[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 08:41:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'MMN' ร้องต่างชาติมีมาตรการช่วยเหลือผู้อพยพเมียนมาจากนโยบายภาษีไม่เป็นธรรม-  (อ่าน 19 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 เมษายน 2567 10:38:43 »

'MMN' ร้องต่างชาติมีมาตรการช่วยเหลือผู้อพยพเมียนมาจากนโยบายภาษีไม่เป็นธรรม-บังคับเกณฑ์ทหาร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 17:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ปฏิภัทร จันทร์ทอง (OXFAM)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>MMN แถลง "ผลกระทบจากนโยบายของเมียนมาเกี่ยวกับการบังคับส่งเงิน การเก็บภาษีซ้ำซ้อน และการเกณฑ์ทหารของผู้ย้ายถิ่น" ซึ่งจะทำให้มีชาวเมียนมาโยกย้ายอย่างผิด กม. และมีผู้อพยพจำนวนมาก พร้อมข้อเสนอถึงประเทศปลายทาง เพื่อช่วยเหลือชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว</p>
<p> </p>
<p>31 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 หัวข้อ "ผลกระทบจากนโยบายของเมียนมาเกี่ยวกับการบังคับส่งเงิน การเก็บภาษีซ้ำซ้อน และการเกณฑ์ทหารของผู้ย้ายถิ่น" และมีข้อเสนอถึงประเทศปลายทางที่ชาวเมียนมาอาศัย เพื่อช่วยเหลือชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว</p>
<p>รายละเอียดแถลงการณ์ระบุว่า ทางองค์กรมีข้อกังวลเรื่องมาตรการของกองทัพพม่าต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐาน หรือแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ที่อาศัยในต่างประเทศ ประกอบด้วย 1. มาตรการส่งเงินกลับ 2. มาตรการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน เพื่อแลกกับการทำเอกสารสำคัญในสถานทูต และ 3. มาตรการเกณฑ์ทหารที่จะผลักดันให้คนหนุ่มสาวที่ไม่ต้องการเข้าร่วมกับกองทัพ เดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น</p>
<p>"มาตรการที่เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหล่านี้ประกาศใช้โดยรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรีดไถส่วนต่างของอัตราเงินต่างประเทศจากแรงงานข้ามชาติจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย ขณะเดียวกัน ก็บีบบังคับให้คนหนุ่มสาวเข้าสู่สังเวียนการต่อสู้ในสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ภายในประเทศ" MMN กล่าวในแถลงการณ์ และระบุต่อว่า มาตรการเหล่านี้จะส่งผลต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบผิดปกติ และมีผู้โยกย้ายถิ่นแบบไม่มีเอกสารเพิ่มมากขึ้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มาตรการการบังคับส่งเงินกลับ</span></h2>
<p>ที่มาที่ไปของมาตรการส่งเงินกลับ มีการรายงานของสื่อในวันที่ 1 ก.ย. 2566 มีการบังคับให้แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ทำงานในต่างแดน ต้องส่งรายได้ในอัตราส่วน 1 ใน 4 ของรายได้กลับประเทศ โดยโอนเงินผ่านธนาคารที่อยู่ในสังกัดภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางเมียนมา [1] ในขณะเดียวกัน มีการปราบปรามการส่งเงินในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่เป็นทางการอีกด้วย [2] </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53209893150_415ca9fc41_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">บรรยากาศการชุมนุมหน้า UNESCAP ถ.ราชดำเนินนอก เมื่อ 24 ก.ย. 2566</span></p>
<p>นอกจากนี้ ทางการเมียนมายังมีการรวบรวมข้อมูลแรงงานข้ามชาติจากสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาที่อยู่ในเมียนมา [3] สำหรับบทลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศเป็นระยะเวลา 3 ปี [4]</p>
<p>MMN มีข้อกังวลว่าข้อบังคับนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกหมาย และอาจทำให้เกิดการย้ายถิ่นแบบผิดปกติมากขึ้น </p>
<p>MMN มองว่า ตามหลักการแล้วมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ย้ายถิ่นในการบริหารจัดการรายได้ของตนเองตามที่พวกเขาเห็นสมควร การส่งเงินกลับบ้านถือเป็นเรื่องส่วนตัว และควรเป็นไปตามความสมัครใจ และนอกจากนี้ อาจทำให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานอาจตกเป็นเป้าหมายการคว่ำบาตรจากนานาชาติ เพราะถูกบังคับส่งเงินผ่านธนาคารที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับการซื้ออาวุธสงครามใช้ทำร้ายพลเรือน [5] </p>
