[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤษภาคม 2567 00:13:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กสม. หนุนออก กม.นิรโทษกรรม คดีชุมนุมทางการเมือง จ่อชงข้อเสนอให้ กมธ.วิสามัญ พิจา  (อ่าน 45 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2567 05:33:36 »

กสม. หนุนออก กม.นิรโทษกรรม คดีชุมนุมทางการเมือง  จ่อชงข้อเสนอให้ กมธ.วิสามัญ พิจารณา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-16 02:03</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. หนุนออกกฎหมายนิรโทษกรรมคดีชุ<wbr></wbr>มนุมทางการเมือง เตรียมชงข้อเสนอแนะให้ กมธ.วิสามัญ พิจารณา - สนับสนุนรัฐบาลไทยจัดตั้งระเบี<wbr></wbr>ยงมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมี<wbr></wbr>ยนมาและผู้หนีภัยชายแดนไทย - เมียนมา</p>
<p> </p>
<p>15 ก.พ.2567 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ<wbr></wbr>ษยชนแห่งชาติ รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (15 ก.พ.67) เวลา 13.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยวสันต์  ภัยหลีกลี้ และนางศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้<wbr style="font-family: inherit; font-size: inherit; font-style: inherit; font-variant-ligatures: inherit; font-variant-caps: inherit; font-weight: inherit;"></wbr>งที่ 6/2567 โดยมีวาระสำคัญดังนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กสม. หนุนออกกฎหมายนิรโทษกรรมคดีชุ<wbr></wbr>มนุมทางการเมือง เตรียมชงข้อเสนอแนะให้ กมธ.วิสามัญ พิจารณา</span></h2>
<p>นายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้<wbr></wbr>แทนราษฎรได้มีหนังสื<wbr></wbr>อขอทราบความเห็นและข้อเสนอแนะต่<wbr></wbr>อร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมสั<wbr></wbr>งคมสันติสุข พ.ศ. .... (ฉบับพรรคครูไทยเพื่อประชาชน) ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจั<wbr></wbr>กรไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งได้ติดตามการเสนอร่<wbr></wbr>างกฎหมายและการพิจารณาร่<wbr></wbr>างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรและวุ<wbr></wbr>ฒิสภามาอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบแล้วพบว่า ปัจจุบันมีการเสนอร่างกฎหมายนิ<wbr></wbr>รโทษกรรม และร่างกฎหมายสร้างเสริมสังคมสันติสุข ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎหมายของพรรคพลังธรรมใหม่ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคก้าวไกล และร่างกฎหมายของภาคประชาชน ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2567 สภาผู้แทนราษฎรได้เห็นชอบให้ตั้<wbr></wbr>งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึ<wbr></wbr>กษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิ<wbr></wbr>รโทษกรรม ตามที่พรรคเพื่อไทยเสนอ โดยกำหนดกรอบเวลาทำงาน 60 วัน มี ชูศักดิ์  ศิรินิล เป็นประธานกรรมาธิการ</p>
<p>จากการศึกษาร่างกฎหมาย ประกอบหลักสิทธิมนุษยชน กสม. เห็นว่า รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิ<wbr></wbr>และเสรีภาพของประชาชน เมื่อปรากฏการละเมิดสิทธิมนุ<wbr></wbr>ษยชน ผู้ได้รับความเสียหายมีสิทธิเข้<wbr></wbr>าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่<wbr></wbr>าเทียมและได้รับการเยียวยาที่<wbr></wbr>เหมาะสม การนิรโทษกรรมจึงเป็นเครื่องมื<wbr></wbr>อหนึ่งในการยุติความขัดแย้<wbr></wbr>งในอดีตที่สมควรถูกหยิบยกขึ้<wbr></wbr>นมาใช้ในกรณีที่กระบวนการยุติ<wbr></wbr>ธรรมปกติไม่อาจระงับความขัดแย้<wbr></wbr>งได้ ทั้งนี้ การนิรโทษกรรมต้องอยู่ภายใต้หลั<wbr></wbr>กสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมายที่<wbr></wbr>เป็นเป้าหมายสูงสุ<wbr></wbr>ดของการธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม และการไม่เลือกปฏิบัติ กสม. จึงมีความเห็น ดังนี้</p>
