[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 ธันวาคม 2566 15:28:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - พวกเขาต้องเป็น 'ชายชุดดำ' ให้รัฐไทยอีกนานแค่ไหน?  (อ่าน 21 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2566 01:38:04 »

พวกเขาต้องเป็น 'ชายชุดดำ' ให้รัฐไทยอีกนานแค่ไหน?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-11-20 19:00</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นับตั้งแต่ “ชายชุดดำ” (ที่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้แต่งดำกันหมด) ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อ 13 ปีที่แล้วในคืนวันที่ 10 เม.ย.2553 ใช้อาวุธสงครามเข้าปะทะกับกองกำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามที่กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(นปช.) หรือที่เรียกว่า “คนเสื้อแดง” มาตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนั้นภายใต้การสั่งการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน</p>
<p>หลังจากเหตุการณ์ในคืนนั้นเรื่องได้เงียบหายไปหลายปีเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถติดตามจับกุมใครได้จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 2557 เรื่องของชายชุดดำก็ถูกพูดถึงอีกครั้งเป็นข่าวใหญ่ว่าเจ้าหน้าที่ได้จับกุมพวกเขาสำเร็จแล้วในวันที่ 5 ก.ย.2557 โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้ทยอยจับกุมบุคคุลไปเข้าค่ายทหารได้ 5 คน</p>
<p>กิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน, ปรีชา อยู่เย็น หรือไก่เตี้ย, รณฤทธิ์ สุวิชา หรือนะ, ชำนาญ ภาคีฉาย หรือเล็กและปุณิกา ชูศรี หรืออร คือกลุ่มบุคคลที่ทหารเข้าจับกุมและควบคุมตัวไปสอบสวนในค่ายทหารหลายวันถึงได้นำตัวพวกเขามาแถลงข่าวว่าเป็นกลุ่มชายชุดดำที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามยิงต่อสู้บนถนนตะนาวในคืนวันที่ 10 เม.ย.2553</p>
<p>อย่างไรก็ตามหลังการแถลงข่าวเมื่อคดีของพวกเขาเข้าสู่การพิจารณาของศาลเรื่องก็เงียบหายไปอีก 3 ปี จนวันที่ 31 ม.ค.2560 ศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย 3 จาก 5 คนและพิจารณาลงโทษกิตติศักดิ์และปรีชาว่ามีความผิดตามฟ้อง จากคำพิพากษานี้ทำให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ตำแหน่งในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา) ให้สัมภาษณ์ว่าเขาดีใจที่ศาลพิพากษาจำคุกกิตติศักดิ์และ ปรีชาเพราะทำให้สังคมเห็นว่าชายชุดดำมีจริง</p>
<p>แต่เรื่องกลับตาลปัตรเมื่อคดีชายชุดดำนี้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องกิตติศักดิ์ตามมาเนื่องจากศาลเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารที่อ้างว่าตนอยู่ในถนนตะนาวคืนนั้นและนับเป็นพยานปากสำคัญในคดีที่ยืนยันว่าเห็นกิตติศักดิ์ในที่เกิดเหตุนั้นได้ให้การกลับไปกลับมาไม่เหมือนกันกับตอนที่ทหารนายนี้ไปเป็นพยานให้คดีไต่สวนการตายของฮิโรยูกิ มูราโมโต้ นักข่าวญี่ปุ่นที่ถูกยิงเสียชีวิตในถนนดินสอในคืนเดียวกัน</p>
<p>เมื่อคดีชายชุดดำคดีแรกนี้ศาลยกฟ้องไปทั้ง 3 ศาล คดีนี้ก็เป็นเสมือนโดมิโนตัวแรกที่เริ่มล้ม เพราะปัญหาเรื่องพยานหลักฐานที่กล่าวไปนี้ทำให้คดีชายชุดดำคดีที่สองที่อัยการฟ้องจำเลย 4 ใน 5 คนจากคดีแรกต่อคือ กิตติศักดิ์, ปรีชา, ชำนาญ และปุณิกาในข้อหาพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่ ศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษายกฟ้องตามมาด้วย</p>
<p>ถึงกระนั้นพวกเขา 4 คนที่เหลืออยู่นี้ก็ยังไม่หลุดพ้นจากการเป็นชายชุดดำ เพราะอัยการยังส่งฟ้องคดีข้อหาก่อการร้ายพวกเขาตามมาเป็นคดีที่สามตามมาและยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาคดีในปี 2567 ชีวิตของพวกเขาจึงยังไม่ได้เป็นอิสระจริงๆ และไม่รู้ว่าจะมีคดีเพิ่มมาอีกเมื่อไหร่</p>