<p>จากประสบการณ์ของ MMN ผู้ย้ายถิ่นไม่ได้มีความไว้วางใจในการส่งเงินผ่านระบบธนาคารของเมียนมา เนื่องจากค่าธรรมเนียมสูงและอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าที่มีอยู่ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด </p>
<p>ตัวแทนจากสมาคมแรงงานยองชิอู (Yaung Chi Oo Workers Association - YCOWA) หนึ่งในองค์กรสมาชิกของ MMN กล่าวแสดงความรู้สึกว่า "แรงงานข้ามชาติรู้สึกว่าพวกเขากำลังถูกหลอกใช้โดยรัฐบาลเผด็จการทหาร และเงินที่พวกเขาส่งกลับไปจะถูกนำไปซื้ออาวุธเพื่อสังหารคนในครอบครัวของพวกเขาเอง"</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>แรงงานพลัดถิ่นเตรียมชุมนุมหน้า UN ไม่พอใจ รบ.ทหารพม่าบังคับส่งเงินกลับบ้านผ่านระบบที่ทางการรับรอง</li>
<li>ชาวเมียนมารณรงค์ขอแรงงานอย่าส่งรายได้ 25% ผ่านระบบธนาคารพม่า หวั่น รบ.ทหารเอาเงินซื้ออาวุธปราบ ปชช.</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การเก็บภาษีซ้ำซ้อน แลกทำ VISA-ใบอนุญาตทำงาน</span></h2>
<p>เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2566 รัฐบาลทหารได้แก้ไขกฎหมายภาษีของสหภาพ เพื่อให้ชาวเมียนมาในต่างประเทศต้องจ่ายภาษีเงินได้สำหรับผู้มีรายได้จากต่างประเทศ ภายใต้การแก้ไขดังกล่าว กฎหมายภายในประเทศว่าด้วยการห้ามจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนได้ถูกยกเลิก [6] และมีการปรับเพดานภาษีเงินได้จากรายได้ต่างประเทศ [7] สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีดังกล่าว รัฐบาลทหารจะทำการระงับการออกหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองประจำตัวต่างๆ รวมถึงการลงโทษอื่นๆ เช่น การเพิกถอนหนังสือเดินทาง การห้ามเดินทาง หรือการดำเนินคดีทางแพ่งหรืออาญา ดังนั้น พลเมืองเมียนมาที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือเดินทางในต่างประเทศจะต้องชำระภาษีคงค้างทั้งหมดให้กับสถานทูตหรือสถานกงสุลโดยตรงเป็นเงินก้อน จึงจะสามารถดำเนินการยื่นคำร้องต่างๆ ได้ [8]</p>
<p>สมาชิก MMN ยังมีความกังวลว่า สถานะการเข้าเมืองและอยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติที่ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจ่ายภาษีเงินจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากพวกเขาจะไม่สามารถต่อวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน หากหนังสือเดินทางของพวกเขาถูกเพิกถอนหรือไม่ได้รับการต่ออายุ ผลที่ตามมาคือผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากเสี่ยงต่อการกลายเป็นแรงงานไร้เอกสาร สถานะของพวกเขาจะเปราะบาง <strong>เพิ่มโอกาสที่จะถูกแสวงหาผลประโยชน์ในตลาดแรงงานมากขึ้น</strong> การบังคับใช้กฎหมายเก็บภาษีซ้ำซ้อนและมาตรการบังคับการส่งเงินจะทำให้แรงงานข้ามชาติยากจนดลง เพิ่มความรู้สึกกดดันให้กับผู้ย้ายถิ่นจากประเทศเมียนมาที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว </p>
<p>ตัวแทนองค์กรสมาชิก MMN จาก YCOWA อธิบายว่า "เหล่านายจ้างกำลังฉกฉวยประโยชน์จากปริมาณแรงงานข้ามชาติที่เกินความต้องการและแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงาน ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าในแม่สอดได้เพิ่มโควต้าการทำงานของแรงงานในแต่ละวัน แรงงานคนไหนที่ไม่สามารถทำตามโควต้าก็จะถูกไล่ออก"</p>
<p>ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) ตั้งข้อสังเกตว่า "มันไม่ใช่แค่การจ่ายภาษี หรือการถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการรักษาสถานะเอกสารประจำตัวของผู้ย้ายถิ่นที่ทำให้ผู้ย้ายถิ่นเป็นกังวล แต่ผู้ย้ายถิ่นต้องติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุล และให้ข้อมูลส่วนตัวแก่หน่วยงานปกครองที่พวกเขาไม่ไว้วางใจ เป็นอีกหนึ่งในอุปสรรคในการรักษาสถานะทางกฎหมายของพวกเขาเอาไว้"</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ชาวพม่าโวยนโยบายจ่ายภาษีให้เผด็จการ เชื่อรีดเงินประชาชนซื้ออาวุธสงคราม</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การเกณฑ์ทหาร จะทำให้คนหนุ่มสาวออกจากประเทศ ย้ายเข้ามาในประเทศไทย</span></h2>
