[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 ธันวาคม 2567 02:10:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้าสางทางความลับสุดยอด :ท่านพุทธทาสภิกขุ  (อ่าน 3109 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2554 14:04:38 »





ฟ้าสางทางความลับสุดยอด
โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
คัดจากหนังสือ อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์ 
ในหัวข้อ ฟ้าสางทางความลับสุดยอด
พิมพ์โดย ธรรมทานมูลนิธิ และ สนพ. สุขภาพใจ

พิมพ์ครั้งที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๐

    ชีวิตเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ตามประสงค์ โดยกฏอิทัปปัจจยตา
    ดังนั้น ชีวิตจึงเป็นสิ่งที่เราเติมธรรมะลงไปได้ตามที่เราต้องการ
    โดยการปฏิบัติธรรม. (๑)

    ถ้ามีการศึกษาที่เห็นแจ้งจากภายใน (เป็นสันทิฏฐิโก) แล้ว
    ก็ไม่มีทางที่จะเป็นทาสทางสติปัญญาของใคร แม้แต่ของพระพุทธเจ้า:
    นี้เป็นหลักของพระพุทธศาสนา (ตามกาลามสูตรข้อสิบ)    (๒)

    ถ้าใช้หลักกาลามสูตรเป็นเครื่องตัดสินว่า
    เป็นสิ่งที่ควรรับถือเป็นหลักปฏิบัติแล้ว
    ก็ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นคำสอนของใคร
    เป็นของเดิมแท้หรือเป็นของใหม่ ฯลฯ
    หรือว่ามีประวัติมาอย่างไร    (๓)


    การมีธรรมะแท้จริง ก็คือ
    สามารถดำรงตนอยู่เหนือปัญหา
    หรือความทุกข์ทั้งปวง;
    ไม่เกี่ยวกับปริญญาบัตร ฯลฯ พิธีรีตอง
    หรือ หลักปรัชญาชนิดฟิโลโซฟี่ใดๆ  (๔)


    เรามีวิธีทำให้ชีวิตเป็นของเย็น
    ทุกอิริยาบถตามที่เราประสงค์จะมี
    ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ :
    เพื่อตนเอง - เพื่อสังคม - ตามธรรมชาติล้วนๆ   (๕)

    การศึกษา - ศาสนา - วัฒนธรรม - ประเพณี -
    การเมือง - การปกครอง - การเศรษฐกิจ - ศิลปะ ฯลฯ -
    วิทยาการใดๆ จะถือว่าถูกต้องได้
    เฉพาะเมื่อพิสูจน์การดับทุกข์ได้ในตัวมันเอง      (๖)

    การเรียน - การรู้ - การมีความรู้ - การปฏิบัติ -
    การใช้ความรู้ให้สำเร็จประโยชน์ เหล่านี้
    มิใช่สิ่งเดียวกัน; ระวังการมี การใช้ ให้ถูกต้อง   (๗)

    ชีวิตเย็นเป็นนิพพาน ในปัจจุบัน คือ
    ไม่มีกิเลส เกิดขึ้นแผดเผาให้เร่าร้อน ทุกเวลานาที ทุกอิริยาบถ,
    ในความรู้สึกอย่างสันทิฏฐิโก (คือรู้สึกอยู่ภายในใจ) (๘)

    มีชีวิตเย็นเป็นนิพพาน (นิพฺพุโต) ในปัจจุบันได้
    โดยที่ทุกอย่างถูกต้องแล้ว พร้อมแล้ว ไม่ว่าสำหรับจะตายหรือจะอยู่;
    เพราะไม่มีอะไรยึดถือไว้ว่า กู-ของกู     (๙)

    กิจกรรมทางเพศเป็นของร้อน และเป็นเรื่อง "บ้าวูบเดียว";
    แต่คนและสัตว์ (แม้ต้นไม้?) ก็ตกเป็นทาสของมันยิ่งกว่าสิ่งใด  (๑๐)

    อวัยวะสืบพันธุ์ มีไว้สำหรับผู้ต้องการสืบพันธุ์
    หรือผู้ต้องการรสอร่อยจากกามคุณ (กามอสฺสาท)
    อันเป็นค่าจ้างให้สัตว์สืบพันธุ์ ด้วยความยากลำบากและน่าเกลียด;
    แต่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้จะอยู่อย่างสงบ  (๑๑)

