ผลวิเคราะห์อุปสงค์-อุปทานแรงงาน ปีงบฯ 66 พบนายจ้างต้องการคนจบต่ำกว่า ม.3 มากที่สุด
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-01 10:59</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานแรงงาน ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำรวจสถานประกอบการ 11,589 แห่ง จาก 77 จังหวัด พบสถานประกอบการมีความต้องการแรงงานอาชีพพื้นฐานในอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด ตำแหน่งแรงงานพื้นฐานต้องการระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 และไม่มีประสบการณ์ มากที่สุด</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/8638/28228696301_65c07493d1_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพ</span></p>
<p>จาก
รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานแรงงานระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน ที่ได้ทำการศึกษาการเข้าออกของแรงงานในสถานประกอบการ การประมาณการอุปสงค์แรงงาน และประมาณการอุปทานแรงงานเข้าใหม่ ทั่วประเทศ ปี 2566 ได้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูล ความต้องการแรงงานของสถานประกอบการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. สำรวจสถานประกอบการที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 50 คน โดยกำหนดจำนวนสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 10,941 แห่ง และผลการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการ ได้ทั้งสิ้น 11,367 แห่ง ดำเนินการสำรวจข้อมูลโดยสำนักงานแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด และกองเศรษฐกิจการแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. สำรวจสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป โดยเชื่อมโยง (link) แบบสำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ (
https://ldls.mol.go.th/survey) กับแบบแสดงสภาพการจ้างงานและสภาพการทำงานของสถานประกอบกิจการ (แบบ คร.11) ของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เว็บไซต์ของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สำนักงานแรงงานจังหวัด และหอการค้าจังหวัด จำนวน 222 แห่ง รวมจำนวนสถานประกอบการที่ตอบแบบสำรวจ 11,589 แห่ง ผลการ สำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการทั่วประเทศ 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างสถานประกอบการจาก 21 ประเภทอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบข้อค้นพบที่น่าสนใจดังนี้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">1. โครงสร้างประชากรวัยแรงงาน กำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงาน</span></h2>
<p>จำนวนประชากรผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 58,807,556 คน เป็นเพศชาย 28,033,833 คน และเพศหญิง 30,773,723 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 40,280,955 คน และเป็นผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 18,526,601 คน</p>
<p>จำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้นประมาณ 39,629,215 คน เป็นเพศชาย จำนวน 21,181,857 คน และเพศหญิงจำนวน 18,447,358 คน อย่างไรก็ตามยังมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 421,143 คน และผู้รอฤดูกาลประมาณ 230,597 คน</p>
<h2><span style="color:#3498db;">2. สถานการณ์ด้านความต้องการแรงงาน (Demand for Labour) ของตลาดแรงงาน</span></h2>
<p><strong>2.1 ผลการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานในสถานประกอบการ</strong></p>
<p>ผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านความต้องการแรงงาน (Demand for Labour) ในสถานประกอบการของตลาดแรงงาน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 11,589 ตัวอย่าง ชี้ให้เห็นว่าประมาณร้อยละ 20.2 ของกลุ่มตัวอย่างระบุถึงความต้องการแรงงาน ณ ปัจจุบันที่ทำการสำรวจ ปัจจุบัน โดยอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงาน ณ ปัจจุบัน 3 ลำดับแรก ได้แก่ การขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ร้อยละ 35.7 รองลงมา ได้แก่ การผลิต ร้อยละ 17.0 และกิจกรรมโรงแรมและบริการด้านอาหาร ร้อยละ 14.1 ตามลำดับ และสถานประกอบการ ร้อยละ 28.3 ระบุถึงความต้องการแรงงานของสถานประกอบการที่จะเกิดขึ้นภายใน 1 ปี โดยอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานภายใน 1 ปี 3 ลำดับแรก ได้แก่ การขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ร้อยละ 35.9 รองลงมา ได้แก่ การผลิต ร้อยละ 17.2 และกิจกรรมโรงแรมและบริการด้านอาหาร ร้อยละ 12.8 ตามลำดับ ตามลำดับ</p>
