[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 03:57:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา - ชมแหล่งเรียนรู้เรื่อง "โขน"  (อ่าน 425 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 สิงหาคม 2566 17:04:33 »


อุปกรณ์และฉากต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขน เก็บรักษาไว้ที่อาคารเรียนรู้เรื่องโขน
ณ ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


พิพิธภัณฑ์ โขน
เรียน-รู้ เรื่องโขน และชมสถานที่เก็บอุปกรณ์ ฉากที่ใช้ในงานแสดงต่างๆ
ณ ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


โขน (Khon) เป็นนาฏกรรมชั้นสูงที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่า การแสดงโขนเริ่มเข้ามาในสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและมีบทบาททางสังคมในฐานะเป็นมหรสพหลวงสำหรับพระมหากษัตริย์ และใช้แสดงในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ

เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้รับเอาลัทธิเทวราชาจากอารยธรรมขอมโบราณมาใช้ในการปกครองบ้านเมืองราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นั้น วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์อันกล่าวถึงเกียรติยศแห่งพระรามซึ่งเป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ จึงได้กลายเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเปรียบเสมือนเทวราชาหรือสมมติเทพ

นักวิชการหลายคนเชื่อว่านักบวชพราหมณ์ในพระราชสำนักน่าจะเป็นผู้เผยแพร่เรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบของการสวดสาธยายตามคัมภีร์มหากาพย์ จากนั้นจึงใช้รูปเงาที่เกิดจากฉากสลักแผ่นหนังเป็นตัวละครตอนสำคัญต่างๆ ประกอบการสาธยายภาพเงาที่ปรากฏกระเพื่อมไหวบนจอผ้าตามแสงไฟ  ชวนให้ผู้ชมคล้อยตามและซึมซับเรื่องราวได้เป็นอย่างดี ต่อมาภาพนิ่งจากตัวหนังจึงถูกประดิษฐ์เป็นท่าทางนาฏลักษณ์ให้สัมพันธ์กับผู้เชิดตัวหนัง เกิดการพัฒนาในการเล่าเรื่องรามเกียรติ์โดยใช้คนเป็นผู้แสดงและแต่งกายให้เกิดจินตนาภาพความเป็นเทพเจ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างสมจริงมากขึ้น

แม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าการแสดงโขนเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ข้อความที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาได้ระบุถึงพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งต้องจัดให้มีการ “เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์” หรือ กวนเกษียรสมุทรตามคติพราหมณ์ อันถือเป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับความเป็นพระจักรพรรดิราชของพระมหากษัตริย์ ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีจะแต่งกายเป็นเทวดา ยักษ์ และวานร โดยระบุชื่อตัวละครสำคัญไว้ คือ “พาลี สุครีพ มหาชมพู และบริวารพานร”

การประกอบพิธีชักนาคดึกดำบรรพ์นี้ แม้จะมิใช่การแสดงโขนอย่างชัดเจน แต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครและความเชื่อมโยงมาสู่การสร้างเครื่องแต่งกายตามลักษณะของตัวละครนั้นๆ จนคลี่คลายกลายเป็นมหรสพสำคัญของราชสำนักที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงขึ้นเพื่อความสนุกสนานเป็นสำคัญ

เมื่ออยุธยาล่มสลายลงในพุทธศักราช ๒๓๑๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นในทศวรรษต่อมา  โขนถือเป็นความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับการสืบทอดต่อมาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โขนในฐานะที่เป็นมหรสพหลวง โขนจึงมิได้เป็นการแสดงเพื่อมุ่งเพียงความสนุกสนานเท่านั้นแต่ยังเป็นกลไกทางวัฒนธรรมและสังคมที่สำคัญต่อการเชื่อมโยงสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน และเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน












-----------------------------



หัวโขนที่ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะในการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ มีให้ชมทุกตัวละคร

ศิราภรณ์
ชมความงามวิจิตรบรรจง ของศิลปหัตถกรรมไทย
ในการทำชุดแต่งกายโขน ตลอดจนการตกแต่งด้วยอัญมณี
หนึ่งในงานฝีมืออันทรงคุณค่า ที่ต้องอาศัยฝีมือช่างชั้นสูงที่มีความละเอียดประณีต

ศิราภรณ์ (Siraporn) หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ เป็นงานศิลปะที่รวมงานประติมากรรมและจิตรกรรมเข้าด้วยกัน คณะทำงานจัดการแสดงโขนได้ศึกษางานศิลปกรรม หัวโขน ชฎา มงกุฎโบราณ ที่เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และงานศิลปกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะการแสดง เช่น หุ่นหลวง และหุ่นวังหน้า จากการศึกษาดังกล่าว จึงมีการนำลักษณะโครงสร้าง ลวดลาย จากงานศิราภรณ์และหัวโขนโบราณมาสร้างขึ้นใหม่ให้มีความงดงาม และปรับองค์ประกอบต่างๆ ให้มีน้ำหนักเบา เหมาะสมกับสรีระของนักแสดง แต่คงไว้ด้วยสัดส่วนความงามและองค์ประกอบศิลป์ตามตามแบบงานศิลปะไทยทุกประการ






































