[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 23:21:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ชำแหละ Watchmen: ความหมายของ ‘คนดี’ และ ‘ฮีโร่’ ในฐานะตัวแทนแนวคิดเชิงจริยศาสตร์ 2  (อ่าน 76 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 กันยายน 2566 00:37:12 »

ชำแหละ Watchmen: ความหมายของ ‘คนดี’ และ ‘ฮีโร่’ ในฐานะตัวแทนแนวคิดเชิงจริยศาสตร์ 2
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-09-09 22:29</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภัทรพล เป็งวัฒน์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>อารัมภบท</strong></p>
<p>บทความในตอน (1/2) ได้พาผู้อ่านไปสำรวจและมองเห็นอีกหนทางหนึ่งในการให้ความหมาย ‘คนดี’ ที่ภาพยนตร์ Watchmen ชวนเราทุกคนตั้งคำถาม ในบทความนี้ผู้เขียนมีความตั้งใจจะนำเสนอและชวนทำความเข้าใจแนวคิดเชิงจริยศาสตร์แบบต่างๆ ผ่านตัวละครฮีโร่แต่ละตัวในภาพยนตร์ Watchmen ด้วยคาแรคเตอร์ของฮีโร่แต่ละตัวที่โดดเด่น แตกต่าง และเป็นตัวของตัวเอง รวมความไปถึงวิธีคิดและการกระทำของพวกเขาที่ปรากฏในเนื้อหาภาพยนตร์ ทำให้เห็นถึงแนวคิดเชิงจริยศาสตร์แบบต่างๆ ได้ดี เอาเป็นว่า ฮีโร่แต่ละตัวจะเป็น ‘ตัวแทน’ ของแนวคิดเชิงจริยศาสตร์แบบใดบ้าง พวกเขารอผู้อ่านอยู่ ในบรรทัดถัดไป</p>
<p>ทีม Watchmen ในฉบับภาพยนตร์ประกอบไปด้วยตัวละครหลักทั้งหมด 6 ตัว คือ เดอะคอมเมเดี้ยน (The comedian) ดร.แมนฮัตตัน (Doctor Manhattan) ไนต์อาวล์ (Nite Owl) โอซีแมนเดียส (Ozymandias) รอร์แชค (Rorschach) และ ซิลก์สเปคเทอร์ (Silk Specter) ทว่าในบทความนี้จะทำการกล่าวถึงเพียง 4 ฮีโร่ที่เป็นตัวแทนแนวคิดทางจริยศาสตร์ 4 แบบ ได้ดี แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักแนวคิดจริยศาสตร์ที่ปรากฏในภาพยนตร์ ก่อนอื่นเรามีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ‘จริยศาสตร์’ เสียก่อน</p>
<p><strong>จริยศาสตร์คืออะไร?</strong></p>
<p>เมื่อกล่าวถึงคำว่า ‘จริยศาสตร์’ หลายต่อหลายคนคงรู้สึกไม่คุ้นเคย และมีความรู้สึกว่าคำคำนี้ช่างห่างไกลตัวเหลือเกิน อนึ่งอาจจะเกิดจากการที่สังคมไทยมีความสัมพันธ์กับวิชาปรัชญาในรูปแบบที่คล้ายกับว่าจะอยู่ใกล้ แต่ในความเป็นจริงกลับห่างไกลวิชาปรัชญาและกระบวนการทำปรัชญาซึ่งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากระบบการศึกษาและการให้ความสำคัญอันน้อยนิดกับพื้นที่ของความเห็นต่าง ความหลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการตั้งคำถามซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในวิชาปรัชญา (ผู้เขียนขอเก็บประเด็นนี้ไว้ก่อน) การห่างไกลจากวิชาปรัชญา จึงทำให้ห่างไกลจากความเข้าใจ จริยศาสตร์ แล้วเราสามารถเข้าใจจริยศาสตร์ได้อย่างไร?</p>
