[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 19:24:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข  (อ่าน 53 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:52:28 »



ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข

ราชอาณาจักรภูฏานหรือประเทศภูฏาน ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อนี้มาหลายปีแล้ว


ราชอาณาจักรภูฏานหรือประเทศภูฏาน ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งกว่า 75% ของชาวภูฏานเป็นพุทธศาสนิกชน แบบมหายาน แบบตันตระหรือวัชรยาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะต่างนิกายกันก็ตาม แต่ในฐานะพุทธศาสนิกชนด้วยกันแล้ว การได้เดินทางไปประเทศนี้ รับรองว่าทั้งสนุกสนานกับการเดินทางและอิ่มบุญแน่นอน

ภูฏานเป็นเพียงประเทศเดียวในโลก ที่ยอมรับนับถือพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ เป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็จะมีหลักธรรมพื้นฐานคล้ายกับนิกายอื่น แต่จะนับถือบรรดาเทพเจ้าและเหล่าพระโพธิสัตว์ บางครั้งคนก็จะจำแนกพุทธศาสนาแบบภูฏานว่าเป็นนิกายลามะ เหมือนกับทิเบต ที่รวมเอาความเชื่อเรื่องวิญญาณ การบูชาธรรมชาติ การนับถือเทพเจ้าประจำท้องถิ่น เข้าไว้ด้วยกัน

ปัจจุบันในประเทศภูฏานมีพระสงฆ์กว่า 8,000 รูป ซึ่งจะได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาล บางคนก็คุ้นกับการเรียกพระสงฆ์ที่นี่ว่า “ลามะ” เพราะอาจเข้าใจผิดว่าทุกท่านคือลามะ แต่อันที่จริงแล้วพระสงฆ์ของภูฏานจะมีการแบ่งเป็นลำดับชั้น ตามระดับของความรู้ ความสามารถ ตั้งแต่พระสามัญทั่วไป จนถึงระดับพระสังฆราช ซึ่งเราจะสามารถจำแนกได้จากสีของจีวร




ในอดีตนั้นพระสงฆ์สามารถมีภรรยาได้ แต่ปัจจุบันกลายเป็นข้อห้าม และสงฆ์ต้องถือครองเพศพรหมจรรย์ ละเว้นการสูบบุหรี่หรือดื่มน้ำเมา แต่ยังฉันเนื้อสัตว์ได้ พระที่ภูฏานนั้นฉันได้กระทั่งมื้อเย็น ซึ่งจะต่างจากพระในประเทศอื่นๆ พุทธศาสนานิกายมหายานแบบตันตระนี้ ไม่ได้มีให้เห็นในเมืองไทย ดังนั้นก็จะไม่แปลกนัก หากพุทธศาสนิกชนคนไทยที่ได้มีโอกาสเดินทางมายังวัดในภูฏาน จะกราบไหว้และแสดงความเคารพด้วยกิริยาที่แตกต่างจากคนที่นี่ แต่อย่างน้อยที่สุดขอให้แสดงอาการสำรวม และเคารพจากใจจริงก็เชื่อว่าบุญกุศลก็คงเกิดขึ้นได้

ตั้งแต่กระแสนิยมสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมไทย ก็ทำให้คนอยากเดินทางไปเที่ยวภูฏานมากขึ้น คนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า GNH : Gross National Happiness หรือดัชนีมวลรวมความสุขมากขึ้น และหลายคนที่ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสกับดินแดนมังกรสายฟ้าแห่งนี้ เกือบทุกคนจะกลับมาพร้อมกับความสุขและความอิ่มเอม คนที่เลือกมาเยือนภูฏานส่วนใหญ่คงต้องการแสวงหาธรรมชาติที่บริสุทธิ์ และสัมผัสวัฒนธรรมที่มีมนต์เสน่ห์ ซึ่งเมื่อมาถึงแล้วทุกคนจะพบว่าทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของที่นี่ผสานกันอย่างกลมกลืนจนแยกไม่ออก



ภาพทิวธงภาวนาหลากสีที่โบกปลิวอยู่ในวัดวาอาราม อยู่บนเนินเขา หรือแม้แต่พัดผ่านม่านหมอก คือเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่นี่ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว นี่คือความงดงาม ที่เกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม บนดินแดนที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,300 เมตร นอกจากเราจะพบเห็นพระสงฆ์ตามวัดแล้ว ที่ประเทศภูฏานเรายังจะพบเห็นพระสงฆ์ได้ตามสถานที่ที่เรียกว่า “ซอง (Dzong)” ซึ่งแปลว่า “ป้อมปราการ”

