[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 16:13:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “กุมารี” เทพเจ้าในร่างเด็กหญิงก่อนมีระดู และตราบาปที่ถูกมองเป็น “คนกินผัว”  (อ่าน 48 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 122.0.0.0 Chrome 122.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 มีนาคม 2567 13:56:03 »


ภาพ “กุมารี” เทพเจ้าผู้มีชีวิตระหว่างร่วมพิธีในเมืองละลิตปุระ (Lalitpur) ใกล้กับกรุงกาฐมาณฑุ
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2016 (AFP PHOTO / PRAKASH MATHEMA)


“กุมารี” เทพเจ้าในร่างเด็กหญิงก่อนมีระดู และตราบาปที่ถูกมองเป็น “คนกินผัว”

ผู้เขียน - เมฆา วิรุฬหก
เผยแพร่ - เพจศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2567


กุมารี เทพเจ้าบนโลกของชาวเนปาลซึ่งได้รับการนับถือจากทั้งชาวฮินดูและชาวพุทธ เป็นเทพเจ้าในร่างของเด็กหญิงก่อนมีระดู ที่ชาวฮินดูเชื่อว่ากุมารีคือร่างประทับของ เจ้าแม่ทุรคา ขณะเดียวกัน เด็กสาวผู้เป็นกุมารีก็เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ มาจากวรรณะศากยะ (ระบบวรรณะเฉพาะถิ่นในเนปาล) ในชุมชน ชาวเนวาร์ (Newar) ซึ่งเชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากตระกูลศากยะเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า

ชาวเนวาร์ เป็นชาวท้องถิ่นในหุบเขากาฐมาณฑุซึ่งมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและโดดเด่นยาวนานหลายร้อยปี โดยเดิมทีชาวเนวาร์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ขณะนี้การนับถือพุทธและฮินดูในบรรดาชาวเนวาร์มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และประชากรรวมของชาวเนวาร์ก็มีจำนวนไม่ถึง 30 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมดในหุบเขากาฐมาณฑุ

เมื่อมีการเฟ้นหา กุมารี องค์ใหม่ โดยปกติบรรดาพ่อแม่ของเด็กๆ จะเป็นผู้ผลักดันลูกๆ สู่กระบวนการคัดเลือก ซึ่งการได้ที่ลูกหลานได้เป็นกุมารีถือว่าเป็นเกียรติเป็นศรีกับวงศ์ตระกูลสำหรับชาวศากยะ แต่ก็ต้องแลกกับการห่างจากลูกเป็นเวลา 7-8 ปี

เด็กสาวจะต้องถูกตรวจสอบดวงชะตา และตรวจร่างกายว่าไม่ตำหนิ รอยแผลใดๆ และยังต้องมีลักษณะครบ 32 ประการของพระโพธิสัตว์ เด็กที่ได้รับเลือกมักมีอายุน้อยตั้งแต่ 2-3 ขวบ เธอจะถูกกักตัวอยู่ในวิหารจนกว่าเธอจะถึงวัยมีระดู โดยเธอจะมีโอกาสได้ออกจากวิหารเฉพาะเมื่อมีศาสนพิธีสำคัญเท่านั้น และการเดินทางเธอจะต้องถูกแบกหามตลอดเวลา เนื่องจากเท้าของเธอจะสัมผัสกับพื้นไม่ได้

กุมารีจะได้รับการดูแลอย่างดีไม่ให้เธอได้รับบาดเจ็บเลือดออก เนื่องจากเชื่อกันว่าหากเธอมีบาดแผล วิญญาณเทพเจ้าจะออกจากร่างของเธอ ด้วยเลือดถือเป็นสื่อกลางของวิญญาณเจ้าแม่ และเมื่อกุมารีเริ่มเติบใหญ่ถึงวัยเจริญพันธุ์ ก่อนถึงการมีระดูเป็นครั้งแรกเธอจะถูกปลดจากตำแหน่งและไปใช้ชีวิตอย่างหญิงสาวธรรมดา