<p>ทั้งนี้กิตติศักดิ์และปรีชา คือคนที่ได้ออกจากเรือนจำหลังคนอื่นเพราะกิตติศักดิ์เป็นจำเลยในคดีชายชุดดำที่มีคดีพ่วงมากที่สุดในกลุ่มที่รวมทั้งหมดแล้วมากถึง 7 คดีแม้ว่าศาลจะยกฟ้องไปแล้ว 6 คดีแต่กว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวออกมาเขาต้องอยู่ในคุกถึง 8 ปี 2 เดือนโดยที่รัฐไม่สามารถพิสูจน์ความผิดเขาได้  ส่วนปรีชาเลือกที่จะรับสารภาพในคดีข้อหาครอบครองอาวุธตอนศาลอุทธรณ์เพราะติดคุกอยู่นานตั้งแต่ถูกจับกุมโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวมาสู้คดี</p>
<p>ประชาไทชวนกิตติศักดิ์และปรีชา มาเล่าถึงที่มาที่ไปที่ทำให้พวกเขาถูกโยงใยเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีนี้มาเกือบ 10 ปีแล้วและยังจะเกี่ยวต่อไปอีกนานแค่ไหนยังไม่มีใครทราบ กับสิ่งที่พวกเขาถูกกระทำจากกระบวนการยุติธรรม และชีวิตของพวกเขาหลังได้ออกจากเรือนจำ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51971181804_c4051edfbe_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">กิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน (นั่งซ้ายสุด) ปรีชา อยู่เย็น หรือไก่เตี้ย(นั่งถัดจากกิตติศักดิ์)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความไม่เป็นธรรม</span></h2>
<p>“ความไม่เท่าเทียม ทุกครั้งที่เกิดการชุมนุมของ 2 สีเสื้อ มองเข้าไปลึกๆ สีเสื้อฝั่งนู้น เขาทำอะไรไม่มีความผิด ทำอะไรก็ง่ายไปหมด แต่ฝั่งด้านที่เรามีใจอะไรหน่อยก็ผิด มันไม่เกิดความเป็นธรรม อยากเห็นอะไร อยากเห็นความเท่าเทียม ก็เลยเข้าไปตรงนั้นว่าแท้จริงคืออะไรกันแน่ จนมาหลังๆ ก็เข้าใจมากขึ้นว่ามันคือการสืบทอดอำนาจ”</p>
<p>ปรีชา อยู่เย็น ปัจจุบันอายุ  34 ปี ทำงานเป็นช่างกระจกเล่าถึงความรู้สึกที่ทำให้การจับผลัดจับผลูเข้าไปเป็นการ์ดให้กับ นปช.เมื่อปี 2553 เพราะเพื่อนชวนและความอยากได้เงินพิเศษเพิ่มจากงานช่างไฟฟ้าที่เป็นงานหลักที่ไม่ค่อยจะพอใช้เลี้ยงดูลูกเล็ก 2 คนของเขาทำให้เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมและสนใจเรื่องราวการเมืองของประเทศนี้มากขึ้น</p>
<p>แม้ปรีชาจะไม่ปฏิเสธว่าการมาสนใจเรื่องทางการเมืองของเขาจะมีเรื่องเศรษฐกิจเข้ามมาเกี่ยวเพราะการมีชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำของเขาถ้านายจ้างไม่มีงานเขาเองก็ไม่มีงานทำไปด้วยเหมือนกัน แต่เขาก็รู้สึกได้ถึงความไม่ยุติธรรมด้วยเช่นกัน</p>
<p>ปรีชารู้สึกว่าความสนใจเรื่องการเมืองของเขาก็เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปและคิดว่าการมาเป็นการ์ดผู้ชุมนุมก็ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายอะไร เขาอยู่เป็นการ์ดในที่ชุมนุมจนถึงวันที่ 10 เม.ย.2553 วันที่กองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของ นปช. ตั้งช่วงสายของวันจนถึงค่ำ เขาบอกว่าวันนั้นเขาก็อยู่ที่จุดตรวจของตัวเองแล้วก็ถูกถ่ายภาพไป และภาพที่จุดตรวจของเขาก็กลายเป็นหลักฐานที่ถูกเอามาใช้กล่าวหาดำเนินคดีกับเขาว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มชายชุดดำที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามยิงตอบโต้กับทหารในคืนนั้น</p>
<div class="more-story">
<p>ลำดับเวลาเสื้อแดงชุมนุม 53 จากขอ 'ยุบสภา' สู่การปราบคืนพื้นที่ ปิดท้าย ส.ว.สายพิราบแถลงถูกรบ.หักหลัง</p>
</div>
<p>กิตติศักดิ์ สุ่มศรี อายุ 54 ปี อดีตคนขับวินรถตู้ย่านสีลม บอกว่าได้ไปร่วมชุมนุมตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการชุมนุมในปี 2553 เพราะติดตามแฟนที่อยากไปฟังปราศรัยของณัฐวุฒิ ไสยเกื้อและจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. โดยเขาไปแค่ช่วงศุกร์กับเสาร์หลังจากแฟนเลิกขายของในตอนบ่ายและตัวเขาเองเลิกจากงานขับวินรถตู้ย่านสีลม</p>
