สภา กทม.มีมติลดงบฯ โครงการห้องเรียนปลอดฝุ่น 219 ล้านบาท แม้เห็นด้วยในหลักการ แต่อาจไม่คุ้มค่า
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-09-08 15:22</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ที่มา เฟซบุ๊กเพจ "
สภากรุงเทพมหานคร"</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เมื่อ 6 ก.ย. 66 สก.มีมติลดงบฯ โครงการห้องเรียนเด็กเล็กปลอดฝุ่น 219 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะติดตั้งแอร์ 2 ตัว รวม 6 หมื่น BTU และพัดลมระบายอากาศ ในห้องเรียน ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ให้ นร.วัย 3-6 ปี ด้าน สก.บางส่วนเห็นด้วยกับหลักการ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ติงเงินค่าติดตั้งแอร์สูงเกินไป ไม่คุ้มค่า ‘ศานนท์’ รองผู้ว่าฯ กทม. น้อมรับความเห็น เผยจะไปทำการบ้านเพิ่ม แต่ยังยืนยันว่าควรติดแอร์ในห้องเรียน สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ นร.มากกว่า</p>
<p> </p>
<p>6 ก.ย. 2566 เพจเฟซบุ๊ก "
สภากรุงเทพมหานคร" (สภา กทม.) ถ่ายทอดสดออนไลน์การประชุมสภา กทม. เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงินรวมทั้งสิ้น 90,570,138,630 บาท โดยที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร มติเห็นชอบกับผู้สงวนความเห็น ให้ตัดงบประมาณของสำนักการศึกษาโครงการห้องเรียนเด็กเล็กปลอดฝุ่นใน 6 กลุ่มเขต 429 โรงเรียน วงเงิน 219,339,000 บาท </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="
https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F100064683802906%2Fvideos%2F1037633387392610%2F&show_text=false&width=560&t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สก.เขตลาดกระบัง ในฐานะผู้สงวนความเห็น กล่าวเสนอให้ตัดการปรับปรุงห้องเรียนเด็กเล็กปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล 6 กลุ่มเขต 429 โรงเรียน หรือ 1,743 ห้อง </p>
<p>สุรจิตต์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่น สำหรับเด็กวัย 3-6 ปี จะมีการติดตั้งแอร์ 3 หมื่นบีทียู จำนวน 2 ตัว รวม 6 หมื่นบีทียู และติดพัดลมระบายอากาศ สำหรับห้องเรียน 1 ห้องเรียน และติดตั้งประตู-หน้าต่างมิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 </p>
<p>สุรจิตต์ ระบุต่อว่า อย่างไรก็ตาม แต่เมื่อมาดูโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่นในต่างจังหวัด โดยหยิบยกโครงการห้องปลอดฝุ่นตัวอย่างของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว จ.ลำปาง มีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ บอร์ดแสดงค่าฝุ่นโดยให้เด็กๆ มีส่วนร่วม มีแอปฯ แจ้งเตือนค่าฝุ่น และให้เด็กทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ร่วมกันในโรงเรียน โดยเฉพาะต้นไม้ดักฝุ่น เช่น พลูด่าง ต้นกวักมรกต และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเสริมนิสัย และสุขลักษณะการไม่เผา ซึ่งเป็นต้นตอของฝุ่น PM2.5 ซึ่งทั้งหมดนี้ สุรจิตต์ ระบุว่าใช้งบประมาณเพียง 1 หมื่นกว่าบาท</p>
<p>นอกจากนี้ สก.ลาดกระบัง หยิบยกเอากรณี กทม. มีโครงการนำร่องห้องเรียนสู้ฝุ่น 32 แห่ง โดยเริ่มดำเนินการเสร็จสิ้นตั้งแต่ มี.ค.ที่ผ่านมา โดยให้นักเรียนงดกิจกรรมการกลางแจ้ง ทำความสะอาดภายในห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ ปิดประตู-หน้าต่างอย่างมิดชิด ติดตั้งเครื่องอ่านค่าฝุ่นเรียกว่า "เครื่องยักษ์ขาว" รณรงค์การไม่เผา และปลูกต้นไม้ดักฝุ่น ซึ่งใช้งบฯ เพียง 10,000 กว่าบาทเช่นกัน </p>
<p>สุรจิตต์ ที่ขอสงวนความเห็น ยืนยันว่าเขาเห็นด้วยกับแนวคิดของโครงการ แต่ตั้งคำถามว่า ใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ โดย สก.ลาดกระบัง ชี้แจงการใช้งบฯ ของโครงการดังนี้ งบฯ ปรับปรุงห้องเรียน 231 ล้านบาท ค่าติดแอร์ 2 เครื่อง คิดเป็นเงิน 1 แสนบาท จำนวน 1,743 ห้องเรียน รวมเป็นเงิน 174,300,000 บาท </p>
