข้อมูลชุดหนึ่งเกี่ยวกับความลับของบุรุษเพศที่ถูกมองข้าม” ไม่ใคร่มีใครกล่าวถึงมากนัก อาจเนื่องมาจากการที่สังคมไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา นักวิชาการกระแสหลักจึงละอายแก่ใจที่จะหยิบยกประเด็นเรื่อง “สรีระในร่มผ้า” มาวิพากษ์วิจารณ์กันในที่แจ้ง

การนำเสนอเรื่อง “การฝังมุกที่เครื่องเพศชาย” ครั้งนี้ ก็เพื่ออยากให้สังคมไทยช่วยกันนำข้อมูลในอดีตที่ดิฉันไปศึกษาค้นคว้ามา วิเคราะห์สังเคราะห์ถึงปมปัญหาที่มาที่ไปร่วมกัน


มุมมองจากพ่อค้าโปรตุเกส
เอกสารชิ้นแรกที่มีการเปิดเผยเรื่องดังกล่าวคือบันทึกเรื่อง “Suma Oriental” (หรือภาษาอังกฤษคือ Siam Oriental) เขียนโดยนาย “โตเม่ ปิรืช” (Tome Pires) แต่เนื่องจากนาม “ปิรืช” เป็นภาษาโปรตุเกสที่ออกเสียงยาก เอกสารไทยจึงเรียกว่า “โตเม่ ปิเรส” แทน

บันทึกของปิเรสเขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ.1512-1515 (พ.ศ.2055-2058) ตรงกับแผ่นดินสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (นามเดิมพระเชษฐา) ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยพระเมืองแก้วของอาณาจักรล้านนา

ถือเป็นชาวโปรตุเกสรุ่นแรกที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสยามในเชิงประวัติศาสตร์สังคม ก่อนหน้าที่จะเข้ามาในสยาม ปิเรสเดินทางไปยังอินเดีย มลายู พม่า ปะหัง และจามปามาก่อนแล้ว

ปิเรสได้พรรณนาถึง “ผู้ชายชาวสยาม” ไว้อย่างน่าสนใจ โดยมักเปรียบเทียบกับผู้ชายชาวมอญในหงสาวดี ที่ปิเรสเรียกว่าพะโค ดังนี้

“พวกเขามีรูปร่างสูง ผิวคล้ำ ผมเกรียนเหมือนชาวพะโค”

“ชาวสยามนิยมฝังตะกรุดและแขวนของขลังเป็นจำนวนมาก พอๆ กับผู้ชายพะโค นอกจากนี้ พวกขุนนางจะแขวน (เอกสารแปลบางเล่มใช้คำว่า “ฝัง”) เครื่องประดับเพชรยอดแหลมและอัญมณีอื่นๆ ไว้ในบริเวณที่ลับ”

ข้อความดังกล่าวนี้เป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ชายสยามในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ 500 ปีก่อน โดยมีเอกสารจีนรองรับอีกชิ้นหนึ่ง

 
เอกสารจีนของ “หม่าฮวน”
หม่าฮวน (Ma Huan) เป็นล่ามในคณะเดินทางสำรวจของ “เจิ้งเหอ” ผู้บัญชาการทหารเรือของจีนในยุคราชวงศ์เหม็ง (หมิง) ซึ่งเข้ามาสยามตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ.1948 ตรงกับแผ่นดินสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช

หม่าฮวนได้บันทึกเรื่องราวในเอกสารชื่อ “Ying-Yai Sheng-Lan” แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีนโดย J. V. G. Mills มีหลายตอน แต่เรื่องการฝังมุกปรากฏอยู่ในตอนที่ชื่อว่า The Country of Hsien นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตีพิมพ์รายละเอียดเรื่องนี้ครั้งแรกในฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2543 และจากนั้นมีการแปลอีกหลายสำนวน ความโดยรวมดังนี้