<p>ความสามารถในการหาแรงงานได้ภายใน 2 เดือน สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความตึงตัวหรือความคลายตัวของตลาดแรงงาน (Friction or Flexible Labour Market) จากความสามารถของการหาแรงงาน ตามที่สถานประกอบการต้องการภายในระยะเวลา 2 เดือน พบว่า สถานประกอบการสามารถหาแรงงานได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน ร้อยละ 73.7 และไม่สามารถหาแรงงานได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน ร้อยละ 26.3 โดยอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถหาแรงงานได้มากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ ร้อยละ 85.7 รองลงมา ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ร้อยละ 82.3 และการทำเหมืองแร่และเหมืองหินร้อยละ 52.9 ตามลำดับ</p>
<p>เมื่อจับคู่วิเคราะห์ตัวแปร ความต้องการแรงงาน จำแนกประเภทอุตสาหกรรมกับตำแหน่งงานพบว่า ความต้องการแรงงานสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน ในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 1,087 คน รองลงมาเป็นตำแหน่งพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า ในกิจกรรมโรงแรมและบริการด้านอาหาร จำนวน 614 คน และในอุตสาหกรรมการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ จำนวน 531 คน ตามลำดับ</p>
<p><strong>ความต้องการแรงงาน จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมและวุฒิการศึกษา</strong> พบว่า สถานประกอบการที่มีความต้องการแรงงานสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ในอุตสาหกรรมการผลิต มีความต้องการแรงงานที่จบการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 846 คน รองลงมา ได้แก่ แรงงานที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 786 คน และต้องการแรงงานที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในอุตสาหกรรมการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ จำนวน 746 คน ตามลำดับ</p>
<p><strong>ความต้องการแรงงาน จำแนกตามตำแหน่งงานและช่วงอายุ</strong> พบว่า สถานประกอบการต้องการแรงงานในตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐานมากที่สุด โดยที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีความต้องการแรงงานไม่จำกัดช่วงอายุมากที่สุด ในตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน จำนวน 1,081 คน รองลงมา ได้แก่ แรงงานช่วงอายุ 15 – 29 ปี จำนวน 862 คน และแรงงานช่วงอายุ 30 – 44 ปี จำนวน 856 คน ตามลำดับ</p>
<p><strong>ความต้องการแรงงาน จำแนกตามตำแหน่งงานและระดับฝีมือ</strong> พบว่า สถานประกอบการต้องการแรงงานระดับไร้ฝีมือในตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐานมากที่สุด จำนวน 1,904 คน รองลงมา ต้องการแรงงานระดับฝีมือ ในตำแหน่งช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 775 คน และต้องการแรงงานระดับกึ่งฝีมือ ในตำแหน่งตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน จำนวน 667 คน ตามลำดับ </p>
<p><strong>ความต้องการแรงงาน จำแนกตามตำแหน่งงานและวุฒิการศึกษา</strong> พบว่า สถานประกอบการต้องการแรงงานตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐานในระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,349 คน รองลงมา ได้แก่ ตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน ในระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,130 คน และตำแหน่งงานพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า ในระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 594 คน ตามลำดับ ตามลำดับ</p>
