[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 21:54:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รมว.ดิจิทัลฯ ตอบข้อสงสัยต่อนโยบายดิจิทัลของรัฐบาล หวังประชาชนไทยปรับตัวใช้เท  (อ่าน 302 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 กันยายน 2566 12:17:54 »

รมว.ดิจิทัลฯ ตอบข้อสงสัยต่อนโยบายดิจิทัลของรัฐบาล หวังประชาชนไทยปรับตัวใช้เทคโนโลยีใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-09-12 19:45</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประเสริฐ รมว.ดิจิทัลฯ ตอบข้อสงสัยต่อนโยบายดิจิทัลของสมาชิกรัฐสภา กระทรวงจะผลักดันรัฐบาลดิจิทัล ทั้งการใช้ระบบคลาวด์ การแบ่งปันข้อมูลให้ทั้งประชาชนและเอกชนเข้าถึงได้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลด้วย PDPA และใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงลดขั้นตอนการติดต่อราชการเพื่อลดขั้นตอนการใช้ดุลพินิจของราชการเพื่อป้องกันการทุจริต</p>
<p>11 ก.ย.2566 ที่รัฐสภา เกียกกาย มีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 เป็นวันที่ 2 ประเสริฐ จันทรรวงทอง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ชี้แจงต่อข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภาในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายด้านดิจิทัลของรัฐบาล</p>
<p>ประเสริฐกล่าวว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เช่น ดิจิทัลวอลเล็ตและบล็อกเชน อีก โดเมน ซึ่ง เรามี ความตั้งใจ ที่ จะให้ เอา ระบบ เหล่านี้ มา รวมกัน เป็น ดิจิทัลคอนเวอร์เจนซ์อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้า ถึงทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคบริการเพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ให้กับประชาชนได้มากขึ้น</p>
<p>รมว.ดิจิทัลฯ กล่าวถึงนโยบายแรกคือนโยบายการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ(Cloud First Policy) แนวทางที่รัฐบาลได้จัดทำรายละเอียดเป็นกรอบการขยายการใช้งานคลาวด์เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเน้นการสร้างพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูลของภาครัฐที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งรัฐบาลยังมีโครงการที่จะดึงบริษัทชั้นนำทั่วโลกมาลงทุนระบบคลาวด์ดาต้าในประเทศไทยและจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้วย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53182865033_116b09b029_b.jpg" style="width: 1024px; height: 576px;" /></p>
<p>นอกจากนั้นเพื่อเป็นการปรับแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างก็จะใช้คลาวด์เพื่อให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดช่องทางให้มีการเช่าพื้นที่บริการ และรัฐบาลจะทำให้การจ้างเขียนโปรแกรมที่มีผู้อภิปรายตั้งข้อสังเกตหมดไป ด้วย</p>
<p>ประเสริฐกล่าวถึงเรื่องการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) เป็นกรอบที่มีความชัดเจนแล้วโดยขณะนี้กฎหมายได้วางมาตรฐา นรับรองไว้แล้ว ส่วนในด้านการบริการมีทั้ง ThaiID และ NDIDเป็นตัวตนของผู้ให้บริการในระบบอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำธุรกรรมทางออนไลน์ต่างๆ ได้ไม่น้อยกว่า 10ล้านคน และขณะนี้กระทรวงอยู่ระหว่างการขยายรูปแบบการใช้งานทำให้ระบบนี้ติดต่อดำเนินการผ่านหน่วยงานรัฐและติดต่อค้าขายได้อย่างน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น</p>
<p>รมว.ดิจิทัลฯ กล่าวในประเด็นต่อมาคือ สมาร์ทซิตี้หรือการพัฒนาพื้นที่ระดับเมือง ได้ส่งเสริมการนำบิ๊กดาต้าเข้ามาใช้เผื่อเป็นประโยชน์ โดยเชื่อมโยงข้อมูลเมืองในแต่ละชั้นข้อมูลและรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลผ่านซิตี้ดาต้าแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นวิธีในการ พัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่มีอัจฉริยะ</p>
<p>ประเสริฐกล่าวถึงการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขทำเฮลท์ลิงก์ เพื่อให้ประชาชนเข้ารับบริการด้านสาธารณสุขได้ทั่วประเทศทุกโรงพยาบาลด้วยบัตรประชาชนใบเดียว นอกจากนั้นแล้วยังสามารถเช็คข้อมูลประวัติการรักษาข้ามโรงพยาบาล นอกจากนั้นยังทำทราเวลลิงก์ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม เชื่อมโยงข้อมูลนักท่องเที่ยวด้วย แสดงให้เห็นการทำงานระหว่างข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชน ถือเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53182865028_2ca30b601f_b.jpg" /></p>
