[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 21:38:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สภาเด็กและเยาวชน? อะไร อย่างไร ทำไมไม่รู้ [ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยด้วยนะ รู้ยัง  (อ่าน 49 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2567 02:06:14 »

สภาเด็กและเยาวชน? อะไร อย่างไร ทำไมไม่รู้ [ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยด้วยนะ รู้ยัง]
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-02-10 17:43</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อาทิตยา เพิ่มผล รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สำรวจ “สภาเด็กและเยาวชน” ที่เกิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตามเมื่อทุกขั้นตอนของสภาเด็กฯ ยังอยู่ภายใต้การกำกับของผู้ใหญ่และโครงสร้างภาครัฐ มากกว่าจะให้เด็กทำกิจกรรมได้เอง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับจึงยังไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าของประเด็นอย่างเด็กและเยาวชน #ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</p>
<p>ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปรากฏว่ามีเด็กและเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา มีความตื่นตัวทางการเมืองกันสูงมาก รวมกลุ่มกันในชื่อต่างๆ เช่น กลุ่มนักเรียนเลว เยาวชนปลดแอก และธรรมศาสตร์และการชุมนุม ออกมาประท้วงตามท้องถนน เรียกร้อง สิทธิในการกำหนดตัวเอง เช่น การแต่งกายและทรงผมรวมตลอดถึงปัญหาต่างๆ ในโรงเรียนไปจนกระทั่งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะได้กำหนดและชี้ชะตาอนาคตของประเทศไทย</p>
<p>สิ่งที่เด็กและเยาวชนเรียกต้องการในระยะหลังนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ “ขัดใจ” ผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก จนกระทั่งแกนนำของเด็กและเยาวชนจำนวนมากถูกจับกุมคุมขังกลายเป็นอาชญากรทางการเมือง เป็นนักโทษทางความคิดกันมากมาย ดังที่เป็นข่าวเกรียวกราวในปัจจุบัน</p>
<p>ในขณะที่เด็กและเยาวชนมีความก้าวหน้าและตื่นตัวสูงขนาดนั้น จะมีสักกี่คนในประเทศไทยที่จะรู้ว่าในท้องถิ่นของพวกเขาแต่ละที่นั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีสภาสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อใช้เป็นที่ซึ่งพวกเขาจะแสดงออกและผลักดันกิจกรรมต่างๆได้</p>
<p>เด็ก (แรกเกิด-18 ปี) และ เยาวชน (18-25 ปี) ถูกกำหนดโดยกฎหมาย ให้เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นที่มีชื่อในทะเบียนโดยอัตโนมัติ ในแต่ละปีสภาเหล่านี้จะได้รับงบประมาณนับล้านบาทเพื่อเอาไว้ให้พวกเขาทำกิจกรรมต่างๆเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง แต่ด้วยความที่ว่างบประมาณเหล่านั้นมีที่มาจากภาครัฐ ทำให้การจะออกมาเรียกร้องสิทธิหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองใดๆของสภาเด็กที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐย่อมเป็นไปได้ยาก</p>
<p>สารคดีชิ้นนี้จะส่องเข้าไปในกลไกของท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี เป็นตัวอย่าง เพื่อให้รู้ว่า สภาเด็กนั้นทำเพื่อเด็ก ให้เด็กทำ หรือ ผู้ใหญ่ใช้เด็กทำกิจกรรม หรือมีเอาไว้เพื่อประโยชน์อะไรกันแน่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53519272639_0e1bf5d715_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">เนติธร กอผจญ (ขวา) ประธานสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต และ รองประธานสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดปทุมธานี และ พรรณิภา กลิ่นสายหยุด (ซ้าย) นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ ดูแลส่วนงานสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต (ที่มา: อาทิตยา เพิ่มผล)</span></p>