<p><strong>ทักษะที่สถานประกอบการต้องการ </strong>การจัดหมวดหมู่ของชุดทักษะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หมวดใหญ่ กล่าวคือ ทักษะที่ใช้ในการทำงาน (hard skills) และทักษะที่เป็นลักษณะเฉพาะหรือคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลในเรื่องความฉลาด ความสามารถทางอารมณ์หรือความมีคุณธรรม (soft skills) ซึ่งแบบสำรวจจะให้สถานประกอบการระบุชุดทักษะ (คุณสมบัติ) ของแรงงานที่ต้องการต่อตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ ได้ถึง 3 ทักษะ ดังนี้</p>
<p>ทักษะที่สถานประกอบการระบุลำดับที่ 1 (คุณสมบัติ) ได้แก่ (1) ทักษะความสามารถเฉพาะ วิชาชีพ จำนวน 1,685 คน ซึ่งเป็นชุดทักษะที่ต้องการมากในตำแหน่งงานช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 763 คน ผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน จำนวน 460 คน และพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า จำนวน 147 คนรองลงมา ได้แก่ (2) ทักษะการสื่อสารและเจรจาต่อรอง จำนวน 926 คน ซึ่งเป็นชุดทักษะที่ต้องการมากในตำแหน่งงานพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า จำนวน 296 คน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ จำนวน 261 คนและผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน จำนวน 137 คน และ (3) ทักษะความขยันหมั่นเพียร จำนวน 915 คน ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องการมากในตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน จำนวน 313 คน พนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า จำนวน 256 คน และช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 122 คน ตามลำดับ</p>
<p>ทักษะที่สถานประกอบการระบุลำดับที่ 2 (คุณสมบัติ) ทักษะที่ต้องการสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ (1) ความต้องการแรงงานในทักษะความอดทนในตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน (2) ความต้องการแรงงานในทักษะความสามารถเฉพาะวิชาชีพในตำแหน่งงานช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และ (3) ทักษะการบริหารจัดการ ในตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน ตามลำดับ</p>
<p>ทักษะที่สถานประกอบการระบุลำดับที่ 3 (คุณสมบัติ) ทักษะที่ต้องการสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ (1) ความต้องการแรงงานในทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน (2) ความต้องการแรงงานในทักษะความสามารถเฉพาะวิชาชีพ ในตำแหน่งงานช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและ (3) ความต้องการแรงงานในทักษะความขยันหมั่นเพียรในตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน ตามลำดับ </p>
<p><strong>ความต้องการแรงงาน จำแนกตามตำแหน่งงานและประสบการณ์ทำงาน</strong> ไม่มีประสบการณ์ มากที่สุดในตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน จำนวน 2,345 คน รองลงมา ได้แก่ ต้องการแรงงานในตำแหน่งพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้าจำนวน 946 คน และต้องการแรงงานที่มีประสบการณ์ 1 – 2 ปีในตำแหน่งช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 899 คน ตามลำดับ</p>
<p><strong>2.2 ผลการสำรวจข้อมูลการเข้าออกของแรงงานในสถานประกอบการ</strong></p>
<p>ผลการสำรวจการเข้าออกงานของแรงงานในสถานประกอบการ โดยเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการ จำนวนทั้งสิ้น 11,161 แห่ง ซึ่งมีจำนวนการจ้างงานปัจจุบันทั้งหมด จำนวน 170,618 คน โดยเป็นแรงงานไทย จำนวน 157,757 คน และแรงงานต่างด้าว จำนวน 12,861 คน และมีจำนวนแรงงานเข้างานใหม่ จำนวน 5,158 คน และมีจำนวนแรงงานออกจากงาน จำนวน 2,720 คน</p>
<p><strong>การเข้างานใหม่และออกจากงานของแรงงานในสถานประกอบการ จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม</strong>พบว่า ประเภทอุตสาหกรรมที่มีการเข้างานใหม่จำนวนมากที่สุด ได้แก่ (1) การขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (2) การผลิต และ (3) กิจกรรมโรงแรมและบริการด้านอาหาร ตามลำดับ ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมที่มีการออกจากงานจำนวนมากที่สุด ได้แก่ (1) การขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (2) การผลิต และ (3) เกษตรกรรม การป่าไม้ และประมง ตามลำดับจะเห็นได้ว่า ประเภทอุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงานเข้างานมากที่สุดเมื่อเทียบกับการออกจากงาน คือ การขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ตามลำดับ</p>