<p>กิตติศักดิ์เองไม่ชอบรัฐบาลอภิสิทธิ์อยู่แล้วเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิท์ทำกับผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2552 ที่ดินแดงนั้นรุนแรงเกินไปจากการใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนเข้าสลายการชุมนุม จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมครั้งนี้ทำให้มีเพื่อนของเขาที่ไปร่วมชุมนุมถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวเขาเองก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย หลังจากนั้นมาพอมีการชุมนุมที่ไหนเขาก็ไปร่วมด้วย</p>
<p>อย่างไรก็ตาม กิตติศักดิ์เล่าว่าหลังจากเข้าร่วมการชุมนุมมาเรื่อยๆ พอถึงวันที่ 10 เม.ย.2553 เมื่อเขาไปถึงที่ชุมนุมตนอบ่ายโมง เขาได้เห็นว่าทหารเริ่มสลายการชุมนุมมาตั้งแต่ช่วงกลางวันแล้วและติดต่อกับน้องชายที่เข้าร่วมชุมนุมก็ไม่ได้ ทำให้เขาตัดสินใจกลับบ้านที่ย่านบางนาเพราะเป็นห่วงความปลอดภัยเกรงจะเกิดอันตรายกับลูก 2 คนและหลานที่ไปด้วยกัน แม้ว่าหลังจากเหตุการณ์สลายชุมนุมวันนั้นแล้วเขาก็ยังไม่ไปร่วมชุมนุมต่อที่ราชประสงค์แต่ก็ไม่ได้อยู่จนเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วง 13-19 พ.ค.</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชีวิตสะดุด</span></h2>
<p>กิตติศักดิ์เล่าว่าตั้งแต่หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 53 เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะถูกจับกุมแบบนี้ แม้ว่าจะเคยมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถามหา ไก่ ธนเดช เอกอภิวัชร์ กับเขาที่วินรถตู้หนึ่งครั้งซึ่งเขาก็เอาสมุดบันทึกการเข้าออกวินให้ตำรวจดูว่าธนเดชไม่ได้เข้ามาขับรถวินเลย ครั้งนั้นตำรวจแค่แจ้งว่าถ้าธนเดชกลับมาให้โทรศัพท์แจ้งด้วยแล้วก็กลับไป แต่พอมาอีกครั้งหลังการรัฐประหาร 2557 ทหารก็เข้าจับกุมระหว่างไปจากที่ทำงานของเขาที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งย่านรามอินทราซึ่งเขาไปรับจ้างขับรถรับส่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวต่อหน้าลูกสาวที่อยู่บนรถ และลูกสาวของเขาถูกเจ้าหน้าที่ไล่พร้อมขู่ไม่ให้อยู่ในบริเวณดังกล่าว</p>
<p>กิตติศักดิ์เล่าว่าเจ้าหน้าที่เข้ามาล็อคตัวกดเหยียบไว้ก่อนถูกพาขึ้นรถตู้ ภายหลังเขาถึงทราบจากลูกสาวว่าวันรุ่งขึ้นหลังเขาถูกจับ เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปเอาภาพกล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพการจับกุมเขาไปจากหน่วยงานดังกล่าวด้วย และเมื่อภรรยาไปแจ้งความที่ สน.โคกครามก็มีทหารตามไปขู่ให้ถอนแจ้งความไม่เช่นนั้นจะไม่ได้เจอกิตติศักดิ์อีก แล้วก็ให้เขาคุยทางโทรศัพท์กับภรรยาเพื่อให้เขาบอกถอนแจ้งความด้วย หลายอย่างที่เกิดขึ้นนนี้ก็ทำให้เขารู้สึกกังวลความปลอดภัยของภรรยาและลูก</p>
<p>“โอ้โห มันทุกอย่างเลย ครั้งแรกเลยมันก็เอาปืนจ่อใส่หัวผม ชักปืนจ่อ ผมตีนเย็นไปเลยตอนนั้น คือในมโน เราปิดตาก็ไม่รู้ว่ามันอะไร เราก็พูดตลอดว่าจะฆ่าก็ฆ่า มันก็ตบไปมา มึนหัวหมด มันบอกนวดไปเรื่อยๆ เอาอะไรมาลองตีเรา มันคงอายมั้ง ปิดตาเรา กลัวเราเห็นหน้ามัน”</p>
<p>“ปิดตาตลอด ปิดตาตั้งแต่คุมตัวมา จริงๆ ออกหมายเรียกผมยังได้เลย จะได้รู้ว่าหน่วยงานไหน มาแบบนี้ ผมตายไปวันนั้นไม่มีใครรู้เลย”</p>
<p>กิตติศักดิ์เล่าถึงตอนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ด้วยว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำการสอบสวนคลุมหัวเขาไว้ตลอดทำให้ไม่เห็นว่าคนที่มาสอบสวนเป็นใครบ้างมีการทำร้ายร่างกาย มีการเอาปืนจ่อหัว ไปจนถึงการเกลี่ยกล่อมให้รับสารภาพไปก่อน แล้วค่อยไปกลับคำให้การทีหลัง ส่วนเนื้อหาในการสอบสวนก็ยังคงมีการถามถึงธนเดชอีก และยังให้เขาเล่าเหตุการณ์ตามโพยที่มีอยู่ จนกระทั่งถูกนำตัวไปแถลงข่าวในเวลาต่อมา</p>
<div class="more-story">
<p>คดีชายชุดดำในเงื้อมมือ คสช. ความยุติธรรมถูกพรากจากคนเป็นและไปไม่ถึงคนตาย</p>
