[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 04:44:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - วงเสวนา ‘กระบวนการเลือก สว.ชุดใหม่’ ชี้อาจมีการล็อกผล-กวาดซื้อตัว สว. ขอประชาชน  (อ่าน 52 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 มีนาคม 2567 19:56:34 »

วงเสวนา ‘กระบวนการเลือก สว.ชุดใหม่’ ชี้อาจมีการล็อกผล-กวาดซื้อตัว สว. ขอประชาชนช่วยกันสมัครโหวต
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-03-28 16:24</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก ไอลอว์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นิติ มธ.ร่วมกับแนวร่วม มธ.จัดเวทีเสวนา “กระบวนการเลือก สว.ชุดใหม่” สะท้อนปัญหากระบวนการโหวตเลือก สว.ชวนสับสน ซับซ้อน คนที่ถูกเลือกอาจไม่สะท้อนความต้องการของกลุ่มอาชีพและพื้นที่ “สมชัย-ช่อ” เห็นตรงกันสุดท้ายอาจมีการซื้อตัว สว.หลังประกาศผลอยู่ดี แต่การป้องกันการล็อกผลที่ดีที่สุดคือประชาชนต้องช่วยกันสมัครไปรับเลือกเป็น สว.</p>
<p>วันที่ 27 มี.ค.2567 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์มีเสวนา “กระบวนการเลือก สว.ชุดใหม่” จัดโดยนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อพูดคุยถึงความสำคัญของการโหวตเลือก สว.จำนวน 200 คนที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เพื่อมาทดแทน สว.ชุดที่แต่งตั้งมาโดยรัฐบาล คสช. รวมถึงปัญหาของระบบการเลือก สว.ที่ถูกออกแบบเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 ว่าจะสร้างอุปสรรคอย่างไรต่อการได้ สว.ที่มาจากประชาชนและจะเข้าตรวจสอบกระบวนการโหวตเลือกที่ซับซ้อนตรวจสอบได้ยากนี้อย่างไร</p>
<p>สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า กล่าวว่าหน้าที่ของ สว.ที่เขาควรจะเป็นกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ได้ไปด้วยกัน แม้จะบอกว่า สว.มีไว้เพื่อตรวจสอบการทำงานของ สส.และกลั่นกรองกฎหมายที่มาจาก สส.แต่ที่ผ่านมานับตั้งแต่มี สว.ก็คือการคอยค้ำจุนผู้ที่แต่งตั้งพวกเขาเข้ามา จะแต่เพียง สว.ที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ให้เลือกตั้ง 100% แต่ก็เกิดข้อครหาว่าเป็นสภาผัวเมีย แล้วก็มีการแก้ให้มีการเลือกตั้งส่วนหนึ่งและอีกส่วนแต่งตั้งเข้ามาในรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ก็มีสภาพที่สองสภาทำงานร่วมกันไม่ได้</p>
<p>เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่มีการใส่บทเฉพาะกาลให้ สว.เลือกนายกรัฐมนตรีได้ก็เห็นได้ชัดเจนว่าถูกตั้งเข้ามาโดย คสช. ทั้งหมดและบทบาทของ สว.ชุดล่าสุดนี้ก็คือเข้ามาค้ำจุนรัฐบาล เห็นได้จากห้าปีที่ผ่านมาไม่เคยเปิดอภิปรายในรัฐบาลประยุทธ์เลย แต่พอมีรัฐบาลเศรษฐาแล้วถึงจะมาเปิดอภิปรายรัฐบาล</p>
<p>สมชัยกล่าวถึงสภาพหลังจากที่บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2560 กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนพฤษภาคม 2567 ทำให้ต้องมีการเลือก สว.เข้ามาแทนชุดที่ปัจจุบันแล้วกลับไปใช้บทหลักในรัฐธรรมนูญที่ สว.จะมีจำนวนลดลงเหลือ 200 คน โดยการเลือกกันเองระหว่างผู้สมัครรับเลือกที่จะเข้ามาสมัครตามกลุ่มอาชีพต่างๆ จำนวน 20 กลุ่ม มีการเลือกกันเองทั้งหมด 6 ครั้งตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ เป็นการเลือกไขว้กันทุกขั้นตอน เพื่อให้ สว. มีความหลากหลายมากที่สุดจนคาดการผลท้ายสุดไม่ได้เลย เขาไม่คิดว่าจะมีใครที่ต้องการยึดครอง สว.ทั้ง 200 คนจะสามารถออกแบบการจัดการเพื่อเลือกคนของตัวเองหรือภาคส่วนใดเข้าไปได้ เพราะเขาเห็นว่าระบบ “มั่ว” จนคาดการณ์ไม่ได้ว่าท้ายสุดผลจะเป็นยังไง</p>