<p>(1) ความมุ่งหมายของการนิรโทษกรรม ที่ผ่านมาร่างกฎหมายว่าด้<wbr></wbr>วยการนิรโทษกรรมของฝ่ายนิติบั<wbr></wbr>ญญัติมีเจตนารมณ์ในการนิ<wbr></wbr>รโทษกรรมสองรูปแบบ คือ กรณีเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์<wbr></wbr>ทางการเมืองและไม่เกี่ยวข้องกั<wbr></wbr>บเหตุการณ์ทางการเมือง ในกระบวนการร่างกฎหมายนิ<wbr></wbr>รโทษกรรมครั้งนี้มีความมุ่<wbr></wbr>งหมายเพื่อยุติ<wbr></wbr>ความแตกแยกทางความคิดและความขั<wbr></wbr>ดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ก่<wbr></wbr>อนการรัฐประหารในปี 2549 ครอบคลุมการกระทำความผิดอันเกิ<wbr></wbr>ดจากการชุมนุม การประท้วง การเรียกร้อง การแสดงออก หรือการแสดงความคิดเห็น ที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมื<wbr></wbr>องหรือเกิดจากความขัดแย้<wbr></wbr>งทางการเมือง ซึ่งผู้กระทำความผิดมีมูลเหตุจู<wbr></wbr>งใจแตกต่างจากเจตนาในการกระทำผิ<wbr></wbr>ดทางอาญาในกรณีทั่วไป</p>
<p>(2) การกำหนดช่วงเวลาที่จะได้รั<wbr></wbr>บการนิรโทษกรรม ควรกำหนดให้ครอบคลุมถึงเหตุ<wbr></wbr>การณ์ หรือห้วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับปั<wbr></wbr>จจัยหรือผลที่นำไปสู่ความขัดแย้<wbr></wbr>งทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั้งหมด และในปัจจุบันความขัดแย้งดังกล่<wbr></wbr>าวก็ยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทย ดังนั้น ควรกำหนดระยะเวลาการนิ<wbr></wbr>รโทษกรรมตั้งแต่ปี 2549 ถึงวันที่กฎหมายนิรโทษกรรมมี<wbr></wbr>ผลใช้บังคับ</p>
<p>(3) กรณีจำเป็นต้องมีคณะกรรมการพิ<wbr></wbr>จารณากลั่นกรองการให้นิ<wbr></wbr>รโทษกรรมในกฎหมาย คณะกรรมการต้องมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่มีส่วนได้เสียในการพิ<wbr></wbr>จารณานิรโทษกรรม เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักการที่ว่<wbr></wbr>าผู้กระทำความผิดย่อมไม่อาจเป็<wbr></wbr>นผู้ตัดสินความผิดที่ตนได้<wbr></wbr>กระทำลง และเป็นหน้าที่ของรัฐในการดำเนิ<wbr></wbr>นคดีและลงโทษผู้กระทำความผิด รวมทั้งเยียวยาผู้ที่ได้รั<wbr></wbr>บความเสียหายจากการกระทำความผิด</p>
<p>(4) ประเภทความผิดที่สมควรได้รั<wbr></wbr>บการนิรโทษกรรม ต้องกำหนดไว้โดยชัดแจ้<wbr></wbr>งในกฎหมายหรือบัญชีท้ายพระราชบั<wbr></wbr>ญญัติ ไม่ควรให้<wbr></wbr>คณะกรรมการไปกำหนดประเภทหรื<wbr></wbr>อฐานความผิดในภายหลัง เพราะการนิรโทษกรรมถือเป็นข้<wbr></wbr>อยกเว้นการกระทำความผิด ต้องใช้และตีความอย่างเคร่งครัด ไม่ขยายความไปใช้กับความผิดที่<wbr></wbr>ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ดุลพินิ<wbr></wbr>จและการมีส่วนได้เสียในการให้นิ<wbr></wbr>รโทษกรรม และต้องกระทำผ่านองค์กรนิติบั<wbr></wbr>ญญัติซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนตามหลั<wbr></wbr>กการประชาธิปไตย</p>
<p>(5) ความผิดที่จะได้รับการนิ<wbr></wbr>รโทษกรรมจะต้องไม่เป็นความผิดที่<wbr></wbr>ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การทรมาน การบังคับบุคคลให้หายสาบสูญ การสังหารนอกระบบ การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้<wbr></wbr>าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี การวิสามัญฆาตกรรม การสังหารโดยรวบรั<wbr></wbr>ดและตามอำเภอใจ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม การเอาคนลงเป็นทาส การค้ามนุษย์ และการกระทำรุนแรงที่เป็นการเลื<wbr></wbr>อกปฏิบัติทางเชื้อชาติ เป็นต้น เนื่องจากเป็นกรณีต้องห้<wbr></wbr>ามตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะละเมิดสิทธิในการได้รั<wbr></wbr>บความยุติธรรมและการชดใช้<wbr></wbr>ความเสียหาย ละเมิดพันธกรณีระหว่<wbr></wbr>างประเทศในการดำเนินคดี<wbr></wbr>และลงโทษผู้กระทำผิด ไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐที่<wbr></wbr>ต้องสืบสวนการกระทำความผิด และสิทธิของเหยื่อที่จะได้รั<wbr></wbr>บการเยียวยาอย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งละเมิดสิทธิในการรับรู้<wbr></wbr>ความจริงของผู้เสียหาย</p>