<p>ในความเป็นจริงแล้ว จริยศาสตร์ เป็นเรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นและแทบเป็นเนื้อเดียวกับการมีชีวิต จริยศาสตร์ถือเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน โดยเรียบง่ายที่สุด จริยศาสตร์เป็นเรื่องที่ข้องเกี่ยวกับ ‘การกระทำ’ อันเป็น ‘ขั้นต่อ’ จากการมองมองเห็นและเข้าใจโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มนุษย์เข้าใจตนเองและโลกอย่างไร ก็จะเลือกกระทำต่อบางสิ่งบางอย่างตามความเข้าใจที่เขาเข้าใจ เลือกคิด และเลือกเชื่อ เช่นนั้น</p>
<p>จริยศาสตร์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจกระทำการบางอย่างในชีวิต โดยจริยศาสตร์วางอยู่บนความเป็นไปได้ ความเป็นไปได้ที่ว่านี้ เป็นความเป็นไปได้ของการกระทำ กล่าวคือ การเลือกกระทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แน่นอนว่า การกระทำนั้นอาจขัดแย้งกันกับธรรมชาติหรือความปกติทั่วไป การกระทำนั้นอาจมีที่มาจากมโนสำนึก ความเป็นไปได้ของจริยศาสตร์นั้นช่วยให้เกิดการขบคิด จริยศาสตร์รั้งเหนี่ยวเราจากความเรียบง่ายในการอธิบายสิ่งที่จะเกิดภายหลังที่เรากระทำบางอย่างลงไป และอนุญาตให้เราตัดสินใจว่าการกระทำใดควรหรือไม่ควรจะเกิดขึ้น จริยศาสตร์พาเราทะยานไปกับคำถามที่ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ดีที่สุด? เมื่อต้องตัดสินใจในสถานการณ์บางอย่าง บนความเป็นไปได้ทั้งหมด นอกจากนี้แล้วจริยศาสตร์ยังไถ่ถามถึงความรับผิดชอบต่อการกระทำอันเป็นผลมาจากความคิดความเชื่อและการกระทำของเรา<a href="#_ftn1" name="_ftnref1" title="" id="_ftnref1">[1][/url] การตอบคำถามทางจริยศาสตร์เหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่จะทำความเข้าใจหนทางของชีวิตและจะนำไปสู่คำตอบของคำถามอย่าง ชีวิตที่ดีที่สุดคืออะไร? และความหมายของชีวิตคืออะไร? อีกด้วย</p>
<p><strong>จริยศาสตร์ ไม่ใช่ ศีลธรรม</strong></p>
<p>ผู้คนส่วนมากมักเข้าใจว่า จริยศาสตร์ เป็นสิ่งเดียวกับ ศีลธรรม แต่ในความเป็นจริงแล้ว จริยศาสตร์ ไม่ใช่ ศีลธรรม แต่อาจมีเนื้อหาบางประการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่บ้าง จริยศาสตร์ให้ความสำคัญกับการสอบทานเกี่ยวกับเรื่องของคุณค่า หลักการ และจุดมุ่งหมาย ของการกระทำ<a href="#_ftn2" name="_ftnref2" title="" id="_ftnref2">[2][/url] จริยศาสตร์ให้ความสำคัญกับ คำถาม ‘ควร’ ทำอะไร ซึ่งการตอบคำถามนี้เป็นการสะท้อนการตัดสินใจที่ขึ้นตรงกับกระบวนการคิดหรือกรอบคิดที่ผู้ตอบคำถามยึดในคุณค่า หลักการ และจุดประสงค์ ไม่ใช่การตัดสินใจจากพฤติกรรมที่ไม่ผ่านการไตร่ตรอง ขนบสังคม หรือ ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง คุณค่าที่ว่านี้คือ คุณค่าความดี หลักการที่ว่าคือ หลักการของความถูกต้อง และ จุดประสงค์ คือ จุดประสงค์หมายมุ่งสำคัญต่อการเติมเต็มความหมายของการมีชีวิตอยู่<a href="#_ftn3" name="_ftnref3" title="" id="_ftnref3">[3][/url]</p>