    เรื่องเพศหรือเกี่ยวกับเพศ
    ธรรมชาติสร้างมาสำหรับมนุษย์ - สัตว์ - พฤกษชาติ ไม่สูญพันธุ์ ;
    ไม่ใช่ของขวัญที่ใครจะเรียกร้อง
    ไม่ใช่ของควรบูชาในฐานะสิ่งสูงสุด ว่าเป็นกามเทพ เป็นต้น   (๑๒)

    กามารมณ์เป็นค่าจ้างทางเพศ เพื่อการสืบพันธ์
    อันสกปรกเหน็ดเหนื่อยและน่าเกลียดจากธรรมชาติ,
    มิใช่ของขวัญ หรือ หรรษทานจากเทพเจ้าแต่ประการใด
    เลิกบูชากันเสียเถิด   (๑๓)

    กามกิจก็เป็นหน้าที่ที่เป็นธรรมะอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน;
    แต่ต้องประพฤติกันอย่างถูกต้องและพอดี สำหรับอริยชนที่ครองเรือน (๑๔)

    การสมรสด้วยจิตหรือทางวิญญาณ (เช่น ทิฏฐิตรงกัน) นั้น
    เป็น "พรหมสมรส" ยังบริสุทธิ์ สะอาดดี ไม่ก่อให้เกิดทุกข์หรือปัญหาใดๆ ;
    ส่วนการสมรสทางกาย หรือเนื้อหนัง นั้น
    สกปรก น่าเกลียด เหน็ดเหนื่อยเกินไป
    จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นการสมรส    (๑๕)

    กามที่เกี่ยวกับเพศ เป็นได้ทั้งเทพเจ้าและปีศาจ
    ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ประกอบกิจนั้น มีธรรมะผิดถูกมากน้อยเพียงไร   (๑๖)

    พวกที่ถือพระเจ้า ถือว่าอะไรๆ ก็แล้วแต่พระเจ้าบันดาล
    ส่วนชาวพุทธถือว่าแล้วแต่การกระทำผิดหรือถูก ต่อกฏอิทัปปัจจยตา;
    ดังนั้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "พระเจ้า" กันเสียใหม่ให้ถูกต้อง
    คือมีทั้งที่มีความรู้สึกอย่างบุคคล และไม่มีความรู้สึกอย่างบุคคล
    อย่างไหนจะเป็นที่พึ่งได้และยุติธรรม ไม่รับสินบน   (๑๗)

    พระเจ้าคือสิ่งสูงสุดนั้น ไม่ดี-ไม่ชั่ว แต่อยู่เหนือดีเหนือชั่ว
    จึงสามารถให้เกิดความหมาย ว่าดี ว่าชั่ว
    ให้แก่ความรู้สึกของมนุษย์ได้ทุกอย่าง จนงงไปเอง   (๑๘)

    พระเจ้า คือ กฏ สำหรับบังคับสิ่งที่เกิดจากกฏให้ต้องเป็นไปตามกฏ
    โดยเด็ดขาด และเที่ยงธรรม;
    ดังนั้น พระเจ้าจึงอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงได้จริง   (๑๙)


    พระเจ้าเป็นที่รวมแห่งความจริง
    มิใช่แห่งความดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังหละหลวม และเป็นมายาอยู่มาก

    จนต้องเป็นคู่กันกับความชั่ว;
    ถ้าพระเจ้าเป็นความดี ก็จะกลายเป็นคู่กันกับซาตานหรือมารร้ายไปเสียฯ (๒๐)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2554 14:10:39 »



ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๒)

     ความจริงเป็นสิ่งเดียวไม่มีคู่ (เอกํ หิ สจฺจํ นทุตียมตฺถิ) ;
    แม้จะมีความไม่จริง (ตามที่ใครบัญญัติขึ้น)
    มันก็เป็นความจริงของความไม่จริง  (๒๑)

    พระเจ้าที่เป็นทั้งผู้บันดาลให้เกิด
    และปลดเปลื้องความทุกข์ได้แท้จริง นั้นคือ กฏอิทัปปัจจยตา;
    จงรู้จักท่านและกระทำต่อท่านให้ถูกต้องเถิด  (๒๒)