<p><strong>เนติธร กอผจญ</strong> ประธานสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต และ รองประธานสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดปทุมธานี เล่าประสบการณ์ที่ตัวเองได้เริ่มมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกิจกรรมเด็กและเยาวชนของท้องถิ่นของเขาเมื่อ 5 ปีก่อน แต่มันก็เริ่มต้นแบบไม่ประสีประสาเพราะมีเพื่อนชักชวนเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เมื่อครั้งยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 4 จากนั้นเขาจึงได้เรียนรู้และมีโอกาสได้ร่วมทำกิจกรรม ได้เป็นผู้ช่วยประธานสภาเด็กฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาเด็กของเทศบาลนครรังสิตและต่อมาขึ้นเป็นรองประธานสภาของเยาวชนระดับจังหวัดเมื่อช่วงต้นปี 2565</p>
<p>สภาเด็กและเยาวชนแตกต่างจาก “สภา” ในความหมายทั่วไป ที่มักหมายถึงหน่วยการเมือง ที่มีเอาไว้เพื่อใช้เป็นที่ซึ่งผู้แทนของประชาชน หรือ กลุ่มชนต่างๆ จะมาประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยน ถกเถียง เพื่อจัดสรรผลประโยชน์ใดๆกัน แต่สภาเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นมา เพราะมีกฎหมายบังคับให้ต้องมี กล่าวคือพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2560 (ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับแรกที่ออกมาในปี 2550) กำหนดให้ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ</p>
<p>กฎหมายกำหนดให้ สภาเด็กมีลำดับชั้นล้อไปกับองค์การปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น คือ สภาเด็กและเยาวชนตำบล เทศบาล อำเภอ เขต จังหวัด สภาเด็กกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กแห่งประเทศไทย สภาเหล่านี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและใช้งบประมาณขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด และ นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชน ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน ให้คำแนะนำการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและ เยาวชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่สภาเด็กและเยาวชน เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา แก้ไขปัญหา และร่วมกำหนดนโยบายด้านเด็กและเยาวชน</p>
<p>เป็นเรื่องยากที่จะใช้สภาเด็กและเยาวชนเคลื่อนไหวเรียกร้องประเด็นต่างๆที่ผู้ใหญ่ไม่ส่งเสริมหรือไม่เห็นด้วย เพราะสภาเด็กและเยาวชนทุกที่จะมี นายอำเภอ หัวหน้าเขตและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา ซึ่งในอีกความหมายถึงคือการควบคุมทิศทางและการดำเนินงานของสภาเด็กฯนั่นเอง</p>
<p>ตัวอย่าง สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลหรือเทศบาลในกรณีของรังสิต มาตรา 22 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560) บัญญัติว่า ให้องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล โดยคำแนะนําของหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยเด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลนั้น ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ประกอบด้วย ประธานสภาหนึ่งคน และผู้บริหารอีกไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบล หรือสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปของสภาเด็กและเยาวชนและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนด</p>
<p>กฎหมายกำหนดให้นายอำเภอ เป็นที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล และให้แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล หรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาล (แล้วแต่กรณี) ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้แทนสถานศึกษา ผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลนั้น และผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม ที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเสนอ</p>
<p>เนติธร กล่าวว่า “จากการทำงานขับเคลื่อนในหลายปีที่ผ่านมา ช่วงต้นปี 2565 ผมก็ได้รับความไว้วางใจจากน้องที่มาร่วมงานคัดเลือกสภาเด็กเเละเยาวชนจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต”</p>
