[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 กรกฎาคม 2568 05:05:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดบทเรียน รถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซียจากเงินทุนจีน จาการ์ตา-บันดุง  (อ่าน 195 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2566 15:11:10 »

เปิดบทเรียน รถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซียจากเงินทุนจีน จาการ์ตา-บันดุง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-29 13:27</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก NFarras</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อินโดนีเซียเพิ่งจะเปิดตัวรถไฟความเร็วสูง 142 กม. ที่ชื่อ "วูช" จากจาการ์ตา ไป บันดุง เมื่อไม่นานนี้ แต่ก็มีปมปัญหาที่เกิดกับโครงการ เช่น การขาดการเตรียมการ หรือการเร่งรัดการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อผู้คน รวมถึงปัญหาความคุ้มทุนเพราะอินโดนีเซียจะย้ายเมืองหลวงด้วย เรื่องเหล่านี้เป็นบทเรียนให้ต้องขบคิด</p>
<p>ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมามีการเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงในอินโดนีเซียสายจากาตาร์-บันดุง ที่ชื่อ "วูช" เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกโฆษณาว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญของอินโดนีเซียและเป็นความภาคภูมิใจในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" (BRI) ของจีน ในช่วงเดือนเกี่ยวกันนั้นเอง จีนก็จัดการประชุมโครงการ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ในฐานะที่ดำเนินโครงการมาได้เป็นเวลา 10 ปีแล้ว</p>
<p>ในช่วงการประชุม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ประธานาธิบดีของจีน สีจิ้นผิง และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโค วิโดโด หรือ "โจโควี" ได้กล่าวชื่นชมทางรถไฟสายใหม่นี้ โดยบอกว่านับเป็นความสำเร็จและพวกเขาสามารถสร้างได้เสร็จตามเวลา การที่รถไฟนี้เป็นรถไฟความเร็วสูงคันแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เป็นโครงการที่มีศักยภาพสูงมากสำหรับอินโดนีเซีย</p>
<p>ในแง่ของการขนส่งแล้ว รถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซียจะช่วยย่นเวลาการเดินทางระหว่างสองเมืองได้จาก 3 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง และจะเป็นการแก้ไขปัญหาความแออัดที่ส่งผลสูญเสียทางเศรษฐกิจหลายพันล้านต่อปี แต่สิ่งที่น่าจะสำคัญที่สุดของรถไฟความเร็วสูงคือโอกาสในการที่จะส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย</p>
<p>การเปิดตัวรถไฟความเร็วสูงแห่งใหม่ของอินโดนีเซียได้รับการนำเสนอในสื่ออย่างกว้างขวาง และนับเป็นโครงการที่สำคัญของ BRI ที่เปิดตัวไม่นานก่อนการประชุมครบรอบ 10 ปี โครงการ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ต้องระวังว่าความสำเร็จในการเปิดตัวไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จของโครงการเสมอไป มีการหารือกันว่าจะขยายเส้นทางรถไฟไปถึงสุราบายา ซึ่งห่างออกไปจากจาการ์ตา 700 กม. จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการใช้บทเรียนจากเส้นทางจาการ์ตา-บันดุง เอามาเป็นตัวตั้งในการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ขาดการเตรียมความพร้อม และเร่งรัดการตรวจสอบเกินไป</span></h2>
