[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 15:50:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทกวีไฮกุ: สามบรรทัดแห่งการชื่นชมชั่วขณะอย่างที่เป็น  (อ่าน 52 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:45:16 »

บทกวีไฮกุ: สามบรรทัดแห่งการชื่นชมชั่วขณะอย่างที่เป็น



The old pond, ah!                   
  อา, สระน้ำเก่าแก่!

A frog jump in:                         
 กบกระโจนลงไปในน้ำ

The water’s sound!                 
 แล้วได้ยิน เสียงน้ำ!


ไฮกุ (haiku) อันลือลั่นของบาโซ (1643-94) ผู้ศรัทธาต่อนิกายเซน ทว่ามิใช่ภิกษุเซน กล่าวกันว่า ไฮกุบทนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติไฮกุสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น

“ไฮกุ” เป็นกวีที่สั้นที่สุด มีเพียง 17 พยางค์ หรือบทกวีสามบรรทัด แต่ละบรรทัดคือ ห้า เจ็ด ห้าพยางค์ ไฮกุก่อนสมัยบาโชเป็นเพียงการเล่นคำหรือตีฝีปากเท่านั้น โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตใดๆ เลย

ครั้งหนึ่งเมื่อบาโชถูกอาจารย์เซนถามถึงเรื่องความจริงแห่งอติมะของสิ่งทั้งหลาย บังเอิญว่าท่านมองเห็นกบกระโดดไปในสระเก่าๆ เสียงที่มันกระโดดลงไปในน้ำได้ทำลายความสงบของสถานการณ์ลงทันที บทกวีไฮกุที่ท่านตอบอาจารย์เซนไปนั้น จึงเป็นการเริ่มต้นขบวนการปฏิวัติบทกวีของท่าน ไฮกุที่สะท้อนจิตของกวีผู้เฝ้าดูอารมณ์ของจิตทุกๆ ขณะ …นี่คือการนำเซนเข้ามาเกี่ยวข้องกับไฮกุ

เซนกับไฮกุ

ปรัชญาเซน จริงๆ แล้วก็คือปรัชญาพุทธมหายานทั่วๆ ไป แต่เซนมีวิธีการรู้แจ้งปรัชญานั้นอันเป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ที่มาจากการเห็นความลึกลับของสภาวะของตนเองโดยตรง หรือเห็นความจริงแท้นั่นเอง

เซนไม่ให้เรายึดถือคำสอนที่ใครพูดหรือเขียนไว้ ไม่เชื่อในสภาวะอื่นนอกจากการตื่นรู้ผ่านประสบการณ์ตรงภายในตนเอง เป็นความจริงแท้ที่ข้ามพ้นถ้อยคำหรือมโนทัศน์ทั้งหมด การตื่นรู้นี้ เซนเรียกว่า “ซาโตริ (satori)”

ดีที ซุซุกิ [1] อาจารย์ผู้สื่อสารเซนสู่โลกตะวันตกได้อธิบายว่า ไฮกุที่แต่งขึ้นโดยปราศจากสำนึกของตัวตนนั้นก็ไม่ต่างจากการแสดงความรู้แจ้งอย่างผู้ฝึกเซน แต่เป็น “ซาโตริแบบศิลปะ (the artistic satori)” ที่ตื่นรู้เพียงบางแง่มุมชีวิตของศิลปิน ในขณะที่ ซาโตริของผู้ฝึกเซนครอบคลุมสภาวะทั้งหมดของเขา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเซนจะมีส่วนสัมพันธ์กับไฮกุ แต่ก็ไม่อาจนำไฮกุกับเซนมาปนเปกันได้ ไฮกุมีพื้นที่ของมันเอง นั่นคือเป็นบทกวีที่ประพิมประพายไปด้วยความใกล้ชิดธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน ความสันโดษ ความลึกลับ หรือธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นในชั่วขณะหนึ่งโดยปราศจากการบิดเบือนทางความคิด