<p>“ตอนเลือกประธานนั้นไม่ได้มีการหาเสียงเหมือนการเลือกตั้งทั่วๆ ไปของผู้ใหญ่ เพียงเเต่พูดถึงผลงานโดยรวมเเละเเสดงผลงานต่างๆที่เคยทำ ว่าที่เข้าร่วมเเละได้รับมานั้น มันมีประโยชน์ต่อตัวเราเเละสังคมเด็กและเยาวชนในพื้นที่ของเรายังไง น้องๆส่วนใหญ่ที่เลือกผมให้ดำรงตำเเหน่งประธาน ก็เคยได้ร่วมงานมาด้วยกันหลายปี จนน้องๆ ไว้วางใจในตำเเหน่งตรงนี้เเละได้โหวดให้ผมได้รับตำเเหน่งนี้มาและเมื่อได้รับตำแหน่งประธานสภาเด็กของเทศบาลหรือตำบลเพื่อนๆประธานจากเทศบาลอื่นๆ ในจังหวัดปทุมธานีก็มาเลือกตั้งประธานสภาเด็กระดับอำเภอ และประธานสภาเด็กระดับจังหวัด โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นรองประธานสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดปทุมธานีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย”</p>
<p>เนติธร มีประสบการณ์ในสภาเด็กและเยาวชนของท้องถิ่นปทุมธานีค่อนข้างนาน จนปัจจุบันเขามีอายุ 22 ปี (เมื่ออายุครบ 25 ปีเขาจะพ้นนิยามการเป็นเยาวชนตามกฎหมาย) เรียนอยู่ชั้นอุดมศึกษาในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร เขาเล่าว่า เมื่อเข้ามารับตำเเหน่งเเล้วปัญหาที่พบเจอในระหว่างที่ดำรงตำเเหน่ง สมาชิกและทีมงานไม่กล้าเข้าร่วมกิจกรรมหรือแสดงออกอะไร แถมบางคนเข้ามาเพื่อเเค่ให้มีชื่อเพื่อจะนำไปขอใบรับรองการเป็นสภาเด็กเพียงเเค่นั้น ในบางครั้งคนในทีมก็ไม่ได้สนใจงานมากนัก</p>
<p>“เวลามีผู้ใหญ่สงสัยเข้ามาถามว่าทำไม คณะบริหารมี 21 คน แต่กลับมาทำกิจกรรม หรือเปิดโครงการของโครงสภาเด็กเองกับมีมาไม่ถึง10 คนเลย ซึ่งเป็นปัญหาที่เเก้ยากมากๆ ครับ” เนติธร กล่าว</p>
<p>ประธานสภาเด็กเทศบาลนครรังสิตเล่าต่อว่า การทำโครงการ ในระดับเทศบาลตำบล อำเภอ จังหวัด จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของจำนวนกลุ่มเป้าหมายของการจัดโครงการ เช่นในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก 50 คน ในระดับอำเภอก็จะมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น แต่การทำงานโดยรวมไม่ได้แตกต่างกันมาก โดยเวลาส่วนมากจะเป็นการทำงานกับระดับตำบล เนื่องจากระดับจังหวัดนานๆทีจะมีโครงการมาให้ไปเข้าร่วม บางครั้งต้องรองบประมาณที่เขียนโครงการไป ทำให้ไม่มีกิจกรรมบ่อยเท่าระดับเทศบาล</p>
<p>การทำกิจกรรมจะได้งบประมาณมาจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน และเทศบาลนครรังสิตส่วนหนึ่ง โดย 1 ปีมีประมาณ 2-3 โครงการ เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ท้องไม่พร้อม ซึ่งเป็นโครงการที่ได้จากการโหวตเลือกในที่ประชุมประจำปี แล้วแต่ละคนแบ่งหน้าที่กันในการทำงาน เช่น ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายประสานงาน เป็นต้น”</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">อะไรนะ สภาเด็ก</span></h3>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53518962491_3e00a36df3_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">พรรณิภา กลิ่นสายหยุด (กลาง) นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ ดูแลส่วนงานสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต (ที่มา: อาทิตยา เพิ่มผล)</span></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53518076052_a9cfce4ea4.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">อามีนา กาเซะ ผู้จัดการโครงการ Pathum Young Care บริษัท Influencer – all’s think space (ที่มา: อาทิตยา เพิ่มผล)</span></p>
<p><strong>พรรณิภา กลิ่นสายหยุด</strong> นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ ดูแลส่วนงานสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต กล่าวว่า “ก่อนมาทำงานนี้ก็ไม่รู้จักสภาเด็กและเยาวชนมาก่อนเลยเหมือนกัน เคยได้ยินผ่านหูจากอบต.แถวบ้าน แต่ไม่รู้ว่าสภาเด็กทำอะไร คิดว่ามีเด็กที่ไม่รู้จักสภาเด็กอีก ประมาณ 50 % เลย”</p>
