เพราะคุณทำร้ายธรรมชาติ เราจึงทำลายจักรวรรดิน้ำมันของคุณ
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-11-27 20:58</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>simmering anger</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>แผนของโซชิทฟังดูบ้าระห่ำ เธอจะระเบิดท่อส่งน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในประเทศ </p>
<p>เธอเชื่อว่าตนทำได้และมีสิทธิชอบธรรมที่จะทำ</p>
<p>พอกันทีกับวิธีปกป้องสิ่งแวดล้อมแบบเดิมๆ ทำแคมเปญรณรงค์ให้ผู้ถือหุ้นถอนตัวออกจากบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำสารคดีสื่อสารเพื่อการการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือโครงการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์โลกสวย โลกแม่งพังจะตายห่าแล้ว และเธอจะไม่ทนถูกทำร้ายอีกต่อไป </p>
<p><strong>เราสามารถใช้ความรุนแรงทำลายทรัพย์สิน (sabotage) ในนามของความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ คือคำถามที่ภาพยนตร์เรื่อง How to blow up a pipeline โยนทะลุปล่องขึ้นมาโดยไม่ได้จงใจจะคุยกับใครเป็นพิเศษ แต่กระแทกหน้าทุกคน</strong></p>
<p>ในฐานะสิ่งมีชีวิตหนึ่งบนโลก เราคงมีสิทธิจะครุ่นคิดถึงความเป็นไปได้นี้ ไม่มากก็น้อย</p>
<p>กันยายนที่ผ่านมา กลุ่มการเมืองสิ่งแวดล้อมได้จัดวงคุยเกี่ยวกับหนังเรื่องดังกล่าวไปที่กรุงเทพฯ นับเป็นการเอาหนังที่เป็นกระแสครึกโครมในวงการสิ่งแวดล้อมตะวันตกมาคุยกันในบริบทไทยครั้งแรกๆ เราจึงขอบันทึกห้วงคำนึงที่เกิดขึ้นในบทสนทนาไว้ในบทความนี้</p>
<p>ก่อนอื่นมาคุยเรื่องหนังกันก่อน เผื่อคุณจะยังไม่ได้ดู</p>
<p><strong>*</strong></p>
<p>How to blow up a pipeline (2022) ความยาว 1 ชั่วโมง 40 นาที กำกับโดย Daniel Goldhaber เป็นภาพยนตร์แนวทริลเลอร์ที่พัฒนาขึ้นจากบทความทางปรัชญาชื่อเดียวกันของอาจารย์นิเวศวิทยามนุษย์ชาวสวีเดน Andreas Malm </p>
<p>สำหรับหนังสือ ผู้เขียนมองว่าการเคลื่อนไหวเรื่องสภาพภูมิอากาศปัจจุบันนั้นเป็นเหมือนวงจรที่มีขึ้น-มีลง ปี 2018 เกรต้า ธันเบิร์ก ไปนั่งจุ้มปุ๊กประท้วงอยู่หน้ารัฐสภาสวีเดนจนกระทั่งเกิดกระแส Friday For Future ทั่วโลก จนกระทั่งกันยายนปีต่อมา มีการประท้วงโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในสัปดาห์เดียว มีคนร่วมกว่าสี่ล้านคน</p>
<p>แต่กระแสนี้ก็ช็อตฟีลไปเพราะโควิด ไม่ต่างกับการประท้วงสิ่งแวดล้อมประเด็นอื่นๆ ก่อนหน้าที่พีคแล้วก็พับลง แอนเดรสจึงเริ่มตั้งคำถามว่าการเรียกร้องเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันเพียงพอหรือไม่ หรือจะทำอะไรได้มากกว่านี้ถ้าไม่ยึดติดว่าจะต้องใช้<strong> “สันติวิธี”</strong></p>
<p>จากการทดลองทางความคิดสู่หนัง นี้คือเรื่องราวของวัยรุ่นอเมริกันแปดคนที่มารวมตัวเฉพาะกิจเพื่อกู้โลก...พล็อตคุ้นๆ เหมือนกับหนังแอคชั่นบางค่าย แต่คนดูอาจจะไม่มองพวกเขาเป็นฮีโร่ หากเป็นผู้ก่อการร้าย </p>