เชอเกียม ตรุงปะ กับ ไฮกุ

เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช [2] ธรรมาจารย์ชาวทิเบตผู้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการวางรากฐานของพุทธธรรมในโลกตะวันตก ได้ศึกษาการเขียนบทกวีแบบญี่ปุ่นในช่วงที่พำนักอยู่ในประเทศอินเดีย ท่านชื่นชอบไฮกุเป็นพิเศษ และมักกระตุ้นให้ลูกศิษย์ของท่านแต่งกวีไฮกุเสมอๆโดยเฉพาะหลังการเรียนจัดดอกไม้อิเคบานะ

ตรุงปะมองว่า ไฮกุเป็นการนำแก่นของพุทธธรรมมาแสดงในรูปของบทกวีอย่างฉับพลัน “มันคือโจทย์ที่คุณจะเขียนภาวะจิตของตนลงบนกระดาษ คุณจะเห็นสภาวะจิตของตนเองผ่านบทกวี ไฮกุคือการเขียนจิตตัวเอง” กล่าวคือไฮกุเป็นการแสดงออกถึงสภาวะจิตที่ละเอียดเบาบางอยู่เหนือสภาวะอารมณ์ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้คุณต้องเปิดจิตให้เข้าถึงความว่าง ซึ่งเป็นอุดมคติในทางมหายาน บทกวีไฮกุของตรุงปะจึงแสดงถึงวิถีทางในการดำรงอยู่กับประสบการณ์ในชั่วขณะหนึ่งอันไร้เงื่อนไข ดังเช่น

“ พ่อแม่เขาจิบชา

กับเพื่อนหญิงคนใหม่ของเขา

ราวนายพลตรวจกอง ”


ไฮกุกับการรับรู้ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

ด้วยความสัมพันธ์ของไฮกุกับวิถีชีวิต บทกวีสามบรรทัดนี้ได้เปิดประตูแห่งประสบการณ์ใหม่ของการบรรสานการสร้างสรรค์กับการภาวนาให้กับกวี ศิลปิน และผู้รักบทกวี อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตามมาคือไฮกุจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงการรับรู้และการชื่นชมสิ่งธรรมชาติตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ขลุ่ยไม้ไผ่หนังสือของรวมไฮกุของ พจนา จันทรสันติ [3] ผู้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีไฮกุแบบญี่ปุ่น ได้เขียนอธิบายว่า บทกวีไฮกุเป็นบทกวีที่ไหลออกมาจากใจอย่างตรงไปตรงมา เรียบง่าย สั้นๆ โดยไม่ผ่านการตกแต่งทางภาษา ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากการนั่งนึกฝันเอาเอง เพียงอาศัยข้อความสั้นๆไม่กี่ประโยคคลี่คลายความรู้สึกภายในออกมาและให้จบสิ้นอย่างสมบูรณ์อยู่ในนั้น 

เช่นเดียวกับ นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ [4]  ผู้ตกหลุมรักไฮกุและมีผลงานบทกวีไฮกุถึงสองเล่มได้กล่าวถึงการเขียนไฮกุว่า ไฮกุ คือการบรรยายสิ่งที่อยู่ตรงหน้าว่าเราเห็น รับรู้ และรู้สึกอย่างไร โดยการเขียนแสดงการดำรงอยู่ตามความเป็นจริงของสภาวะ

อย่างไรก็ตาม Yoel Hoffmann [5] อธิบายถึงการเขียนไฮกุแตกต่างออกไป เขากล่าวว่า ไฮกุคือความพยายามที่จะ “พูดอะไรโดยไม่พูด” เป็นเหมือนหมึกสองสามบรรทัดในภาพทิวทัศน์ของญี่ปุ่นและจีนที่เน้นความกว้างใหญ่ของฉาก


