กรมกิจการเด็กฯ เผยที่ประชุมมีมติชะลอส่งกลับ ปม 19 นร.ไร้สัญชาติที่มาเรียนลพบุรี
<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-30 17:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: สำนักข่าวชายขอบ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ความคืบหน้ากรณีส่งเด็กไร้สัญชาติ 19 คน ที่มาเรียนที่ลพบุรี กลับเชียงราย อยู่ขั้นตอนขอเอกสารยืนยัน และติดตามผู้ปกครอง ด้าน กสศ. แนะไม่ควรผลักดันกลับ ทำไทยเสียภาพลักษณ์ ชี้บทเรียนจากอ่างทอง ปี'66 กรมกิจการเด็กฯ เผยมติที่ประชุมชะลอส่งกลับ พร้อมดำเนินการตามสิทธิเด็กต่อไป</p>
<p> </p>
<p>30 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวชายขอบ รายงานเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 เปิดเผยว่า ความคืบหน้ากรณีนักเรียนไร้สัญชาติ 19 คน ที่ถูกส่งกลับจาก จ.ลพบุรี มายัง จ.เชียงราย หลังจากไปบวชสามเณรและเข้าเรียนเป็นเวลา 1 ปี เบื้องต้น มีรายงานว่านักเรียนทั้งหมดถูกนำตัวไปที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงราย ซึ่งขั้นตอนอยู่ระหว่างการขอเอกสารยืนยันตัวตนและติดตามพ่อแม่และผู้ปกครอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กสศ.การผลักดันกลับเมียนมาไม่ควรทำ เสียภาพลักษณ์ </span></h2>
<p>ศ.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยได้เรียนรู้จากอดีต กรณีเด็กนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จังหวัดอ่างทอง จำนวน 126 ในปีที่ผ่านที่มีการส่งกลับประเทศ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ไม่ดีกับนานาชาติ เด็กที่อยู่ในประเทศที่มีภาวะสงคราม การผลักดันกลับไปในที่อันตรายเป็นเรื่อง “ไม่ควรทำ” สำหรับเด็กจำนวน 19 คนถูกส่งกลับจาก จ.ลพบุรี กลับมายังต้นทางที่ จ.เชียงราย เด็กเหล่านี้ยังอยู่ในไทยไม่ถูกผลักดันกลับ โดยเป็นเด็กชาติพันธุ์ไร้สถานะ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก</p>
<p>สมพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบทั้งกรณีอ่างทอง และลพบุรี เพราะการเดินทางเข้าพื้นที่ชั้นในจากชายแดน ต้องยอมรับว่ามีกระบวนการค้ามนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามตรวจสอบ เมื่อมีการดำเนินปกป้องด้านมนุษยธรรม อีกด้านหนึ่งก็มีเรื่องการค้ามนุษย์ เป็นสิ่งที่ต้องระวัง</p>
<p>ศ.สมพงษ์ กล่าวว่า สำหรับเด็กจากตะเข็บชายแดนสามารถมาเรียนในพื้นที่ชั้นในประเทศได้หรือไม่นั้น ต้องคิดทั้งในมุมสิทธิมนุษยชนและมุมของการค้ามนุษย์ที่รัฐต้องดูแล และขณะนี้ไทยมีนโยบายพื้นที่ระเบียงมนุษยธรรมที่เขตรอยต่อกับประเทศเพื่อนบ้านกว่า 2 พันกิโลเมตรใน 10 จังหวัด ที่เตรียมรองรับหากมีการไหลบ่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่จากสถานการณ์สู้รบ ในการคุ้มครองความปลอดภัย จะเป็นระเบียงที่คุ้มครองสิทธิที่เด็กควรจะได้รับ</p>
<p>"ระเบียงมนุษยธรรมต้องดูแลเรื่องสาธารณสุข และการศึกษาด้วย รัฐไทยต้องดูและเด็กและเยาวชนด้านการศึกษา ต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มองค์กรที่จะมาดูแล เพิ่มบ้านพัก ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเตรียมรับการไหลบ่าเข้ามา โดยทำในเชิงรุกมากขึ้น จึงต้องเพิ่มทั้งเจ้าหน้าที่ ทรัพยากร และงบประมาณ รวมทั้งต้องสังคยานากฎหมายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ.การศึกษา 2546 กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองที่ใช้มานาน เด็กเลข 0 อักษร G ที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน และดำเนินการใช้เชิงรุกด้านการทูต รักษาประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนเป็นหลัก" สมพงษ์ กล่าว</p>
<p>นุชนารถ บุญคง หรือครูน้ำ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านครูน้ำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์เด็ก 19 คน ได้รับการติดต่อจากพ่อแม่เด็ก 2 คน ที่ได้ยื่นเอกสารของรับตัวลูกแล้ว แต่อยู่ระหว่างการหาหลักฐานใบแจ้งเกิด ซึ่งเขาไม่มี ส่วนข้อมูลว่าเด็กทั้งหมดยังอยู่ในบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.เชียงรายหรือไม่ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูล</p>
<p>นุชนารถ กล่าวว่า จากการทำงานดูแลเด็กมาเกือบ 30 ปี เป็นการทำงาน โดยพยายามให้เด็กออกจากพื้นที่เสี่ยง ไปอยู่ในที่ปลอดภัย และได้เรียน ซึ่งขณะนี้มีเด็กผ่านจากบ้านพักที่นี่และเรียนจบประกอบอาชีพ สร้างครอบครัวไปเป็นจำนวนมาก การทำงานกับเด็กเร่ร่อนตะเข็บชายแดนมานาน การทำงานมีข้อจำกัด รู้ว่าเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายแต่ก็ต้องช่วยตามกำลัง และส่งต่อไปในพื้นที่ที่มีกำลังดูแลเด็กได้ และก็ทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ พมจ. และบ้านเด็กและครอบครัว รวมทั้งเคยรับเด็กฯ มาช่วยดูแล 8 คน เห็นว่าการร่วมมือกันของทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์เกิดกับเด็ก</p>
