[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 00:29:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร  (อ่าน 138 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2566 19:04:37 »


ป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร
ขอขอบคุณเว็บไซต์ lovethailand.org (ที่มาภาพประกอบ)


ป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร
ขอขอบคุณเว็บไซต์ lovethailand.org (ที่มาภาพประกอบ)


ป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร
ถนนกำแพงเพชร ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร  

บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลง เรียกกันว่า "ป้อมทุ่งเศรษฐี"  ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองนครชุม ใกล้วัดซุ้มกอ เป็นป้อมที่อยู่นอกเมืองกำแพงเพชร คนละฝั่งแม่น้ำปิงกับตัวเมือง ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป คาดว่าเป็นชาวโปรตุเกสมาสร้างให้ โดยขนศิลาแลงจากฝั่งกำแพงเพชร มาทำป้อมปราการใช้ป้องกันข้าศึกที่ทันสมัยและแข็งแกร่งที่สุดในสมัยนั้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ให้คำจำกัดความว่า ป้อม คือ หอรบ หรือที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธ

ป้อมทุ่งเศรษฐีมีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีป้อมประจำมุมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปหัวลูกศร ป้อมมีความหนา ๓.๕ เมตร ในแต่ละด้านมีขนาดกว้าง ๘๓ เมตร แนวกำแพงป้อมสูง ๕ เมตร ที่บริเวณกึ่งกลางของแนวกำแพงแต่ละด้านมีช่องประตูกว้าง ๓ เมตร กำแพงด้านนอกก่อเป็นผนังสูง ด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นใบเสมาสูง ๑ เมตร ช่องระหว่างใบเสมาสันนิษฐานว่าใช้สำหรับยิงอาวุธหรือสังเกตการณ์ ผนังกำแพงด้านในทุกด้านมีซุ้มคูหาลักษณะเป็นช่องเจาะลึกเข้าไปในกำแพงเป็นยอดแหลมแบบใบเสมาด้านละ ๖ ช่อง ขนาดกว้าง ๑.๖ เมตร สูง ๒ เมตร และลึก ๑.๘ เมตร ตรงมุมมีป้อมยื่นออก ๔ มุม ตรงกลางแต่ละด้านมีช่องประตูเข้า – ออก ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ มีรูมองอยู่ติดกับพื้น ใต้ใบเสมาเจาะช่องเพื่อใช้ในการตรวจดูข้าศึกและเป็นช่องปืนไปในตัว ด้านในกำแพงก่อเชิงเทินตลอดแนวเพื่อใช้เดินตรวจตรา ส่วนล่างของกำแพงด้านในก่อเป็นช่องกุด ส่วนบนของกุดก่อเป็นยอดแหลม ปัจจุบันกำแพงเหลืออยู่เพียงบางส่วน มีใบเสมาเหลืออยู่ แต่ด้านทิศเหนือถูกรื้อออกเสียด้านหนึ่ง คงเหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ ๓ ด้าน โดยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้ถูกรื้อถอนหลงเหลือเพียงแนวฐานกำแพง โดยบางส่วนนั้นได้ถูกรื้อออกเพื่อนำไปถมตลิ่งหน้าวัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อครั้งบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์

ป้อมทุ่งเศรษฐีก่อด้วยศิลาแลงสอปูน ศิลาแลงที่ใช้ก่อสร้างมีขนาดกว้าง ๒๕ เซนติเมตร ยาว ๕๐ เซนติเมตร และหนา ๖-๑๕ เซนติเมตร ภายในซุ้มคูหาจะมีช่องขนาดเล็กลักษณะเป็นซุ้มยอดแหลมสูง ๐.๔ เมตร ก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) ทะลุถึงด้านนอกกำแพง นอกจากนี้ยังมีการก่อศิลาแลงลักษณะพิเศษแบบสันโค้ง (True Arch) ที่แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้

การก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบวางซ้อนแต่ละขั้นเหลื่อมกันในแต่ละด้านอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมาบรรจบกันที่จุดกึ่งกลางเกิดเป็นส่วนโค้ง เพื่อรองรับน้ำหนักด้านบน แต่ไม่ใช่โครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง

การก่อแบบสันโค้ง (True Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบเรียงอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันขึ้นไปจนมาบรรจบกับอิฐหน้าวัวที่เป็นจุดกึ่งกลาง เกิดเป็นโครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก  

รูปแบบการก่อสร้างป้อมและแนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมานั้น เป็นรูปแบบจากอิทธิพลตะวันตก ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ดังข้อสันนิษฐานของ นายประทีป เพ็งตะโก อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในบทความเรื่อง ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา ว่า “…เป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปมีบทบาทอยู่ในราชสำนักอยุธยามากที่สุดในขณะนั้น น่าจะมีส่วนในการออกแบบกำแพงเมืองและป้อมที่มีเชิงเทินและใบเสมา สำหรับเป็นที่กำบังกระสุนปืนให้สอดคล้องกับการสู้รบที่มีการใช้ปืนใหญ่ตามแบบตะวันตก ดังนั้นเอกสารทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ ต่างรับรองในแนวเดียวกันว่ากำแพงก่ออิฐของอยุธยาน่าจะสร้างในระหว่างรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระมหาธรรมราชาหรือทั้งสองรัชกาล...”  