<p>ถึงแม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างพื้นฐานใดๆ ที่ "สมบูรณ์แบบ" แต่ปมปัญหาหลายอย่างสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง อย่างการขาดการเตรียมความพร้อมก่อนโครงการ และขาดการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ ซึ่งนับเป็นช่วงที่สำคัญที่ผู้ให้ทุนโครงการ, ผู้พัฒนา และข้าราชการจะทำการวิเคราะห์และประเมินโครงการว่ามีความยั่งยืนทางการเงินไหมและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร</p>
<p>ถ้าหากมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะอย่างถูกต้องมันจะให้ประโยชน์ต่อทั้งผู้พัฒนา, ข้าราชการ และชุมชน รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกในบริบทของสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและบริบทของสังคมด้วย อีกทั้งยังมีการวางโครงสร้างการติดตามผลและรายงาน การเปิดโอกาสในการพัฒนาและแผนการนำมาปรับใช้จริง มีการวางกลไกเผื่อไว้ว่าจะต้องใช้แก้ปัญหา</p>
<p>ในทางตรงกันข้าม การที่ไม่มีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะนั้นอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้และน่าจะเกิดขึ้นได้เร็วด้วย</p>
<p>หลังจากที่อินโดนีเซียปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นแล้วหันมาทำสัญญาร่วมกับจีนตั้งแต่เดือน ก.ย. 2558 เป็นต้นมา โครงการรถไฟความเร็วสูง จาการ์ตา-บันดุง ก็อยู่ภายใต้การดูแลของ "พีที เคเรตา เซฟตา อินโดนีเซีย-จีน" (PT KCIC) ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจที่มีเจ้าของคือรัฐจีนกับอินโดนีเซีย ในช่วงเดือน ต.ค. ปีเดียวกันนั้น ก็มีการเร่งรัดเริ่มต้นการก่อสร้างโครงการซึ่งจะสร้างความเสียหายในระยะยาว</p>
<p>ในวันเดียวกันกับที่ PT KCIC ได้รับมอบให้ดูแลโครงการ โจโควี ก็ได้ลงนามในข้อบังคับจากประธานาธิบดี หมายเลข 107/2015 เพื่อให้มีการเร่งดำเนินการโครงการทางรถไฟ ในเดือน ม.ค. 2559 โจโควีก็ลงนามในข้อบังคับจากประธานาธิบดีอีกฉบับหมายเลข 3/2016 ที่ระบุให้รถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่มีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ระดับต้นๆ ของประเทศ และอนุญาตให้มีการเร่งรัดการออกใบอนุญาตจากภาครัฐ แต่ถึงแม้ว่าจะนับเป็นโครงการที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ แต่กลับไม่มีการระบุโครงการทางรถไฟนี้ในแผนแม่บทการทางรถไฟแห่งชาติอินโดนีเซียแต่อย่างใด</p>
<p>3 สัปดาห์หลังจากนั้นคือในวันที่ 21 ม.ค. 2559 โจโควีได้เข้าร่วมพิธีตัดริบบิ้นเปิดตัวโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ถูกมองว่าเป็นนวัตกรรม  ถึงแม้จะมีพิธีการเปิดตัว แต่ในตอนนั้นรัฐบาลอินโดนีเซียก็ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตให้มีการเริ่มสร้างแต่อย่างใด ทำให้โครงการหยุดชะงักไป ต้องรอให้กระทรวงการคมนาคมของอินโดนีเซียใช้เวลา 2 เดือนในการออกใบอนุญาตก่อสร้างก่อนถึงจะมีการเริ่มก่อสร้างได้เพียงแค่ 5 กม. แรกของทางรถไฟความยาว 142.3 กม.</p>
<p>ในช่วงที่มีการเตรียมการก่อนโครงการนั้น มีการเตรียมการในส่วนที่สำคัญแบบรวบรัดมาก มีการศึกษาความเป็นไปได้ซึ่งปกติแล้วควรจะใช้เวลา 18 เดือน แต่กลับทำเสร็จได้ภายใน 3 เดือน ในส่วนของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งควรจะใช้เวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง แต่กลับทำเสร็จด้วยเวลาเพียงแค่ 7 วัน</p>
