[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 18:40:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝัง “อิเล็กโทรด” ใส่สมองลิงฝึกเป็นอวตาร  (อ่าน 7522 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 ตุลาคม 2554 06:20:03 »



การทดลองให้ลิงใช้สมองควบคุมแขนจำลองเพื่อสัมผัสวัตถุจำลองโดยไม่ขยับร่างกาย จะเป็นความหวังในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้ป่วยอัมพาตกลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้อีกครั้ง (เอเอฟพี)




การทดลองให้ลิงใช้สมองควบคุมแขนจำลองเพื่อสัมผัสวัตถุจำลองโดยไม่ขยับร่างกาย จะเป็นความหวังในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้ป่วยอัมพาตกลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้อีกครั้ง (เอเอฟพี)



ลิงวอก (medicalxpress)




ภาพการใช้มือจำลองสัมผัสวัตถุอวตาร (ไซน์เดลี/Duke Center for Neuroengineering)

แม้ไม่ได้ขยับแขนขาจริงๆ แต่ลิงที่ได้รับการฝัง “อิเล็กโทรด” ลงสมอง สามารถมองวัตถุเสมือนแล้วใช้แขนอวตารเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านั้นได้ และยังรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของสัมผัสจากพื้นผิววัตถุเสมือนเหล่านั้น เป็นก้าวแรกที่จะพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยซึ่งขับแขนขาไม่ได้กลับช่วยเหลือตัวเองได้อีกครั้ง และรับรู้ถึงสัมผัสที่แตกต่างจากวัตถุทั้งหลายได้อีกด้วย
       
       “สักวันหนึ่งในอนาคตอันใกล้ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตขยับแขนขาไม่ได้ จะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้เพื่อขับแขนขาและกลับมาเดินได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่เพียงเท่านั้นยังสัมผัสได้ถึงพื้นผิวของวัตถุที่อยู่ในมือของพวกเขา หรือรับรู้ถึงความแตกต่างของพื้นดินโดยอาศัยโครงกระดูกยนต์ที่สวมใส่ได้ (Wearable robotic exoskeleton)” มิกูเอล นิโคลลิส (Miguel Nicolelis) ศาสตราจารย์ด้านประสาทชีววิทยา จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยดุค (Duke University Medical Center) สหรัฐฯ และผู้อำนวยการร่วมของศูนย์วิศวกรรมประสาทวิทยาดุค (Duke Center of Neuroengineering) ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสของทีมวิจัยสร้างอวตารกล่าว
       
       ทั้งนี้ ข้อมูลจากเมดิคัลเอ็กซ์เพรสและไซน์เดลีรวมถึงเอเอฟพีระบุว่า ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยดุคได้ฝังอิเล็กโทรดลงสมองลิงวอก (rhesus monkey) 2 ตัว เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองของไพรเมท (primate) และร่างกายเสมือน ซึ่งลิงทั้งสองตัวได้รับการฝึกให้ใช้แค่สัญญาณไฟฟ้าในสมองเพื่อเคลื่อนย้ายแขนจำลองและจำแนกความแตกต่างของพื้นผิววัตถุ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายอวัยวะใดๆ ของร่างกายจริง
       
       แม้ว่าเมื่อมองด้วยสายตาแล้ววัตถุเสมือนที่ใช้ในการทดลองจะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่วัตถุเสมือนดังกล่าวก็ยังได้รับการออกแบบมาให้มีพื้นผิวแตกต่างกัน ซึ่งสัมผัสได้เมื่อลิงใช้แขนเสมือนที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าในสมองโดยตรง โดยความแตกต่างของพื้นผิวเสมือนนั้นแสดงออกด้วยรูปแบบการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองของลิง ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบตามชนิดของวัตถุเสมือนนั้นๆ
       
       เหตุเพราะไม่มีส่วนใดของร่างกายจริงที่สัมผัสกับเครื่องมือเชื่อมประสานระหว่างหน้าสัมผัสกับสมองที่เรียกว่าบีเอ็มบีไอ (BMBI: Brain Machine Brian Interface) นี้ ผลจากการทดลองจึงชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตอย่างรุนแรงจากการบาดเจ็บของไขสันหลังอาจได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ซึ่งไม่เพียงแค่ช่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวร่างกายใหม่เท่านั้น แต่ยังช่วยฟื้นฟูการรับรู้ถึงสัมผัสได้อีกครั้ง
       
