[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 00:39:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัยมองไทยควรเป็นคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน UN หรือยัง (2)  (อ่าน 35 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2567 21:49:54 »

นักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัยมองไทยควรเป็นคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน UN หรือยัง (2)
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-03-13 21:09</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: เสวนา "ไทยกับเก้าอี้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มุมมองจากสถานการณ์การคุ้มครองแรงงานและประชากรข้ามชาติ" (ที่มา: แอมเนสตี้ฯ)</p>
<p>อัพเดทข่าวเมื่อ 13 มี.ค. 2567 เมื่อเวลา 21.20 น.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาคประชาสังคมจัดเสวนาวิเคราะห์สถานการณ์สิทธิด้านแรงงาน-ผู้ลี้ภัยของไทย เหมาะสมกับเก้าอี้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง UN หรือไม่ แจกการบ้านรัฐไทย ยกระดับสิทธิแรงงานและผู้ลี้ภัยให้เป็นไปตามหลักสากล เข้าไปมีส่วนร่วม ปชต.ในเมียนมา</p>
<p> </p>
<p>สืบเนื่องจากเมื่อปี 2566 ปานปรีย์ พหิทธานุกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศว่า ประเทศไทยจะลงสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ในวาระดำรงตำแหน่งปี 2568-2570 และจะมีการเลือกตั้ง ต.ค. 2567</p>
<p>13 มี.ค. 2567 เพจเฟซบุ๊ก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถ่ายทอดสดออนไลน์ เมื่อ 4 มี.ค. 2567 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ประกอบด้วย เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน และการพัฒนา (HRDF) โซริดาริตีเซ็นเตอร์ ประเทศไทย มูลนิธิเพื่อความยุติธรรมและสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดเสวนา "ไทยกับเก้าอี้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มุมมองจากสถานการณ์การคุ้มครองแรงงานและประชากรข้ามชาติ" </p>
<p>เสวนาได้เชิญนักรณรงค์ด้านสิทธิแรงงาน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอื่นๆ มาร่วมวิเคราะห์ถึงความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นคณะมนตรีฯ และข้อเสนอประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้รัฐบาลนำไปพิจารณาแก้ไขปัญหา </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FHRDFThailand%2Fvideos%2F1555195645274818%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ช่วงเสวนามีการกล่าวปาฐกถาของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ "ไทยและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อเจนด้าภาคสอง?" โดยฉายภาพรวมปัญหาด้านการคุ้มครองสิทธิ แรงงานข้ามชาติ แรงงานไทย ผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ และข้อเสนอถึงรัฐไทยจากมุมมองนักนิติศาสตร์</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากมุมมองของนักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัย 'ไทยพร้อมเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของ UN หรือยัง'</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">คาดจะมีแรงงานข้ามชาติเข้าประเทศมากขึ้น</span></h2>
<p>สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันของแรงงานข้ามชาติมีแนวโน้มอพยพเข้ามาในไทยจำนวนมากขึ้น โดยคนที่เข้ามาตามข้อตกลง MOU จะน้อยลง และหลบหนีเข้ามาเยอะขึ้น เนื่องจากสงครามกลางเมืองที่ปะทุขึ้นมาหลังรัฐประหารพม่าปี 2564 และไทยอาจต้องทบทวนเรื่องการใช้กฎหมายคนเข้าเมือง โดยคำนึงถึงผู้ที่หนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย </p>
<p>เมื่อถามถึงว่าให้คะแนนรัฐบาลเรื่องนโยบายแรงงานข้ามชาติเท่าไร</p>
<p>สุธาสินี กล่าวว่า "ถ้าโดยดูเนื้องาน และเขาปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติแล้ว เราไม่ให้คะแนน" และเธอระบุด้วยว่า เหตุผลเนื่องจากรัฐบาลยังมีงดเว้นในการให้สิทธิการรวมตัวเป็นสมาคมหรือสหภาพแรงงานของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งเรื่องขั้นต่ำยังให้แรงงานไม่ได้ </p>
<p>นอกจากนี้ สุธาสินี กล่าวถึงปัญหานายหน้าหลอกแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทำให้แรงงานที่เข้ามาทำงานเสียเงินจำนวนมาก แต่ไม่มีงานทำ มีการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น ทำงาน 3 วันจ่ายค่าจ้างครั้งเดียว ครั้งละ 100 กว่าบาท นอกจากนี้ ยังพบปัญหาแรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิด้านต่างๆ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53585404053_6482b6cf49_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุธาสินี แก้วเหล็กไหล (ที่มา: แอมเนสตี้ฯ)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชงรับ ILO 87 และ 98 มองเห็นคุณค่าแรงงาน</span></h2>
