[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 19:29:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ประเด็นมากมายจากศาล 112  (อ่าน 65 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 ตุลาคม 2566 23:22:02 »

สุรพศ ทวีศักดิ์: ประเด็นมากมายจากศาล 112  
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-10-21 21:45</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>จากที่ผมได้นั่งฟังศาลไต่สวนคดี 112 ของ “อานนท์ นำภา” ปราศรัย “ครบรอบ 1 ปี แฮร์รี่พอร์ตเตอร์” และศาลตัดสินคดี 112 จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา “โฟล์ค สหรัฐ สุขคำหล้า” ที่ปราศรัยในกิจกรรมทางการเมือง “บ๊ายบายไดโนเสาร์” ผมคิดว่ามีประเด็นมากมายให้ได้เรียนรู้และคิดต่อ เช่น </p>
<p><strong>- ถ้าเป็นอาจารย์และนักศึกษาด้านนิติศาสตร์ </strong>ไปนั่งฟัง สังเกตการณ์ น่าจะมีประโยชน์มากในการเรียนรู้การถาม-ตอบ ระหว่างอัยการกับพยาน ทนายกับพยาน และการทำงานของศาล ทั้งเรื่องข้อกฎหมาย การใช้ตรรกะเหตุผลในการซักถาม และการตอบคำถาม การใช้หลักจิตวิทยา การบริหารอารมณ์ และอื่นๆ</p>
<p><strong>- ถ้าเป็นอาจารย์และนักศึกษาด้านรัฐศาสตร์</strong> ไปนั่งฟัง สังเกตการณ์ น่าจะได้เห็นโครงสร้างของอำนาจที่ทำงานภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐ เห็นตัวละครฝ่ายโจทก์ จำเลยที่ปะทะโต้แย้งกัน โดยอ้างตัวกฎหมาย ข้อเท็จจริง หลักฐานต่างๆ ที่ตัวละครเหล่านั้นทั้งแสดงออกและซ่อนอุดมการณ์หรือคุณค่าทางการเมืองของฝ่ายที่ตนยึดถืออยู่ แล้วใช้มันเป็น "กรอบ" หรือเป็น "เกณฑ์" ตัดสินผิด-ถูก </p>
<p><strong>- ถ้าเป็นอาจารย์และนักศึกษาด้านปรัชญา </strong>ไปนั่งฟัง สังเกตการณ์ น่าจะได้เห็นประเด็น "นิติปรัชญา" และความคิดหรือคุณค่าทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลังอำนาจศาล โจทก์ จำเลย และพยานทั้งสองฝ่าย และเห็น "ความเป็นมนุษย์" ของทุกฝ่าย ทั้งความเป็นมนุษย์ที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความยุติธรรม ศักดิ์ศรีของตนเอง ประชาธิปไตยและสังคมส่วนรวม และเห็นความเป็นมนุษย์ด้านที่สยบยอมเป็น “เครื่องมือ” ของอำนาจที่กดทับเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน</p>
<p><strong>- ถ้าเป็นอาจารย์และนักศึกษาด้านสังคมวิทยา</strong> ไปนั่งฟัง สังเกตการณ์ น่าจะได้เห็นประเด็นปัญหาสังคม เช่นที่ผมกระซิบกับอานนท์เป็นภาษาอิสานว่า "ที่เห็นนั่งๆ กันอยู่นี่มีแต่หมู่เฮาเจ้าข่อย" คือฟากที่นั่งให้กำลังใจพยานโจทก์ กับฟากที่นั่งให้กำลังใจจำเลย รวมทั้งในคลิปการทำร้ายกันในที่ชุมนุมที่ทนายนำมาเปิด ล้วนแต่เป็น "ประชาชนธรรมดาๆ" ที่ต่างดิ้นรนทำมาหากินเหมือนๆ กัน ทำไมคนธรรมดาๆ ระดับที่ยากลำบากในการทำมาหากินเหมือนกันถึงมาขัดแย้งกันเพราะ 112 ขณะที่ชนชั้นผู้มีอันจะกิน นักการเมืองที่มีอำนาจรัฐ และชนชั้นสูงไม่ได้เดือดร้อนอะไรเลยที่เห็นได้อย่างรูปธรรม แต่คนธรรมดาด้วยกันเองกลับมาทำร้ายกันเอง ทั้งด้วยการใช้กฎหมายที่กดขี่ และความรุนแรงอื่นๆ </p>