<p>ในทางตรงกันข้าม ศีลธรรม หมายถึง ระบบของคุณค่า กฎเกณฑ์เชิงปทัสถาน หรือแนวคิดความเชื่อบางอย่างที่มีมาตรบ่งชี้ในการตัดสินความดี ความชั่ว ความถูกต้อง ความผิด อยู่แล้ว โดยการตัดสินขึ้นอยู่กับว่าจะอ้างอิงหรือมีฐานคิดอยู่บนความเชื่อตามวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา หรือ ความเชื่อทางปรัชญาแบบใด<a href="#_ftn4" name="_ftnref4" title="" id="_ftnref4">[4][/url] ระบบศีลธรรมใดๆ ก็ตาม นับว่าเป็นเครื่องมือนำทางในระดับปัจเจกบุคคล ทำหน้าที่เสมือนคู่มือเดินทางสำหรับบุคคลในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินชีวิต ศีลธรรมเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในสังคมหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปตามบริบทสังคม มีความเกี่ยวข้องชี้วัดว่าสิ่งใดถูกหรือผิด และขึ้นตรงกับปัจเจกบุคคล ศีลธรรมสามารถกระทำการเป็นตัวการที่ควบคุมคุณค่าและความเชื่อ รวมถึงการกำหนดการตัดสินใจและพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปตามระบบศีลธรรมที่ปัจเจกบุคคลนั้นเชื่อหรือยึดถือ<a href="#_ftn5" name="_ftnref5" title="" id="_ftnref5">[5][/url] ในเชิงประวัติศาสตร์ บางครั้งศีลธรรมเกิดขึ้นและเกี่ยวข้องอย่างแนบสนิทกับขนบคติทางศาสนา เป็นระบบศีลธรรมที่มีฐานคิดจากศาสนา ทั้งนี้โดยภาพรวมแล้ว ศีลธรรมเป็นมาตรวัดหรือระบบคิดบางอย่างที่อยู่ในฐานะเครื่องมือสำหรับยึดถือในการตัดสินความถูกผิดของผู้คนในสังคมหนึ่งๆ<a href="#_ftn6" name="_ftnref6" title="" id="_ftnref6">[6][/url] คนสองคนที่เป็นเพื่อนกันอาจมีความเชื่อในระบบศีลธรรมที่ต่างกัน หรือ สังคมของผู้คนที่มีช่วงวัยแตกต่างกันมากอาจมีระบบศีลธรรมที่ยึดเป็นปทัสถานที่ต่างกัน</p>
<p><strong>ศีลธรรม อาจบอกกับเราว่าทำสิ่งนี้แล้ว ดี หรือ ไม่ดี ถูก หรือ ผิด แต่จริยศาสตร์บอกให้เราตั้งคำถามว่า ความดี คืออะไร การกระทำอะไร คือ ความถูกต้อง และชีวิตที่ดี มีความหมายเป็นชีวิตแบบใด </strong></p>
<p><strong>‘ฮีโร่’ ในฐานะตัวแทนแนวคิดเชิงจริยศาสตร์แบบต่างๆ</strong></p>
<p><strong>รอร์แชค: Kantian Ethics</strong></p>
<p style="text-align: center;"><strong><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/3473/3372912823_4683c7a28b_o_d.png" style="width: 500px; height: 397px;" /></strong></p>
<p>มาเริ่มต้นกันที่รอร์แชค ตัวละครหลักผู้ขับเคลื่อนเรื่องราวในภาพยนตร์ ชายผู้ปิดบังใบหน้าด้วยหน้ากากสีขาวที่มีหมึกสีดำที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอดเวลา รอร์แชคเป็นชื่อที่มีที่มาจากทฤษฎีการทดสอบทางจิตวิทยา Rorschach เป็นการทดสอบโดยให้ผู้ทดสอบดูภาพหมึกและให้อธิบายสิ่งที่พวกเขาเห็น การทดสอบเชื่อว่าจะช่วยบอกถึงบุคลิกภาพและเชื่อว่าจะเปิดเผยจิตไร้สำนึกของผู้ทดสอบ จากแนวคิดที่เขานั้นยึดถือ รอร์แชคนั้นเชื่อว่าโลกใบนี้มีความดีและความชั่วร้ายเท่านั้น การตัดสินทางจริยศาสตร์แบ่งออกเป็นสองขั้ว ไม่ขาวก็ดำ ถ้าเป็นดำก็ไม่ใช่สีขาว ตามความคิดของรอร์แชคจึงไม่มีพื้นที่สีเทาหรือพื้นที่ของความคลุมเครือของการตัดสินเชิงจริยธรรมอยู่เลย ดังที่เขากล่าวในเรื่องว่า “Because there is good and there is evil, and evil must