[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 13:39:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการแนะ 'ดิจิทัลวอลเลต' ใช้เงินผ่านระบบงบประมาณดีกว่าออก พ.ร.บ เงินกู้  (อ่าน 22 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 มีนาคม 2567 19:22:59 »

นักวิชาการแนะ 'ดิจิทัลวอลเลต' ใช้เงินผ่านระบบงบประมาณดีกว่าออก พ.ร.บ เงินกู้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 18:44</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการแนะนโยบาย 'ดิจิทัลวอลเลต' ใช้เงินผ่านระบบงบประมาณดีกว่าออก พ.ร.บ เงินกู้ ลดความเสี่ยงทางการเมือง คาดแจกเงินไตรมาสสี่ปีนี้ กระตุ้นภาคการบริโภคและการลงทุนขนาดเล็กขยายตัวสูงขึ้นปลายปี ดันจีดีพีปี 2568 สูงขึ้น ควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum Wage) ให้เป็นค่าจ้างเพื่อเพียงพอต่อการดำรงชีพ (Living Wage) มากขึ้น</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53328863781_fd2bcbbb22_k_d.jpg" /></p>
<p>31 มี.ค. 2567 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า นโยบายดิจิทัล วอลเลตใช้เงินผ่านระบบงบประมาณดีกว่าออก พรบ เงินกู้ ลดความเสี่ยงผิดกฏหมาย ลดความเสี่ยงทางการเมืองจากกลไกขององค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ขณะที่รัฐบาลอยู่ระหว่างจัดทำงบประมาณปี 2568 จึงสามารถขยายกรอบวงเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นและทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมได้เพื่อสนับสนุนนโยบายแจกเงินดิจิทัล วอลเลตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ความจำเป็นในการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจลดน้อยลงเพราะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้จะมีการฟื้นตัวชัดเจน การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญพอๆกับการไม่ก่อหนี้สาธารณะเกินความจำเป็น หากเกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบอันไม่คาดฝันเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลจักได้มีพื้นที่ทางการคลังมากขึ้นในการรับมือความท้าทาย ขณะที่การใช้งบประมาณหรือกองทุนในการพยุงราคาพลังงานไม่ให้สูงเพื่อช่วยเหลือประชาชนต้องกำหนดกรอบเวลาและเพดานของภาระทางการคลังให้ชัดเจนเพื่อสามารถบริหารจัดการงบประมาณและหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างต้องใช้การปรับโครงสร้างและมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ มาตรการระยะสั้นทั้งหลายไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงบรรเทาปัญหาเท่านั้น การเตรียมพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ให้เพียงพอนั้นมีความจำเป็น เพราะสถานการณ์ในอนาคตไม่แน่นอน คาดแจกเงินไตรมาสสี่ปีนี้ จะช่วยกระตุ้นภาคการบริโภคและการลงทุนขนาดเล็กขยายตัวสูงขึ้นปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปีหน้า ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และ คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวของจีดีพีปี 2568 จะสูงกว่าปี 2567     </p>
<p>ล่าสุด ธุรกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เริ่มส่งสัญญาณมีปัญหาชะลอตัวลงอย่างชัดเจน รัฐบาลจะมีการทบทวนปรับเปลี่ยนทั้งค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองให้ครอบคลุมธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเกิน 3 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ดี ส่วนจะกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไรนั้น และ รัฐจะสูญเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองไปเท่าไหร่ และ รายได้จากอัตราการขยายของธุรกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์อันเป็นผลจากมาตรการดังกล่าวมากน้อยแค่ไหนก็ต้องรอดูผลของมาตรการ   </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าประชากรในวัยทำงานของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและในอัตราเร่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยปี 2566  มีผู้สูงวัย 20% วัยแรงงาน 63% และวัยเด็กเพียง 16% ประชากรในวัยทำงานปัจจุบันอยู่ที่ 42.4 ล้านคน และ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้บางกิจการ บางอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตต่อไปได้โดยอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน บางอุตสาหกรรมปรับใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบหุ่นยนต์และเอไอมากขึ้น พึ่งพิงแรงงานมนุษย์ลดลง และผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น ประชากรวัยทำงานเป็นแหล่งรายได้ภาษีของภาครัฐเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ ประเทศไทยต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี เฉลี่ยปีละ 7.6-7.7 แสนล้านบาท หรือ อย่างต่ำ 4.5% ของจีดีพี โดยมีกองทุนชราภาพ กองทุนประกันสังคมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุที่ใหญ่ที่สุด แม้นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี แต่งบประมาณที่จัดสรรไปสู่รายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับจีดีพี คือ อยู่ที่ไม่เกิน 5% ประเทศสแกนดิเนเวียจะอยู่ที่ 29-30% ขณะที่รายจ่ายสวัสดิการสังคมต่องบประมาณของไทยจะอยู่ที่ 20% กว่าๆและมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อย ๆ ภาวะดังกล่าวสะท้อนรายได้ภาษีต่อจีดีพีต่ำและยังขึ้นอยู่กับภาษีทางอ้อมและภาษีเงินได้เป็นหลัก จึงขอเสนอให้ รัฐบาล จ่ายสมทบเพิ่มในส่วนกองทุนชราภาพของระบบประกันสังคม และ อาจต้องพิจารณาให้ “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” จ่ายสมทบเพิ่มเติม </p>
