ชังชาติ
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-12-10 22:11</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ไมเคิล แซนเดล (Michael Sandel) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมาย แต่มีผลงานทางปรัชญาการเมืองด้วย ตั้งข้อสังเกตว่า “โลกสมัยใหม่กับโลกสมัยเก่ากำลังขัดแย้งกัน”</p>
<p>“โลกสมัยเก่า” เขาหมายถึง “หลักศีลธรรมและความยุติธรรมของอริสโตเติ้ล” ส่วน “โลกสมัยใหม่” หมายถึง “โลกเสรีประชาธิปไตย” อริสโตเติ้ลเป็นนักปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับ “ชุมชน” สมัยนั้นเรียกว่า “polis” คือ รัฐขนาดเล็ก อริสโตเติ้ลเชื่อเรื่องเหตุผลและการมีเป้าหมายปลายทางของตัวเอง (telos) ส่วนโลกสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับ “สิทธิเสรีภาพ”</p>
<p>อริสโตเติ้ลเชื่อว่าคนแยกออกจากชุมชนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นคนก็มีชีวิตไม่ต่างอะไรจากสัตว์ ส่วนทางด้านโลกเสรีประชาธิปไตยเชื่อมั่นในเสรีภาพของปัจเจกบุคคล เชื่อว่าการให้ปัจเจกบุคคลตัดสินใจเป็นสิ่งที่ดีที่สุด</p>
<p>นักปรัชญารุ่นหลังบางคนไม่ได้คิดอย่างอริสโตเติ้ล เช่น โนซิก (Nozick) เห็นว่าเสรีภาพของปัจเจกบุคคลสำคัญกว่ารัฐ ไม่ควรให้รัฐใช้อำนาจมากเกินไป จะล่วงล้ำเสรีภาพของปัจเจกบุคคล อันเป็นการผิดศีลธรรม (immoral) การมีเสรีภาพของปัจเจกบุคคลต่างหากที่เป็นหน้าที่ตามหลักศีลธรรมที่รัฐต้องให้ความคุ้มครอง รัฐบาลสมัยใหม่ต้องเป็นกลางตามมาตรฐานศีลธรรม (the modern government should be scrupulously neutral) และใช้อำนาจให้น้อยที่สุด (minimal state) ส่วนค้านท์ (Kant) และจอห์น รอลส์ (John Rawls) สองคนหลังเห็นทำนองว่า ขั้นแรก รัฐต้องจัดวางสิทธิและอิสรภาพพื้นฐานให้กับประชาชนก่อน แล้วจากนั้นจึงค่อยจัดวางหลักศีลธรรม พูดง่ายๆ ว่า “สิทธิเสรีภาพ” ต้องมาก่อน แล้วค่อยพูดถึงหลักการของชุมชนที่คนจะอยู่ร่วมกัน </p>
<p>ประเด็นของจอห์น รอลส์ นี้แหละ ที่โลกนำมาถกเถียงกัน รอลส์เห็นว่าสิทธิเสรีภาพต้องมาก่อน ส่วนหลักการชุมชน หรือ “ชุมชนนิยม” มาทีหลัง เขาใช้คำว่า “unencumbered self” ตรงตัวแปลว่า “ตัวตนที่ไม่มีพันธะผูกพัน” ความหมายของรอลส์ คือ อัตลักษณ์ (identity) ของคนไม่ถูกจำกัดหรือถูกนิยามโดยความสัมพันธ์พื้นฐานของคนกับสังคม นั่นคือ คนย่อมมีสิทธิกำหนดอัตลักษณ์และเป้าหมายชีวิตของตนเอง ไม่ใช่ทุกอย่างเป็นไปตามที่สังคมกำหนดหรือมีสิ่งกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า</p>
<p>ต่อมา ทศวรรษ 1980 ความคิดดังกล่าวถูกไมเคิล แซนเดล วิพากษ์ว่าตัวตนของคนจะแยกออกจากสังคมและประวัติศาสตร์ได้ยังไง? แซนเดล อ้างข้อเขียนของอะลาสแดร์ แม็คอินทายเออร์ (Alasdair McIntyre) ในหนังสือ After Virtue (1981) ที่เขียนว่า
<span style="color:#2980b9;">
“I am someone’s son or daughter, someone’s cousin or uncle; I am a citizen of this or that city, a member of this or that guild or profession; I belong to this clan, that tribe, that nation. Hence, what is good for me has to be good for one who inhabits these roles