[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 23:54:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สภาฯ-ภาคประชาสังคมจัดสัมมนา '3 ปีหลัง รปห.เมียนมา' หวังเป็นเวทีพูดคุย-สะพานแก  (อ่าน 31 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 มีนาคม 2567 15:28:39 »

สภาฯ-ภาคประชาสังคมจัดสัมมนา '3 ปีหลัง รปห.เมียนมา' หวังเป็นเวทีพูดคุย-สะพานแก้ปัญหาอย่างสันติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-04 14:33</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สภาฯ ร่วมกับภาคประชาสังคม-องค์กรระหว่างประเทศหลายเครือข่าย จัดสัมมนาหารือสถานการณ์เมียนมา 3 ปีหลังรัฐประหารเมียนมา 'โรม' และ 'ปดิพัทธ์' กล่าวเปิดงาน หวังวงประชุมเป็นพื้นที่พูดคุย-เป็นสะพานเชื่อมความต่างสู่การแก้ปัญหาอย่างสันติ</p>
<p> </p>
<p>4 มี.ค. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานเมื่อ 2 มี.ค. 2567 ที่อาคารรัฐสภา องค์กรภาคีเครือข่ายทั้งไทย และต่างประเทศ ร่วมด้วยคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความช่วยเหลือด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (International IDEA) กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR), องค์กรภาคประชาสังคม "Fortify Rights", มูลนิธิเสมสิกขาลัย, และสำนักข่าวเมียนมา "Mizzima Media Group" ร่วมจัดการประชุมนานาชาติและนิทรรศการ "3 ปีหลังรัฐประหาร : สู่ประชาธิปไตยในเมียนมา และผลกระทบต่อความมั่นคงชายแดนไทย" ระหว่างวันที่ 2-3 มี.ค. 2567</p>
<p>งานสัมมนามีผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั้งหน่วยงานด้านการระหว่างประเทศของไทย ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงตัวแทนของภาคส่วนและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมา ที่เข้าร่วมทั้งด้วยตนเองและผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์รวมกว่า 200 คน รวมทั้งบุคคลสำคัญอย่าง จ่อโมทุน ผู้แทนถาวรเมียนมา ประจำสหประชาชาติ, 'ซินหม่าอ่อง' รัฐมนตรีการต่างประเทศ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG), ทอม แอนดรูวส์ ผู้รายงานพิเศษด้านเมียนมาประจำสหประชาชาติ ดันแคน แมคอาเธอร์ จาก “The Border Consotium” และอื่นๆ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53566820978_8d015fba4b_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">รังสิมันต์ โรม</span></p>
<p>ในโอกาสนี้ รังสิมันต์ โรม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ ได้เป็นผู้กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมในครั้งนี้ โดยระบุว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ในประเทศเมียนมา ได้ส่งผลกระทบข้ามพรมแดนออกมาสู่ทั้งภูมิภาครวมทั้งประเทศไทย และเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสันติภาพและความเป็นไปในเมียนมามีผลอย่างสำคัญต่อความเป็นไปในประเทศไทยและทั้งภูมิภาคอาเซียน</p>
<p>ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ ตนขอย้ำว่า รัฐสภาต้องมีความรับผิดชอบสำคัญในการปกป้องการเติบโตและงอกงามของประชาธิปไตย รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ซึ่งจะไม่เพียงแต่เติมเต็มความฝันของชาวเมียนมา แต่ยังจะเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับความมั่นคงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาคด้วย</p>
<p>รังสิมันต์ กล่าวต่อไป ว่าประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่พิเศษกับเมียนมาอย่างที่ไม่มีประเทศไหนสามารถมีได้เสมือน ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีร่วมกันมาอย่างช้านาน รวมถึงพรมแดนที่อยู่ใกล้ชิดกัน และด้วยสถานะแบบนี้ ทำให้ประเทศไทยสามารถมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางสำหรับการพูดคุยเพื่อแสวงหาหนทางสู่สันติภาพให้กับความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นได้</p>
<p>ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประเทศไทยอย่างแข็งขันในกระบวนการสันติภาพ ด้วยการนำพาภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาสู่การพูดคุยกันภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร จะปูทางสู่การแก้ปัญหาทางการเมืองและอนาคตประชาธิปไตยของเมียนมาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ไม่ต่อเพียงเฉพาะเมียนมาเท่านั้น แต่จะเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นของประเทศไทย ที่พร้อมจะร่วมมือกับทุกส่วนในการแสวงหาความมั่นคงในภูมิภาคด้วย</p>
<p>"สิ่งที่เรากำลังทำในวันนี้คือบันไดก้าวแรก ในการนำผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างหลากหลายมาร่วมพูดคุยกัน นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่การสร้างพื้นที่ในการพูดคุยและแสวงหาความร่วมมือต่อกัน และด้วยการพูดคุยครั้งนี้ จะเป็นการปูทางสู่การแก้ปัญหาทางการเมืองในเมียนมาอย่างสันติและยั่งยืนต่อไปในอนาคต" รังสิมันต์ กล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ยังได้ร่วมกล่าวต้อนรับทุกภาคส่วนที่มาร่วมการประชุมในวันนี้ด้วย โดยระบุว่าเป็นเวลา 3 ปีแล้วที่กองทัพเมียนมาได้ทำการรัฐประหาร การแสวงหาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนยังคงเป็นเป้าหมายของชาวเมียนมาที่ยังไม่บรรลุ การต่อสู้เพื่ออนาคตที่เป็นธรรมและมีสันติภาพยังคงดำเนินต่อไป และยังส่งผลต่อทั้งภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยด้วย</p>
<p>การประชุมตลอดทั้งสองวันนี้เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่พวกเรา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ตัวแทนประชาคมระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญที่สุดคือประชาชนชาวเมียนมาที่กล้าหาญ ต่างมีร่วมกันในการตระหนักรู้ถึงปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลายระดับของสิ่งที่เกิดขึ้นล</p>