       นิโคลลิสกล่าวว่า การทดลองนี้สาธิตการเชื่อมต่อระหว่างสมองและร่างกายสมองได้โดยตรง โดยอินเตอร์เฟสบีเอ็มบีไอซึ่งทำหน้าที่เป็นร่างกายเสมือนจะถูกควบคุมโดยตรงจากกิจกรรมในสมองลิง โดยมือเสมือนจะสร้างสัญญาณส่งกลับของพื้นผิวสิ่งทอเสมือนในการทดลอง แล้วส่งสัญญาณจำลองทางไฟฟ้าไปยังเปลือกสมอง (cortex) ของลิง ซึ่งเขาและทีมหวังว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เทคโนโลยีนี้จะช่วยคืนชีวิตอิสระให้แก่ผู้ป่วยที่ถูกขังอยู่ในร่างกายที่เคลื่อนไหวไม่ได้ และยังไม่สามารถรับรู้สัมผัสของโลกที่อยู่แวดล้อม
       
       “การทดลองครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่เราได้สังเกตสมองควบคุมแขนเสมือนที่สำรวจวัตถุขณะที่สมองรับสัญญาณไฟฟ้าสะท้อนกลับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัญญาณดังกล่าวจะแสดงถึงผิวสัมผัสของละเอียดของวัตถุที่รับรู้ผ่านมือเสมือนของลิง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองและอวตารนี้เป็นอิสระอย่างสิ้นเชิงจากร่างกายจริงของลิง เพราะลิงไม่ได้เคลื่อนไหวแขนหรือมือจริงเลย หรือไม่ได้ใช้ผิวหนังจริงสัมผัสวัตถุและจำแนกผิวสัมผัสของวัตถุ มันคล้ายๆ กับการสร้างช่องทางรับสัมผัส ซึ่งสมองสามารถประมวลผลข้อมูลที่ไม่สามารถส่งผ่านร่างกายจริงหรือประสาทส่วนปลายได้” นิโคลลิสอธิบาย
       
       กิจกรรมทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาท 50-200 เซลล์ ในสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว (motor cortex) ของลิงทำหน้าที่ควบคุมการบังคับแขนอวตาร ส่วนเซลล์ประสาทอีกนับพันในสมองส่วนรับรู้สัมผัส (primary tactile cortex) จะรับสัญญาณไฟฟ้าสะท้อนกลับอย่างต่อเนื่องจากอุ้งมือเสมือน ซึ่งช่วยให้ลิงแยกแยะวัตถุโดยอาศัยเพียงผิวสัมผัสของวัตถุได้ ซึ่งนิโคลลิสกล่าวว่าเป็นความสำเร็จที่โดดเด่นในการทดลองกับไพรเมทที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งทำให้ทีมวิจัยเชื่อว่า จะประสบความสำเร็จในมนุษย์อย่างไม่ยากเย็นได้ในอนาคตอันใกล้นี้
       
       ลิงตัวหนึ่งในการทดลองใช้ความพยายามเพียง 4 ครั้ง อีกตัวใช้ความพยายาม 9 ครั้ง ในการเรียนรู้ว่าจะเลือกวัตถุที่ถูกต้องอย่างไรระหว่างการทดลองแต่ละครั้ง ซึ่งการทดลองหลายๆ ครั้งแสดงให้เห็นว่า ลิงสามารถสัมผัสวัตถุได้จริงๆ ไม่ใช่สุ่มเลือก และงานวิจัยนี้ยังแสดงหลักฐานสนับสนุนว่า มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างโครงกระดูกยนต์ที่ผู้ป่วยสามารถสวมใส่เพื่อสัมผัสความรู้สึกจากสิ่งที่อยู่รอบตัว และผู้ป่วยสามารถสั่งการโครงกระดูกยนต์โดยสัญญาณสมองได้โดยตรง เพื่อเคลื่อนไหวได้อย่างอัตโนมัติ และเซ็นเซอร์ซึ่งติดอยู่รอบโครงกระดูกดังกล่าวยังส่งสัญญาณไปยังสมองผู้ป่วยให้สามารถจำแนกความแตกต่างของพื้นผิว รูปร่างและอุณหภูมิของวัตถุนั้นได้
       
       โครงการวอล์กอะเกน (Walk Again Project) ความร่วมมือระดับนานาชาติที่ไม่แสวงผลกำไรที่ก่อตั้งโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิล เยอรมัน สวิสและอเมริกัน ได้คัดเลือกงานวิจัยนี้เพื่อนำไปสู่การบำบัดผู้ป่วยอัมพาตให้กลับมาเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง และทีมนักวิทยาศาสตร์จากโครงการนี้ยังเสนอที่จะสาธิตชุดโครงกระดูกยนต์ในพิธีเปิดการแข่งฟุตบอลโลกในปี 2014 ที่บราซิลด้วย

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000128001


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.269 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 03:33:51