<p><strong>การเข้างานใหม่และออกจากงานของแรงงานในสถานประกอบการ จำแนกตามตำแหน่งงาน</strong> โดยมีจำนวนแรงงานที่เข้างานใหม่และออกจากงานมากที่สุดในตำแหน่งงานในตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน รองลงมา ได้แก่ พนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า และช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงของการเข้าออกงานที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าตำแหน่งงานผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน เช่น พนักงานทั่วไป แม่บ้าน กรรมกร เป็นต้น มีแรงงานที่เข้างานใหม่มากที่สุด</p>
<p><strong>การเข้างานใหม่และออกจากงานของแรงงานในสถานประกอบการ จำแนกตามวุฒิการศึกษา</strong> โดยมีจำนวนแรงงานที่เข้างานใหม่มากที่สุดในระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 รองลงมา ได้แก่ ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม จำนวนแรงงานที่ออกจากงานมากที่สุด คือ ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 รองลงมา ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงของการเข้าออกงานที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าแรงงาน เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเข้างานใหม่มากกว่าออกจากงานมากที่สุดในกลุ่มแรงงานที่อยู่ในวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากมีอัตราค่าจ้างงานที่ถูกและงานที่ได้รับมอบหมายใช้ความรู้แค่เพียงระดับพื้นฐานเท่านั้น</p>
<p><strong>การเข้างานใหม่และออกจากงานของแรงงานในสถานประกอบการ จำแนกตามระดับฝีมือ</strong> โดยมีจำนวนแรงงานที่เข้างานใหม่มากกว่าออกจากงานในแรงงานระดับไร้ฝีมือมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กึ่งฝีมือ และฝีมือ ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า สถานประกอบการต้องการแรงงานที่มีทักษะในระดับพื้นฐานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญ และทักษะฝีมือ เพียงแต่ทำงานตามคำชี้แนะหรือรูปแบบที่จัดไว้ได้ ซึ่งแรงงานเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมโอกาสในการทำงานมากขึ้น เพื่อสร้างแรงงานให้มีคุณภาพและทันสมัย</p>
<p><strong>การเข้างานใหม่และออกจากงานของแรงงานในสถานประกอบการ จำแนกตามช่วงอายุ</strong> โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการเข้าและออกของงานสะท้อนว่า แรงงานช่วงอายุ 15 -29 ปี มีการออกจากงานมากกว่าการเข้างาน แรงงานช่วงอายุนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ออกจากงาน อาจเป็นเพราะความไม่พอใจในงานที่ทำไม่ตรงกับความสนใจ มองหาโอกาสในการเติบโตและการพัฒนา หรืออยู่ในตลาดแรงงานในรูปแบบแรงงานอิสระ</p>
<p><strong>2.3 ประมาณการความต้องการแรงงาน ปี พ.ศ. 2567 - 2571</strong></p>
<p>การวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลอุปสงค์อุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงประมาณการความต้องการแรงงานปี พ.ศ. 2567 – 2571 พบว่า ความต้องการแรงงานในภาพรวมมีแนวโน้มเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อพิจารณาจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่าอุตสาหกรรมที่มีอัตราขยายตัวของความต้องการแรงงานเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การจัดหาน้ำ การจัดการ และการบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล และศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ อัตราการขยายตัวเท่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 2.4 รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน อัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.2 และไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ อัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้ามอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตของความต้องการแรงงานเฉลี่ยลดลงมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การศึกษา อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.5 รองลงมา ได้แก่ การก่อสร้าง อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.3 และกิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ตามลำดับ</p>