<p>ปดิพัทธ์ กล่าวต่อไป ว่าด้วยการพูดคุยอย่างเปิดเผยและการร่วมแลกเปลี่ยนอย่างเสรี และด้วยความปรารถนาที่จะแสวงหาร่วมมือระหว่างกัน ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นต่อสถานการณ์ในเมียนมา ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และวิกฤติมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้</p>
<p>รวมทั้งการมองให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของเมียนมา เพื่อเตรียมตัวเราเองให้พร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งในแง่ของความท้าทาย และสิ่งที่เราจะทำได้ในอนาคต รวมถึงการนำไปสู่ยุทธศาสตร์และแผนที่เป็นรูปธรรมสำหรับทั้งประเทศไทยและประชาคมโลก ในการสนับสนุนการสร้างประชาธิปไตยในเมียนมา การช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และการสร้างเสถียรภาพให้แก่ภูมิภาคนี้ภายใต้ความร่วมมือและการให้เกียรติต่อกัน</p>
<p>"เรามารวมกันที่นี่ ไม่ใช่เพียงเพื่อมารับฟังความคิดที่แตกต่างกันและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เท่านั้น แต่เราจะร่วมกันสร้างสะพานเชื่อมความแตกต่างเข้าหากัน แสวงหาพื้นที่ตรงกลาง และการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตให้แก่เมียนมาที่เป็นธรรมและมีสันติภาพต่อไปในอนาคต" ปดิพัทธ์ กล่าว</p>
<p>ปดิพัทธ์ ยังกล่าวต่อไป ว่าความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างกองทัพของสองประเทศคือหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่อนุญาตให้การรัฐประหารเกิดขึ้นได้ หากเทียบกับที่ผ่านมาเราได้เห็นถึงตัวอย่างการปฏิบัติจากองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น IPU หรือ AIPA ที่ปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาลทหารเมียนมา สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการยึดถือหลักการประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน</p>
<p>สำหรับตนและเพื่อนสมาชิกรัฐสภาของประเทศไทย เราจะใช้กลไกของสภาในการตรวจสอบรัฐบาลไทยให้มีความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เช่น การตั้งคำถามต่อวิกฤติมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จากการทะลักข้ามพรมแดนของผู้หนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีคำตอบหรือแนวทางใดๆ</p>
<p>สำหรับการประชุมในวันนี้ มีการพูดคุยในหลายประเด็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้ง, สถานการร์ทางเศรษฐกิจ, สถานการณ์เสรีภาพสื่อและบทบาทสื่อมวลชน, ความสาหัสของวิกฤติทางมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้น, บทบาทของประชาคมระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาในเมียนมา เป็นต้น</p>
<p>โดยประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงอย่างน่าสนใจ คือความเป็นไปได้ของระบบการเมืองของเมียนมาในอนาคต ที่เป็นรูปแบบประชาธิปไตยสหพันธรัฐ (Federal democratic governance) ที่ในขณะนี้มีข้อเห็นร่วมกันอย่างหลวมๆ เกิดขึ้นแล้วในสังคมเมียนมา ว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่จะให้สิทธิในการปกครองตนเองอย่างเท่าเทียมกับชาติพันธุ์ต่างๆ และเหมาะสมกับสังคมเมียนมาที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุด โดยในหมู่แนวร่วมต่อต้านการรัฐประหารภายใต้รัฐบาลเงา NUG ในขณะนี้ ได้มีการหารือกันในระดับหนึ่งแล้วถึงการสร้างรูปแบบการปกครองที่เป็นไปได้นี้ หลังการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารประสบความสำเร็จในอนาคต</p>
<p>นอกจากนี้ ภายในงานสัมมนามีการจัดนิทรรศการจากภาคประชาสังคม มูลนิธิเสมสิกขาลัย จัดนิทรรศการ 'In-Between หรือชีวิตติดกับ' ที่เล่าเรื่องผู้ลี้ภัยและผลกระทบจากสงครามรัฐกะเรนนี, มูลนิธิ "Fortify Rights", องค์กร Sea-Junction ที่จัดนิทรรศการเรื่อง 'ศิลปะแห่งการต่อต้านรัฐประหารเมียนมา' และอื่นๆ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53566820998_2f64c0fb8d_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">นิทรรศการงานสัมมนา 3 ปีหลังรัฐประหาร</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108306
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เปิดทรัพย์สิน ‘ประยุทธ์-ประวิตร’ 9 ปีหลัง รปห. รวยขึ้นคนละกว่า 2 ล้าน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 66 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2566 18:40:53
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘ปานปรีย์’ หารือ รมว.กต.เมียนมา ถึงสถานการณ์ขัดแย้ง-ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 100 กระทู้ล่าสุด 08 ธันวาคม 2566 14:32:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'โรม' ยังไม่ยืนยัน 'เมียนมา' ส่งหนังสือค้านจัดสัมมนา 'รับมือวิกฤตเมียนมา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 03 มีนาคม 2567 20:49:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'โรม' ยังไม่ยืนยัน 'เมียนมา' ส่งหนังสือค้านจัดสัมมนา 'รับมือวิกฤตเมียนมา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2567 12:27:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สภาฯ-ภาคประชาสังคมจัดสัมมนา '3 ปีหลัง รปห.เมียนมา' หวังเป็นเวทีพูดคุย-สะพานแก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 30 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2567 16:58:45
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.375 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 เมษายน 2567 21:38:32