</div>
<p>ส่วนปรีชาก็ประสบเหตุไม่ต่างกันนัก หลังจากการชุมนุมในปี 2553 เขากลับไปทำงานสังกัดกองช่างที่เทศบาลแถวบ้านที่เชียงใหม่ จนกระทั่งถึงวันที่ถูกจับกุมเขาก็ไม่เคยได้รับหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหาจากตำรวจมาก่อน</p>
<p>ปรีชาเล่าว่าวันที่เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมเป็นวันที่เขาไปทำงานตามปกติวันนั้นมีขบวนรถฟอร์จูนเนอร์ 3 คันมาที่ทำงาน เจ้าหน้าที่ที่จับกุมไม่แสดงตัว ไม่มีหมายจับ</p>
<p>“มาถึงก็ถีบผมเลย เหมือนเขาเฝ้าจนมั่นใจว่านี่คือเป้าหมายเขา วันที่เข้าจับกุมก็ใช้ยุทธการทางทหาร เหมือนผมเป็นผู้ร้ายมหาภัยมาก มาถึงมันก็ถีบเลย ผมหน้าคว่ำลง มันก็กดเราลงที่พื้น แล้วก็เก็บของทุกอย่างเราไปหมดเลย น้องชายผมต้องไปตามเอาที่หลัง ไม่มีการแจ้งเลย น้องผมถามคนที่ทำงาน เขาก็บอกอย่ายุ่งกับเรื่องนี้ คือมันก็เป็นสิ่งที่ค้างอยู่ในใจเรามาตลอดว่าทำไมถึงทำแบบนี้ได้ กฎหมายอยู่ไหน” ปรีชาสะท้อน</p>
<p>“ตลอดการเดินทางตั้งแต่เชียงใหม่ถึงกรุงเทพฯ ก็ทำร้ายผมตลอด มีการถามว่ารู้มั้ยมึงไปทำอะไรมา พอตอบไม่รู้ก็โดนตบ ตบด้วยกระบอกปืนบ้าง เอากระบอกปืนกดหน้าผาก ท้ายทอยบ้าง อย่างนี้ตลอดการเดินทาง 12 ชม. ถึงกรุงเทพฯ” ปรีชาเล่าถึงสภาพการเดินทางก่อนถูกส่งเข้าค่ายทหารในกรุงเทพเพื่อสอบสวนต่อ แต่เขาพอจะเดาได้ว่าคนที่ทำเขาเป็นทหารเพราะระหว่างทางขอสูบบุหรี่แล้วทหารเปิดผ้าที่คลุมหัวไว้เห็นชุดท่อนล่างของคนที่มาจับกุม</p>
<p>หลังจากปรีชาถูกนำตัวถึงค่ายทหารในกรุงเทพเขาถูกสอบสวนต่อ ถ้าเรื่องไหนที่เขาถูกถามแล้วเขาตอบไม่รู้ หรือปฏิเสธว่าไม่ได้ทำหรือไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเจ้าหน้าที่ก็จะไม่พอใจ มีการขู่ว่าจะทำให้หายไปบ้าง หรือทำร้ายด้วยวิธีที่ไม่เกิดแผลมีเพียงรอยฟกช้ำเล็กๆ บ้างเช่น  เอาผ้าแช่น้ำแล้วเอามาพัน เขาบอกว่ารอยช้ำจะเล็กเหมือนไปเดินชนอะไรมา ส่วนแผลที่ใหญ่หน่อยก็อ้างว่าเป็นแผนตอนจับกุมเพราะมีการขัดขืน เขาก็อยู่ในค่ายทหารราวๆ 3-4 วันก่อนถูกนำตัวส่งให้ตำรวจที่กองปราบฯ แต่ก่อนส่งก็จะมีการให้ยารักษามีแพทย์ทำการตรวจเฉพาะร่างกายภายนอกก่อน</p>
<p>นอกจากเรื่องการทำร้ายระหว่างการจับกุมสอบสวนแล้วสิ่งที่พวกเขาทั้งสองเจอเหมือนกันอีกคือ ไม่ได้มีทนายความอยู่ด้วยทั้งระหว่างการสอบสวนในชั้นทหารและตำรวจทำให้พวกเขาถูกตัดขาดจากความช่วยเหลือทางคดีที่กำลังรอพวกเขาอยู่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คดีอันไม่จบสิ้น</span></h2>
<p>“มันก็ไม่ยุติธรรมนะ มันไม่จบ เราสู้ชนะแล้ว แต่เอาทีมคนนั้นนี้มา พยานก็คนเดิม เหมือนก๊อปปี้คดีก่อนๆ มาทนายซักถามจนตอบไม่ได้ มันก็ไม่ยุติธรรมสำหรับผม”</p>
<p>กิตติศักดิ์ กล่าวถึงความรู้สึกที่ตัวเองตกเป็นจำเลยซ้ำซาก โดยเขาเป็นคนที่มีคดีเยอะที่สุดในกลุ่มเขาถูกฟ้องรวมทั้งหมด 7 คดีจากเหตุการณ์ต่างๆ (มี 3 คดีที่ศาลอนุญาตให้มัดรวมการพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน) และเป็นคนที่ติดคุกอยู่นานที่สุดในกลุ่มถึง 8 ปี 2 เดือนโดยไม่ได้รับการประกันตัวมาตลอดตั้งแต่วันที่ทหารของ คสช.เข้าจับกุมเมื่อกันยายน 2557 จนกระทั่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้เมื่อ 21 พ.ย.2565 หลังจากคดีชายชุดดำภาค 2 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องไปก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ศาลฎีกายกฟ้องชายชุดดำอีกคดี พยานโจทก์ปากสำคัญไม่น่าเชื่อถือให้การสองคดีไม่ตรงกัน</li>
<li>คดี ‘ชายชุดดำ ปี 53’ ศาลสั่งจำคุก 10 ปี 2 จำเลย อีก 3 ยกฟ้องแต่สั่งขังระหว่างอุทธรณ์</li>
</ul>
</div>