<p>ดังนั้น จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกั<wbr></wbr>บสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกั<wbr></wbr>นและการลงโทษต่ออาชญากรรมที่เป็<wbr></wbr>นการทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ (Genocide Convention) อนุสัญญาต่อต้<wbr></wbr>านการทรมานและการประติบัติหรื<wbr></wbr>อการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุ<wbr></wbr>คคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CED) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิ<wbr></wbr>ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรั<wbr></wbr>ฐธรรมนูญที่บัญญัติรับรองและคุ้<wbr></wbr>มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้<wbr></wbr>นฐานของประชาชน ด้วย</p>
<p>“หลังจากนี้ กสม. โดย ประธาน กสม. จะมีหนังสือแจ้งความเห็นและข้<wbr></wbr>อเสนอแนะดังกล่าวไปยั<wbr></wbr>งประธานสภาผู้<wbr></wbr>แทนราษฎรและประธานรัฐสภา เพื่อประกอบการพิ<wbr></wbr>จารณาแนวทางในการจัดทำร่<wbr></wbr>างกฎหมายนิ<wbr></wbr>รโทษกรรมของคณะกรรมาธิการวิสามั<wbr></wbr>ญพิจารณาศึ<wbr></wbr>กษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิ<wbr></wbr>รโทษกรรมต่อไป” วสันต์ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กสม. สนับสนุนรัฐบาลไทยจัดตั้งระเบี<wbr></wbr>ยงมนุษยธรรม (Humanitarian Corridor) แก่ประชาชนเมียนมาและผู้หนีภั<wbr></wbr>ยตามแนวชายแดนไทย - เมียนมา</span></h2>
<p>ศยามล  ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่ยังคงปรากฏสถานการณ์<wbr></wbr>การปะทะกันระหว่างกองกำลั<wbr></wbr>งทหารเมียนมากับกองกำลังกลุ่<wbr></wbr>มชาติพันธุ์และกลุ่มต่อต้<wbr></wbr>านกองทัพเมี<wbr></wbr>ยนมาตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา โดยเกิดขึ้นเป็นระยะตั้งแต่ปี 2564 เรื่อยมา ส่งผลให้ประชาชนเมียนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เด็ก คนชรา ผู้ป่วย และคนที่ได้รับบาดเจ็บ หนีภัยความไม่สงบเข้<wbr></wbr>ามาในเขตประเทศไทยโดยพักอาศั<wbr></wbr>ยในศูนย์พักพิงชั่วคราวจังหวั<wbr></wbr>ดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขณะที่ประชาชนชาวไทยที่อาศัยอยู่<wbr></wbr>บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ก็มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียชี<wbr></wbr>วิตและทรัพย์สิน เนื่องจากหลายครั้งมีกระสุนปื<wbr></wbr>นไม่ทราบฝ่ายตกมายังฝั่งไทย ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลั<wbr></wbr>วและวิตกกังวลและหลายคนต้องหนี<wbr></wbr>ไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย</p>
<p>กสม. ได้ติดตามสถานการณ์การสู้รบดั<wbr></wbr>งกล่าวมาอย่างต่อเนื่องและใกล้<wbr></wbr>ชิด โดยประสานความร่วมมือกับภาคส่<wbr></wbr>วนต่าง ๆ เพื่อติดตามและหารือเพื่อให้<wbr></wbr>ภาคประชาสังคมร่วมกับหน่<wbr></wbr>วยงานภาครัฐสามารถส่งความช่<wbr></wbr>วยเหลือการดูแลสิทธิขั้นพื้<wbr></wbr>นฐานของชาวเมียนมาที่หนีภั<wbr></wbr>ยการสู้รบเข้ามาในเขตประเทศไทย รวมทั้<wbr></wbr>งประชาชนชาวไทยตามแนวชายแดนที่<wbr></wbr>ได้รับผลกระทบ โดยขอชื่นชมภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุ<wbr></wbr>ษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยมาอย่างต่<wbr></wbr>อเนื่อง</p>
<p>ล่าสุด เป็นที่น่ายินดีว่า เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 รัฐบาลไทยโดยรัฐมนตรีว่<wbr></wbr>าการกระทรวงการต่างประเทศได้<wbr></wbr>ลงพื้นที่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่<wbr></wbr>อริเริ่มจัดตั้ง “ระเบียงมนุษยธรรม” (Humanitarian Corridor) บริเวณแนวชายแดน ซึ่งจะเป็นครั้<wbr></wbr>งแรกของประเทศไทยที่มี<wbr></wbr>การออกแบบศูนย์ส่งต่อความช่<wbr></wbr>วยเหลือให้แก่ประชาชนที่ได้รั<wbr></wbr>บผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่<wbr></wbr>สงบในเมียนมา อันสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่<wbr></wbr>งตามฉันทามติของผู้นำอาเซี<wbr></wbr>ยนในการประชุม ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ซึ่งไทยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปั<wbr></wbr>ญหาไว้ 4 ประการ หรือ D4D ได้แก่ (1) De-escalating Violence การยุติความรุนแรง (2) Delivering Humanitarian Assistance การจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุ<wbr></wbr>ษยธรรม (3) Discharge of Detainees การปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง และ (4) Dialogue การหารือเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ซึ่งในช่วงแรกเริ่มจะเป็นการเปิ<wbr></wbr>ดศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Assistance) โดยส่งมอบความช่วยเหลือ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ผ่านสภากาชาดไทยไปยั<wbr></wbr>งสภากาชาดเมียนมา</p>
<p>“กสม. ขอสนับสนุนการเดินหน้าจัดตั้<wbr></wbr>งระเบียงมนุษยธรรม (Humanitarian Corridor) เพื่อยกระดับการให้ความช่วยเหลื<wbr></wbr>อด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมี<wbr></wbr>ยนมาและผู้หนีภั<wbr></wbr>ยตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา โดยกำหนดให้มีพื้นที่ปลอดภัย รวมถึงจัดหาสถานที่พักพิงช่<wbr></wbr>วยเหลือผู้ที่ได้รับการประหั<wbr></wbr>ตประหาร ผู้ที่หนีภัยการสู้รบ และผู้ที่พลัดถิ่นในประเทศเมี<wbr></wbr>ยนมาที่ติดกับชายแดนไทย ทั้งนี้ ควรดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่<wbr></wbr>วยงานภาครัฐ ส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม โดยเร่งดำเนินการในพื้นที่ที่มี<wbr></wbr>ความสำคัญเร่งด่วนที่สุดซึ่งเป็<wbr></wbr>นพื้นที่ที่มีการพลัดถิ่นเข้<wbr></wbr>ามาในประเทศไทยจำนวนมาก บริเวณแนวชายแดนไทยของจังหวั<wbr></wbr>ดแม่ฮ่องสอนขึ้นไปทั้งหมด และ กสม. ขอเน้นย้ำในหลักการให้ความคุ้<wbr></wbr>มครองผู้ประสบภัยจากการสู้รบ ไม่ผลักดันกลับสู่อันตราย (non - refoulement) อันสอดคล้องและเป็นไปตามกติ<wbr></wbr>การะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ<wbr></wbr>พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้<wbr></wbr>านการทรมานและการประติบัติหรื<wbr></wbr>อการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพั<wbr></wbr>นธกรณีต้องปฏิบัติตาม” ศยามล กล่าว        </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108084
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ‘เพื่อไทย’ เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญ คุยเรื่องนิรโทษกรรม ส่วนม.112 อยากให้ศึกษาจนชัดเ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 71 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2566 15:32:52
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สส.ก้าวไกล หวั่น กก.พิจารณา 'คุมขังนอกเรือนจำ' ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ จะตรวจสอ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 87 กระทู้ล่าสุด 14 ธันวาคม 2566 04:01:00
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: นิรโทษกรรม ม.113 มากี่ครั้งบ้านเมืองจึงยังอยู่ในวงจรอุบาทว์ !?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 52 กระทู้ล่าสุด 22 ธันวาคม 2566 07:30:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รัฐสภาลงมติตั้งกมธ. พิจารณา นำไฟฟ้า ทร.คืนรัฐฯ ‘จิรายุ-ธนาธร’ ร่วมวง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 63 กระทู้ล่าสุด 26 มกราคม 2567 23:16:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วิสามัญ 2 ศพสายบุรี เสียงวิจารณ์ต้องการรอมฎอนสันติสุขจริงหรือ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 42 กระทู้ล่าสุด 15 มีนาคม 2567 17:32:44
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.365 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤษภาคม 2567 03:45:32