<p><strong>- ถ้าเป็นนักเขียนดังมีคนอ่านเยอะ</strong> หรือสื่อที่เขียนวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมการเมือง ไปนั่งฟัง สังเกตการณ์ คงมีเรื่องราวต่างๆ มีแง่มุมของปัญหา 112 ในด้านต่างๆ มานำเสนอด้วย "วิธีการต่างๆ" ให้เกิดการรับรู้ และถกเถียงกันด้วยเหตุด้วยผล ทั้งมิติลึก กว้าง และมี "หัวใจ" มากขึ้น</p>
<p>ความเป็นจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ “ศาลเป็นเวทีขัดแย้งทางความคิดของประชาชนด้วยกันเอง” เพราะสิ่งที่ผมได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังในศาลแต่ละวัน มันคือการต่อสู้ทางความคิดความเชื่อระหว่าง "โจทก์" กับ "จำเลย" ซึ่งสองฝ่ายต่างเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง หรือมีความคิดทางการเมืองต่างกันโดยพื้นฐาน</p>
<p>และเป็นการต่อสู้ทางความคิดระหว่าง "พยานฝ่ายโจทก์" กับ "พยานฝ่ายจำเลย" ที่มีความคิด อุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน ซึ่งพยานมีทั้งนักกิจกรรม นักวิชาการที่แสดงความเห็นทางการเมืองต่างกันหรือขัดแย้งกันอยู่แล้ว (โดยเฉพาะพยานฝ่ายโจทก์ เป็นพวกปกป้องสถาบันหรือแสดงความเห็นสาธารณะในทางเพ่งเล็งจับผิดนักสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว)</p>
<p>พูดอีกอย่างคือ “ศาลคือเวทีต่อสู้ทางความคิดความเชื่อทางการเมือง” ของ "ประชาชน" สองฝ่ายดังกล่าว โดยใช้<strong> “กฎหมายบังคับศรัทธา” </strong>คือมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญที่อ้างในคำฟ้องของอัยการและคำพิพากษาของศาลเสมอว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้" ซึ่งเป็นการนำ "หลักศรัทธาความเชื่อแบบยุคก่อนสมัยใหม่" ตามคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธมาบัญญัติบังคับไว้ใน “รัฐธรรมนูญที่เป็นนวัตกรรมของประชาธิปไตยสมัยใหม่” และศาลก็ใช้มาตรา 112 โดยตีความให้สอดรับกับมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญ</p>
<p>ดังนั้น “สภาวะย้อนแย้ง” ระหว่างความคิดเก่ากับใหม่ในรัฐธรรมนูญและมาตรา 112 คือเงื่อนให้เกิดความขัดแย้งของประชาชนที่มีความคิดทางการเมืองต่างกัน หรือทำให้ความคิดทางการเมืองที่แตกต่างของแต่ละฝ่ายไม่มี "เสรีภาพที่เท่าเทียม" (equal liberty) ในการแสดงออก เพราะฝ่ายหนึ่งแสดงออกในทางเทิดทูนสดุดีได้เต็มที่ แต่อีกฝ่ายแสดงออกด้านตรงข้ามไม่ได้</p>
<p><strong>เราทุกคนต่างก็ "รู้ดี" กันทั้งนั้นว่า การต่อสู้ทางความคิดบนเวทีศาลที่ใช้กฎหมายเช่นนี้ ฝ่ายที่ยืนยันสิทธิ เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกตามหลักประชาธิปไตยย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างชัดเจน นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยากลำบากมากกว่าจะได้รับความยุติธรรม</strong></p>
<p>เพราะเท่าที่ฟังจากเหตุผลของศาลที่ตัดสินจำคุกโฟล์ค และจากคำให้การของพยานโจทก์คดีอานนท์ ผมรู้สึกว่า "ศาลคือเวทีปะทะขัดแย้งทางความคิดเก่ากับใหม่" อย่างชัดเจน </p>
<p>ความคิดเก่าคือ ศรัทธา/ความเชื่อแบบก่อนยุคสมัยใหม่ที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้" อันเป็นความเชื่อหรือศรัทธาแบบพราหมณ์-พุทธที่ถูกนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ดังกล่าวแล้ว ผลที่ตามมาคือ ทำให้ความคิดแบบสมัยใหม่ เช่น สิทธิ เสรีภาพ และอื่นๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถูกกดทับให้อยู่ภายใต้ความคิดความเชื่อหรือศรัทธาแบบเก่านั้น</p>