<p><strong>การวิเคราะห์ประมาณการความต้องการแรงงาน ปี พ.ศ. 2567 – 2571 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา</strong> พบว่า ทุกวุฒิการศึกษามีอัตราการเติบโตของความต้องการแรงงานลดลง โดยวุฒิการศึกษาที่มีอัตราการเติบโตของความต้องการแรงงานลดลงเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ วุฒิสูงกว่าปริญญาตรี อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.1 รองลงมา ได้แก่ วุฒิปริญญาตรี อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.7 และวุฒิปวช.และปวส./อนุปริญญา อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.3 ตามลำดับ</p>
<p><strong>การวิเคราะห์ประมาณการความต้องการแรงงาน ปี พ.ศ. 2567 – 2571 โดยจำแนกตามตำแหน่งงานพบว่า</strong> โดยตำแหน่งงานที่มีอัตราการเติบโตของความต้องการแรงงานลดลงเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.4 รองลงมา ได้แก่ ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.8 และเจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ อัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ตามลำดับ</p>
<p><strong>การวิเคราะห์ประมาณการความต้องการแรงงาน ปี พ.ศ. 2567 – 2571 โดยจำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ</strong> พบว่า สถานประกอบการทุกขนาดมีอัตราการเติบโตของความต้องการแรงงานลดลง โดยขนาดของสถานประกอบการที่อัตราการเติบโตลดลงของความต้องการแรงงานลดลงเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 10 คน และมีลูกจ้าง 10 – 19 คน มีอัตราการเติบโตลดลง เฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.5 รองลงมา ได้แก่ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 – 49 คน และมีลูกจ้าง 50 – 99 คน มีอัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.3 และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 – 199 คน และมีลูกจ้าง 200 คนขึ้นไป มีอัตราการเติบโตลดลงเฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.2 ตามลำดับ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">3. สถานการณ์ด้านอุปทาน (Supply of Labour) ของตลาดแรงงาน</span></h2>
<p>จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา อัตราการเรียนต่อ อัตราการมีงานทำ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ปี 2564 พบว่า จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่ รองลงมา ได้แก่ ระดับปริญญาตรี จำนวน 256,045 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 106,781 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) จำนวน 95,976 คน ตามลำดับ ในภาพรวมอัตราผู้ศึกษาต่อจะค่อย ๆ ลดลงในระดับชั้นการศึกษาที่สูงขึ้น จะเห็นได้จากอัตราการเรียนต่อของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร้อยละ 32.8 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ร้อยละ 18.9 และอัตราผู้ศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 8.3 ตามลำดับ แต่อัตราการเรียนต่อของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ร้อยละ 13.7 ในมิติของอัตราผู้มีงานทำ พบว่า อัตราผู้มีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาสูงสุด 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ร้อยละ 34.6 ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.4 และในระดับปริญญาโท ร้อยละ 18.2 ตามลำดับ</p>
<p>การวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลอุปสงค์อุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายชี้ให้เห็นว่าอุปทานแรงงานเข้าใหม่ ปี พ.ศ. 2567 – 2571 ในทุกประเภทอุตสาหกรรมและทุกวุฒิการศึกษา โดยมีแนวโน้มลดลง โดยเฉลี่ยร้อยละ 1.5</p>
<h2><span style="color:#3498db;">4. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ</span></h2>
<p>1. จากข้อค้นพบการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้อมูลอุปทานแรงงาน การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ) ไม่สะท้อนข้อเท็จจริงเรื่องการศึกษาต่อและการมีงานทำ เนื่องจากพบว่า ขาดความเป็นเอกภาพ มีการรวบรวมมาจากหลากหลายหน่วยงานที่ผลิต นักเรียน นักศึกษา (กำลังแรงงาน) ขาดการติดตามผู้สำเร็จการศึกษา การศึกษาต่อ และผู้มีงานทำ ทำให้ตัวเลขไม่สะท้อนความจริงในบางระดับการศึกษา เช่น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำเร็จการศึกษา จำนวน 479,038 คน อัตราการศึกษาต่อ ร้อยละ 9.7 แต่ไม่มีอัตราการมีงานทำ ทำให้จำนวนอุปทานแรงงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหายไปจากตลาดแรงงาน จึงควรกำหนดหน่วยงานหลักในการรวบรวมข้อมูลอุปทานแรงงาน ที่เป็นเอกภาพและต่อเนื่อง จะทำให้ข้อมูลด้านอุปทานแรงงานสะท้อนความเป็นจริงและน่าเชื่อถือ</p>