<p>โซชิท เด็กสาวมหาลัยจากรัฐแคลิฟอร์เนียต้องเสียแม่ไปเพราะคลื่นความร้อน ทับถมด้วยมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมันที่ตั้งอยู่ระยะประชิดชุมชน โซชิทกับธีโอ เพื่อนวัยเด็กที่โตมาในเมืองเดียวกันและเป็นลูคีเมียระยะสุดท้ายจึงเกิดความรู้สึกว่าต้องลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าเดิม ตัดสินใจจะระเบิดท่อน้ำมันในรัฐเท็กซัส พวกเธอรวมทีมคนที่เชื่อในสิ่งเดียวกัน ทั้งเด็กหนุ่มเนทีฟอเมริกันที่ประดิษฐ์ระเบิดเองได้ ชาวบ้านในพื้นที่ท่อส่งน้ำมันที่รู้จักที่ทางและคนอื่นๆ มาร่วมด้วย </p>
<p><strong>ตู้ม!!!!!!!</strong></p>
<p>พล็อตเรียบง่าย เล่าเรื่องภารกิจประดิษฐ์ระเบิดสลับกับแฟลชแบ็กย้อนอดีตประวัติของแต่ละคน ทำไมคนทั้งแปดถึงมาอยู่จุดนี้ </p>
<p>ท่ามกลางเปลวเพลิงที่ลุกไหม้ฝ่าความมืดมิด โซชิทกับธีโอคุกเข่าลง รอให้ตำรวจมาจับ ในเวลาเดียวกัน พวกเธอปล่อยคลิปลงโซเชียลอธิบายเหตุผลที่ทำ ศาลอาจจะตัดสินให้เธอผิดฐานทำลายทรัพย์สินบริษัทน้ำมัน แต่สังคมจะมองเรื่องนี้อย่างไร </p>
<p><strong>เธอคือผู้ก่อการร้าย เป็นคนใกล้ตายที่พยายามดิ้นรนเฮือกสุดท้าย หรือฮีโร่กอบกู้โลก</strong></p>
<p><strong>**</strong></p>
<p>ในวงคุยที่กรุงเทพ ทุกคนเงียบกริบแล้วปล่อยความคิดตกตะกอน เราไม่ได้ให้ทุกคนยกมือโหวตว่าโซชิททำผิด / ไม่ผิด แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครแย้งแบบเด็ดขาด </p>
<p>คนมาร่วมวงหลายคนเป็นนักกิจกรรมที่สนใจประเด็นสังคมอยู่แล้ว หลายคนมาจากสหภาพแรงงานเลยคุ้นเคยกับการแอคชั่นเพื่อตัดแขนขานายทุน 1% ในสังคม ผู้มาร่วมคนหน่ึงเป็นทนายคุ้นเคยกับคดีความด้านสิ่งแวดล้อมถึงกับกุมหัว โซชิทกับธีโอฟังดูน่าเห็นใจมากและข้ออ้างที่ว่าพวกเขา <strong>
“ถูกทุนน้ำมันทำร้ายก่อนเลยต้องป้องกันตัว” </strong>ก็ฟังดูมีเหตุผล</p>
<p>ถึงจะทำลายทรัพย์สินบริษัทน้ำมัน โซชิทกับเพื่อนๆ ก็ไม่ได้ทำให้ใครบาดเจ็บหรือเสียชีวิต พวกเขายังจงใจปิดวาว์ลส่งน้ำมันดิบเพื่อให้พอท่อระเบิดแล้วน้ำมันไม่รั่วไหลปนเปื้อนแหล่งน้ำใกล้เคียง </p>
<p>คนที่ทำงานด้านสื่อก็ถึงกับจุก เพราะมีตัวละครหนึ่งในหนังเองก็เป็นนักสารคดีที่ไปขอสัมภาษณ์ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการท่อน้ำมันจนแท้งลูก ถูกชาวบ้านระเบิดอารมณ์ใส่ว่ามันเป็นแผลในใจครอบครัวเขามากและการสื่อสารสาธารณะไปจะได้อะไรขึ้นมาจริงๆ</p>
<p><strong>พวกเขาผิดไหม?</strong></p>
<p>หนังตัดจบห้วนแล้วไม่ได้เล่าถึงผลกระทบจากการระเบิดต่อสังคมเท่าไหร่นัก ทั้งแปดคนวางแผนตั้งแต่แรกที่จะทำให้เป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ส่งผลกระทบมากพอจะทำให้คนใหญ่คนโตและสังคมสะดุ้งตกเก้าอี้ ธุรกิจส่งน้ำมันดิบต้องชะงัก ราคาน้ำมันต้องร่วง</p>
<p>คุ้ม / ไม่คุ้ม?</p>
<p><strong>***</strong></p>
<p>How to blow up a pipeline อาจไม่ใช่แค่เรื่องแต่ง ในโลกความเป็นจริงก็มีเรื่องแนวนี้อยู่เหมือนกัน คนสร้างตัวละครโซชิทกับธีโอก็อาจจะได้แรงบันดาลใจมากจาก Ruby Montoya อดีตคุณครูวัย 27 กับ Jessica Reznicek นักกิจกรรมคริสเตียนวัย 37 ที่สู้คัดค้านโครงการท่อน้ำมันดิบ North Dakota ความยาว 1,886 กิโลเมตรที่ตัดผ่านตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาและพื้นที่ชนพื้นเมืองเผ่าแสตนดิ้งร็อก</p>