<p>แม้ว่าเขาจะโดนคดีต่อเนื่องกันมาหลายคดี แต่เขาก็เลือกสู้คดีต่อเพราะลูกสาวบอกกับเขาว่าไม่ได้ทำอะไรผิดแล้วจะรับทำไมถ้าไม่ได้ทำแล้วยอมรับก็เท่ากับทำผิดแล้ว เขาเลยได้สู้ต่อจนศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องในคดีชายชุดดำ 1 แล้วมีคำสั่งปล่อยตัวจากเรือนจำทันที แต่เขาก็ยังมีคดีที่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาอีก 3 คดีในเวลานั้นและศาลไม่ให้ประกัน</p>
<p>คดีก่อการร้ายนี้ กิตติศักดิ์เล่าว่าฝ่ายอัยการก็ยังคงใช้พยานหลักฐานในคดีชายชุดดำทั้งสองภาคมาใช้ดำเนินคดีกับพวกเขาอีก</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://farm8.staticflickr.com/7541/15787029590_bece7be5c8.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพขณะพวกเขายังถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีชายชุดดำคดีแรก</span></p>
<p>อย่างไรก็ตาม ความอยากลำบากที่จะได้สิทธิประกันตัวส่งผลให้ปรีชาที่สู้คดีกับกิตติศักดิ์มาจนถึงชั้นอุทธรณ์สุดท้ายต้องเลือกรับสารภาพและถอนอุทธรณ์คดีไปเพราะโทษที่ศาลชั้นต้นตัดสินให้จำคุก 10 ปี แต่เขาถูกคุมขังมาตั้งแต่คดียังไม่เข้าสู่ศาลจนรวมเวลาที่เขาอยู่ในเรือนจำเสมือนถูกลงโทษมาครึ่งทางแล้วกลายเป็นเหตุให้เขาเลือกที่จะหยุดสู้คดีไปเพื่อให้คดีสิ้นสุดตามเกณฑ์ของผู้ต้องขังที่จะได้ลดโทษตามวาระซึ่งจะทำให้เขาเหลือเวลาที่ต้องอยู่ในเรือนจำอีกไม่นาน เบ็ดเสร็จแล้วเขาก็อยู่ในเรือนจำไป 6 ปี 4 เดือน 29 วันก่อนได้รับการปล่อยตัว</p>
<p>แม้ว่าการรับสารภาพในคดีข้อหาครอบครองอาวุธเพื่อให้คดีจบของปรีชาจะทำให้เขาต้องรับโทษไป แต่ในคดีข้อหาพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่ซึ่งทางฝ่ายโจทก์ก็ใช้พยานหลักฐานชุดเดียวกันในการฟ้องคดีต่อศาลซ้ำกับพวกเขา ศาลก็ได้พิจารณาพิพากษายกฟ้องไปเนื่องจากเห็นว่าพยานหลักฐานชุดนี้ไม่น่าเชื่อถือพยานบุคคลให้การต่อศาลขัดกัน ก็เป็นการพิสูจน์ว่าปรีชาไม่ได้มีความผิดไปด้วย</p>
<p>“วันที่อ่านคำพิพากษานี่กลัวตรงนั้น คดีแรกนี่ชัดเจนเลย ตรวจลายนิ้วมือที่ปืนไม่ตรงกัน หลักฐานวิทยาศาสตร์ชัดเจน แต่ทำไมถึงยังโดน 10 ปี เขาไปค้นบ้านผมที่บ้านนอก ที่ห้องพักผม ไม่เจออะไรสักอย่างที่ส่อเป็นอาวุธ ก็ยังโดนครอบครอง ตอนนั้นที่ห้องมีแม่ของลูก กับลูกยังเป็นทารก 2 คน แต่มันไม่มีอะไร ทีวีเครื่องหนึ่ง พัดลมตัวหนึ่ง ที่นอน เสื้อผ้าลูก ห้องแถวเช่า 800 บาท บ้านน้องชายก็บ้านเดี่ยว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ เอาอะไรไปงัดโถส้วม ไปค้นหมด แต่ไม่เจอ มันก็ต้องให้เขาซ่อม มันต้องรับผิดชอบอยู่แล้วมันรื้อ”</p>
<p>ทั้งนี้เรื่องคดีที่มีปัญหายืดเยื้อไม่จบทนายความของพวกเขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้กับสื่อว่า ในความเห็นของเขาการดำเนินคดีที่เกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ 10 เม.ย.2553 ทั้ง 3 คดี คดีแรกที่เป็นข้อหาครอบครองอาวุธ คดีที่สองข้อหาพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่ที่ทั้งสองคดีศาลมีคำพิพากษายกฟ้องไปแล้วและคดีที่สามที่เป็นคดีใหม่ข้อหาก่อการร้าย ถูกนำมาฟ้องพวกเขาด้วยพยานและหลักฐานชุดเดิมลักษณะนี้ถือเป็นประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ถือเป็นการฟ้องซ้ำซึ่งขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่อย่างไรก็ตามศาลก็มองว่าเป็นการฟ้องคนละข้อหากันสามารถทำได้ โดยเฉพาะในคดีที่สามศาลระบุว่าจะมีผลคำวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องนี้ในคำพิพากษาทำให้คดีของพวกเขายังเดินหน้าต่อไป</p>
<div class="more-story">
<p>อัยการฟ้อง ‘อร ชูศรี’- ‘ชำนาญ’ คดีชายชุดดำคดีที่ 2 ทนายชี้ หลักฐานเดิมกับคดีที่ศาลยกฟ้องแล้ว</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ครอบครัวขาดที่พึ่ง บ้านแตกสาแหรกขาด</span></h2>
<p>สิ่งที่พวกเขาต้องประสบพบเจอที่ผ่านมานอกจากเรื่องคดีความแล้วชีวิตหลังออกจากคุกมาใช่ว่าจะราบรื่น</p>