หลักการและคุณลักษณะของไฮกุ

คุณลักษณะไฮกุประกอบด้วย

(1) การอธิบายสถานะหรือเหตุการณ์เดียว 

(2) เวลาที่เป็นปัจจุบัน และ

(3) เชื่อมโยงกับภาพหนึ่งในสี่ฤดูกาลของญี่ปุ่น

ในเวิร์คช็อปการเขียนไฮกุของ sacred mountain festival  ปี 2020 วิทยากร อ.อนุสรณ์ ติปยานนท์ อธิบายว่า ไฮกุคือการสรุปความคิดที่เราอยากเล่ามากมายลงในสิบเจ็ดพยางค์หรือสามบรรทัด วิธีการเขียนไฮกุเริ่มต้นด้วยการเขียนความเรียงอย่างอิสระหนึ่งหน้ากระดาษหรือเท่าที่เขียนได้เพื่อบรรยาถึงสิ่งที่อยากจะเล่าในขณะนั้น แล้วค่อยกลั่นลงมาให้เหลือเพียงสิบเจ็ดพยางค์สามบรรทัด ห้า เจ็ด ห้า เป็นบทกวีไฮกุ

เชอเกียม ตรุงปะ เสนอการเขียนไฮกุของท่านไว้ว่ามีหลักสามประการ คือ เริ่มต้นจากความคิดในแวบแรก ซึ่งจะเป็นแนวทางของกวีนั้นทั้งหมด บรรทัดที่สองเป็นความต่อเนื่องจากบรรทัดแรก และบรรทัดสุดท้ายเป็นความเคลื่อนไหวส่งท้ายที่ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของบทกวี

แนวการเขียนของ เชอเกียม ตรุงปะ ผู้เขียนมองว่าสอดคล้องกับหลักฟ้า (heaven) ดิน (earth) และมนุษย์ (human) ในการจัดดอกไม้อิเคบานะตามมุมมองธรรมศิลป์ที่ตรุงปะเสนอไว้ กล่าวคือ บรรทัดแรกของไฮกุเป็นความคิดแวบแรกคือหลักการของฟ้า ที่แสดงถึงความเปิดกว้าง และอิสรภาพอันไร้เงื่อนไขที่ดำรงอยู่เสมอ ในการจัดดอกไม้อิเคบานะนั่นคือกิ่งแรกที่ปักลงแจกันซึ่งแสดงถึงโทนการจัดดอกไม้ทั้งหมด บรรทัดที่สองคือหลักการของดิน ซึ่งในอิเคบานะคือกิ่งที่สองที่ปักลงแจกันรองรับและเกื้อหนุนการดำรงอยู่ของฟ้า และบรรทัดสุดท้ายคือหลักการมนุษย์ ที่เชื่อมโยงระหว่างฟ้าและดิน โดยในอิเคบานะมนุษย์คือความรื่นรมย์หรือดอกไม้ที่จะเชื่อมโยงกิ่งแรกและกิ่งสองเข้าด้วยกัน

ด้วยหลักการนี้ หมายความว่าอิสรภาพจากจุดอ้างอิงและแบบแผนความคิดของนักกวีก่อนการแต่งบทกวีเป็นหัวใจสำคัญ ในการสื่อสารและชื่นชมสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้อย่างอิสระ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งธรรมชาติและสถานกาณ์ตรงหน้าย่อมสดใหม่เสมอสำหรับการเขียนบทกวีไฮกุชื่นชมสิ่งตางๆอย่างที่มันเป็น

สาวชุดกิโมโน

ณ ทางเข้าสุขาวดี

หนึ่งย่อหนึ่งยืนยิ้ม




8 พฤศจิกายน 2560

ทางเข้าวัดอิคันโด (วัดนิกายสุขาวดี) เมืองเกียวโต ญี่ปุ่น



จาก https://www.vajrasiddha.com/articles-haiku/

เพิ่มเติม http://www.tairomdham.net/index.php/board,34.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ « 1 2 »
สุขใจ ใต้เงาไม้
มดเอ๊ก 34 19188 กระทู้ล่าสุด 16 มีนาคม 2556 01:38:02
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.32 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 10 เมษายน 2567 13:40:29