<p>กระทรวงดิจิทัลฯ ยังได้เตรียมการทำ “ระบบรัฐบาลดิจิทัล” โดยจัดทำแผนแม่บทในการบูรณาการความแตกต่าง ของแต่ละกระทรวงมาพัฒนาระบบสารสนเทศของภาครัฐโดยทำเป็น Super App ที่รวมทุกแพลตฟอร์มของภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นตัวเก็บข้อมูลทั้งระดับโครงสร้างและระดับการพัฒนาเพื่อให้ในอนาคตเกิดการ ประสานข้อมูลซึ่งกันและกันไม่มีการแยกข้อมูลให้ประชาชนเกิดความสับสนและซับซ้อน ส่วนการเปิดซอร์สโค้ดเป็นสาธารณะนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการ</p>
<p>รมว.ดิจิทัลฯ กล่าวว่าทางกระทรวงมีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัลโดยดำเนินการผ่านคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมี รัฐมนตรีหลายกระทรวงร่วมอยู่ในคณะกรรมการ</p>
<p>ประเด็นต่อมาที่ประเสิรฐกล่าวถึงคือเรื่องเศรษฐกิจฐานข้อมูลในระดับภาพรวม ข้อมูลภาครัฐเป็นฐานที่สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต่อยอดทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาชน โอเพ่น ดาต้าจึงถือว่าเป็นมาตรการเชิงรุกของรัฐบาล ที่ขณะนี้รัฐบาลในประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ได้นำ แนวคิดดาต้าอีโคโนมีมาใช้ เริ่มเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้รับทราบให้เกิดประโยชน์ได้ พัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐและระบบให้บริการแลกเปลี่ยนมีการแบ่งปันเรื่องของสถิติตามมาตรฐานสากล</p>
<p>นอกจากนั้น แล้วกระทรวงดิจิทัลฯ ยังมีสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นองค์กรมหาชน มาจัดทำแผนแม่บทในการทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาเรื่องเศรษฐกิและสังคมของประเทศเพื่อให้เกิดนวัตกรรมด้านต่างๆ ส่วนในเรื่องการบริหารข้อมูลได้ทำซุปเปอร์แอปด้วยระบบบล็อกเชนเก็บข้อมูลต่างๆ อย่างไรก็ตาม การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต้องทำควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน จึงส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยกฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคลหรือ PDPA และเตรียมความพร้อมในการรองรับการบังคับใช้กฎหมายให้ทันกับมาตรฐานสากล</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53182865038_6b8fb1f2dd_b.jpg" /></p>
<p>รมว.ดิจิทัลฯ กล่าวถึงแนวทางการนำเสนอข้อมูล จะเป็นการนำเสนอแบบข้อมูลทางตรงไม่มีการวิเคราะห์เป็น ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยกระทรวงฯ จะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาให้กับประชาชนและภาคธุรกิจสามารถ นำไปใช้เกิดประโยชน์ได้ทันที</p>
<p>เรื่องโครงสร้างพื้นฐานการใช้ประโยชน์จากไอโอที (Internet of Thing) กระทรวงมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depaและมีสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลซึ่งทำงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เรื่องสตาร์ทอัพ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไอโอทีและพัฒนามาตรฐานของอุปกรณ์ในเรื่องความปลอดภัยเพื่อเตรียมความพร้อม ในการเข้าสู่บัญชีและบริการดิจิทัล</p>
<p>การส่งเสริมให้เกิดการนำ IoT ไปใช้ทางกระทรวงโดย depa จัดการส่งเสริมทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพที่มีขีดความสามารถ เราได้มีตัวอย่างการพัฒนาที่มีความยั่งยืนในหลายเรื่อง ทั้งการใช้เทคโนโลยี อาทิ ระบบ IoT เชื่อมโยงข้อมูลบริการจัดคิวรถบรรทุกที่ท่าเรือแหลมฉบัง การส่งเสริมกิจกรรมของ เทศบาลนครยะลาเพื่อรับเรื่องร้องเรียนและการจัดเก็บภาษีรวมถึงการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บขยะ การส่งเสริมเมืองภูเก็ตในการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้าน IoTโดยขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าของการใช้โครงการนี้</p>
<p>การทำงานของกระทรวงมีแผนงานให้มีการนำเอาเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของสตาร์ทอัพมาพัฒนาประเทศ โดย การเปิดประตูการค้ากับภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การส่งเสริมเมืองให้มีการใช้เทคโนโลยี ที่มีทั้งข้อมูลเมือง การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาเมืองทางด้านสังคมและเศรษฐกิจจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคตของการพัฒนาระบบนิเวศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการปิดช่องว่างโดยรัฐบาล จะเป็นผู้สนับสนุน</p>
<p>ประเสริฐชี้แจงประเด็นที่มีผู้อภิปรายห่วงใยอยู่ 3 ประเด็น</p>