<p>ดังนั้น ความคิดเก่าหรือศรัทธาความเชื่อแบบเก่าที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ จึงเป็น<strong> “ศรัทธาความเชื่อที่ถูกบังคับโดยอำนาจรัฐ”</strong> เพราะเป็นความเชื่อหรือศรัทธาที่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย 
ดังเช่น พยายานโจทย์พูดตอนหนึ่งว่า "ในเมื่อมันมีกฎหมายแบบนี้อยู่ (หมายถึงมี รธน. บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละมิดมิได้" และมี 112 อยู่) จำเลยไปพูดแบบนั้นมันก็ต้องผิดกฎหมายสิ ถ้าอยากพูดแบบนั้นได้ ก็ต้องแก้กฎหมายให้ได้ก่อน" (คำพูดแบบนี้ผมเคยได้ฟังจากปากของอาจารย์ด้านกฎหมายด้วย ซึ่งเขาพูดถูก แต่เขาแสร้งไม่พูดถึง “การห้ามแตะ” กฎหมายใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์)</p>
<p><strong>แม้เราจะไม่เห็นด้วยกับพยานโจทก์หลายๆ เรื่อง แต่นี่คือข้อเท็จจริงว่า "เมื่อมีกฎหมายบังคับศรัทธาอยู่" และมีกฎหมาย เช่น 112 เป็นต้นเอาผิด "การล่วงละเมิด" หรือ "การแสดงออกที่ไม่เคารพสักการะ" ซึ่งตีความได้กว้างครอบจักรวาลมาก ก็ย่อมจะมีการฟ้อง และการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้อยู่ ดังเห็นได้ในคำพิพากษาคดี 112 ที่มีการโยง รธน. มาตรา 6 กับ 112 ซ้ำๆ บ่อยครั้งมาก</strong></p>
<p>ขณะที่คนที่โดน 112 คือคนที่ยืนยัน "คุณค่าสมัยใหม่" อันได้แก่ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นคนเท่ากัน ฯลฯ แต่ใน "เวทีศาล" คือการต่อสู้หักล้างกันด้วยการอ้างเรื่องตัวบทกฎหมาย พยาน หลักฐานที่สามารถตีความให้เข้าหรือไม่เข้า "ข่าย" ความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทว่ามันมีคุณค่าหรือการบังคับศรัทธาความเชื่อแบบก่อนสมัยใหม่อยู่ในตัวบทกฎหมายที่ไม่ถูกตั้งคำถามว่าขัดกับคุณค่าสมัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และมันมีคุณค่าสมัยใหม่อยู่เบื้องหลังของคำพูด ข้อความที่จำเลยปราศรัยหรือแสดงออก แต่คุณค่าเหล่านั้นกลับ "เบาหวิว" ไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังได้เลย นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงยากมากที่จำเลยคดี 112 จะได้รับ “ความยุติธรรม” ตามหลักนิติรัฐ (rule of law) เพราะไม่ได้ใช้หลักนิติรัฐกับคดี 112 อยู่แล้ว</p>
<p><strong>ในส่วนของอานนท์ที่ถูกดำเนินคดี 112 และคดีการเมืองอื่นๆ รวม 15 คดี ฝากบอกมาว่าอยากให้สื่อ และนักวิชาการพูดถึงปัญหา 112 และการนิรโทษกรรมคดีการเมือง 112 ต่อไป แม้จะยังไม่ชนะ แต่ไม่ควรปล่อยให้สังคมลืมปัญหานี้ไป</strong></p>
<p>อานนท์ทำหน้าที่ทนายคดี 112 และคดีการเมืองอื่นๆ มาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเป็นยุคการต่อสู้ของ “คนเสื้อแดง” และทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ขณะที่เป็นนักโทษอยู่ในคุก เขาเองยังต้องมาศาลในฐานะ “จำเลย” คดี 112 และคดีการเมืองอื่นๆ และมาทำหน้าที่ในฐานะ “ทนาย” ของนักสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ถูกกดปราบด้วย 112 </p>