<p>นอกจากนี้สนับสนุนกระทรวงมหาดไทย จ้างพนักงานสูงอายุปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลดปัญหาขาดแคลนแรงงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน การดำเนินการดังกล่าวควรขยายไปส่วนราชการอื่นด้วย โดยการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวต้องยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตาม การกำหนดระยะเวลาการจ้างควรเป็นรายปีเพื่อความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนการจ้างงานและสอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณในแต่ละปี จากงานวิจัยของ ธนาคารโลก เรื่อง “Aging and the Labour Market in Thailand พบว่า ภาวะประชากรสูงวัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลงของประเทศไทยส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศเติบโตลดลง และหากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงอีกร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020 ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า หากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานนั้นคงที่ตามอายุและเพศแล้ว โครงสร้างประชากรของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปโดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานโดยรวมจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ระหว่างปี 2563 ถึงปี 2603 และจำนวนแรงงานลดลงถึง 14.4 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนแรงงานที่ลดลงอาจส่งผลให้ประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจขัดขวางโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น อาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน ในขณะที่ผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อาจทวีความรุนแรง เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเปิดรับ “ผู้ลี้ภัย” จากเมียร์มาให้สามารถทำสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีการกำกับที่ดีย่อมช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ระดับหนึ่ง </p>
<p>ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่าไทยมีปัญหาการกระจุกตัวของการผลิตและการจ้างงานสูง เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ แต่ระบบประกันสังคมช่วยสร้างระบบสวัสดิการขนาดใหญ่ครอบคลุมแรงงานในระบบทั่วทั้งประเทศ การย้ายแหล่งการผลิตและการจ้างงานไปยังต่างจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ จะเกิดผลดีต่อพื้นที่ และ เกิด “ตัวทวีคูณท้องถิ่น” (Local Multiplier) นอกจากนี้ยังลดปัญหาความแออัด ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสลัมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ การแตกสลายของสถาบันครอบครัวในชนบทจากการที่พ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกัน นอกจากนี้ การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้สูงกว่าในบางพื้นที่และพื้นที่เหล่านี้ก็มีจำเริญทางเศรษฐกิจอยู่แล้วจะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำในการจ้างงานและเศรษฐกิจเชิงพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นไปอีก ควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum Wage) ให้เป็นค่าจ้างเพื่อเพียงพอต่อการดำรงชีพ (Living Wage) มากขึ้น การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทในบางพื้นที่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ดีแต่จะตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน มากกว่า ตอบโจทย์การมีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีพของแรงงานโดยทั่วไปและในพื้นที่อื่นๆที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำในเดือนเมษายน ศกนี้ สิ่งที่เราจะได้เห็น คือ การเคลื่อย้ายของแรงงานจากพื้นที่ใกล้เคียงไปทำงานในจังหวัดที่มีค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ส่วนผู้ประกอบการโรงแรมที่เพิ่งจะฟื้นตัวจากวิกฤติอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปี พ.ศ. 2563-2564 และยังต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมาก รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณประชุมสัมมนาต่างๆกระจายไปทั่วประเทศ ก็จะสามารถช่วย “ผู้ประกอบการ” จากต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น </p>
<p>ภาวะความไม่สมดุลในตลาดแรงงานยังคงดำรงอยู่ ปัญหาอาจเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต หากสังคมไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและสอดรับกับการผลิต การทำงานภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัลและการใช้สมองกลประดิษฐ์อัจฉริยะ เศรษฐกิจและภาคการผลิตบางส่วนที่ใช้แรงงานทักษะต่ำเข้มข้นต้องอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่แรงงานฝีมือไทยทักษะปานกลางและสูงจำนวนไม่น้อยเคลื่อนย้ายไปทำงานในต่างประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่ามาก ลักษณะการเคลื่อนย้ายแบบนี้ คือ แรงงานทักษะต่ำไหลเข้า แรงงานทักษะปานกลางและสูงจำนวนหนึ่งไหลออก สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานของไทย รวมทั้งระบบค่าจ้าง และบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถยกระดับขึ้นมาเป็นระบบเศรษฐกิจการผลิตที่ใช้แรงงานทักษะสูง และ ผลิตสินค้ามูลค่าสูงด้วยนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง ยังติดกับดักโครงสร้างการผลิตและเศรษฐกิจแบบเดิม ขณะเดียวกัน  ในอีกประมาณ 17 ปีข้างหน้า ไทยจะ เข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุถึง 30% ขณะที่วัยแรงงานลดลงเหลือ 55% และวัยเด็กเพียง 12% อัตราภาวะเจริญพันธุ์ของไทยที่ต่ำกว่าระดับทดแทนในปัจจุบันนั้น หากพิจารณาจากประสบการณ์ของประเทศที่มีอัตราเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทนมาก่อนประเทศไทย พบว่ายังไม่มีประเทศใดสามารถทำให้อัตราภาวะเจริญพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นได้ภายในระยะเวลา 10-20 ปี การเปิดรับ “แรงงานอพยพ” และ “การตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติ” เพิ่มขึ้น อาจช่วยแก้ปัญหาได้ 
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108647
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวด่วน] - ธอส.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝาก-เงินกู้ มีผล 10 เม.ย.นี้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 70 กระทู้ล่าสุด 09 เมษายน 2566 11:42:59
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 353 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[การเมือง] - "ศิริกัญญา" ทำนายรัฐออก พ.ร.บ.เงินกู้ ทำแท้งเงินดิจิทัล ซ้ำรอย 2 ล้านล้าน รบ.ยิ่ง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 112 กระทู้ล่าสุด 10 พฤศจิกายน 2566 18:04:37
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ฝ่ายค้านเผยอภิปรายงบฯ ปี 67 ตั้งเป้า 4 วิกฤต รับอาจแตะ พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้าน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 61 กระทู้ล่าสุด 03 มกราคม 2567 04:37:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.453 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 12:30:19