be punished. Even in the face of Armageddon I shall not compromise in this.” (โลกนี้มีสิ่งดีและสิ่งเลวทราม ความชั่วร้ายต้องถูกลงทัณฑ์ แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับวันสิ้นโลก (Armageddon ตามความเชื่อในคริสตศาสนา) ฉันไม่ควรประนีประนอมกับสิ่งนี้) การจัดแบ่งความดีและความเลวออกเป็นสองขั้ว รวมถึงการยืนหยัดต่อความถูกต้อง โดยไม่ประนีประนอมว่าหรือย่อหย่อน รอร์แชคจึงเป็นตัวแทนแนวคิดจริยศาสตร์แบบค้านท์ (Kantian Ethics) อิมเมนูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant, 1724 - 1804) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้เห็นว่ากฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่แท้จริงจะต้องสามารถนำไปใช้ได้กับมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในบริบทหรือสถานการณ์ใดก็ตาม ค้านท์เสนอแนวคิดความจำเป็นเด็ดขาด (Categorical Imperatives) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญการทำตามหน้าที่หรือกฎสากลที่ใช้ได้กับทุกคน ทุกสถานการณ์ โดยไม่คำนึงถึงผลของการกระทำ<a href="#_ftn7" name="_ftnref7" title="" id="_ftnref7">[7][/url] การให้น้ำหนักเชิงคุณค่าตามแนวคิดนี้เน้นไปที่การทำตามหน้าที่โดยปราศจากอารมณ์ ความรู้สึก และการคำนึงถึงผลของการกระทำมาเป็นเงื่อนไขในการกระทำการใดๆ การกระทำที่มีคุณค่าสำหรับค้านท์จึงเป็นการกระทำที่เกิดมาจากการสำนึกในหน้าที่เท่านั้น และ ความแน่นอนตายตัวของคุณค่าทางจริยธรรมเป็นไปตามกฎเกณฑ์สากลที่สามารถใช้ตัดสินได้ทุกที่ ทุกเวลา</p>
<p> </p>
<p><strong>โอซีแมนเดียส: Utilitarian Ethics</strong></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53174515707_bec49e35bf_o_d.jpg" style="width: 500px; height: 724px;" /></p>
<p>“A world united in peace… there had to be sacrifice.” (โลกาจะสันติรวมเป็นหนึ่ง … เสียสละจึงต้องเกิด) คำกล่าวแสดงความหวังและความตั้งใจของโอซีแมนเดียส ฮีโร่ผู้ต้องการเห็นมวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก เขาคือฮีโร่ผู้ผันตัวมาเป็นนักลงทุนด้านอุตสาหกรรมและประธานกรรมการบริหารเครืออุตสาหกรรม ในภาพยนตร์เขาเป็นผู้วางแผนที่จะรวมชาวโลกให้เป็นหนึ่งเดียว เขามีแผนการที่หวังจะป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 โดยการฆ่าผู้คนหลายล้านคน เขาเชื่อว่าการนำมาซึ่งความสงบสุขของมวลมนุษย์มีความจำเป็นต้องมีผู้เสียสละ ล้มตาย หรือเจ็บปวดเสมอ ด้วยความเชื่อเช่นนี้ โอซีแมนเดียสจึงเป็นตัวแทนที่ดีของแนวคิดจริยศาสตร์แบบประโยชน์นิยม หรือ หลักมหสุข (Utilitarian Ethics) แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับความสุขมวลรวม กล่าวคือ การกระทำใดที่ก่อให้เกิดความสุขในเชิงปริมาณมากที่สุดและความสุขนั้นเกิดแก่ผู้คนจำนวนมากมากที่สุด การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ดีและถูกต้อง แนวคิดประโยชน์นิยมจะมองเพียงผลของการกระทำเป็นที่ตั้ง