<p>หลังรัฐประหาร 2557 แม้รัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ คสช. จะประกาศใช้แล้วในปี 2560 แต่รัฐบาลเผด็จการก็ไม่มีทีท่าว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนได้ “สิทธิเลือกตั้ง” จึงเกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ออกมาชุมนุมเป็นระยะๆ อานนท์คือหนึ่งในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง แม้รัฐบาลเผด็จการจะไม่แยแสต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มนี้ก็ตาม แต่การที่กลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวต่อเนื่องจึงทำให้สื่อทวงถามการเลือกตั้งต่อเนื่อง จนในที่สุดก็ทำให้เราได้เลือกตั้งในปี 2562 และ 2566 </p>
<p>แต่ถึงแม้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยจะได้ ส.ส. ข้างมากเพียงพอเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลได้ แต่ด้วยกลไกรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจเผด็จการ ทำให้ปี 2562 พรรคฝ่ายเผด็จการตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และปี 2566 พรรคเพื่อไทยต้องเปลี่ยนขั้วมาร่วมกับพรรคฝ่ายเผด็จการเดิมตั้งรัฐบาล ภายใต้ <strong>“เงื่อนไขที่ไม่เป็นประชาธิปไตย”</strong> คือ เงื่อนไขไม่นิรโทษกรรมคดี 112 ไม่แก้ 112 และไม่แตะหมวดสถาบันกษัตริย์ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยฝ่ายเผด็จการ </p>
<p><strong>นี่คือผลพวงของรัฐประหาร ซึ่งก็คือการทำรัฐประหารรัฐบาลพรรคเพื่อไทยต่อเนื่อง 2 ครั้ง และฝ่ายทำรัฐประหารก็ “กล้า” ทำทุกอย่างเพื่อเพิ่มอำนาจนำทางการเมืองให้กลุ่มหรือเครือข่ายตนเอง และพวกเขาก็ใช้กลไกต่างๆ ที่กล้าสร้างขึ้นมาอย่างขัดหลักการประชาธิปไตยนั้นทำให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งอย่างรัฐบาลเพื่อไทยปัจจุบัน “ไม่กล้า” ทำอะไรเลยในด้านปกป้องสิทธิมนุษยชน แม้แต่นิรโทษกรรมคดีการเมือง 112 ก็ไม่กล้าทำ ไม่ต้องพูดถึงการแก้ 112 และกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย </strong></p>
<p>แน่นอนว่าอานนท์เข้าใจ “เงื่อนไข” ดังกล่าวดี และรู้ว่าตัวเขาเองยังไงก็ต้องเผชิญชะตากรรมในฐานะนักโทษที่ไม่รู้ว่าจะได้อิสรภาพวันไหน แต่เขาก็ไม่ปริปากบ่นถึงความทุกข์ของตนเอง ในการสนทนากัน เขาเข้าใจ “ข้อจำกัด” ของทั้ง “เพื่อไทย” และ “ก้าวไกล” ที่จริงแล้วเขาเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ และพยานฝ่ายโจทก์ว่าทำไมพวกเขาถึงฟ้องและให้เหตุผลเช่นนั้น เช่นเดียวกับเข้าใจข้อจำกัดของศาลในการทำหน้าที่ภายใต้อำนาจที่แตะต้องไม่ได้ แต่อานนท์ก็ยังมี “ความหวัง” ท่ามกลางสภาวะที่ดูสิ้นหวัง!</p>
<p>หากเราตามข่าวคนที่โดน 112 และคดีการเมืองอื่นๆ ที่อยู่ในคุกและทยอยเข้าคุก พวกเขาก็ยังคงสื่อสารต่อสังคมนี้ว่า พวกเขายังต่อสู้กับ “ความอยุติธรรม” เพื่อให้สังคมนี้มีเสรีภาพและประชาธิปไตย เช่นเดียวกัน อานนท์มองว่าความคิดคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปแล้ว ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาชี้ชัด ถ้าเรายังคงรักษาการต่อสู้ทางความคิดต่อเนื่องเอาไว้ได้ ในที่สุดการเปลี่ยนแปลงที่เราคาดหวังก็ต้องเกิดขึ้นจริง</p>