<p>อดีต กกต. อธิบายเพิ่มเติมว่าถ้าหากจะมีใครต้องการพยายามส่งคนตัวเองเข้าไปเป็น สว. แม้จะสามารถยึดกุมการเลือกได้ในระดับอำเภอและจังหวัดโดยการส่งกลุ่มคนของตัวเองเข้าไปสมัครได้มากพอที่จะโหวตให้แก่คนที่ต้องการให้เป็น สว.ได้ถูกเลือก จนทำให้คนที่ไปลงสมัครเองโดยไม่มีกลุ่มอาจได้เสียงโหวตไม่มากนัก แต่เมื่อเข้าสู่ระดับประเทศก็ยังเป็นเรื่องยากเพราะอาจจะไม่สามารถคุมการโหวตของคนที่มาจากพื้นที่อื่นได้ หากใครต้องการผลักดันคนของตัวเองเป็น สว.ก็ยังมีความเสี่ยงในเลือกระดับประเทศ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม สมชัยมองว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือช่วงหลังจากได้ สว.เข้ามาแล้ว ถ้าคนเหล่านี้ขาดอุดมการณ์ การกวาดต้อนซื้อคนที่เป็น สว.เข้ามุ้งก็จะเกิดขึ้น</p>
<p>นอกจากการเลือกกันเองที่ อดีต กกต.มองว่าเป็นปัญหาแล้ว กระบวนการในวันเลือก สว. ก็ยังมีปัญหาอีกว่า นอกจากผู้สมัครรับเลือกด้วยกันที่จะได้เห็นกระบวนการเลือกแล้ว คนนอกไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์กระบวนการเลือก สว.ได้ ดังนั้นการจะเข้าไปสังเกตการณ์เพื่อป้องกันการซื้อตัวคนเป็น สว.กันก็เป็นภาระของประชาชนที่จะต้องเสียเงินเป็นค่าสมัคร 2,500 บาทและเวลาเพื่อเข้าร่วมกระบวนการเลือก สว.</p>
<p>“เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหม่และเป็นการทดลองออกแบบที่มา สว. อีกครั้งทางการเมืองของไทย  แต่จะสำเร็จหรือไม่จะได้คนที่ต้องการไปทำหน้าที่ได้หรือไม่ ครั้งนี้อาจเป็นการทดลองครั้งสุดท้ายเพราะถ้าไม่ได้เรื่อง สุดท้ายก็จะเกิดการรณรงค์ให้ไม่ต้องมี สว. อีกแล้ว” สมชัยกล่าว</p>
<p>พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า เริ่มจากชวนผู้เข้าร่วมคิดถึงเหตุผลต่างๆ ที่กำหนดเป็นคุณสมบัติของ สว. อย่างเช่นการกำหนดอายุไว้ที่ 40 จนทำให้มีประชาชนที่เข้าร่วมกระบวนการได้น้อยมาก จนไม่ควรเรียกการเลือก สว.นี้ว่าเป็นการเลือกตั้งเลย และเธอคิดว่าอย่างต่ำสุดถ้าไม่เลิกการมี สว.ไปเลยก็จะต้องทำให้ สว.มาจากการเลือกตั้ง</p>
<p>พรรณิการ์เล่าถึงงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าฯ ที่เคยทำสำรวจมีผลสำรวจออกมาว่าคนไทยอยากให้มีการเลือกตั้ง สว. ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ก็คือให้เลิกไปเลย และที่ผ่านมาไทยก็เคยมีการเลือกตั้ง สว.มาแล้วคือชุดที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ทั้งนี้เธอเห็นว่าการมี สว.ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ไม่เคยมาจากการเลือกตั้งและยังเข้ามาเพื่อสกัดหรือคุม สส.ที่ผ่านการเลือกตั้งเข้ามา และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงรัชกาลที่ 6-7 ก็สะท้อนถึงความไม่ไว้วางใจประชาชนหากปล่อยประชาชนได้เลือกตั้ง และเมื่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับมาชนะฝ่ายคณะราษฎรในช่วงพ.ศ. 2490 ก็ยังสร้าง “พฤฒสภา” ขึ้นมาและเปลี่ยนมากลายเป็นวุฒิสภาในเวลาต่อ ดังนั้นการเรียกร้องให้ สว.ต้องผ่านการเลือกตั้งเข้ามาจึงไม่ใช่เจตนารมณ์ตั้งต้นของการมี สว.แต่แรก</p>