จากการศึกษาพบว่าป้อมทุ่งเศรษฐีมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเทียบเคียงได้กับป้อมปราการที่ก่อสร้างโดยชาวตะวันตก ตัวอย่างเช่น

ป้อมที่สร้างโดยชาวดัตช์ เช่น ป้อมอัมสเตอร์ดาม (Fort Amsterdam) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ ๒๒ รวมถึงป้อมที่สร้างโดยชาวโปรตุเกสและซ่อมแซมโดยชาวดัตช์ในเวลาต่อมา เช่น ป้อมนาสเซา (Fort Nassau) ประเทศอินโดนีเซีย กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ป้อมมานนาร์ (Fort Mannar) ประเทศศรีลังกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓

นอกจากนี้ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๗ เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างป้อมโดยชาวฝรั่งเศสความว่า “...ด้วยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ เชอวาเลียเดอโชมองจึงให้เดอลามาร์ อยู่รับราชการในเมืองไทยต่อไป โดยให้มองซิเออร์เดอลามาร์ไปสร้างป้อมในที่ต่างๆ ตามชายทะเลในพระราชอาณาเขตร์ และจะได้สร้างป้อมใหม่ที่บางกอกเพื่อให้กองทหารฝรั่งเศสรักษา เพราะสมเด็จพระนารายณ์ได้มีรับสั่งให้ราชทูตสยามกับบาดหลวงตาซาด์ไปขอทหารฝรั่งเศสจากพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ แล้ว...”

โดยป้อมวิไชยเยนทร์  กรุงเทพมหานคร ที่ปรากฏรูปแบบในแผนผังที่เขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ.๒๒๓๑ ก็มีลักษณะรูปแบบผังใกล้เคียงกับป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร

จากการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Dating) หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว สันนิษฐานว่าป้อมทุ่งเศรษฐีน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓

ป้อมทุ่งเศรษฐีเป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พื้นที่เมืองนครชุมในช่วงสมัยที่อยุธยามีอำนาจปกครองเมืองกำแพงเพชร และแม้ว่าความเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ จะเปลี่ยนย้ายไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงที่เมืองกำแพงเพชร แต่พื้นที่ในแถบเมืองนครชุมก็ยังคงความเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะการเป็นพื้นที่หน้าด่านและฐานที่มั่น เพื่อใช้สนับสนุนในการรับศึกสงครามของอยุธยากับหัวเมืองฝ่ายเหนือและพม่า

บริเวณป้อมทุ่งเศรษฐีนี้มีวัดเก่าแก่หลายวัด เช่น วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหนองลังกา เป็นต้น ที่สำคัญคือยังเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีการค้นพบพระเครื่องที่มีชื่อเสียงลือชื่อของเมืองกำแพงเพชร เช่น พระซุ้มกอ ลีลาเม็ดขนุน ทุ่งเศรษฐี หรือกำแพงเขย่ง เป็นต้น



ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล
       - คลังวิชาการ กรมศิลปากร
       - สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
       - thailandtourismdirectory.go.th (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
        

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 พฤศจิกายน 2566 19:25:00 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อุทยานแห่งชาติคลองลาน กำแพงเพชร มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 4127 กระทู้ล่าสุด 09 มิถุนายน 2555 18:33:05
โดย Kimleng
วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร : ต้นกำเนิด "พระซุ้มกอ" ๑ ในพระเครื่องชุดเบญจภาคี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 18807 กระทู้ล่าสุด 02 กรกฎาคม 2557 20:16:23
โดย Kimleng
หลวงปู่เจือ สันตจิตโต วัดหนองแผ่นดิน อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 516 กระทู้ล่าสุด 13 กุมภาพันธ์ 2563 14:37:49
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อสว่าง อุตตโร วัดท่าพุทรา ต.ท่าพุทรา อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 815 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2563 14:00:04
โดย ใบบุญ
“เมืองชากังราว” คือ เมืองพิชัย จ. อุตรดิตถ์ ไม่ใช่ “เมืองกำแพงเพชร”
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 301 กระทู้ล่าสุด 23 กันยายน 2565 12:33:26
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 เมษายน 2567 21:31:54