ไม่สนใจวิธีการที่นำไปสู่ผลนั้น ขอเพียงให้เกิดสุขมวลรวมมากที่สุดก็นับว่าเป็นการกระทำที่ดี แนวคิดดังกล่าวนี้มีนักปรัชญาคนสำคัญที่มักถูกกล่าวถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงประโยชน์นิยม นั่นคือ เจเรมี เบนธัม (Jeremy Bentham, 1784 - 1832) เบนธัมเริ่มต้นจากการมองว่ามนุษย์นั้นเกิดมาเพื่อแสวงหาความสุข และการแสวงหาความสุขที่มนุษย์ต้องการในตนเอง ขณะเดียวกันมันคือการกีดกันตัวเองให้ห่างไกลจากความทุกข์ยาก มนุษย์จึงมีแรงขับเคลื่อนภายในและแสดงออกมาเป็นการกระทำ<a href="#_ftn8" name="_ftnref8" title="" id="_ftnref8">[8][/url]</p>
<p>จากแนวคิดของโอซีแมนเดียส นำไปสู่คำถามที่ว่า ความสุขแบบมวลรวม จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแลกมาด้วยชีวิตมนุษย์บางคน เพื่อให้ มนุษย์บางคนมีชีวิตอยู่ได้ การสนใจเพียงแต่คำตอบ หรือ ผล แล้วละเลยวิธีการ เป็นทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดจริงหรือ?</p>
<p> </p>
<p><strong>เดอะคอมเมเดี้ยน: Nihilism</strong></p>
<p style="text-align: center;"><strong><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/2210/3535103723_2870cb5d62_o_d.png" style="width: 500px; height: 678px;" /></strong></p>
<p>เดอะคอมเมเดี้ยน ถือเป็นตัวแทนของแนวคิดสูญนิยม (Nihilism) (สำหรับวีรกรรมของตัวละครนี้ ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1/2 จึงจะไม่ขอกล่าวซ้ำ) การมีบุคลิกแบบเสเพลย์บอยที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ของตัวละครนี้ ทำให้สอดคล้องโยงใยไปกับการมองโลกแบบสูญนิยม สูญนิยมปฏิเสธคุณค่าของทุกสิ่ง ปฏิเสธการสร้างคุณค่าและการให้คุณค่าของทุกสิ่ง  สูญนิยมเชื่อว่าทุกสิ่งอย่างนั้นล้วนไร้ความหมาย สูญนิยมมีการแตกแขงแนวคิดแยกย่อยออกไปในหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้มีหลักการอันเป็นพื้นฐานสำคัญร่วมกันอยู่ นั่นคือ เชื่อว่าการดำรงอยู่เป็นสิ่งไร้คุณค่า ไม่มีความจริงแท้ และ ทุกสิ่งไม่มีความหมายทั้งสิ้น เมื่อมองโลกเช่นนี้ นักคิดสูญนิยมจึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะยึดถือหลักการหรือคุณค่าใดๆ ไว้ ทั้งเรื่องของความจริง คุณความดี ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น และการมองโลกบนฐานการมองที่เชื่อว่าโลกใบนี้ปราศจากความหมายและคุณค่าที่แท้ การกระทำที่มนุษย์กระทำไปมันจึงไร้ความหมายไปด้วย ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามแต่ทุกสิ่งทั้งการกระทำและผลของการกระทำล้วนไร้ความหมายทั้งสิ้น รวมความไปถึง ความหมายของการมีชีวิตอยู่ก็นับว่าไร้คุณค่าและความหมายเช่นกัน<a href="#_ftn9" name="_ftnref9" title="" id="_ftnref9">[9][/url] ดังที่ชายหนุ่มผู้ใช้ชีวิตอย่างโลดโผนเดอะคอมเมเดี้ยนได้กระทำลงไป ล้วนส่อถึงการใช้ชีวิตที่ไม่เชื่อว่ามีความดี ความชั่ว ดำรงอยู่ ทุกสิ่งอย่างในชีวิตล้วนเป็นเรื่องตลกขบขัน ทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือเรื่องราวของความสนุกสนานเฮฮา เดอะคอมเมเดี้ยน ชายผู้พกพาเข็มกลัดอิโมจิรูปยิ้มสีเหลืองไปกับเขาทุกแห่งหน แม้ในวาระสุดท้ายของชีวิตรอยยิ้มสีเหลืองเปื้อนเลือดคือพยานเพียงหนึ่งเดียวของการจากไปของเขา ก่อนสิ้นลมหายใจเสียงหัวเราะให้กับความตายของเขาดังขึ้นพร้อมๆ กันกับเสียงเพรียกแห่งความเริงร่า ร้องดังว่า </p>