<p>ดังนั้นเมื่อ สว.จะมาจากการเลือกตั้งไม่ได้ก็ต้องหาระบบอะไรมาแทนเพื่อทำให้มีความชอบธรรมแม้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงสร้างระบบการสรรหาจากกลุ่มอาชีพขึ้นมา แต่เมื่อ สว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจริงๆ ก็ไม่เกิดความชอบธรรมขึ้นมา</p>
<p>พรรณิการ์กล่าวว่า ในไทยไม่ได้มีแค่ 20 กลุ่มอาชีพ แล้วการจัดกลุ่มอาชีพที่ถูกจับมาไว้รวมกัน เช่น นักเขียนกับสื่อมวลชนก็ถูกจัดไว้ด้วยกันทั้งที่ทักษะไม่เหมือนกันสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ต่างกัน ดังนั้นการแบ่งตามกลุ่มอาชีพจึงเป็นอะไรที่ประหลาดมากอีกทั้งบางพื้นที่บางอำเภอก็อาจจะไม่มีอาชีพนั้นๆ อยู่เลยเช่น เขตราชเทวีก็คงไม่มีชาวนา จอมทองก็คงไม่มีคนทำอาชีพประมง สุดท้ายการเลือก สว.นี้จึงกลายเป็นวัวพันหลักที่อ้างว่ามีความชอบธรรมแต่สุดท้ายแล้วก็เป็นเพียงปาหี่และรักษาความจำเป็นในการดำรงอยู่ของ สว.เอาให้ได้เท่านั้นและเป็นองค์กรที่มีตัวตนอยู่เพื่อคัดคานองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม โฆษกคณะก้าวหน้ามองว่าการเลือก สว.ครั้งนี้วิธีที่ง่ายที่สุดในการฉ้อฉลผลการเลือกกันเองคือ ใช้เงินซื้อตัวผู้ได้รับเลือก สว. เพราะระบบนี้เอื้อต่อการซื้อตัวกันปลายทาง และเธอเชื่อว่าการปล่อยให้มีการเลือกกันเองของผู้สมัครเหล่านี้ไม่ใช่เป็นการปล่อยตำแหน่ง สว.ให้ประชาชนได้เลือกกันเองจริงๆ และการซื้อตัว สว.เพื่อให้ส่งผลต่อเสียงในสภาหลังจากนี้ก็ลงทุนซื้อตัวแค่ราว 70 คนก็ส่งผลแล้วและเป็นการลงทุนที่ถูกกว่าการไปไล่ซื้อตัวตั้งแต่ก่อนเกิดการเลือก</p>
<p>พรรณิการ์เห็นว่า การจะแก้ปัญหานี้ได้คือต้องทำให้มี สว.ในสภาที่ซื้อตัวไม่ได้ซัก 70 -100 คน ถ้าฝ่ายหนึ่งคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการซื้อตัวกันที่ปลายทางได้ ฝั่งประชาชนก็ต้องเข้ามาลงสมัครให้มากที่สุดและทำให้การเลือก สว.นี้มีประชาชนเข้าไปร่วมมากที่สุดก็จะสามารถชนะการจัดตั้งคนเข้ามาเลือกกันเองได้และจะทำให้คนที่ผู้มีอำนาจส่งมาแพ้โหวตไปเอง</p>
<p>เธอคิดว่าในสนาม สว. นี้ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ถือว่าเป็น ถ้าชนะครั้งนี้ ก็จะได้ สว. ที่สามารถเข้ามาสรรหา แพ้ก็ไม่เป็นไรก็แค่เสมอตัว แต่ถ้าชนะประเทศไทยก็จะไม่เหมือนเดิม แล้วลองเสี่ยงดูว่าการจัดตั้งกนัเองของประชาชนจะพาไปได้ไกลแค่ไหน</p>
<p>ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการของ iLaw ยืนยันว่าไม่มีทางเลือกออกมาได้ดีแน่นอนเพราะแค่เรื่องวันที่จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็น สว. มาเลือกกันก็ยังไม่รู้เลยว่าจะได้เลือกกันเมื่อไหร่ เพราะทั้งหมดก็ขึ้นกับรัฐบาลจะออกพระราชกฤษฎีกามาทันหรือไม่ ถ้าทันก็จะได้เลือกกันประมาณปลายเดือน มิ.ย.หรือก.ค.นี้ ซึ่งความไม่ชัดเจนเรื่องวันที่จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็น สว.มาโหวตนี้อาจทำให้มีผู้สมัครจำนวนหนึ่งมาไม่ได้เพราะอาจติดธุระอื่น</p>
<p>สมชัยเสริมประเด็นเรื่องวันโหวตเลือก สว.นี้ว่าในการลงวันเลือก สว. ระหว่างการเลือกระดับอำเภอกับจังหวัดจะห่างกัน 7 วัน ถ้าการเลือกครั้งแรกเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ การเลือกครั้งถัดไปก็จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ แต่การเลือกในระดับประเทศจะเกิดขึ้นหลังจากเลือกระดับจังหวัด 10 วันโดยประมาณทำให้อาจจะเป็นวันอื่นที่ไม่ใช่วันอาทิตย์ได้</p>