<p><strong>อามีนา กาเซะ</strong> ผู้จัดการโครงการ Pathum Young Care บริษัท Influencer – all’s think space ซึ่งทำงานร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน ยืนยันเช่นนั้นเหมือนกัน “จากการทำงานกับเด็กในจังหวัดปทุมธานีมา มีเด็กบางคนที่ยังไม่รู้จักสภาเด็ก อย่างเด็กที่เป็นเด็กกิจกรรมที่ไปสายสภานักเรียน หลายคนก็ไม่รู้จักกับสภาเด็ก จะมีเด็กกิจกรรมที่ทำงานกับส่วนกลาง หรือเด็กในชุมชนที่มีกิจกรรมจากสภาเด็กไปจัด ถึงจะรู้จักกับสภาเด็ก แล้วพอมีตัวแทนเด็กจากอำเภอ ตำบลต่างๆมาเข้าร่วม ทำให้ดูเป็นกลุ่มเฉพาะ และอีกส่วนหนึ่งคือถ้าเด็กและเยาวชนที่ไม่เคยร่วมกิจกรรมที่ประกาศว่าเป็นของสภาเด็ก เขาจะไม่รู้สึกว่าเขาเป็นสมาชิกของสภาเด็กทั้งๆ ที่เด็กทุกคนเป็นสมาชิกของสภาเด็กโดยอัตโนมัติ”</p>
<div class="note-box">
<h3><span style="color:#2980b9;">โครงสร้างสภาเด็กและเยาวชน</span></h3>
<p>สมาชิก: เด็ก (อายุแรกเกิด – 18ปี) และเยาวชน(ตั้งแต่ 18 – 25 ปีบริบูรณ์) ทุกคนที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน (ทร.14) เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือเทศบาล</p>
<p>การดำเนินงาน: คณะบริหารประกอบด้วยประธานสภาหนึ่งคน และผู้บริหาร อีกไม่เกิน 20 คน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน</p>
<p>งบประมาณ: ได้รับจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสนับสนุนของภาคเอกชน</p>
<p>แนวคิด: เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน</p>
<p><strong>อำนาจหน้าที่สภาเด็กและเยาวชนระดับเทศบาล</strong></p>
<p>- ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล สภาเด็ก
และเยาวชนอำเภอ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชน</p>
<p>- ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา สุขภาพ กีฬา
อาชีพ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน</p>
<p>- ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน</p>
<p>- จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม</p>
<p>- รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่
เพื่อส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ</p>
<p>- เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน
รวมทั้งการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่</p>
<p>- เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา
เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น</p>
<p>- เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กร
เอกชนหรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่</p>
<p>- ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดําเนินงานตามอำนาจหน้าที่ โดยให้คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสนอ</p>
<p>ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย</p>
</div>
<h3><span style="color:#2980b9;">สภาเด็กทำงานอย่างไร?</span></h3>
<p>ในฐานะผู้ปฏิบัติโดยตรง เนติธร เล่าว่า พวกเขาจะมีการประชุมร่วมกันทั้งสภาเด็กและเจ้าหน้าที่ ให้เด็กเสนอหัวข้อที่ตนเองสนใจแล้วโหวตในไลน์กลุ่ม โครงการนั้นมีทั้งส่วนที่เด็กเป็นคนเขียนเอง และมีตัวอย่างโครงการที่เคยทำมาก่อน บางครั้งโครงการไม่ได้รับการอนุมัติงบประมาณเนื่องจากตั้งงบไว้สูงเกินไป ตัวอย่างโครงการที่เด็กอยากให้มีเพิ่มคือการให้ความรู้เรื่องการสูบบุหรี่ให้สถานศึกษามีความผิดอะไรบ้าง</p>
<p>ผู้ใหญ่อย่างพรรณิภา บอกว่าวิธีการทำงานนั้นจะมีจัดประชุมประจำปี หรือประชุมโครงการเวลาได้งบประมาณมา เช่นจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ทำโครงการป้องกันและแก้ไขท้องในวัยเรียน บางครั้งทีมงานสภาเด็กระดับตำบลก็ไปเข้าร่วมกับอำเภอซึ่งจัดโครงการเดียวกัน หรือระดับจังหวัดก็จัด</p>