“เมื่อผู้ชายอายุย่าง 20 ปี พวกเขาจะถลกหนังหุ้มองคชาตออกมา แล้วใช้มีดคมบางรูปร่างคล้ายใบหอมกรีดเปิดผิวหนัง แล้วสอดใส่ลูกปัดดีบุกสักโหลหนึ่งเข้าไปข้างในผิวหนังที่เปิดแล้ว จึงปิดแผลและรักษาด้วยสมุนไพรที่เป็นยาประเภทต่างๆ

เขาจะรอจนกว่าแผลนั้นจะหายสนิทดี แล้วจึงออกไปข้างนอก และเดินเตร่ไปมา ลูกปัดดีบุกเหล่านั้นเหมือนพวกองุ่น จริงๆ แล้วยังมีคนอีกชนชั้นหนึ่ง เป็นผู้จัดแจงรับจ้างในเรื่องการผ่าตัด พวกนี้เชี่ยวชาญในการฝังและหล่อเชื่อมลูกปัดดีบุกให้กับผู้คน เขาทำจนเป็นอาชีพอย่างหนึ่งทีเดียว

หากว่าเป็นชนชั้นสูง ขุนนางผู้ใหญ่ หรือคหบดี พวกเขาจะใช้ทองคำทำเป็นเม็ดกลวง ในนั้นใส่เม็ดทรายแล้วเอาฝัง ไปไหนก็ส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง แลถือกันว่างามนัก ผู้ชายที่ไม่มีลูกปัดคือพวกคนชั้นต่ำ นี่เป็นเรื่องพิลึกพิสดารเหลือหลาย”

มาดูหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งเป็นเหตุการณ์ในล้านนาเกิดขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีมาแล้วเช่นกัน

 
จดหมายเหตุ “ราล์ฟ ฟิตช์” ชาวอังกฤษ
นายราล์ฟ ฟิตช์ (Ralp Fitch) เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาในล้านนาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1583 หรือตรงกับ พ.ศ.2126 หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าผู้ปกครองล้านนาในขณะนั้นเพิ่งสวรรคตได้เพียง 2 ปี (บุเรงนองสิ้นพระชนม์ พ.ศ.2124)

ราล์ฟ ฟิตช์ เดินทางมาในนามตัวแทนบริษัทร่วมหุ้นกลุ่มพ่อค้าชาวลอนดอนชื่อเลแวนท์ กำปะนี (Levant Company) เช่นเดียวกับปิเรส เขาต้องผ่านอินเดีย พม่า (พะโค และย่างกุ้ง) มะละกา (เมืองท่าอุษาคเนย์ในขณะนั้น) ก่อนจะมาสยาม และขึ้นสู่ล้านนา

จดหมายเหตุที่ราล์ฟ ฟิตช์ บันทึกไว้ ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ.2142 หลังจากที่เขากลับไปสหราชอาณาจักรแล้ว ข้อความเกี่ยวกับการฝังมุกปรากฏดังนี้

“การฝังลูกปัดขนาดเล็กในที่ลับของผู้ชายในเมืองพะโค และในเมืองอื่นๆ อาทิ อังวะ ซินเหม่ (หมายถึงเชียงใหม่-ล้านนา) สยาม และพม่า พวกผู้ชายสวมใส่ลูกกลมๆ ขนาดเล็ก 2-3 ลูกที่องคชาต พวกเขาจะกรีดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และนำลูกปัดใส่ลงไป ลูกหนึ่งอยู่ด้านหนึ่ง อีกลูกหนึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม

พวกเขาจะเริ่มทำเมื่ออายุระหว่าง 25-30 ปี พวกเขาจะฝังลูกกลมๆ ขนาดเล็กเพียงลูกเดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้แล้วแต่ความพอใจ หลังจากการแต่งงาน เมื่อสามีมีบุตรคนหนึ่งเขาก็จะฝังเพิ่มอีกลูกหนึ่ง “เนื่องจากเป็นความต้องการของผู้หญิง”

อีกทั้ง “ยังป้องกันไม่ให้ผู้ชายไปทำมิดีมิร้ายกับชายอื่น” เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนในประเทศเหล่านี้ติดพฤติกรรมชั่วร้ายที่ว่านี้ จึงทำให้ต่างมีประชากรน้อย”
 