<p>สำหรับกิตติศักดิ์การเข้าไปอยู่ในเรือนจำยาวนานเกือบทศวรรษ ตอนออกจากเรือนจำมายังได้ใช้ชีวิตธรรมดากับครอบครัวแบบพร้อมหน้าพร้อมตา และได้รับความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดที่ช่วยหางานขับรถให้ทำหัวหน้างานเข้าใจสิ่งที่เขาต้องเจอ แม้จะมีเรื่องขลุกขลักบ้างที่ระหว่างที่เขาอยู่ในเรือนจำมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมา  </p>
<p>แต่ระหว่างที่กิตติศักดิ์อยู่ในเรือนจำครอบครัวของเขาก็ต้องเจอกับมรสุมชีวิต เนื่องจากเดิมทีกิตติศักดิ์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัวร่วมกับภรรยาที่ทำกับข้าวขาย เมื่อถูกจับก็ทำให้ภาระทางการเงินตกไปอยู่กับภรรยาและลูกทั้งสองคนของเขาที่ตอนนั้นยังอยู่ในวัยเรียนอยู่แทน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ทำให้เขากังวล</p>
<p>“ผมชีวิตลำบากแต่เด็ก (ในคุก) ผมอยู่ได้ แต่กังวลว่าลูกจะเรียนจบมั้ยแล้วก็มีอาจารย์คนนึงเขายอมเซนกู้ กยศ.ให้เลยนะ ลูกคนเล็กก็เรียนจบได้ทำงานแล้ว ที่กังวลในช่วงนั้นคือ บ้านเราจะผ่อนไหวมั้ย แฟนเนี่ย ลูกจะเรียนจบไหม ตอนนั้น ถ้ามีการช่วยเหลือซักนิดนึง นะ (เสียงสั่น) ดูแลเขาหน่อย คนที่โดนการเมืองในคุก ดูแลเขาดีๆ หน่อย ตอนนั้นคนเล็กเรียนปวช./ปวส.อยู่ คิดไรไม่ออก”</p>
<p>จากการที่กิตติศักดิ์ถูกจับกุม ทำให้ลูกของกิตติศักดิ์ทั้ง 2 คนต้องออกมาทำงานไปพร้อมกับเรียนไปด้วย คนโตทำงานเซเว่นแล้วก็มารับช่วงรถตู้ของพ่อไปขับวินแทน คนเล็กช่วยแม่ขายของ บ้านเอื้ออาทรที่ยังผ่อนไม่หมด รถที่เอามาใช้วิ่งวินก็เป็นการยืมเงินคนอื่นมาดาวน์รถ</p>
<p>“(วันตำรวจแถลงข่าว) พวกผมที่โดนจับวันนั้น 4 คน รวย มีเงินเยอะมาก นักข่าวถามว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เขาก็บอกว่าบอกไม่ได้ แต่จำนวนเยอะมากๆ มันไม่ตรวจบัญชีผมเลย” กิตติศักดิ์ตัดพ้อ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52516079249_2454d841f0_o_d.jpg" style="width: 1280px; height: 720px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">กิตติศักดิ์ (ซ้าย)  และ ปรีชา (ขวา)หลังได้รับการประกันตัว</span></p>
<p>แต่ปรีชาที่ติดคุกโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวเช่นเดียวกัน เป็นเหตุให้เขาต้องแยกทางกับภรรยาและลูกเนื่องจากปัญหาทางการเงินในครอบครัว ทำให้ภรรยาที่ตอนนั้นต้องเลี้ยงลูกสองคนอยู่คนเดียวและทำงานไปด้วยเลือกจะแยกทางไปสร้างครอบครัวใหม่ แต่นอกจากเรื่องปัญหาทางการเงินและชีวิตครอบครัว สิ่งที่ปรีชาเผชิญยังมีมากกว่านั้น</p>
<p>“เขาไม่ได้ชนะผมเลย ศาลยกฟ้องหมด แต่ครอบครัวผมก็แตกไป ผมไม่มีเงินที่จะสู้แล้ว เพื่อจะได้ออกมาทำงานหาเงิน ผมยอมจบตรงนั้น ผมยอมเขา เขาไม่ได้ชนะผมเลย แล้วการที่เขาไม่ชนะตรงนั้นนี่มันถึงเกิดการอุ้มหาย ตรงนี้ที่ระแวงทุกวันนี้ กฎหมายเอาอะไรไม่ได้ เขาอยู่เหนือกฎหมาย นอกกฎหมายไปแล้ว เวลาผมไปอะไรตรงไหน ผมขอที่คนเยอะๆ ไว้ก่อน” ปรีชากล่าว</p>
<p>อย่างไรก็ตามการที่ปรีชายอมรับสารภาพในคดีแรกและรับโทษจำคุกไป ยังมีผลต่อเนื่องมาด้วยคือการที่มีประวัติอาชญากรรมติดตัวทำให้เขาไม่สามารถหางานทำได้มากนักและถึงจะสามารถสมัครงานได้แต่ถึงวันที่ต้องไปขึ้นศาลต้องลางานบ่อยเขาก็ถูกไล่ออกจากงานที่หามาได้หลังออกจากคุกอยู่ดี</p>
<p>ปรีชาเล่าความรู้สึกหลังได้ออกจากเรือนจำมาทำให้เขาต้องคอยระแวงอยู่ตลอดว่าจะถูกจับกลับไปอีกและเขาคิดว่าถ้ามีอีกครั้งก็คงจะเป็นการอุ้มหายไปเลย และความระแวงนี้ยังส่งผลให้เขายุติกิจกรรมทางการเมืองไปด้วย แม้ว่าเขาจะรู้สึกอยากเข้าร่วมการชุมนุมกับม็อบเยาวชนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาแต่ประสบการณ์ครั้งนั้นก็ทำให้เขาเลือกที่จะคอยเฝ้าดูด้วยความเป็นห่วงเพียงอย่างเดียว ไม่แม้แต่จะแสดงความเห็นทางการเมือง เพราะเกรงว่าหากพลาดก็จะถูกจับและถูกถอนประกันในคดีข้อหาก่อการร้ายที่ยังค้างคาอยู่จนทำให้ต้องกลับเข้าไปในเรือนจำอีกครั้ง</p>