<p>“น้องๆ บางคนก็ขอเปลี่ยนโครงการเป็นเรื่องการยุติความรุนแรง เพราะพื้นที่ของเราใหญ่ และพบปัญหาแบบนี้ ซึ่งเราก็จะให้น้องมีส่วนร่วมตลอด ให้น้องๆ โหวตกัน เราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษา ให้เป็นไปตามขั้นตอนการทำโครงการ” พรรณิภา เล่า</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53519282259_fd57ce0cc3_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">สุภชา พรหมศร หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดปทุมธานี  (ที่มา: อาทิตยา เพิ่มผล)</span></p>
<p><strong>สุภชา พรหมศร</strong> หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดปทุมธานี บอกกว่า มีโครงการที่เด็กเสนอกันเข้ามาค่อนข้างหลากหลาย เช่น เทคนิคการเป็นวิทยากร และโครงการเสริมสร้างทักษะนักขายออนไลน์วัยใส ซึ่งน้องๆเป็นผู้เขียนโครงการ ดำเนินการกันเอง โดยมีเราเป็นที่ปรึกษา และได้มีการฝึกอบรมร่วมกับคุณแม่วัยใส เพื่อสนับสนุนให้เขามีงานทำอีกด้วย</p>
<p>อามีนา เล่าถึงการทำงานร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่เธอจะไปในฐานะวิทยากร โดยกลุ่มเป้าหมายที่มาเข้าร่วมโครงการด้วย ส่วนหนึ่งก็มาจากสภาเด็กที่อยากขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ รวมตัวกันและส่งโครงการของบประมาณ เพื่อไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่ของพวกเขา แต่ส่วนใหญ่เด็กที่มาเข้าร่วมจะมาจากระบบโรงเรียน มีน้องๆ จากสภาเด็กเหมือนกันที่สนใจทำโครงการกับเราเพื่อนำงบประมาณไปจัดอบรม ซึ่งของเรา จะมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์ผู้รับ ไม่ใช่แค่การบรรยายอย่างเดียว</p>
<div class="note-box">
<p>จังหวัดปทุมธานี มีการรับงบประมาณจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 935,000 บาท แบ่งเป็นของจังหวัด 182,800 บาท ประกอบด้วย</p>
<p>- โครงการเทคนิคการเป็นวิทยากร 40,000 บาท
- โครงการ ID-Sign 15,000 บาท
- โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 15,000 บาท
- โครงการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น 15,000 บาท
- โครงการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพสภาเด็กฯ ปทุมธานี 62,800 บาท
- โครงการเสริมสร้างทักษะนักขายออนไลน์วัยใส 20,000 บาท
- โครงการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น 15,000 บาท โดยงบประมาณของสภาเด็กในระดับจังหวัดขับเคลื่อนโดยบ้านพักเด็กเอง</p>
<p>งบประมาณในส่วนของอำเภอ 222,200 บาท ระดับตำบลและเทศบาล 530,000 บาท จะมีเจ้าหน้าที่จากส่วนท้องถิ่น มาช่วยจัดตั้ง และส่งโครงการขอรับงบสนับสนุน 3 แบบ คือ S = 10,000 บาท M = 15,000 บาท และ L = 20,000 บาท จังหวัดปทุมธานีมีทั้งหมด 64 พื้นที่ ในปี 2566 มี 43 พื้นที่ที่จัดกิจกรรม</p>
<p>แนวทางในการจัดโครงการ/กิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21</p>
<p>โดยให้สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับดำเนินการดังนี้</p>
<p>1. จัดทำแผนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายในระยะเวลาที่ บ้านพักเด็กและครอบครัว (บพด.) กำหนด ทั้งนี้ ถ้าหากสภาเด็กและเยาวชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น ๆ ให้ดำเนินการบรรจุ โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดลงในแผนการดำเนินงานฯ ดังกล่าวด้วย</p>
<p>2. เสนอแผนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2566 ให้ บพด. อนุมัติ และสั่งจ่าย เช็คให้ภายในระยะเวลาที่กำหนด</p>
<p>3. รับเช็คจาก บพด. หรือ หน่วยงานที่เบิกจ่ายแทน แล้วนำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคาร</p>
<p>4. ดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานฯ</p>
<p>5. รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมเอกสารการเบิกจ่าย ให้กับ บพด. ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำเนิน โครงการ/กิจกรรมแล้วเสร็จ</p>
<p>ลักษณะโครงการ/กิจกรรมในแผนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้</p>
<p>1. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กฯ กำหนด เช่น</p>
<p>1.1 การประชุมคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