    พระเจ้าที่แท้จริง เป็นหัวใจของศาสนาทุกๆ ศาสนา
    นั่นคือ "กฏ" หรือ ภาวะของความถูกต้องตามธรรมชาติ
    เพื่อความรอดของมนุษย์";
    พุทธศาสนายิ่งมีกฏหรือภาวะนั้นที่เป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา  (๒๓)

    ถ้าอยากพบ "พระเจ้าที่แท้จริง" อย่าตั้งปัญหาอย่างอื่นใดขึ้นมา
    นอกจากปัญหาว่า อะไรที่สร้าง - ควบคุม - ทำลายโลก -
    ใหญ่ยิ่ง - รู้สิ่งทั้งปวง - มีในที่ทั้งปวง,
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุควิทยาศาสตร์แห่งปัจจุบันนี้  (๒๔)

    คำสอนของผู้รู้แท้จริง แม้เป็นเวลา ๒-๓ พันปีมาแล้ว
    แต่ก็ยังใช้ได้อยู่เหมือนคำพูดใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ นั้นคือ
    คำสอนของพระพุทธองค์แก่ชาวกาลาม
    ที่เรียกว่า กาลามสูตร (ดังต่อไปนี้)   (๒๕)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ฟังตามๆ กันมา";
    เพราะมันผิดมาตั้งแต่ต้นก็ได้,
    เพราะเปลี่ยนไปตลอดเวลาที่ฟังตามๆ กันมา ก็ได้   (๒๖)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ทำตามสืบๆ กันมา";
    เพราะมันผิดมาตั้งแต่ต้น
    หรือ เปลี่ยนไปๆ ตลอดเวลาที่ทำตามๆ กันมา ก็ได้  (๒๗)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "กำลังเล่าลืออยู่อย่างกระฉ่อน";
    เพราะการเล่าลือเป็นการกระทำของ
    พวกที่ไม่มีสติปัญญา, มีแต่โมหะ ก็ได้  (๒๘)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "มีที่อ้างอิงในปิฎก(ตำรา)";
    เพราะปิฎกหรือตำราทั้งหลายเกิดขึ้นและเปลี่ยนไป
    ตามปัจจัยที่แวดล้อมหรือตามกฏอิทัปปัจจยตา ก็ยังได้  (๒๙)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ถูกต้องตามหลักทางตรรกะ";
    เพราะตรรกะเป็นเพียงความคิดชั้นผิวเปลือก,
    ใช้เหตุผลและเดินตามเหตุผลชั้นผิวเปลือก   (๓๐)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ถูกต้องตามหลักทางนยายะ";
    เพราะนยายะ เป็นการคาดคะเน
    ที่เดินไปตามเหตุผลเฉพาะหน้าในการคาดคะเน นั่นเอง  (๓๑)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ถูกต้องตามสามัญสำนึก";
    เพราะสามัญสำนึกเดินตามความเคยชินของความรู้สึกชั้นผิวเปลือก  (๓๒)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของตน";
    เพราะทิฏฐิของเขาผิดได้ โดยเขาไม่รู้สึกตัว   (๓๓)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "ผู้พูดอยู่ในฐานะควรเชื่อ";
    เพราะเป็นเหตุให้ไม่คิดใช้สติปัญญาของตนเอง ในการพิจารณา  (๓๔)

    อย่าเชื่อและรับมาปฏิบัติ ด้วยเหตุเพียงสักว่า
    "สมณะผู้พูดเป็นครูของเรา";
    เพราะเป็นเหตุให้ไม่คิดใช้สติปัญญาของตนเองในการศึกษา  (๓๕)

    ในกรณีเหล่านี้ เขาจะต้องใช้ยถาภูตสัมมัปปัญญา
    หาวี่แววว่า สิ่งที่กล่าวนั้น มีทางจะดับทุกข์ได้อย่างไร;
    ถ้ามีเหตุผลเช่นนั้น ก็ลองปฏิบัติดู
    ได้ผลแล้ว จึงจะเชื่อและปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป
    กว่าจะถึงที่สุดแห่งความดับทุกข์
  (๓๖)

    กฏของธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมีกาย -ใจ
    อย่างที่สัตว์ทั้งหลายกำลังมี และให้ใจคิดไปตามผัสสะจากสิ่งแวดล้อม
    จนมีการบัญญัติเรื่องทิฏฐิ เรื่องกรรม เรื่องสุขทุกข์ เรื่องดีชั่ว เป็นต้น  (๓๗)

    ก ข ก กา แห่งการดับทุกข์ คือ
    การรู้ความลับของอายตนิกธรรม ๕ หมวด คือ
    อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก
    ตามที่เป็นจริงอย่างไร ในชีวิตประจำวัน
    เป็นเรื่องที่ต้องหามาศึกษาให้รู้อย่างละเอียด  (๓๘)

    การเกิดทางร่างกายจากท้องแม่ นั้นไม่สำคัญยังไม่เป็นปัญหา,
    จนกว่าจะมีการเกิดทางจิตใจ คือเกิด ตัวกู-ของกู
    จึงจะเป็นการเกิดที่สมบูรณ์คือ
    มีปัญหาและมีที่ตั้งแห่งปัญหา กล่าวคือ ความทุกข์  (๓๙)


    ถ้าพ้นจากการเกิดแห่งตัวกูเสียได้
    ย่อมพ้นจากปัญหาและความทุกข์ทั้งปวงได้
    และจะพ้นจากปัญหาแห่งการเกิดทางกายทั้งหมด ได้เองด้วย  (๔๐)

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2554 14:14:14 »





ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๓)

     การได้เกิดมามีชีวิต ยังไม่ควรจัดว่าบุญหรือบาป แต่ยังเป็นกลางๆ อยู่; แล้วแต่ว่าเราจะจัดให้เป็นอย่างไร คือเป็นบุญเป็นบาป หรือให้พ้นบุญพ้นบาปไปเสียเลยก็ได้   (๔๑)

    มนุษย์ที่ไม่เข้าถึง หรือไม่รู้ความลับสุดยอดของมนุษย์ จะเป็นมนุษย์ไปได้อย่างไร; มนุษย์คือผู้ที่อาจจะมีจิตใจสูง อยู่เหนือปัญหาหรือความทุกข์พอสมควรแก่ความเป็นมนุษย์ หรือเหนือปัญหาและความทุกข์โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นยอดของมนุษย์  (๔๒)

    มนุษย์ไม่ควรบูชาอะไร นอกจากความถูกต้องของความเป็นมนุษย์เอง คือความมีจิตอยู่เหนือปัญหาเหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง ซึ่งความหมายนี้มีความหมายรวมถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ อยู่ด้วย ในฐานะเป็นภาวะที่ถูกต้องถึงที่สุด  (๔๓)


    ถือศาสนาไหนอย่างไร แล้วความทุกข์ไม่มีแก่ท่าน ศาสนานั้นแหละถูกต้องเหมาะสมแก่ท่านอย่างแท้จริง พุทธศาสนารวมอยู่ในศาสนาชนิดนี้ กลัวแต่ว่าท่านจะไม่รู้จักตัวความทุกข์เสียเอง  (๔๔)

    เมื่ออบรมจิตถึงที่สุดแล้ว จิตจะบังคับกายและตัวมันเองได้ในทุกกรณี สำหรับจะไม่มีความทุกข์ในทุกกรณีอีกเช่นกัน; ขอให้เราศึกษาธรรมชาติ หรือธรรมสัจจะข้อนี้กันเถิด  (๔๕)

    ความรู้สึกอันเป็นทุกข์ทรมาน กับลักษณะแห่งความทุกข์ทรมาน มิใช่เป็นสิ่งเดียวกัน; คนอาจจะมีทุกขลักษณะโดยที่จิตไม่มีทุกขเวทนา   (๔๖)

    คนโบราณที่รู้ธรรมะกล่าวว่า "ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์ (ไม่น่ารัก)" นั้น มีความจริงว่า ถ้าไปยึดถือเอาด้วยอุปาทานแล้ว ทั้งความชั่วและความดี มันจะกัดผู้นั้นโดยเท่ากัน จงรู้จักมันกันในลักษณะเช่นนี้เถิดทั้งความชั่วและความดี  (๔๗)