<p>ประเด็นแรก ระบบ IoTที่จะใช้โดยใช้ LoRaWAN (Long Range Wide Area Network) และNB-IoT (NarrowBand-Internet of Things) ทั้งสองระบบนี้ดีกว่า 5G เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่า</p>
<p>ประเด็นที่สอง การจัดทำสถาปัตยกรรมทางด้านดิจิทัล กระทรวงเองมีแนวคิด Digital Literacy คือการใช้ทักษะใน การนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อไปให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางกระทรวงมีการอบรมภาคราชการและภาคประชาชน เพื่อให้เข้าถึงความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี อย่างเรื่องดิจิทัลวอลเลทที่เป็นนโยบายของรัฐบาลในการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างบล็อกเชนและด้วยเทคโนโลยีที่มีความโปร่งใส</p>
<p>“เงิน 10,000บาท จะถึงมือพี่น้องประชาชนครบทุกบาททุกสตางค์ นอกจากนั้นแล้วเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นยังสามารถสร้างความโปร่งใส สามารถสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและภาพวาด สร้างรายได้ในทั่วโลก”</p>
<p>ประเด็นที่สาม ประเด็นเรื่องความโปร่งใสในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อย่างการใช้ Open Contracting Policy ที่รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขเพื่อความโปร่งใส โดยแบ่งเป็นสามเรื่อง</p>
<p>1. การใช้ระบบการจ่ายเงินภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์</p>
<p>2. การเปิดขอใบอนุญาตและติดต่อราชการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบ One stop service ในการติดต่อราชการเพื่อลดการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาที่จะนำไปสู่การทุจริต</p>
<p>3. การนำระบบบล็อกเชนมาใช้เพื่อความโปร่งใสในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล</p>
<p>ประเสริฐเปรียบเทียบการพยายามใช้บล็อกเชนครั้งนี้เหมือนกับที่คนไทยเคยมีความไม่คุ้นเคยกับการใช้ Line ที่ทุกวันนี้คนไทยก็ใช้กันจนคุ้นเคยแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้จะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่คนไทยจะต้องคุ้นเคย และสามารถนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต</p>
<p>รมว.ดิจิทัลฯ กล่าวถึงเรื่องไรเดอร์ ก็มีไรเดอร์มานำเสนอปัญหากับพรรคทั้งเรื่องการคิดเวลาทำงานหรือเรื่อง สวัสดิการ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศที่เปิดบริการในประเทศไทย เรื่องนี้ตนจะนัดหมายไรเดอร์มาพูดคุยที่กระทรวงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว</p>
<p>ประเสริฐกล่าวปิดท้ายการชี้แจงว่าจะนำระบบเทคโนโลยีที่กระทรวงพัฒนาขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ เข้าสู่ กระบวนการเพื่อให้ประชาชนมีความผาสุกต่อไป</p>
<p>ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล แสดงความเห็นต่อการชี้แจงของประเสริฐด้วยว่าในประเด็นส่วนของคลาวด์กลางภาครัฐ ปัญหาอยู่ที่ภาครัฐพยายามทำโครงการ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) เอง แต่ที่เขาเสนอไว้ในการอภิปรายก่อนหน้านี้เรื่องคลาวด์แบบเปิดให้บริการสาธารณะ(Public Cloud) หมายถึงว่าต้องใช้วิธีการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนให้มีการตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ในไทยหลายแสนล้านบาท โดยรัฐบาลไทยจะต้องมีการวางเงื่อนไขที่เกิดการจ้างงานและประเทศไทยได้ประโยชน์และใช้ Public Cloud ได้เลย</p>
<p>สส.ก้าวไกลกล่าวถึงประเด็นระบบการยืนยันตัวตนดิจิตอลก็มีปัญหา NDID อยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือยังมีค่าธรรมเนียมที่แพงจึงยังไม่เกิดการใช้งานจริง เรื่องที่สอง ThaiID ก็มีปัญหาอยู่ตรงที่เป็นของกระทรวงมหาดไทยแล้วไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลทำให้เกิด Data Economy</p>
<p>ณัฐพงษ์เสนอแนวทางแก้ปัญหาคือควรที่จะไปเจรจาให้ NDID เป็นแพลตฟอร์มกลางที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ข้อมูลของประเทศ แล้วเอา ThaiID มาเชื่อมเข้ากับ NDID ให้ได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งช่วง 2 เดือนก่อนที่จะมีการโหวตนายกรัฐมนตรีรอบแรกมีการตั้งคณะทำงานซึ่งมีตัวแทนของพรรคเพื่อไทยร่วมด้วยนั้นได้เข้าไปเจรจาจนได้ทางออกเป็นข้อเสนอที่สรุปแล้วว่าสามารถทำได้</p>
<p>สส.ก้าวไกลกล่าวถึงประเด็นเรื่องเฮลท์ลิงก์ก็มีปัญหาว่าโรงพยาบาลทั้งของรัฐ เอกชน หรือกระทั่งของทหารไม่ยอม เข้าร่วมครบทั้งระบบ ไม่มีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105874
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มิถุนายน 2568 19:19:45