1.2 การประชุมสามัญประจำปีของสภาเด็กและเยาวชน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ยกเว้น สภาเด็กและเยาวชน แห่งประเทศไทย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
1.3 การประชุมสมัชชาเด็กและเยาวชน
1.4 การประชุมจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปีของสภาเด็กและเยาวชน หรือการประชุมถอดบทเรียน/ แลกเปลี่ยนเรียนรู้</p>
<p>2. โครงการ/กิจกรรมในประเด็นปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ ประกอบด้วย</p>
<p>2.1 การพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน
2.2 การพัฒนาเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม
2.3 จิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์
2.4 การส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.5 การส่งเสริมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม
2.6 การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.7 กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ
2.8 สื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม</p>
<p>3. โครงการ/กิจกรรมเชิงประเด็นเร่งด่วนของรัฐบาลหรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย</p>
<p>3.1 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
3.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.3 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น</p>
<p>เงื่อนไขในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน</p>
<p>1. โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬา สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ทุกกรณี ยกเว้นเป็นการฝึกอบรมให้ความรู้ เพิ่มทักษะด้านกีฬาให้กับเด็กและเยาวชนจึงสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้</p>
<p>2. โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาดูงาน ต้องศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดตนเองเท่านั้น</p>
<p>3. โครงการ/กิจกรรมการบูรณาการโครงการเข้าด้วยกัน (งบประมาณหลายแหล่งมารวมจัดเป็นโครงการเดียว) สามารถกระทำได้ แต่ต้องแบ่งค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนกันได้ ต้องสามารถตอบวัตถุประสงค์ ของแต่ละแหล่งที่มางบประมาณได้</p>
<p>ที่มา: ข้อมูลจาก สุภชา พรหมศร หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว</p>
</div>
<h3><span style="color:#2980b9;">ชุมชนมีส่วนร่วม</span></h3>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53518080477_a19d28ef47_b.jpg" style="height: 747px; width: 560px;" /></p>
<p><span style="color:#e67e22;">โชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม (ที่มา: อาทิตยา เพิ่มผล)</span></p>
<p>โชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม เล่าว่า ทางมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่และองค์กรส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ ขับเคลื่อนโครงการ “พัฒนาตำบลต้นแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน” ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต) และสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล รวม 31 แห่งทั่วประเทศ สร้างระบบสนับสนุนเด็กและเยาวชนในระดับตำบล เพื่อพัฒนายกระดับเป็นตำบลแห่งการเรียนรู้ หรือ “ตำบลต้นแบบ”</p>
<p>มีท้องถิ่นที่พร้อมทำที่สนใจงานเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ ทำงานกับคนสามกลุ่มไปพร้อมๆกัน กลุ่มแรกคือนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มที่สองคือข้าราชการท้องถิ่น สามคือกลุ่มเด็กและเยาวชน  คนสามกลุ่มนี้มีช่องว่าง เราจะทำอย่างไรให้เขามานำร่วมกันให้ได้ คือให้คนรุ่นใหญ่กับคนรุ่นใหม่มานำร่วมกัน ฝั่งการเมืองกับข้าราชการก็ต้องทำงานร่วมกันให้ได้</p>