<p>มีการวิเคราะห์จากกลุ่มอิสระในอินโดนีเซียระบุเน้นย้ำว่า EIA ละเลยส่วนที่สำคัญของการศึกษาวิจัย เช่น การระบุถึงผลกระทบจากดินถล่ม, รอยเลื่อนทางธรร๊วิทยา ความเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ของโครงการ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ขาดการคำนึงถึงอย่างครอบคลุม</span></h2>
<p>เรื่องที่การตรวจสอบสถานะและการเตรียมโครงการล้มเหลวเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการทางรถไฟ การขาดกระบวนการ EIA ที่มีความครอบคลุม, โปร่งใส และ การมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำ EIA แบบรวบรัดขนาดนี้ จะทำให้ชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกับทางรถไฟถูกทอดทิ้งจากการพัฒนาโครงการและผลกระทบจากโครงการ</p>
<p>ผู้อาศัยในหมู่บ้านลักซานาเมคาร์ในบันดุงตะวันตกไม่ได้รับการสำรวจในกระบวนการของ EIA ในตอนที่มีการระเบิดเพื่อสร้างอุโมงค์สำหรับทางรถไฟ ไม่เพียงแค่ไม่มีการเตือนล่วงหน้าเท่านั้น แต่มันยังทำให้บ้านของชาวบ้านเป็นรอยร้าว และทำให้ชาวบ้านใช้น้ำบาดาลไม่ได้</p>
<p>มีสถานการณ์แบบเดียวกันเกิดขึ้นกับแหล่งที่อยู่อาศัยอื่นๆ เช่น ที่โครงการบ้านจัดสรร ติพาร์ ซารี อาซีห์ ใน ชวาตะวันตก ที่มีการระเบิดเพื่อทำอุโมงค์ทางรถไฟเป็นเหตุให้บ้านเรือนของพวกเขาเสียหาย นอกจากนี้แล้วการเร่งรัดและทำ EIA แบบลวกๆ ก็ทำให้ไม่มีการระบุในการสำรวจประเมินอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีใช้พื้นดินลงไปด้วย เป็นเหตุให้เกิดการปิดช่องทางระบายน้ำ ปิดช่องทางชลประทาน และทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมรุนแรงขึ้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหาต้นทุนบานปลาย การเปลี่ยนเมืองหลวง และการถอนทุนที่ใช้เวลายาวนาน</span></h2>
<p>การเข้าถือสิทธิครอบครองที่ดินเพื่อใช้ในโครงการก็กลายเป็นปัญหาหนึ่งของการพัฒนา หลังจากที่รัฐบาลออกใบอนุญาตก่อสร้างเมื่อเดือน ส.ค. 2559 PT KCIC ก็ยังไม่ได้สิทธิครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่จะนำมาใช้ในโครงการ จนถึงปี ก.ย. 2560 พวกเขาก็ประกาศว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินสำหรับโครงการทางรถไฟสำเร็จแล้วร้อยละ 55 พวกเขาต้องใช้เวลาถึง 3 ปี คือเมื่อช่วงกลางปี 2562 ถึงจะสามารถเข้าถือครองที่ดินสำหรับโครงการได้ทั้งหมด</p>
<p>ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้โครงการนี้เผชิญกับปัญหาภาวะต้นทุนบานปลาย เพราะไม่เพียงแค่ปัญหาเรื่องการเข้าถือครองที่ดินเท่านั้นพวกเขายังเผชิญผลกระทบจาก COVID-19 และปัญหาการจัดการโครงการอย่างไร้ประสิทธิภาพด้วย</p>
<p>จากที่เดิมทีแล้วมีการประเมินราคาทางรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 5,500 ล้านดอลลาร์ แต่ต่อมาราคาต้นทุนก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีถัดจากนั้นกลายเป็นอยู่ที่ประมาณ 7,200 ล้านดอลลาร์ ทำให้โจโควีต้องออกข้อบังคับใหม่ในเดือน ก.ย. 2564 แทนที่ของปี 2558 เพื่อเปิดทางให้มีการใช้งบประมาณรัฐบาลในการสร้างทางรถไฟได้</p>