<p>"Once you realize what a joke everything is, being the Comedian's is the only thing that makes sense." (เมื่อคุณตระหนักรู้ถึงความหรรษาที่เป็นอยู่ในทุกสรรพสิ่ง การเป็นเดอะคอมเมเดี้ยนเป็นสิ่งเดียวที่สมเหตุสมผล) (เดอะคอมเมเดี้ยน สื่อถึงการเป็นตัวตลก นักแสดงตลก)</p>
<p> </p>
<p><strong>Manhattan: Existentialism</strong></p>
<p style="text-align: center;"><strong><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/3360/3252470127_294913d3a6_o_d.jpg" style="width: 500px; height: 452px;" /></strong></p>
<p>อีกหนึ่งตัวละครที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ด๊อกเตอร์แมนฮัตตัน แน่นอนว่าชื่อของเขามาจากโครงการแมนฮัตตันที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาคือนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่ถูกจับเข้าไปทดลองกับอนุภาคกัมมัตรังสีจนทำให้เขาเปลี่ยนรูปแบบของการดำรงอยู่จากมนุษย์ไปอยู่ในภาวะคล้ายพระเจ้า ดังที่ภาพยนตร์แสดงให้เห็น แมนฮัตตันเป็นฮีโร่ที่คล้ายว่ามีอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับอนุภาคนิวเคลียร์ จะขอกล่าวถึงความเป็นของแมนฮัตตันโดยคร่าว แมนฮัตตันมีความสามารถที่ ‘เข้าใกล้การมีอำนาจ’ ‘เข้าใกล้ความทรงภูมิ’ และ ‘เข้าใกล้การปรากฏทุกหนแห่ง’ (Nigh-Omnipotence, Nigh-Omniscience and Nigh-Omnipresence) ในภาพรวมคือการเข้าใกล้ภาวะพระเจ้า (God-like being) ตามขนบแนวคิดคริสต์ศาสนา หรือ อาจกล่าวได้ว่า แมนฮัตตัน ‘ก้าวพ้น’ ภาวะการเป็นอยู่แบบมนุษย์ หรือ Post-human being การนำเสนอตัวละครแมนฮัตตันนี้ในทางหนึ่งคือ การยกชูวิทยาศาสตร์ว่าวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือความรู้แบบอื่นๆ ทั้งหมด การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์นิวเคลียร์ในภาพยนตร์สามารถนำไปสู่การถือกำเนิดภาวะบางอย่างที่ประกอบกันขึ้นมาวัตถุ อะตอม ที่เป็นพื้นฐานและเป็น ‘ความจริง’ ตามองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตคือ ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) และ จักรวาลวิทยา (Cosmology)</p>