วิเคราะห์การฝังมุก เหลวไหลหรือเรื่องจริง
หากเรื่องราวการฝังมุกของเพศชายพบในเอกสารแค่เพียงชิ้นเดียว เราก็อาจคิดได้ว่า น่าจะเป็นเรื่องเลอะเทอะเหลวไหลกระมัง แต่นี่เป็นคำให้การของชาวต่างชาติที่เป็นคนละเชื้อชาติ คนละภาษา คนละศักราช ที่มากกว่าสามชิ้น (ยังมีหลักฐานอีกหลายชิ้นซึ่งไม่อาจนำมาใช้อ้างอิงได้หมดในพื้นที่อันจำกัด) ก็ย่อมแสดงว่าเรื่องราวนี้น่าจะเป็นเรื่องจริง

นำมาสู่ข้อสังเกตที่ต้องวิเคราะห์ 4 ประเด็นคือ

ประเด็นแรก การพรรณนาเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียดลออของชาวโปรตุเกสก็ดี ชาวอังกฤษก็ดี ชาวจีนก็ดี ทำประหนึ่งว่า “ไม่เคยพบเห็นเรื่องทำนองนี้มาก่อนในสถานที่อื่นๆ ไม่ว่าในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา กลุ่มเอเชียกลาง หรือกลุ่มชาวเกาะแปซิฟิก ฯลฯ” ทั้งๆ ที่ผู้บันทึกทั้งสามท่านนี้เป็นนักเดินทางรอบโลก

เป็นเครื่องสะท้อนอย่างหนึ่งได้หรือไม่ว่า การฝังมุกเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของบุรุษแถบอุษาคเนย์?

ประเด็นที่สอง
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วง 400-500 ปีที่ผ่านมา ทั้งในดินแดนกรุงศรีอยุธยา หงสาวดี อังวะ และล้านนา เป็นการบันทึกแบบ “โจ๋งครึ่ม” สะท้อนว่าบรรยากาศการฝังมุกยุคนั้นเป็นเรื่อง “แฟชั่น” เป็นเทรนด์ของชนชั้นสูง ถึงกับเปิดเป็นคลินิกศัลยกรรม

ประเด็นที่สาม น่าสงสัยว่า ทำไมหลังจากนั้น บันทึกของชาวต่างชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับสยามและล้านนา ไม่ว่าด้านการทูตก็ดี ด้านการค้าก็ดี ด้านการเผยแผ่คริสต์ศาสนาก็ดี ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 4-5 กลับไม่พบการบันทึกเรื่องราวดังกล่าวอีกเลย มีแต่พูดถึงการสักยันต์ การเจาะหู การแต่งกายอื่นๆ

เป็นการยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วหรือไม่ สืบเนื่องจากเหตุผลใด ศาสนา หรือกฎหมาย หรือมุมมองว่าเป็นเรื่องป่าเถื่อน? หรือว่าในความเป็นจริง ความนิยมยังมีอยู่ แต่กลายเป็นเรื่องลับ เปิดเผยไม่ได้ และคนพื้นถิ่นไม่ยินดีให้สัมภาษณ์?

ประเด็นที่สี่ เอกสารของราล์ฟ ฟิตช์ ระบุชัดเจนว่า คนที่อยากให้มีการฝังมุกนั้น หาใช่ฝ่ายชายไม่ แต่กลับกลายเป็นฝ่ายหญิงต่างหาก ที่ต้องการควบคุมพฤติกรรมทางเพศของฝ่ายชาย ไม่ต้องการให้สามีของตนไปมีเพศสัมพันธ์กับชายอื่น

สะท้อนว่าเรื่องการระแวงหึงหวงในรักข้ามเพศของ “ชายรักชาย” มีมาแล้วอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยก็ในสังคมไทยยุคเมื่อ 400-500 ปีที่ผ่านมา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.372 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 12:28:15