<p>“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือพื้นที่พิเศษอย่างหนึ่ง มีผู้นำมาจากการเลือกตั้ง เพราะว่าเขายึดโยงกับเยาวชน คนที่มีสิทธิเลือกตั้งก็เป็นพ่อแม่เด็ก เด็กก็เป็นคนที่มีสิทธิในอนาคต ซึ่งหลายคนเอาด้วยนะ เขามีอำนาจ เขาอยากทำนะ แต่หลายครั้งโครงการก็ต้องพับลงไปเพราะข้าราชการไม่อยากทำ เพราะเงินเดือนเขาก็ได้เท่าเดิม แต่งานเพิ่ม” โชติเวชญ์ กล่าว</p>
<p>ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม กล่าวว่า หัวใจของการดำเนินการ จะต้องพยายามสร้างกระบวนการให้เด็กและเยาวชนใช้ความคิด และการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และสามารถนำเสนอความคิดจากการร่วมกันพูดคุยของสภาเด็กและเยาวชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้ดำเนินการและให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากประสบการณ์การทำงานของสภาเด็กและเยาวชน การได้รับการสนับสุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ช่วยประสานงานกับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นง่ายต่อการทำกิจกรรมและได้ความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน</p>
<p>“หัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน  คือการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการส่งเสียง สะท้อนปัญหา มีส่วนร่วมออกแบบนโยบายแก้ไขปัญหาในชุมชน เพื่อสร้างท้องถิ่นแห่งอนาคต”</p>
<p>อามีนา ผู้จัดการโครงการ Pathum Young Care กล่าวว่าบริษัทมีการสนับสนุนงบประมาณให้เด็กและเยาวชนใน จ.ปทุมธานี เพื่อทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ใน 9 ประเด็นหลัก จำนวน 30 โครงการ จำนวนเงินประมาณ 30,000 – 50,000 บาท ต่อโครงการ มีกระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ความรู้ เสริมทักษะ พัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เยาวชนไปทำงานโครงการของตัวเองในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมีทีมหนุนเสริม มีทีมพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนอย่างเป็นมิตรและใกล้ชิด</p>
<p>“เราเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในปทุมธานี ได้มาทำกิจกรรมเรียนรู้พัฒนาตัวเอง เพื่อไปพัฒนาสังคมรอบข้างต่อ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) จากที่ได้ทำงานในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราเห็นว่าปทุมธานีเป็นจังหวัดที่น่าสนใจมาก อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แต่กลับมีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากที่ยังขาดโอกาส ภายในจังหวัดมีพื้นที่ ผู้คน ที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งเราแบ่งออกได้เป็น 3 โซน คือ โซนเมือง เป็นเด็กปริมณฑลที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ โซนพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นกลุ่มเด็กที่ครอบครัวย้ายถิ่นฐานจากที่อื่นมาทำงานในโรงงาน และโซนเกษตรกรรม ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นเดิม เราจึงอยากทำงานร่วมกับความหลากหลายนี้ ให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยน รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ให้กับเด็กในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด” อามีนา กล่าว</p>
<p>เธอกล่าวว่า ถ้ามีโครงการที่ให้น้องได้เรียนรู้ผ่านการใช้โครงการเป็นฐาน ก็น่าจะดี เช่นโครงการที่ทำกับเด็กนักเรียน ป.5 ให้น้องๆเรียนรู้การจัดการการเงิน ทำแบบประเมินง่ายๆ ตอนแรกก็กังวลว่าจะทำได้ไหม แต่จากผลตอบรับของเด็กๆแล้ว สิ่งที่เขาสนุกที่สุดคือการทำเอกสารการเงิน และนอกจากการทำโครงการของเขาแล้ว ยังได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆจากโรงเรียนต่างๆที่ทำโครงการในจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย</p>