<p><strong>ภาพที่ผมเห็นทุกครั้งที่มาศาลคือ อานนท์กับภรรยานั่งปรึกษากันหาวิธีช่วยเหลือนักโทษการเมือง 112 และครอบครัวของพวกเขาที่อานนท์มองว่า “ลำบากมากกว่า” เช่น ครอบครัวของ “กลุ่มทะลุแก๊ซ” บางคนที่ภรรยาตั้งครรภ์ 5 เดือน และอีกหลายครอบครัวที่เผชิญความลำบากหลายๆ ด้าน</strong></p>
<p>ผมรู้สึกว่านักสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยทุกคนที่ติดคุกคดีการเมือง 112 และคดีการเมืองอื่นๆ และที่ทยอยติดคุกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถูกทำให้กลายเป็น “ตัวประกัน” ภายใต้ “เงื่อนไขที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ในการตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ถูกกำหนดให้มาทำหน้าที่ต่อเนื่องจากรัฐบาลประยุทธ์ในการรักษาโครงสร้างอำนาจทางการเมืองแบบยุคเก่า</p>
<p>คำถามสำคัญคือ ทำไม “คนในคุก” อย่างอานนท์และเพื่อนๆ ยังมี “ความหวัง” ขณะที่ “คนนอกคุก” อย่างเราๆ  ดูจะสิ้นหวังและ “เงียบเสียง” ที่จะทวงถามและเรียกร้องอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้รัฐบาล “นิรโทษกรรมคดีการเมือง 112 และคดีการเมืองอื่นๆ” เพราะนี่คือเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำเพื่อเป็น “จุดเริ่มต้น” ของการเปิดพื้นที่เสรีภาพให้ทุกฝ่ายที่เห็นต่างได้มีโอกาสถกเถียงอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต่อไป</p>
<p><strong>พูดอีกอย่างคือ ทั้งๆ ที่เราควรจะนิรโทษกรรมคดีการเมือง 112 แก้ปัญหาปากท้อง และสร้างกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปพร้อมๆ กันก็ได้ แต่กลับเน้นโฆษณาเรื่องแก้ปัญหาปากท้อง โดยปล่อยให้มีนักโทษการเมือง 112 เป็นตัวประกัน และปล่อยให้การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ล่าช้าออกไป </strong></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106466
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: มองการเมืองผ่านเลนส์ปรัชญา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 127 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2566 18:44:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: หยก โรงเรียน และผู้ปกครอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 61 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2566 02:10:11
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ทำไมจึงขาดภราดรภาพ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 98 กระทู้ล่าสุด 18 กันยายน 2566 02:27:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ปากท้องกับอุดมการณ์ไม่เคยแยกขาดจากกันได้จริง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 84 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2566 05:26:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ยุคมืดภายใต้ 112
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 66 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 03:14:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.266 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 เมษายน 2567 09:33:59