<p>แมนฮัตตัน ผู้อยู่ในภาวะเหนือมนุษย์ หรือ ‘สูงไปกว่า’ มนุษย์ นี้ สะท้อนแนวคิดจริยศาสตร์ของการดำรงอยู่ หรือ การพิจารณาความเป็นอยู่ตามแนวคิดอัตถิภาวนิยม ก่อนอื่นหากเราย้อนกลับไปดูตัวละครที่เป็นมนุษย์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เราจะเห็นว่า มนุษย์ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ล้วนแล้วแต่มีชีวิตอยู่เพื่ออะไรบางอย่าง ความหมายของการมีชีวิตของมนุษย์ในภาพยนตร์เรื่องนี้มีการคาดการณ์หรือคาดหวังต่อการดำรงอยู่ของตนเอง ซึ่งต่างจากแมนฮัตตันที่ถือครองความเหนือมนุษย์ รวมถึงการอยู่เหนือความตาย หากเราลองมองมะลุลงไปถึงการมีอยู่ที่ไม่จำกัด หรือ การไม่ตาย คำถามที่เกิดขึ้นในบันไดขั้นต่อมาคือ ชีวิตเราจะมีความหมายหรือไม่ การตายหรือการสิ้นสุดของภาวะการดำรงอยู่ เป็นเสียงเรียกให้เราทำอะไรบางอย่างที่มีความหมายกับชีวิตก่อนตายใช่หรือไม่?</p>
<p>มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger, 1889 - 1976) นักปรัชญาชาวเยอรมัน เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ (ผมขอกล่าวอย่างย่นย่อ) ไฮเดกเกอร์พิจารณาถึงความตายในแง่ที่ว่า ความตายต่างจากการเกิดตรงที่ การเกิดมาบนโลกเป็นความแน่นอน แต่ความตายเป็นภาวะที่ ยังมาไม่ถึง ความตายสัมพันธ์กับการดำรงอยู่หรือการมีชีวิตอยู่ตรงที่ว่า การตายเป็นจุดจำกัดหรือจุดสิ้นสุดการมีชีวิต สำหรับไฮเดกเกอร์แล้ว การตายคือภาวะของการสิ้นสุด (finite) ความเป็นไปได้ของการดำรงอยู่ ไฮเดกเกอร์จึงเสนอภาวะ Being-toward-death ภาวะที่การดำรงอยู่ของมนุษย์เผชิญกับภาวะที่ตระหนักรู้ถึงความตายในฐานะจุดสิ้นสุดของการดำรงอยู่ ภาวะดังกล่าวจะเกิดเสียงมโนสำนึกภายในที่บอกกับการดำรงอยู่ของตนเองได้ว่า ‘อะไรคือความหมายที่แท้จริงของตัวมันเองที่มนุษย์ต้องทำก่อนเผชิญความตาย’<a href="#_ftn10" name="_ftnref10" title="" id="_ftnref10">[10][/url] (ขอเน้นย้ำว่านี่เป็นเพียงการกล่าวถึงการอธิบายมนุษย์ในเชิงภววิทยาของไฮเดกเกอร์แบบย่นย่อ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และมิใช่ทั้งหมด หากจะกล่าวถึงอย่างจริงจังถึงโครงสร้างที่ไฮเดกเกอร์เสนอไว้ จำเป็นที่จะต้องอธิบายให้ละเอียดและลงลึกกว่านี้)</p>
<p>เมื่อแมนฮัตตันจะไม่ตาย ผู้อ่านคิดว่า อะไรคือความหมายของการมีชีวิตอยู่ของแมนฮัตตัน? …</p>
<p><strong>ก่อนจากกัน นี่เป็นเพียง ข้อเขียนที่ชักชวนให้ผู้อ่านตั้งคำถาม และ สนุก ไปกับปรัชญาผ่านภาพยนตร์ ด้วยวาดหวังว่า ปรัชญา จะงามงอก ในประเทศที่ประชาชนโชคไม่ค่อยจะดีนัก … </strong></p>
<p style="text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"> </p>
<p style="text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"> </p>
<p style="text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1" title="" id="_ftn1">[1][/url] https://ethics.org.au/about/what-is-ethics/</p>
<div>
<div id="ftn2">
<p><a href="#_ftnref2" name="_ftn2" title="" id="_ftn2">[2][/url] ibid</p>
</div>
<div id="ftn3">
<p><a href="#_ftnref3" name="_ftn3" title="" id="_ftn3">[3][/url] https://ethics.org.au/ethics-explainer-ethics-morality-law/</p>
</div>
<div id="ftn4">
<p><a href="#_ftnref4" name="_ftn4" title="" id="_ftn4">[4][/url]https://www.oxfordreference.com/display/10.1093/oi/authority.20110803100208797;jsessionid=0D432938D1085722F3F33BEBA3D6C88B</p>