 



850/35

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 สิงหาคม 2566 14:39:09 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2566 15:03:09 »



หัวโขน


หัวโขน เป็นเครื่องประดับสวมหัวที่รวมหน้ากากและศิราภรณ์ประกอบกัน หัวโขนของไทยเป็นศิลปะที่ช่างฝีมือสรรค์สร้างด้วยความวิจิตรบรรจง เลียนแบบพระมหามงกุฎ พระชฎา และศิราภรณ์อื่นๆ ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ แต่ก็ได้หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจถูกมองว่าเป็น “การทำเทียมเจ้า” ด้วยการใช้วัสดุที่มีค่าน้อย น้ำหนักเบา เช่น ใช้กระดาษเป็นโครง ประดับลายด้วยการกระแหนะรักแล้วปิดทองประดับกระจก มิได้ประดิษฐ์ด้วยวัสดุมีค่า เช่น ทอง เพชรพลอย เหมือนเครื่องทรง

โดยที่กระดาษเป็นวัสดุที่ชำรุดได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการแสดงที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ  มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงได้รื้อฟื้นภูมิปัญญาโบราณเกี่ยวกับการทำกระดาษข่อย ซึ่งมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีมาใช้เป็นวัสดุทำหัวโขน









วิธีการและกระบวนการทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่โบราณ
และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน อาจอธิบายได้โดยสังเขป ดังนี้


๑. การเตรียมวัสดุ วัสดุสำหรับทำตัวลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่งหัวโขนเรียกว่า “รักตีลาย” ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมต่างๆ คือ รักน้ำเกลี้ยง ชันน้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกันแล้วเอาขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวจนงวดและเหนียวพอที่จะนำไปกดลงในแม่พิมพ์หินที่แกะไว้เป็นองค์ประกอบลวดลายต่างๆ เช่น กระจัง ก้านขด กระหนก และไข่ปลา เป็นต้น

๒. การเตรียมหุ่นต้นแบบ เป็นหุ่นที่จะใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดเป็นหัวโขน แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟ หรือทำด้วยไม้กลึง ปัจจุบันมักหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์  หุ่นหัวโขนชนิดครอบศีรษะและปิดหน้า มักทำเป็นหุ่นอย่าง “รูปโกลน” หรือใบหน้าอย่างคร่าวๆ มีเค้ารอยตา จมูก ปาก ขมวดผม ตามตำแหน่ง ส่วนหุ่นหัวมงกุฎ หรือชฎาแบบต่างๆ ก็ทำเป็นรูปทรงกระบอกกลางศีรษะไว้สำหรับสวมยอดไม้กลึงแบบต่างๆ

๓. การปิดหุ่นหรือพอกหุ่น เป็นการปิดกระดาษทับลงบนหุ่น โดยใช้กระดาษข่อย กระดาษสา หรือกระดาษฟาง อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัดเป็นแผ่นขนาดเล็กกว่าฝ่ามือ ทาแป้งเปียกให้ทั่ว แล้วปิดทับหุ่นหลายๆ ชั้นให้หนาพอที่จะคงรูปอยู่ได้เมื่อแห้ง และถอดศีรษะออกจากหุ่น จากนั้นนำหุ่นที่ปิดกระดาษไปผึ่งแดดจนแห้งสนิท แล้วนำมา “กวด” ด้วยไม้ ให้กระดาษที่ปิดไว้เข้ารูปเนียนเรียบ

๔. การถอดหุ่น คือการเอาศีรษะกระดาษออกจากหุ่น โดยใช้มีดปลายแหลมกรีดศีรษะกระดาษ จากตรงกลางด้านบนลงข้างหลังให้ขาด แล้วจึงถอดออกจากต้นแบบ จากนั้นนำไปเย็บประสานให้สนิทแล้วปิดกระดาษทับทั้งด้านนอกด้านในให้เรียบร้อย เรียกศีรษะกระดาษว่า “กะโหลก”

๕. การปั้นหน้าหรือกระแหนะ คือการใช้รักตีลายมาปั้นเพิ่มเติมลงบนกะโหลกให้ส่วนคิ้ว คาง ตา จมูก ปาก ปรากฏคมชัดหรือได้อารมณ์ตามที่ช่างต้องการ และปั้นเสริมส่วนโครงของเครื่องศิราภรณ์ เช่น ส่วนเกี้ยวรักร้อย ชั้นกระจัง ฯลฯ ในขั้นตอนนี้ ช่างต้องจัดทำส่วนประกอบของศิราภรณ์ ส่วนของหูและจอนหูหรือกรรเจียกสำหรับประกอบมงกุฏและชฎาที่หัวโขนนั้นๆ สวมอยู่ด้วย โดยใช้แผ่นหนังวัวแห้งมาตัดฉลุเป็นโครง แล้วปั้นรักตีลายให้ละเอียดงดงามต่อเนื่องในขั้นตอนต่อไป