<p>“ถ้าต้องการจะช่วยเด็กเร่ร่อน เด็กต่างด้าวตามตะเข็บชายแดน ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน ทำไมต้องครูข้างถนน เพราะเด็กๆ เหล่านี้ไม่สามารถไปเรียนโรงเรียนประจำได้ การดูแลเขาต้องเปิดรับแบบครูข้างถนน ในทุกชายขอบ ให้ภาคประชาสังคมช่วยสนับสนุน องค์กรเอกชนสร้างกระบวนการเรียนรู้ และรัฐบาลช่วยเรื่องการศึกษาข้ามพรมแดน การที่ส่งไปในพื้นที่ชั้นใน เพราะการให้เด็กเร่ร่อนในพื้นที่ก็ไม่รู้ว่าใครในพื้นที่จะเป็นเอเย่นต์ค้ามนุษย์หรือไม่” นุชนารถ กล่าว </p>
<p>ครูน้ำ กล่าวอีกว่า ในขณะนี้สิ่งที่กังวลคือในขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีการขยายผลถึงเด็กๆ คนอื่นที่เข้ามาด้วยกัน ทำให้เด็กๆ และพ่อแม่เกิดความกลัวเมื่อได้รับการติดต่อก็พยายามจะรับเด็กกลับ และจะสืบเสาะเด็กต่างด้าวตีความเป็นการค้ามนุษย์ และยังมีเด็กๆ อีกหลายคนที่อยู่ในการดูแลของนายจ้างที่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กทะเลาะกันหนีไป ทิ้งเด็กไว้ และอีกหลายสาเหตุ </p>
<p>"การทำงานของเราและเครือข่ายเหมือนเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ต้องการทำงานช่วยเด็กๆ และสามารถทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ยึดในเรื่องประโยชน์ของเด็ก หากมีการเอาผิดก็เป็นห่วงเด็ก 80 กว่าคนที่ดูแลอยู่ และคงไม่หลงเหลือความเชื่อเรื่องสิทธิเด็กอีก ถ้ารัฐบาลไม่เปลี่ยนท่าที" ครูน้ำกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดย.เผยที่ประชุมมีมติชะลดส่งเด็กกลับครอบครัว</span></h2>
<p>เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 เพจเฟซบุ๊ก
'กรมกิจการเด็กและเยาวชน' (ดย.) ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เผยแพร่ข่าวโดยระบุว่า ทีม พม. จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ ตม.เชียงแสน ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ามูลนิธิฯ ที่รับตัวเด็กไม่มีใบอนุญาตจัดตั้งเป็นสถานสงเคราะห์เอกชนตามกฎหมาย รวมถึงรับบุคคลต่างด้าวไว้ในความดูแลโดยไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ตม.เชียงแสน จึงส่งตัวเด็กเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าว เพื่อรอการส่งกลับ ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2567 เพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกรอบกฎหมายภายในและระหว่างประเทศอย่างเหมาะสม </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="564" scrolling="no" src="
https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FDepartmentofChildrenandYouth%2Fposts%2Fpfbid038QpBpv4YtgMCy3wWKykUixshLmqmchsLpGVTuCL1YWwGzRP4dn1CxLEt2iExpRAl&show_text=true&width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>อภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา พมจ.เชียงราย บพด.เชียงราย ตม.เชียงแสน และภาคประชาสังคมด้านการคุ้มครองเด็ก ร่วมประชุมทีมสหวิชาชีพ เพื่อหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือ โดยมติที่ประชุมให้ชะลอการส่งเด็กกลับครอบครัว เพื่อสืบเสาะข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและดำเนินการด้านกฎหมาย ซึ่งมีแผนการดำเนินการโดยกรณีเด็กไทยดำเนินการติดตามครอบครัวของเด็ก ซึ่งถ้าเด็กมีผู้ปกครอง จะพิจารณาคืนเด็กให้ผู้ปกครอง และร่วมกันวางแผนด้านการศึกษา หากเด็กไม่มีผู้ปกครอง เด็กจะได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพจาก พม. และประสานให้เด็กได้เรียนต่อเช่นกัน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53620692900_fb8b179716_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">อภิญญา ชมภูมาศ (ที่มา: เฟซบุ๊ก
กรมกิจการเด็กและเยาวชน)</span></p>
<p>อภิญญา กล่าวว่า กรณีเด็กต่างชาติ หากพบว่ามีผู้ปกครองหรือญาติที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งในไทย หรือมีผู้ปกครองเดินทางไป-มาระหว่างชายแดน และประสงค์ขอรับตัวเด็กกลับไปอุปการะดูแล จะมีการประเมินความพร้อมเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะปลอดภัย รวมถึงประสานกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดให้เด็กได้เรียนหนังสือต่อในโรงเรียนประจำในพื้นที่ ทั้งนี้ หากไม่สามารถติดตามครอบครัวได้ พม.จะจัดหาสถานรองรับภาครัฐ/เอกชน ที่เหมาะสมในการดูแลและคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กกลุ่มนี้ในระยะยาว</p>
<p>"พม.จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือแนวทางการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในสถานการณ์โยกย้ายถิ่นฐาน โดยไม่มีการผลักดันกลับหากไม่ปลอดภัยตามหลัก Non-refoulement และดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักสิทธิเด็กและสิทธิมนุษยชนต่อไป" อภิญญา กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูลนิธิบ้านครูน้
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/03/108632 