<p>กิตติศักดิ์ก็ต้องเจอผลกระทบทางจิตใจเช่นกัน เพราะตั้งแต่ออกมาเขาเองก็รู้สึกกังวลว่าจะถูกทหารเอาตัวไปอีกครั้งหรือไม่และก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เขาต้องระแวง เพราะว่าหลังจากศาลยกฟ้องในคดีชายชุดดำภาคสองซึ่งเป็นคดีที่ 6 ของเขาและกำลังจะได้กลับบ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.นางเลิ้งก็มาอายัติตัว และตอนที่อยู่ในเรือนจำเขาก็เคยรับรู้มาว่ามีการส่งตัวต่อให้ทหาร ทำให้วันนั้นเขากังวลว่าถูกส่งตัวให้ทหารอีกและได้โทรหาลูกสาวและทนายความจนไปถึง สน.แล้วทางตำรวจถึงบอกว่าเป็นหมายจับที่ค้างอยู่ 2 หมายอ้างว่าเป็นของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำให้คืนนั้นหลังจากได้ปล่อยตัวจากเรือนจำแล้วกว่าจะได้กลับถึงบ้านจริงๆ ก็เข้าวันใหม่ไปแล้ว</p>
<p>“คิดตลอดว่ามันไม่น่าเกิดเรื่องแบบนี้” คือสิ่งที่กิตติศักดิ์นึกถึงต่อเรื่องราวที่เขาเจอนับตั้งแต่ถูกนำตัวไปค่ายทหารเมื่อ 9 ปีก่อนและติดอยู่ในคุกอยู่นาน แม้กระทั่งตอนที่พ่อของเขาเสียชีวิตก็ไม่สามารถไปทำพิธีให้ได้ แม้จะเคยทำเรื่องขอออกไปงานศพแต่ไม่ได้รับอนุญาต</p>
<p>กิตติศักดิ์บอกว่าถ้ามีโอกาสเขาก็อยากที่จะดำเนินคดีกลับกับเจ้าหน้าที่ที่ทำกับเขาเช่นนี้ แต่ก็เหมือนจะยังเป็นเรื่องอีกยาวในเมื่อพวกเขายังคงมีคดีมาใหม่และไม่รู้ว่าในอนาคตจะมีอีกหรือไม่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความช่วยเหลือ เยียวยา</span></h2>
<p>“ผมหวังว่าเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ เศรษฐกิจจะดีขึ้น แล้วกระบวนการยุติธรรมอยากเห็นที่เป็นธรรมกว่านี้ ตรงกว่านี้ ส่วนหวังอะไรจากรัฐบาลใหม่ ผมก็อยากให้ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบตรงนี้อย่างจริงจัง ผมอยากมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้ อยากเห็นการช่วยเหลือที่เป็นเนื้อๆ จริงๆ” ปรีชาสะท้อน</p>
<p>ปรีชาเล่าว่าก่อนหน้านั้นมีคณะกรรมการปรองดองเข้าไปคุยกับเขาในเรือนจำว่าจะช่วยเหลือจะช่วยเรื่องให้ได้ออกจากเรือนจำแต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้น แต่เขาเล่าด้วยว่านอกจากตัวเขาเองแล้วผู้ต้องขังคดีการเมืองคนอื่นๆ ที่เขารู้จักในเรือนจำก็เผชิญปัญหาทางการเงินหลังออกจากเรือนจำเพราะมีประวัติคดีอาญาเหมือนกับเขา ส่วนตัวเขาเองพอมีโชคอยู่บ้างได้ไปทำงานร้านกระจกกับเพื่อนร่วมคุกที่ออกมาก่อนและเข้าใจปัญหาของเขา แต่เขาก็อดกังวลเรื่องที่เขายังมีคดีซึ่งการต้องลางานไปขึ้นศาลก็อาจทำให้เขาต้องตกงานอีกครั้ง</p>
<p>“อันนี้ก็เปิด ป.วิ มาเรื่องการฟ้องซ้ำ ผมสู้ในเรื่องนี้ แต่ทำไมผมไม่ได้รับสิทธิตรงนั้น ทำไมผมยังต้องเสียเวลามาขึ้นศาลเรื่องเดิมๆ ยังไงผลที่ออกมาก็เรื่องเดิม ไม่ว่าจะพยานกี่ปาก มันก็ออกมาเหมือนเดิม เอกสารอันเดิม คำให้การอันเดิม ทนายก็แย้ง คดีทุกวันนี้ไม่ได้ทำอะไรเลย แค่แลกเปลี่ยนเอกสารกันดู แล้วก็พูดเรื่องเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย แต่มีที่เพิ่มมาล่าสุด มีทหารผู้เสียหายมาฟ้อง ถูกยิงด้วย เอ็ม16 เขาเห็นหน้าว่าใครยิงเขา พอศาลถามว่าใช่ 2 คนนี้มั้ย ก็บอกไม่ใช่ ไม่เคยเห็นหน้า เอ้า แล้วทำไมมาฟ้องผม ผมไม่เข้าใจ” ปรีชากล่าว</p>
<p>ส่วนกิตติศักดิ์เพียงขอสั้นว่าๆ อยากให้มีความช่วยเหลือคนที่โดนคดีการเมืองลักษณะนี้บ้าง และก็อยากให้เรื่องคดีของเขาจบลงเสียที</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>'อ่าน' เปิดปม 'แม่ค้าข้าวแกงเสื้อแดง' เกือบถูกอุ้มหลังรัฐประหาร สุดท้ายติดคุกฟรี 3 ปี แถมเจอคดีใหม่อีก</li>
<li>10 ปีล้อมปราบเสื้อแดง: บทเรียน(?) จากแกนนำ - นักสันติวิธี - คอป.- ส.ว.</li>
<li>10 ปีสลายเสื้อแดง: กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง(ศาลโลก) เมื่อความยุติธรรมต้องรอการเมืองเปลี่ยน</li>
<li>
<p>รวมทุกความตีบตัน: 10 ปีคดีคนตายจากการสลายชุมนุมปี 53 ไปถึงไหน</p>
</li>
<li>
<p>ชายชุดดำในทัศนะของ ศปช.</p>