</div>
<div id="ftn5">
<p><a href="#_ftnref5" name="_ftn5" title="" id="_ftn5">[5][/url] https://www.geeksforgeeks.org/what-is-morality/</p>
</div>
<div id="ftn6">
<p><a href="#_ftnref6" name="_ftn6" title="" id="_ftn6">[6][/url] https://ethicsunwrapped.utexas.edu/glossary/morals</p>
</div>
<div id="ftn7">
<p><a href="#_ftnref7" name="_ftn7" title="" id="_ftn7">[7][/url] https://corporatefinanceinstitute.com/resources/esg/kantian-ethics/</p>
</div>
<div id="ftn8">
<p><a href="#_ftnref8" name="_ftn8" title="" id="_ftn8">[8][/url] ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. 2531. การศึกษาเชิงวิจารณ์หลักมหสุขของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ / ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่</p>
</div>
<div id="ftn9">
<p><a href="#_ftnref9" name="_ftn9" title="" id="_ftn9">[9][/url] https://www.masterclass.com/articles/what-is-nihilism</p>
</div>
<div id="ftn10">
<p><a href="#_ftnref10" name="_ftn10" title="" id="_ftn10">[10][/url] https://philosophynow.org/issues/27/Death_Faith_and_Existentialism</p>
<p> </p>
<p><strong>ที่มาภาพปก:</strong> Rohan https://www.flickr.com/</p>
</div>
</div>
<p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง:</strong> ชำแหละ Watchmen: ความหมายของ ‘คนดี’ และ ‘ฮีโร่’ ในฐานะตัวแทนแนวคิดเชิงจริยศาสตร์ 1 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105843
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คนดี กับ คนไม่ดี (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
ธรรมะจากพระอาจารย์
แคทรีนจังกกไข่ 0 6102 กระทู้ล่าสุด 04 สิงหาคม 2557 11:01:14
โดย แคทรีนจังกกไข่
Wolves จากผู้เขียนบท X-Men และ Watchmen
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 0 1197 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2557 22:52:29
โดย มดเอ๊ก
เราไม่ได้อยู่เพื่อตัวเองอีกแล้ว ชีวิตที่เปลี่ยนไป กอล์ฟ-ฟักกลิ้ง ฮีโร่ หลังมีเธอ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 983 กระทู้ล่าสุด 30 สิงหาคม 2559 01:27:17
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - ชำแหละ Watchmen: ความหมายของ ‘คนดี’ และ ‘ฮีโร่’ ในฐานะตัวแทนแนวคิดเชิงจริยศาสตร์ 2
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 93 กระทู้ล่าสุด 09 กันยายน 2566 22:55:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - เผยโฉม 2 ฮีโร่ ตำรวจหมวกทอง ผู้เข้าควบคุมตัวคนร้ายกราดยิง กลัวแต่มันคือหน้าที่
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 60 กระทู้ล่าสุด 04 ตุลาคม 2566 02:45:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.197 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 13:07:23