เดิมทีซองถูกสร้างเพื่อใช้เป็นป้อมปราการ และแสดงถึงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู แต่ปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นทั้งศูนย์ราชการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริหารในเขต และยังถูกใช้เป็นวัดประจำเขตและจะมีโรงเรียนสงฆ์ตั้งอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งในภูฏานนั้นยังคงมีซองหลงเหลืออยู่หลายแห่ง แต่ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญก็เห็นจะเป็นตรองสาซอง วังดีซอง พาโรซอง ทิมพูซอง และปูนาคาซอง



 

พาโรซองเป็นสถานที่ซึ่งทุกคนที่มาภูฏานต้องไม่พลาด เพราะตั้งอยู่ในเมืองหลวงพาโร และนักท่องเที่ยวที่มาก็ต้องมาลงเครื่องที่เมืองนี้ ส่วนปูนาคาซอง ตั้งอยู่ในเมืองปูนาคา อดีตราชธานีแห่งภูฏาน ตั้งอยู่ระหว่างจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย มองจากภายนอกก็เลยคล้ายกับเรือขนาดยักษ์ที่ลอยอยู่บนผืนน้ำ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 เคยผ่านภัยพิบัติมาแล้ว ทั้งไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว แต่ทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย ก็จะสามารถบูรณะขึ้นมาใหม่ด้วยจิตศรัทธาแห่งพุทธศาสนิกชน

มีสถานที่อยู่อีกแห่งหนึ่ง ที่บรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนภูฏานจะต้องไม่พลาด สำหรับนักท่องเที่ยวตะวันตกที่ไม่ใช่ชาวพุทธ การไปเยือนสถานที่นี้อาจจะเป็นความท้าทาย แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว นี่อาจหมายถึงการพิสูจน์ศรัทธาด้วยก็ได้ เพราะไม่ใช่เพียงระยะทางที่ค่อนข้างโหดเท่านั้น แต่การเดินขึ้นเขาที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร และอากาศเบาบางนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สถานที่ที่ว่านี้ก็คือวัดทัคซัง หรือ Tiger Nest เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ว่ากันว่าถ้าใครไปถึงภูฏานแล้ว ไม่ได้ไปสักการะวัดทัคซังก็ถือว่ายังมาไม่ถึงประเทศนี้


ชาวภูฏานนิยมเดินทางมาแสวงบุญที่วัดนี้ ภายในเขตวัดมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ทั้งสิ้น 13 แห่ง ที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของภูฏาน แม้จะมีม้าไว้บริการ แต่แนะนำว่าควรเดินเท้าขึ้นไปเอง เพราะแม้ว่าจะเหนื่อยยากเพียงใด แต่ก็เป็นการสร้างความเพียร และฝึกจิตให้อยู่เหนือความลำบากทางกาย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป เพราะบรรยากาศรอบข้างอันเงียบสงบร่มรื่น ก็เอื้อให้เกิดสติ ให้เรามีสมาธิอยู่กับแต่ละย่างก้าว ไม่หมกมุ่นอยู่กับปลายทางจนเกิดความล้าและความกังวล แต่ต้องตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน

แม้ว่าประเทศภูฏานและประเทศไทยจะพูดต่างภาษา มีศาสนาต่างลัทธิ และมีวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ความเชื่อและศรัทธาในพระธรรมก็เชื่อมหัวใจพุทธของพวกเราเข้าหากันได้อย่างไม่มีกำแพง กับประเทศเล็กๆ ที่เปี่ยมไปด้วยความสุข “ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข”



จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/299353

เพิ่มเติม http://www.tairomdham.net/index.php/board,37.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย ที่ปลายฟ้า
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 6 12087 กระทู้ล่าสุด 28 มกราคม 2554 00:20:40
โดย ▄︻┻┳═一
พระบรมสารีริกธาตุจากประเทศ{ภูฏาน}
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 11 6692 กระทู้ล่าสุด 07 มีนาคม 2555 19:46:46
โดย 時々๛कभी कभी๛
พื้นที่ชีวิต-ภูฏาน-กิเลสคือโพธิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1621 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2555 16:38:33
โดย เงาฝัน
ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ศรัทธาแห่งพุทธ ที่ ภูฏาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1115 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 14:00:18
โดย มดเอ๊ก
วัดทักซัง ภูฏาน ความงดงามในเมฆหมอกหิมาลัย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1010 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2559 06:40:18
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้