<p>เปรียบเทียบกับโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่นที่จังหวัดลำปาง และโครงการนำร่อง 32 โรงเรียน กทม. ติดเครื่องฟอกอากาศ 2 เครื่อง ราคา 5,700 บาทเท่านั้น และถ้าประยุกต์โครงการดังกล่าวมาติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในห้องเรียน 1,743 ห้องเรียน รวมเป็นเงิน 9,935,100 บาท ประหงัดงบฯ ไป 164,364,900 บาท ขณะที่บางเขต บางโรงเรียนมีนักเรียนเพียง 1-2 คนเท่านั้น ดังนั้น ตนจึงมีคำถามว่า จะต้องติดแอร์ขนาด 6 หมื่นบีทียู เพื่ออะไร ยกตัวอย่าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีเพียง 1-2 ห้องเรียน เท่านั้น </p>
<p>"ผมเลยอยากตั้งคำถามว่า สิ่งที่ท่านทำโครงการมา มันตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาไหม เพื่อนสมาชิกฟังดีๆ 231 ล้าน กับสิ่งที่ท่านนำร่องไปแล้ว 32 โรงเรียน และท่านก็บอกเองด้วยว่าท่านจะนำร่องให้ครบ …</p>
<p>"ท่านกลับไม่ใช้ที่สิ่งที่ท่านนำร่อง แต่ท่านจะมาติดแอร์ ผมไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับโครงการโรงเรียนปลอดฝุ่น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง… แต่ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการ มันคุ้มค่ากับงบประมาณรึเปล่าท่านประธาน" สุรจิตต์ กล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีความเห็นจากที่ประชุมว่า การนำเด็กไปไว้ในห้องปรับอากาศตลอดเวลานั้นเหมาะสม ปลอดภัยจริงหรือไม่ และยังมีค่าไฟที่เพิ่มขึ้นมา แนะให้ กทม. ถ้าจะทำโครงการนี้ควรติดตั้งโซลาร์เซลล์ควบคู่ไปด้วย และชี้แนวทางแก้ปัญหา คือ การปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักปลูกต้นไม้เพื่อกรองฝุ่น ปลูกฝังให้เด็กรักและผูกพันกับต้นไม้ ตลอดจนงดกิจกรรมกลางแจ้ง และหมั่นทำความสะอาดห้องเรียน</p>
<p>ทางด้าน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชี้แจงว่า เด็กเล็กเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างดี เพราะเป็นช่วงชีวิตที่มีการพัฒนาสมองมากที่สุด หากเราละเลยเด็กเล็ก เราจะเสียโอกาสในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ในขณะที่ตนก็คิดว่าห้องของผู้ว่าฯ เองก็ยังมีเครื่องปรับอากาศ แล้วทำไมห้องเรียนเด็กถึงไม่มีเงินติดเครื่องปรับอากาศให้ ส่วนเรื่องค่าไฟก็เป็นโจทย์ที่จะต้องพิจารณาในอนาคต ควบคู่ไปกับการติดโซลาร์เซลล์ เพราะเด็กทุกคนควรได้เรียนในห้องเรียนที่มีคุณภาพและปลอดภัย ไม่ว่าจะรวยหรือจน</p>
<p>ขณะที่ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดูแลด้านการศึกษา ได้ยอมรับต่อความคิดเห็นของที่ประชุมที่ยังเห็นว่าโครงการดังกล่าวยังไม่คุ้มค่า น้อบรับและจะกลับไปทำการบ้านมาเพิ่ม เพื่อให้พร้อมต่อการเสนองบประมาณรอบหน้า </p>
<p>ทั้งนี้ ศานนท์ เห็นพ้องกับชัชชาติว่า เด็กปฐมวัยเป็นช่วงสำคัญมาก ถ้าพัฒนาการไม่ดีก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตระยะยาว โดยคณะผู้บริหารมีนโยบายรับเด็ก 3 ขวบเข้าโรงเรียน จะทำให้มีเด็กเพิ่ม 50,000 คน ห้องเรียนจึงต้องมีคุณภาพมากขึ้น แม้ว่าช่วงค่าฝุ่นสูง โรงเรียนประกาศหยุดได้ แต่แทนที่เด็กจะต้องอยู่ในบ้านสูดอากาศที่มีฝุ่น สู้สร้างห้องเรียนปลอดฝุ่น ลงทุนติดเครื่องปรับอากาศให้พร้อม ก็อาจจะปลอดภัยกว่า </p>
<p>เว็บไซต์สื่อ "
The Active" รายงานว่า ภายหลังการพิจารณางบประมาณ ศานนท์ ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ใจความว่า ตนอยากขอโทษทุกคนที่ยังทำให้นักเรียน กทม. ไม่สามารถเรียนในห้องเรียนที่ปลอดภัย ปลอดฝุ่นได้ แม้ตนจะยอมรับความเห็นของสภา แต่ปฏิเสธความรู้สึกเสียดายไม่ได้ โดยเฉพาะความเห็นที่ว่า "โรงเรียน กทม. ที่ให้เรียนฟรี จะทำห้องติดแอร์เป็นมาตรฐานเทียบกับเอกชนที่เก็บตังแพงๆ ได้อย่างไร"</p>
<p>"ในวันที่การศึกษาควรเป็นสวัสดิการที่เท่าเทียมทั่วกัน เรายังต้องเดินทางอีกยาวไกลมากเลย ขออภัยทุกคนโดยเฉพาะเพื่อนผองในแวดวงการศึกษา เราคงต้องทำการบ้านกันหนักขึ้นครับ" ศานนท์ กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/105818 