มีความเชื่อกันว่า หากกุมารีได้รับอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย หรือหากเธอร้องไห้ หรือแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เมื่อนั้นจะเกิดภัยพิบัติขึ้นกับประเทศ การทำให้เธอกับสู่ภาวะสมดุลถือเป็นมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ

เหล่ากุมารี (กุมารีมิได้มีแต่เฉพาะกุมารีหลวงในกาฐมาณฑุ แต่ยังมีการตั้งกุมารีตามแต่ละท้องถิ่นด้วย) ยังคงมีความสำคัญทั้งในทางสังคมและการเมืองของเนปาล ชาวเนปาลเชื่อกันว่า การที่ระบบกษัตริย์ของเนปาลล่มสลายลงก็ด้วย กุมารีเกิดป่วยด้วยอาการของโรคผิวหนัง (ซึ่งทำให้เธอขาดจากความเป็นกุมารีไปด้วย) ทำให้ขณะนั้นไม่มีวิญญาณเทพเจ้าประจำเมืองช่วยรักษาสถาบันกษัตริย์ของเนปาลเอาไว้

เมื่อเข้าถึงยุคสาธารณรัฐ ผู้นำรัฐบาลก็ยังต้องได้รับพรจากกุมารี หาไม่แล้ว หายนะก็อาจเกิดกับรัฐบาลนั้น ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลที่ไม่ได้รับพรจากกุมารียังถูกมองว่าไม่มีความชอบธรรม และต้องประสบกับความล้มเหลวในท้ายที่สุด

เมื่อกุมารีพ้นจากตำแหน่ง การมีวิถีชีวิตที่ต่างไปจากมนุษย์ปกติเป็นเวลาหลายปี สร้างความลำบากให้กับกุมารีวัยเกษียณที่จะต้องมาเริ่มหัดเดิน เรียนรู้การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นใหม่ในช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับความเชื่อในหมู่ชาวบ้านว่า ชายคนใดแต่งงานกับอดีตกุมารีพวกเขาจะต้องอายุสั้นราวกับพวกเธอเป็น “คนกินผัว”

แต่จากปากคำของอดีตกุมารีอย่าง รัชมิลา ศากยะ (Rashmila Shakya) ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 32 ปี และเคยรับตำแหน่งเป็นกุมารีในช่วงวัย 4-12 ปี แสดงให้เห็นว่า ความเชื่ออันเป็นลางร้ายดังกล่าวมิได้กระทบต่อชีวิตของพวกเธอแต่อย่างใด

“มันเป็นแค่ความเชื่อทางไสยศาสตร์” อดีตเทพเจ้าในร่างมนุษย์กล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ “อดีตกุมารีต่างก็แต่งงานกันทั้งนั้นแหละ อย่างฉันก็เพิ่งจะเข้าพิธีวิวาห์เมื่อหกเดือนก่อน เรื่องนี้ก็แค่เรื่องลือกันปากต่อปากเท่านั้น” ศากยะ กล่าวกับ ABC News สื่ออเมริกัน

กลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวหาว่า ประเพณีการตั้งกุมารีเป็นการละเมิดสิทธิเด็กเนื่องจากมีการควบคุมเสรีภาพของเด็กอย่างเข้มข้น และยังตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็ก ๆ (แม้จะมีการสอนพิเศษในกับกุมารีถึงวิหารในระยะหลัง) ทำให้มีการยื่นคำร้องไปยังศาลฎีกาในปี 2005 เพื่อพิจารณาว่าประเพณีดังกล่าวละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

แต่ศาลฎีกาได้มีคำสั่งในปี 2008 ให้ยกคำร้องโดยให้เหตุผลย้ำไปที่ความสำคัญของประเพณีและความเชื่อ เหนือหลักการคุ้มครองเด็ก ทำให้ประเพณีการตั้งกุมารียังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน และความสำคัญของกุมารียิ่งทวีขึ้นไปอีก เมื่อประเทศต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี 2015 เนื่องจากชาวบ้านต่างต้องการที่พึ่งทางใจเพื่อช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.293 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 01:08:58