<p>ปี 2016 จากการไปนั่งขวางถนนโครงการ (sit-in) สองสาวรู้สึกไม่พอใจที่ความพยายามที่ผ่านมาเหมือนจะสูญเปล่า เลยถือหัวเชื่อมออกซี่–อะซิทีลีไปทำลายวาว์ลท่อส่งน้ำมัน จุดไฟเผารถแทรกเตอร์และนั่งคุกเข่ารอให้ตำรวจมาจับ ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้จำคุก Jessica 8 ปีข้อหาก่อการร้าย โดยทนายโต้ว่าเธอทำลายทรัพย์สินบริษัทเอกชน รัฐบาลสหรัฐมองว่าเป็นผู้ก่อการร้ายต่อความมั่นคงประเทศ </p>
<p>ท่อน้ำมันดิบ North Dakata มูลค่า 3.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ (137 พันล้านบาท) ยังคงเดินหน้าต่อ ส่งน้ำมัน 750,000 บาร์เรล (ประมาณ 1 ร้อยล้านลิตร) ต่อวันให้โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐและบางส่วนไปแคนาดา ใช้เป็นน้ำมันดีเซลในรถยนตร์ น้ำมันเตาในเครื่องทำความร้อนบ้านเรือนและสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น พลาสติก</p>
<p>ในเมืองไทยเอง ใบหน้าของสองสาวอาจจะซ้อนทับกับใบหน้าเครียดขมึงจริงจังของยายไฮ นักสู้จากอุบลฯ อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก “เขื่อนห้วยละห้า” สร้างขึ้นปี 2521 (ค.ศ.1978) เพื่อชลประทาน เขื่อนทำให้น้ำท่วมที่นาของแกกับสามีจนไม่มีอันจะกิน ยายเลยสู้สุดชีวิต ยื่นหนังสือถึงนายกจนกระทั่งหยิบจอบหยิบเสียมไปทุบเขื่อนเป็นรูเล็กๆ ประโจษประจันกันในหน้าหนังสือพิมพ์</p>
<p>นอกจากนี้ บางทีก็มีข่าวสั้นๆ ตามเฟสบุ๊กเรื่องการระเบิดท่อแก๊สธรรมชาติในเมียนมาอยู่บ้างเหมือนกัน เมื่อกลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์กะเหรี่ยงระเบิดท่อแก๊สที่รัฐบาลส่วนกลางควบคุมโดยกองทัพใช้เป็นแหล่งรายได้ โดยเป็นโครงการที่ ปตท.เป็นผู้ร่วมหุ้นลงทุน สูบแก๊สธรรมชาติจากอ่าวเมาะตะมะ วิ่งผ่านท่อเข้ามาโรงแปรรูปที่จ.ราชบุรีและผลิตเป็นไฟฟ้า ขายส่วนใหญ่ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ทั้งนี้ เป้าหมายการกระทำยังดูเป็นเหตุผลทางการเมืองมากกว่าสิ่งแวดล้อมอยู่)</p>
<p>ไม่ว่าที่ไทยหรือในต่างประเทศ แนวคิดเรื่องการก่อการร้ายทางสิ่งแวดล้อม (ecoterrorism) ก็ยังฟังดูเป็นเรื่องใหม่ ดูเหมือนพวกเราจะชินการต่อสู้ทางสิ่งแวดล้อมที่อหิงสาและสันติวิธี ความรุนแรงที่มากที่สุดคงเป็นการจบชีวิตตัวเอง...แล้วสังคมยกใ้ห้เป็นวีรบุรุษนักอนุรักษ์?</p>
<p><strong>****</strong></p>
<p>ในตอนจบของ How to blow up a pipeline ทันทีที่ท่อระเบิด คลิปก็ร่อนทั่วอินเตอร์เน็ต ท้าให้การตัดสินใจว่าการกระทำนี้ผิดหรือถูกไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ดุลพินิจของศาล แต่ยังเป็นเรื่องของสาธารณะ</p>
<p>ธีโอที่ป่วยมะเร็งเพราะเติบโตใกล้โรงกลั่นน้ำมันเสียชีวิต</p>
<p>โซชิทถูกจำคุกช่วงหนึ่ง แล้วเธอมาร่วมงานศพของเพื่อน</p>
<p>ในชุดไปรเวท</p>
<p>หลังจากเหตุการทั้งหมด ไม่รู้ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ กลุ่มวัยรุ่นอีกกลุ่มแต่งชุดสีดำมิดชิดถือระเบิดซ่อนในกระเป๋าไปวางไว้ที่ท่าเรือยอร์ช</p>
<p>พวกเขาติดกระดาษสีเหลืองซึ่งเขียนคำอธิบายเหตุผล : ทำไมพวกเราถึงทำลายทรัพย์สินของคุณ</p>
<p><strong>นาฬิกานับถอยหลัง...</strong></p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทค
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/11/107000 