<p>ผู้จัดการโครงการมูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน กล่าวว่า เธอมองว่าไทยไม่น่าจะได้เป็น สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ แต่ถ้าได้เข้าไปเป็นจริงๆ ไทยควรรับอนุสัญญา ILO 87 และ 98 เพื่อให้คนงานทุกกลุ่มสามารถตั้งสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้าง</p>
<p>สุธาสินี กล่าวว่า ถ้ารัฐไทยอยากจะผ่านเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ในมุมมองของเธอ รัฐบาลต้องเคารพสิทธิของคนที่เป็นแรงงานตัวเล็กตัวน้อย และปรับปรุงข้อกฎหมายอย่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ให้ทันสมัย ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงแรงงานภาคการเกษตร และแรงงานประมง</p>
<p>"ถ้าคุณอยากจะผ่าน คุณต้องเคารพสิทธิคนเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งคุณอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็ก แต่สำหรับคนยากคนจนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น มันคือความยากลำบากของเขา มันไม่ได้มาฟรีๆ เขามาเสียเงิน เหมือนคนไทยไปทำงานต่างประเทศ ต้องจำนำนา จำนำบ้านก่อนจะได้ไป" ผู้จัดการโครงการมูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กฎหมายคุ้มครองแรงงานต้องครอบคลุมทุกคน</span></h2>
<p>เดวิด เวลช์ (David Welsh) ผู้อำนวยการโซริดาริตีเซ็นเตอร์ ประเทศไทย ได้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลกระทบกับการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานในประเทศไทย แรงงานข้ามชาติ และแรงงานไทย โดยชี้ให้เห็นแนวโน้มในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา แรงงานในประเทศไทยได้รับชัยชนะครั้งสำคัญ และทำให้เกิดมุมมองในระดับประเทศและสากลต่อชะตากรรมของพวกเขา</p>
<p>"หลังจากมีการคุกคามแกนนำสำคัญของขบวนการสหภาพแรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในคดีของแกนนำ 13 คนของ สร.รฟท. ด้วยการถูกฟ้องทางอาญาและแพ่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 13 ปี ทำให้เกิดการรณรงค์ระดับสากลร่วมกับภาคประชาสังคมจนประสบความสำเร็จ ประชาคมสหภาพแรงงานทั้งในและระหว่างประเทศ รวมทั้งสถานทูต และประชาคมการค้า ระบุถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากรัฐบาลไทยยังคงดำเนินการตามเจตจำนงเดิม ที่ยังคงจำคุกผู้นำแรงงาน เพราะการทำหน้าที่เป็นนักสหภาพแรงงาน การกระทำเช่นนี้แทบไม่สามารถหาตัวอย่างทั่วโลกที่แกนนำสหภาพแรงงานต้องตกเป็นเหยื่อจากการรณรงค์ในลักษณะที่โปร่งใสแบบนี้ การกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวต่อขบวนการสหภาพแรงงานในภาพกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นหน้าเป็นห่วงอย่างมาก ส่งผลให้แกนนำสหภาพแรงงานรุ่นใหม่ตกังวลว่าพวกเขาอาจต้องเจอกับชะตากรรมแบบเดียวกับแกนนำในรุ่นก่อน ความพยายามที่จะหยุดการเคลื่อนไหวส่งผลกระทบต่อขบวนการสหภาพแรงงานทั้งหมด" เวลซ์ กล่าว </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53585180416_e7188c27f7_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">เดวิด เวลซ์ (ที่มา: แอมเนสตี้ฯ)</span></p>
<p>เวลช์ ยกตัวอย่าง กรณีในปี’65 มีคดีที่มีการฟ้อง บริษัท บริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ ไทย โกลบอล จำกัด โดยศาลมีคำตัดสินให้บริษัทข้ามชาติสหรัฐฯ จ่ายค่าแรงเกือบ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้ลูกจ้างโรงงานหญิงกว่า 1 พันคน ถือเป็นการไกล่เกลี่ยและประนอมคดีที่มีมูลค่าสูงสุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอในระดับโลก และนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การฟ้องคดีลักษณะคล้ายคลึงกันในบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ซัปพลายเชนข้ามชาติในอุตสาหกรรมภาคส่วนต่างๆ </p>
<p>ผอ.โซริดาริตีเซ็นเตอร์ฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ในคดีเหล่านี้ปัจจัยที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จคือการรณรงค์ และกดดันในระดับสากล เพราะในปัจจุบันยังไม่มีระบบการประนอมคดีระดับสากลที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างนายจ้าง/บรรษัทข้ามชาติ กับคนงาน/สหภาพแรงงาน เมื่อเกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิแรงงาน เหตุเพราะกฎหมายแรงงานไทยอ่อนแอเกินไป และศาลแรงงานไทยมีแนวโน้มที่จะไม่สนับสนุนคำวินิจฉัยที่ส่งเสริมสิทธิของสหภาพแรงงาน หรือแรงงาน มักนำไปสู่การลอยนวลพ้นผิด</p>