<p>ถ้าหากจะให้สรุปรวบยอดว่า ทำไมสภาเด็กและเยาวชนจึงไม่ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ บรรดาคนทำงานอย่าง เนติธร ประธานสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครรังสิต ที่อยู่กับสภาเด็กมานาน พรรณิภา นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติ ซึ่งเป็นข้าราชการ พูดตรงกันว่ายังประชาสัมพันธ์ไม่ดีพอ อาจจะต้องเพิ่มการเข้าหาและเข้าถึงเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มากขึ้น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53519137243_4ff60963d6_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">โครงการฝึกอบรมสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครรังสิต (ที่มา: แฟ้มภาพ)</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">สภาเด็ก เด็กจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร?</span></h3>
<p>แต่หากจะมองให้ลึกไปกว่านี้จะเห็นได้ว่า<strong> </strong>สภาเด็กมีส่วนของความต้องการของผู้ใหญ่ที่ต้องการกำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็ก ไม่ได้เกิดจากความริเริ่มหรือเรียกร้องต้องการของเด็กทั้งหมด  แนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งมีอยู่ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2560) นั้นบังคับเอาไว้อย่างชัดเจนว่า การดำเนินการพัฒนาเด็กและเยาวชน หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นไกด์ไลน์ให้กับสภาเด็กและเยาวชนนั้นจะต้องเป็นไปในทิศทางที่รัฐเป็นผู้กำหนดเท่านั้น</p>
<p>เช่น ในขณะที่กำหนดให้เด็กและเยาวชนวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย (มาตรา 4 วงเล็บ 1) แต่ในทางปฏิบัตินั้นภาครัฐมีการขัดขวางไม่ให้เด็กและเยาวชนรวมตัวกันประท้วงเรียกร้องตามแนวทางประชาธิปไตย และยังพบการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนกันอย่างกว้างขวาง กฎหมายกำหนดอย่างชัดเจนให้เด็กและเยาวชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยแต่เน้นให้รู้จักเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้ง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และกติกาในสังคม เป็นข้อสังเกตว่ากำหนดโดยรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารเสียเป็นส่วนใหญ่</p>
<p>นอกจากนี้ การดำเนินงานของสภาเด็กในทุกลำดับชั้น ทุกขั้นตอน จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ใหญ่ ซึ่งคือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค หรือ ส่วนท้องถิ่น ก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมตามแนวทางในการจัดโครงการ/กิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนมากกว่าจะมีโครงการให้ให้เด็กรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี ทำกิจกรรมด้วยตัวเ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อย่างไร คือ การพัฒนาจิต
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 3 3899 กระทู้ล่าสุด 15 เมษายน 2553 11:26:37
โดย sometime
[ข่าวสังคม] - รู้ยัง? ม.33,ม.39,ม.40 ติดโควิด19 ประกันสังคมจ่ายชดเชยให้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 173 กระทู้ล่าสุด 22 เมษายน 2565 10:16:34
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สภาเด็กและเยาวชน? อะไร อย่างไร ทำไมไม่รู้ [ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยด้วยนะ รู้ยัง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 41 กระทู้ล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2567 17:56:16
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สภาเด็กและเยาวชน? อะไร อย่างไร ทำไมไม่รู้ [ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยด้วยนะ รู้ยัง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 55 กระทู้ล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2567 03:38:04
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ผู้กำกับ 'The Zone of Interest' ถามจะต่อต้าน 'การดูหมิ่นศักดิ์ศรีของมนุษย์' อย่างไร กล
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 36 กระทู้ล่าสุด 12 มีนาคม 2567 01:48:48
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.787 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 08:38:49