<p>แต่ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเงินและปัญหาเรื่องความยั่งยืนของโครงการยังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น มีการประกาศเมื่อปี 2562 ว่าอินโดนีเซียจะย้ายเมืองหลวงจากจาการ์ตาไปยังเมืองอื่นที่ยังไม่ได้สร้างคือนูซันตารา ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก เรื่องนี้ทำให้เกิดความกังวลว่ารางรถไฟใหม่ที่กำลังสร้างนี้จะใช้งานได้จริงในระยะยาวหรือไม่</p>
<p>ในตอนที่มีการศึกษาความเป็นไปได้เมื่อปี 2560 ผู้พัฒนาโครงการประเมินไว้ว่าน่าจะมีผู้ใช้งานรถไฟต่อวันอยู่ที่ 61,000 ราย และแม้กระทั่งว่ามีการประเมินไว้แบบนี้ มันก็ยังต้องใช้เวลาถึง 26 ปี ถึงจะสามารถถอนทุนได้อยู่ดี แต่หลังจากที่มีการประกาศจะย้ายเมืองหลวงทำให้ข้าราชการและครอบครัวรวม 1.5 ล้านราย อาจจะต้องย้ายตามไปด้วย ทำให้ PT KCIC ทำการประเมินใหม่ โดยการลดจำนวนผู้ใช้งานต่อวันลงเหลือ 31,000 รายต่อวัน กลายเป็นว่าต้องใช้เวลา 40 ปี ถึงจะสามารถถอนทุนได้</p>
<p>สิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นความล่อแหลมด้านความมั่นคงทางการเงินคือการที่รัฐบาลอินโดนีเซียและจีน ทำข้อตกลงกันว่าพวกเขาจะจัดสรรงบประมาณ 64.3 ล้านต่อปีเพื่อใช้เป็นต้นทุนในการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียมีความต้องการจะขยายทางรถไฟไปถึงสุราบายา คิดเป็นระยะทาง 700 กม. จากจาการ์ตา</p>
<p>ทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมาว่า พวกเขาจะทำงานร่วมกับบริษัทไชน่าเรลเวย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของ PT KCIC ในการศึกษาเรื่องการขยายทางรถไฟไปที่สุราบายา การเรียนรู้จากความผิดพลาดและบทเรียนจากกรณีทางรถไฟจาการ์ตา-บันดุง จึงเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชุมชนในท้องถิ่นและผู้ถือหุ้น</p>
<p>เพื่อที่จะแสวงหาแนวทางในการวางแผนก่อนโครงการและการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ และเพื่อพัฒนาผลลัพธ์ของโครงการ ทำให้สถาบันนโยบายเอเชียโซไซตีได้พัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับโครงการ 'หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง' ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ชุมชนในท้องถิ่นและบริษัทมีปฏิสัมพันธ์กันในโครงการริเริ่ม อีกทั้งยังจะทำให้แน่ใจว่าจะมีการพัฒนาโครงการโดยการคำนึงถึงอย่างครอบคลุมผู้คนที่หลากหลายและมีความยั่งยืนทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสังคม</p>
<p>ชุดเครื่องมือดังกล่าวนี้มีทั้งในภาษาอังกฤษ, จีนกลาง, บาฮาซา อินโดนีเซีย, ภาษาเขมร, และภาษาลาว ชุดเครื่องมือที่ว่านี้มีข้อมูลที่สำคัญว่าจะทำ EIAs ให้ดีที่สุดได้อย่างไร และจะให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมตลอดการพัฒนาโครงการได้อย่างไรบ้าง รวมถึงมีกฎหมายกับนโยบายทั้งของจีนและของนานาชาติฉบับใดบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>The Jakarta-Bandung High-Speed Railway: Indonesia’s Lessons Learned, The Diplomat, 11-11-2023</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B9%E0%B8%8A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/107021
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.153 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มิถุนายน 2568 12:09:08