<p>2. จากข้อค้นพบการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจที่สามารถรวบรวมมาได้มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสถานประกอบการในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณที่มีอย่างจำกัด ดังนั้น สำนักงานแรงงานจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด ให้ความสำคัญในการสำรวจความต้องการของแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการลงพื้นที่สำรวจฯ จึงควรขอความร่วมมือหรือประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการ เครือข่ายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนตอบแบบสำรวจทางออนไลน์ให้มากขึ้น และทางส่วนกลางได้ดำเนินการขอความรวมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (แบบสำรวจกับแบบแสดงสภาพการจ้างงานและสภาพการทำงานของสถานประกอบกิจการ (แบบ คร. 11) ในการเชื่อมลิ้งแบบสำรวจฯ ออนไลน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับความจริงในตลาดแรงงาน และใช้สำหรับวางแผนกำลังคนในอนาคตได้</p>
<p>3. จากข้อค้นพบการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) สถานประกอบการต้องการแรงงานระดับไร้ฝีมือในตำแหน่งผู้ประกอบอาชีพพื้นฐาน ประกอบกับ (2) ประมาณการอุปสงค์แรงงานลดลง ร้อยละ 0.3 ขณะที่ประมาณการอุปทานแรงงานลดลงร้อยละ 1.5 ในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี พ.ศ. 2567 – 2571) ทำให้คาดการว่าจะเกิดการขาดแคลนแรงงานมากกว่าปัจจุบัน จึงควรมีการวางแผนกำลังคนให้ครอบคลุมความต้องการแรงงานในทุกระดับทักษะ เนื่องจากแรงงานในกลุ่มที่ไร้ทักษะ จะทำงานในลักษณะ 3D (Difficult Dirty Dangerous) และคนไทยไม่ต้องการทำงานแรงงานหนัก ทำให้ขาดแคลนแรงงานในกลุ่มนี้ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวทักษะต่ำเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรกำหนดนโยบายในการบริหารแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจนในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวและมีความจำเป็นที่จะต้องวางระบบโครงสร้างการลงทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลแรงงานต่างด้าว เพื่อให้มีตัวเลขที่สะท้อนความเป็นจริง โดยเร่งให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมายการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการลงทะเบียน การกำหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม และเพื่อป้องกันการเลี่ยงไปใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย สำหรับกิจการที่มีความต้องการใช้แรงงานเข้มข้น (ไร้ฝีมือ,กึ่งฝีมือ) นอกจากนี้ควรส่งเสริมการนำเข้าเครื่องจักร หรือส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม หรือเครื่องจักรเพื่อใช้ทดแทนแรงงานคนเพื่อลดการจ้างงานแรงงานต่าวด้าว</p>
<p>4. สำหรับแรงงานฝีมือ สถานประกอบกิจการอาจพิจารณาใช้ระบบ AI เช่น Chat GPT มาทำงานกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ควรปรับหลักสูตรให้นักเรียน นักศึกษา ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน สามารถทำงานร่วมกับ AI เพื่อทดแทนแรงงานในส่วนนี้ และออกมาตรการดึงดูดแรงงานทักษะสูง เช่น การทำให้เป็นเมืองน่าอยู่มีคุณภาพชีวิตดี โครงสร้างพื้นฐานดีมีมาตรการดึงดูดใจทางภาษี VISA สำหรับแรงงานทักษะสูง เป็นต้น</p>
<p>5. จากข้อค้นพบการศึกษาครั้งนี้ คือ ระบบฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในส่วนของการประมาณการความต้องการแรงงานและด้านอุปทานแรงงาน ปี พ.ศ. 2567 - 2571 เป็นการนำเข้าข้อมูลไฟล์ Excel ตั้งแต่การพัฒนาระบบฯ ซึ่งทำให้ข้อมูลไม่อัพเดท ส่งผลให้การประมาณการไม่น่าเชื่อถือ ควรมีการพัฒนาระบบใหม่ โดยการใช้ข้อมูลจาก Big data จากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิ
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/11/106597 