<p>เวลซ์ กล่าวว่า กฎหมายแรงงานและกฎหมายสหภาพแรงงานมีเป้าหมาย เพื่อขยายและคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพด้านการสมาคม หากแต่กฎหมายแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้กลับมีเป้าหมายตรงกันข้าม เนื้อหาของกฎหมายแรงงานไทยยังคงทำให้การรวมตัวกันเป็นเรื่องยาก ทำให้การทำลายสหภาพฯ เป็นเรื่องง่าย และในตัวเนื้อหาของนกฎหมายปฏิเสธอย่างเป็นระบบ และจงใจไม่ให้คนงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ เข้าถึงสิทธิในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน ทั้งที่พวกเขาควรจะได้ใช้ประโยชน์จากการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน และการเจรจาต่อรองมากที่สุดที่สุดแล้ว บรรษัทข้ามชาติ บริษัทของไทยและรัฐบาลไทย เป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากระบบเช่นนี้</p>
<p>ด้วยเหตุนี้ ผอ.โซริดาริตีเซ็นเตอร์ฯ มองว่าจะต้องมีการเพิ่มแรงกดดันในการแก้ไขกฎหมายแรงงาน และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของแรงงาน โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นแรงงานประเภทใดหรือมีสัญชาติใด นอกจากนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลไกอย่างเป็นทางการเพื่อให้เกิดความรับรับผิดต่อบรรษัทข้ามชาติ แม้ว่าแผนของรัฐบาลไทยที่เสนอต่อองค์การสหประชาชาติ ทั้งในแง่การแสดงพันธกิจด้านแรงงานและคนงาน อาจมีน้ำหนักมากพอทำให้พวกเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แต่ยังไม่พอที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อคนงานทั้งแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานนอกระบบ หรือแม้กระทั่งสหภาพแรงงานไทย</p>
<p>"แรงงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทยหรือแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนไหน ควรมีสิทธิในการรวมตัวและร่วมกันต่อรองกับนายจ้าง แรงงานทุกคนควรได้รับการรับผิดชอบ ไม่ใช่เฉพาะจากบริษัทผู้ว่าจ้างเท่านั้น แต่ต้องได้รับการรับผิดชอบดูแลจากสายพานการผลิตทั้งระบบ นี่คือทิศทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่ควรจะมุ่งไป </p>
<p>"ประเทศไทยไม่เพียงแต่ควรที่จะมีคุณสมบัติพร้อมที่รับบทผู้นำ หากควรจะเป็นผู้นำในการรับผิดชอบของสายพานการผลิตทั้งระบบ และการเป็นศูนย์กลางแรงงานข้ามชาติของอุตสาหกรรมในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความรับผิดรับชอบและบทลงโทษเป็นค่าปรับทางการที่บังคับใช้ได้จริง และเมื่อเกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิแรงงานไม่ว่าในขั้นตอนใดของห่วงโซ่อุปทาน ประเทศไทยควรเป็นผู้นำในการขยายขอบเขตเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิแรงงานในประเทศ นี้คือข้อเรียกร้องของเราต่อรัฐไทย และเราก็ตั้งตารอให้รัฐและสหภาพแรงงานมาทำงานร่วมกับเราในประเด็นที่สำคัญนี้" เวลช์ กล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ เวลซ์ กล่าวด้วยว่า ไทยสามารถยกระดับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ได้เลยโดยไม่ต้องรอการให้สัตยาบันองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 เพราะในกรณีของสหรัฐฯ ไม่ได้รับสัตยาบันฉบับดังกล่าว แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายเราจะไม่ดี แรงงานทุกคน ทุกกลุ่ม ควรตั้งสหภาพแรงงานได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">นโยบายผู้ลี้ภัยประเทศไทยพัฒนาขึ้น แต่ยังไม่พอ</span></h2>
<p>พุทธณี กางกั้น ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา เธอมองว่าประเทศไทยมีความพยายามอย่างมากในการทำงานร่วมกับกลไกและองค์กรระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย</p>
<p>ยกตัวอย่าง เมื่อ 24 ม.ค. 2562 รัฐบาลไทยเซ็นข้อตกลงร่วม (MOU) เรื่อง การกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ ซึ่งผลให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ จะไม่ได้ถูกกักตัวในสถานกักตัวฯ และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็ก เพราะว่าปกติ เวลาเข้าเมืองไม่มีเอกสาร ถือว่าเป็นการละเมิด พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และต้องถูกกักตัวในสถานกักตัวทุกราย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53585405383_9df1c1dfa2_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พุทธณี กางกั้น (ที่มา: แอมเนสตี้ฯ)</span></p>
<p>ต่อมา พุทธณี  กล่าวว่า ในปลายปีเดียวกัน ประเทศไทยได้ออกคำว่า 'National Screening Mechanism' (NSM) คือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองและคุ้มครองผู้ที่อยู่สถานะผู้ลี้ภัย ซึ่งผู้ที่ผ่านกระบวนการนี้จะได้รับการคุ้มครองให้อยู่อาศัยในไทยชั่วคราว ซึ่งเธอมองว่าเป็นอีกหนึ่งความพยายามการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยของไทย และเป็นแรงผลักดันทางบวก</p>
<p>ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ฯ ระบุว่า เมื่อถามว่าประเทศไทยทำมากพอหรือยัง คำตอบจากเธอมองว่า "ยังไม่พอ"</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอที่ทำได้เลย เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย </span></h2>
<p>พุทธณี มองว่า เธออยากใช้วาระที่รัฐบาลสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อผลักดันข้อเสนอด้านสิทธิมนุษยชน โดยกรณีที่สามารถได้เลยทันทีคือ ไทย ถอนข้อสงวนข้อที่ 22 ของอนุสัญญาสิทธิเด็ก ว่าด้วยสถานะของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง</p>