</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">สถานะคดีของพวกเขาในปัจจุบัน </span></h2>
<p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53250760903_092f82467c_b.jpg" /></p>
<table class="Table" style="width:524.45pt; border:solid black 1.0pt" width="699">
<tbody>
<tr style="height:2.8pt">
<td>
<p style="text-align: center;">คดี/จำเลย</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">กิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ปรีชา อยู่เย็น หรือไก่เตี้ย</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">รณฤทธิ์ สุวิชา หรือนะ</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ชำนาญ ภาคีฉาย หรือเล็ก</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ปุณิกา ชูศรี หรืออร</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:3.3pt">
<td>
<p>ชายชุดดำ 1(ครอบครองอาวุธ) 10 เม.ย.2553</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ยกฟ้องชั้นอุทธรณ์และฎีกา</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">รับสารภาพชั้นอุทธรณ์ ติดคุกครบกำหนดโทษ</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ยกฟ้อง 3 ศาล</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ยกฟ้อง 3 ศาล</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ยกฟ้อง 3 ศาล</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:3.3pt">
<td>
<p>คาร์บอมบ์ อพาร์ทเมนท์ย่านรามอินทรา (ครอบครองระเบิด)</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:3.3pt">
<td>
<p>วางระเบิดหน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ (กิตติศักดิ์ถูกฟ้องร่วมกับคนอื่นนอกกลุ่มคดีชายชุดดำ)</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ศาลชั้นต้นยกฟ้อง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:3.3pt">
<td>
<p>ระเบิดแสวงเครื่องหน้าบ้านในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (กิตติศักดิ์ถูกฟ้องร่วมกับคนอื่นนอกกลุ่มคดีชายชุดดำ)</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ศาลชั้นต้นยกฟ้อง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:3.3pt">
<td>
<p>ระเบิดแสวงเครื่องหน้าองค์การโทรศัพท์ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (กิตติศักดิ์ถูกฟ้องร่วมกับคนอื่นนอกกลุ่มคดีชายชุดดำ)</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ศาลชั้นต้นยกฟ้อง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:3.3pt">
<td>
<p>ชายชุดดำ 2 (ทำร้ายทหาร) 10 เม.ย.2553</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ศาลชั้นต้นยกฟ้อง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">ศาลชั้นต้นยกฟ้อง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">-</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">รอพิจารณา</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">รอพิจารณา</p>
</td>
</tr>
<tr style="height:2.8pt">
<td>
<p>ชายชุดดำ 3 คดีก่อการร้าย สืบเนื่องจากเหตุการณ์ 10 เม.ย.2553</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">รอการพิจารณาคดี ปี 67</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">รอการพิจารณาคดี ปี 67&

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 158 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 156 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 117 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 120 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 100 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.013 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 พฤศจิกายน 2566 01:39:46