๖. การปั้นรักตีลาย ใช้รักตีลายกดลงบนแม่พิมพ์เป็นลวดลายละเอียด เช่น ตัวกระจัง กระหนก ใบเทศ ก้านกระหนก ไข่ปลา ฯลฯ แล้วนำมาประดับตามตำแหน่งบนกะโหลกที่ได้ปั่นหน้าไว้ดีแล้ว

๗. การลงรักปิดทอง ใช้น้ำรักเกลี้ยงทาทับส่วนที่ทำเป็นลวดลายต่างๆ ที่ต้องการให้เป็นสีทอง ทาทิ้งไว้รอจนแห้งและเรียบสนิทดีแล้วจึงนำทองคำเปลวมาปิดทับให้ทั่ว

๘. การประดับกระจก การประดับพลอยหรือกระจก เป็นการตกแต่งส่วนละเอียด โดยเฉพาะลวดลายที่ไส้ตัวกระจัง ไส้กระหนก ไส้ใบเทศ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประกายแวววาว กระจกที่ใช้เรียกว่า กระจกเกรียบ ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ช่างทำหัวโขนจึงพลอยกระจกประดับแทน




การฟื้นฟูผ้ายกทองแบบโบราณของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
ผ้ายก เป็นผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้เด่นชัดขึ้น ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในฐานะผ้าราชสำนักซึ่งทอด้วยไหมเนื้อละเอียด สอดแทรกลวดลายด้วยไหมเงินไหมทองที่บางเบา และทออย่างประณีต ลวดลายผ้าและกรวยเชิงมีลักษณะแบบราชสำนัก ใช้สำหรับเจ้านายชั้นสูง ทั้งเป็นผ้านุ่งโจงกระเบน นุ่งจีบ ทั้งใช้ห่อคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น  เนื่องจากมีกรรมวิธีทอที่ซับซ้อน ทำให้การทอผ้ายกเกือบจะสูญหายไป  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ ทางภาคใต้ และพระราชทานอาชีพเสริมแก่ราษฎร คือการทอผ้าฝ้าย ปักผ้า สานกระจูด และประดิษฐ์ดอกไม้ เกิดเป็นศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ เมื่อได้ทรงทราบว่าผ้ายกเมืองนครซึ่งมีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตกำลังจะขาดผู้สืบทอด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ที่ได้ฟื้นฟูศึกษากระบวนการทอผ้ายกแบบโบราณจากจังหวัดสุรินทร์ไปฝึกสอน

ปัจจุบันศิลปาชีพบ้านเนินธัมมังและบ้านตรอกแค ซึ่งเริ่มต้นจากการทอผ้าฝ้ายมาสู่การทอผ้าไหม พัฒนาจนสามารถทอผ้ายกทองเมืองนครได้อย่างงดงงาม เป็นการอนุรักษ์พร้อมกับการสร้างรายได้แก่สมาชิกชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งทอผ้ายกราชสำนักมาตั้งแต่โบราณและนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายโขนพระราชทานด้วย















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 สิงหาคม 2566 15:32:11 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2566 16:41:46 »


















ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะกรรมแขนงต่างๆ ที่ใช้ประกอบการแสดงโขนพระราชทานในแต่ล่ะตอนที่ผ่านมา
จัดให้เรียนรู้ที่ อาคารเรียน-รู้ เรื่อง "โขน" ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ได้แก่ ฉาก เครื่องประกอบฉาก เช่น ท้องพระโรง พลับพลา แท่นบรรทม ราชรถ ฯลฯ  เพื่อให้การแสดงโขนมี
ความสมจริงบางชิ้นงานจึงประดิษฐ์ขึ้นจากระบบเทคโนโลยีทางวิศวกรรม สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ เพื่อให้
การแสดงเร้าใจ และน่าตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมยิ่งขึ้นไป



 

งานยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยช่างฝีมือของศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด
ใช้ไม้จริงในการสร้าง (ไม้..?..) ผู้โพสต์ถามไถ่มา แต่ยังหาสมุดที่ได้จดไว้ไม่พบ



ชิ้นงานจากไม้ แกะสลักเรียบร้อยแล้ว รอการนำไปประดับตกแต่ง











แผนกช่างเขียนภาพลายไทย (ฉากประกอบการแสดงโขน)












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 สิงหาคม 2566 16:48:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เจ้าสามพระยา" พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 11102 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2555 21:44:50
โดย หมีงงในพงหญ้า
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "จันทรเกษม" พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 16804 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2555 18:39:08
โดย Kimleng
"พระเจดีย์ภูเขาทอง" อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะของพระเจ้าบุเรงนอง (จ.พระนครศรีอยุธยา)
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 4418 กระทู้ล่าสุด 24 เมษายน 2556 13:32:51
โดย Kimleng
หลวงปู่ลอง สิริธโร วัดวิเวกวายุพัด ต.หนองจิก อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1000 กระทู้ล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2561 16:18:43
โดย ใบบุญ
หลวงปู่ชม อลีนจิตโต วัดโปรดสัตว์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 595 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2562 17:28:28
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.335 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 46 นาทีที่แล้ว