<p>พุทธณี เสนอต่อว่าไทยควรเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการสันติภาพในเมียนมา ให้เมียนมากลับคืนสู่สภาวะปกติ การมีนโยบายส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเดียวอาจไม่พอ นอกจากนี้ เธอสนับสนุนให้ไทยร่วมมือกับอาเซียนยุติการขายอาวุธให้กองทัพพม่า และเปิดการเจรจากับตัวแทน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ได้มาจากกองทัพพม่า</p>
<p>นอกจากนี้ ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ฯ มองว่า ไทยควรแสดงเจตจำนงเป็นภาคีในสนธิสัญญากรุงโรม เพื่อเข้าไปมีบทบาทในเรื่องของศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยสามารถส่งเรื่องการดำเนินคดีฐานก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติของกองทัพพม่า ให้กับอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาได้ </p>
<p>ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ฯ เสนอต่อว่า ไทยควรร่วมมือกับกลไกระหว่างประเทศเพื่อสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยในเมียนมา กรณีที่สามารถทำได้เลยคือการเชิญผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติด้านสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า เข้ามาสำรวจพื้นที่ชายแดน และพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านพม่า </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ยุติการผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญอันตราย-นิรโทษกรรมคดีการเมือง</span></h2>
<p>พุทธณี กล่าวว่า ไทยต้องยุติการผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญอันตรายที่ประเทศต้นทาง และยุติการจับกุมผู้ลี้ภัยทางการเมือง เพื่อเอาใจผู้นำประเทศที่มาเยือนประเทศไทยทันที</p>
<p>ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ ระบุว่า ประเทศไทยต้องยุติการกักตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่อยู่ใน ตม.ไทย ราว 40 กว่าราย และเสนอให้หาทางเลือกแทนการกักขังผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ </p>
<p>ท้ายที่สุด รัฐบาลควรนิรโทษกรรมคดีการเมือง ให้ผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศ โดยไม่ต้องเผชิญการพิจารณาคดี</p>
<p>พุทธณี เชื่อว่า เรื่องเหล่านี้ทำได้เลย และรัฐบาลจะได้คะแนนทันที หากต้องการเข้าไปเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไทยต้องแสดงความจริงใจ แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน</span></h2>
<p>กัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม มองว่าประเทศไทยน่าจะมีโอกาสเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ แต่ก็มีข้อกังวลใจหลายเรื่อง ยกตัวอย่าง การจับนักกิจกรรมชาวกัมพูชาในประเทศไทย ก่อนที่ฮุน มาเนต จะเดินทางเยือน รัฐบาลยังไม่มีคำตอบต่อประชาคมโลกเรื่องนักกิจกรรมชาวลาวที่เสียชีวิตหลังจากลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย รัฐบาลยังไม่มีคำตอบเรื่องการบังคับสูญหาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การใช้กฎหมายปิดปากประชาชนในภาคใต้</p>
<p>กัณวีร์ มองว่า ตอนนี้ยังมีเวลา และเพื่อเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีฯ รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน และอย่ามองเรื่องสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่อง "นามธรรม" แต่อยากให้มองเป็นเรื่อง "รูปธรรม" เพราะว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของคน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53585625820_37e9f781a9_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาตhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108414
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
phonsak 5 3931 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2553 02:01:04
โดย phonsak
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 265 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 275 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - นักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัยมองไทยเหมาะเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน UN หรือยัง (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 28 กระทู้ล่าสุด 13 มีนาคม 2567 23:26:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - นักสิทธิแรงงาน-ผู้ลี้ภัยมองไทยเหมาะเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน UN หรือยัง (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 32 กระทู้ล่าสุด 14 มีนาคม 2567 01:02:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.659 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 23:30:00