    ทารกและปุถุชนรู้จักทำอะไรๆ ก็แต่เพื่อตนหรืออย่างมากก็เพื่อโลก; แต่สัตบุรุษหรืออริยชน รู้จักทำอะไรๆ ก็เพื่อธรรม คือหน้าที่อันถูกต้องของมนุษย์  (๔๘)

    ธรรมะคือหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิตทุกระดับจะต้องทำเพื่อความรอด ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน  (๔๙)

    เมื่อกล่าวโดยพิสดาร คำว่า "ธรรมะ" มี ๔ ความหมาย คือตัวธรรมชาติ - ตัวกฏธรรมชาติ - หน้าที่ตามกฏธรรมชาติ - และผลจากหน้าที่นั้นๆ  (๕๐)

    ในคนเราคนหนึ่งๆ กายและใจเป็นตัวธรรมชาติ กฏที่บังคับชีวิตหรือกายใจอยู่ เรียกว่า กฏของธรรมชาติ หน้าที่ที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดของกายและใจ เรียกว่า หน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ ผลเป็นสุขหรือทุกข์ก็ตามที่เกิดขึ้น เรียกว่า ผลเกิดจากหน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ   (๕๑)

    ธรรมะสามารถช่วยได้ในทุกกรณีอย่างแท้จริง; หากแต่บัดนี้เรายังไม่รู้จักธรรมะและมีธรรมะ อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยนำมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันแก่เวลา  (๕๒)

    เราต้องเตรียมตัวไว้อย่างสำคัญที่สุดสักอย่างหนึ่ง คือเมื่อบางสิ่งหรือแม้ทุกสิ่งไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ แล้วเราก็ยังไม่เป็นทุกข์อยู่นั่นเอง  (๕๓)


    พวกเราในยุคนี้ ไม่ได้ค้นคว้าพิสูจน์ทดลองธรรมะเหมือนที่เรากระทำต่อวิชาวิทยาศาสตร์ - ประวัติศาสตร์ - เศรษฐกิจ - ฯลฯ ที่เรากำลังหลงใหลกันนัก; ดังนั้น จึงยังไม่มีธรรมะมาช่วยเรา  (๕๔)

    เรารู้ธรรมะไม่ได้ เพราะไม่รู้แม้แต่ปัญหาในชีวิตของตัวเอง ที่กำลังมีอยู่ ว่ามีอยู่อย่างไร จึงได้แต่ลูบคลำธรรมะในลักษณะที่เป็นสีลัพพตปรามาส หรือไสยศาสตร์ ไปเสียหมด  (๕๕)

    คนมีปัญญาแหลมคมอย่างยอดนักวิทยาศาสตร์ ก็มิได้ใช้ความแหลมคมของมัน ส่องเข้าไปที่ตัวปัญหาอันแท้จริงของชีวิต มัวจัดการกันแต่ปัญหาเปลือก อันมีผลทางวัตถุ ร่ำไป  (๕๖)

    อาจารย์สอนธรรมะ แม้ในขั้นวิปัสสนา ก็ยังสอนเพื่อลาภสักการสิโลกะของตนเองเป็นเบื้องหน้า แล้วจะไม่ให้โมหะครอบงำทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ได้อย่างไร  (๕๗)

    คนมาเรียนธรรมะวิปัสสนา หวังจะได้อัสสาทะ(รสอร่อย) แก่กิเลสของเขา ตามรูปแบบนั้นๆ ยิ่งขึ้นไป จึงไม่พบวิธีที่จะลิดรอนกำลังของกิเลสเอาเสียเลย  (๕๘)

    ผู้ที่เรียนโดยมาก ไม่ได้เรียน ด้วยจิตใจทั้งหมด เพราะยังแบ่งจิตใจไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อลองภูมิอาจารย์ หรือ แย่งตำแหน่งอาจารย์ ก็ยังมี ดังนั้น จึงเรียนได้น้อย รับเอาไปน้อย  (๕๙)

    แม้จะเป็นคนบรมโง่สักเท่าไร เขาก็ยังคิดว่า เขายังมีอะไรที่ดีกว่าอาจารย์ อยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ; ดังนั้น จึงมองข้ามความรู้ของอาจารย์เสียบางอย่าง หรือมากอย่างก็ยังมี  (๖๐)

บันทึกการเข้า
คำค้น: คัดจาก 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.374 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 09:15:24