<p>ยิ่งชีพชี้ถึงปัญหาของการแบ่งกลุ่มอาชีพด้วยว่า การกำหนดกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่มแบบที่เป็นอยู่นี้จะสร้างปัญหาว่าคนไม่รู้ว่าตัวเองต้องลงสมัครในกลุ่มไหนกันแน่ และตอนที่จะโหวตเลือกกันก็ไม่มีใครรู้ว่าคนที่สมัครเข้ามามีความสามารถตามกลุ่มอาชีพนั้นจริงๆ หรือไม่ มีประสบการณ์ชีวิตการทำงานเหมือนกันหรือไม่ ไปจนถึงว่าการเลือกกันเองก็ยังถูกเลือกจากคนกลุ่มอาชีพอื่นและพื้นที่อำเภอและจังหวัดอื่นอีกทีว่าจะให้ใครได้เป็น สว. ทำให้ สว.ที่ได้มาไม่ยึดโยงกับอะไรเลย</p>
<p>ทั้งนี้ยิ่งชีพมองว่าการเลือก สว.ครั้งนี้ประชาชนจะไม่มีทางแพ้เลยเพราะเมื่อเทียบกับ สว.ชุดที่มีอยู่ที่การลงคะแนนต่างๆ สามารถถูกคุมทิศทางได้และเห็นทิศทางนั้นจาก สว.ที่ออกมาพูดกันอยู่ไม่กี่คนแล้ว แม้ว่าการเลือก สว.ครั้งนี้จะมีความสับสนอลหม่านมาก สว.ที่เป็นฝ่ายประชาชนอาจจะไม่ได้เข้ามามากนักก็ตามแต่มันจะไม่แย่เท่าเดิมแน่นอน นอกจากนั้นหากจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็อาจจะทำได้หากพรรคเพื่อไทยรวมกับพรรคก้าวไกล และหากได้ สว.เข้าไปอีก 67 คนมาช่วยกันโหวตก็จะทำให้เกิดการร่างรัฐธรรมมนูญใหม่ได้</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ยิ่งชีพก็เห็นว่าการเรียกร้องขอให้ประชาชนมาร่วมแรงร่วมใจกันครั้งนี้เป็นข้อเรียกร้องที่สูงกว่าการขอความร่วมมือจากประชาชนในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ อยู่มากเพราะการจะให้เข้าร่วมไม่ว่าจะลงเพื่อรับเลือกเป็น สว.หรือแค่จะลงสังเกตการณ์ คนที่จะร่วมก็ต้องจ่ายเงินค่าสมัคร 2,500 บาทแล้วก็ต้องมีเวลาพอที่จะเข้าร่วมกระบวนการโหวตเลือก เตรียมเอกสารรับรองต่างๆ แล้วก็ยังต้องขอให้ไปให้ทันเวลาในวันโหวตอีก  แต่เขาก็ย้ำว่าการเข้าไปร่วมครั้งนี้มีเป้าหมายแค่ต้องการให้มีคนเข้าไปสมัครเยอะที่สุด ก็จะทำให้ไม่สามารถล็อกผลโหวตได้แล้วและนอกจากจะเข้าไปเพื่อโหวตเลือแล้วก็ยังสามารถช่วยกันเข้าไปจับตากระบวนการโหวตเลือกหากจะมีใครเข้ามาพยายามล็อกผลโหวตด้วย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108602
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวสังคม] - วงเสวนา จี้ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ออกนโยบายชัดด้านเด็ก เยาวชน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 160 กระทู้ล่าสุด 18 พฤษภาคม 2565 15:48:23
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - ทสท.ประชุมเลือกตั้ง กก.บห.ชุดใหม่ - วางตัว 3 แคนดิเดตนายกฯ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 112 กระทู้ล่าสุด 01 เมษายน 2566 07:35:38
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - ปชป.เตรียมประชุมจัดตั้ง กก.บห.ชุดใหม่ หลัง กกต.รับรองผล ส.ส.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 82 กระทู้ล่าสุด 16 พฤษภาคม 2566 04:26:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ภูมิใจไทย' เลือก กก.บห. ชุดใหม่ 'ไชยชนก ชิดชอบ' นั่งเลขาธิการพรรค
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 26 กระทู้ล่าสุด 24 มีนาคม 2567 17:38:45
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วงเสวนา 'ความจำเป็นต้องมี กม.คุ้มครองสื่อหรือไม่' ยอมรับกำหนดนิยาม 'สื่อ'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 35 กระทู้ล่าสุด 07 เมษายน 2567 03:51:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.168 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 3 ชั่วโมงที่แล้ว