<p>สำหรับนโยบายการเกณฑ์ทหารสืบเนื่องเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2567 กฎหมายการรับราชการทหารของเมียนมามีผลใช้บังคับ กฎหมายนี้เดิมประกาศใช้ในปี 2010 ระบุว่า ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 35 ปี และผู้หญิงอายุระหว่าง 18 ถึง 27 ปี ต้องเข้ารับการฝึกทหารและรับราชการในกองทัพเป็นเวลาไม่เกิน 24 เดือน [9] แต่ในกฎหมายฉบับนี้ได้ขยายช่วงอายุสำหรับผู้ชายสูงสุดถึง 45 ปี และสูงสุด 35 ปีสำหรับผู้หญิงที่เป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ แพทย์ วิศวกร ช่างเทคนิค หรือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ [10] สามารถรับราชการทหารไม่เกิน 36 เดือน [11] ทั้งนี้ สามารถขยายระยะเวลาเข้ารับราชการทหารได้สูงสุดถึง 5 ปี หากประเทศยังอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน [12] </p>
<p>นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะฉุกเฉินของประเทศ ผู้ที่ผ่านการรับราชการทหารแล้วสามารถถูกเรียกระดมพลได้ทุกเมื่อ [13] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารได้ขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยึดอำนาจในปี 2564 [14] และมีแนวโน้มว่าจะยังคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง</p>
<p>ข้อมูลจากเครือข่าย MMN ระบุด้วยว่า ในขณะจัดเตรียมแถลงการณ์ฉบับนี้ มีรายงานว่าทางการเมียนมาได้เริ่มนำส่งออกหมายเรียกเกณฑ์ทหารแล้วดังที่ตัวแทนจากมูลนิธิ 'EMPOWER' หนึ่งในองค์กรสมาชิกของ MMN อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการเกณฑ์ทหารในระดับหมู่บ้านว่า "เรา (ชาวบ้าน) ได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้านว่าจะมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามารวบรวมรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติ จากนั้นจะมีการจับสลากใครที่ได้รับเลือกก็จะต้องเข้าร่วมกองทัพ"</p>
<p>การบังคับใช้กฎหมายการรับราชการทหารได้เพิ่มอัตราการย้ายถิ่นแบบ "ผสมผสาน" (mixed-migration) จากเมียนมา [15] เพราะนับตั้งแต่มีการประกาศระดมพลมีแนวโน้มที่คนหนุ่มสาวจะข้ามชายแดนเข้ามายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ในขณะที่จำนวนคิวของผู้ขอวีซ่า ณ เอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง เมียนมา มีภาพปรากฏบนหลายสื่อว่า มีการต่อคิวยาวขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังเกิดอุบัติเหตุการเหยียบกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ณ สำนักงานหนังสือเดินทางในเมืองมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง [16] ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยมหาวิทยาสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศงดรับสมัครนักศึกษาชาวเมียนมาเนื่องจากมีผู้สมัครจำนวนมากเกินไป [17]</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53546305567_2b07b12fb8_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ชาวเมียนมาแห่ขอวีซาไทย หน้าสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง (ที่มาเฟซบุ๊ก กัณวีร์ สืบแสง)</span></p>
<p>ตัวแทนจากมูลนิธิ EMPOWER กล่าวถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่คนหนุ่มสาวเมียนมาเผชิญว่า “รัฐบาลทหารบีบพวกเขาให้จนมุม พวกเขาเผชิญกับทางเลือกที่น่ากลัว เพราะจะหนีก็เสี่ยงตายหรือไม่หนีก็ตายอยู่ดี"</p>
<p>ตัวแทนจากมูลนิธิรักษ์ไทย แสดงความกังวลด้วยว่า "เราได้รับเคสหลายเคสจากผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกข่มขืนระหว่างเดินทางมาประเทศไทย เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับเราที่จะให้ช่วยเหลือในกรณีเหล่านี้ เนื่องจากผู้เสียหายเข้ามาผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการ และไม่มีเอกสารประจำตัว"</p>
<p>MMN กังวลว่า แม้ตัวผู้ย้ายถิ่นจะอยู่ในต่างประเทศ แต่พวกเขายังคงเสี่ยงต่อการถูกเกณฑ์ทหาร เนื่องจากกฎหมายการรับราชการทหาร ระบุว่า “หากไม่พบบุคคลนี้ ให้ส่งมอบ (หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร) ให้กับสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกันต่อหน้าพยาน คำสั่งให้ปฏิบัติเสมือนเป็นการส่งโดยตรงไปยังผู้ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร” การเกณฑ์ทหารนี้จะทำให้ผู้ย้ายถิ่นลดการติดต่อกับสถานทูตเมียนมา เพื่อต่ออายุหนังสือเดินทาง และเพิ่มโอกาสที่พวกเขากลายเป็นผู้ย้ายถิ่นที่ไร้เอกสารประจำตัว นอกจากนี้ ยังอาจเพิ่มจำนวนการขอลี้ภัยโดยพลเมืองเมียนมาในประเทศปลายทาง </p>
<p>โดยตัวแทนจากมูลนิธิ EMPOWER ได้อธิบายว่า "ผู้ย้ายถิ่นกังวลเรื่องการหลบหนีคำสั่งเกณฑ์ทหาร เพราะรัฐบาลทหารขู่จะดำเนินคดีทางกฎหมายต่อสมาชิกในครอบครัวโดยมีโทษจำคุกและการริบทรัพย์สิน"</p>
<p>ทั้งนี้ มีอัพเดทข่าวระบุว่า เมื่อ 21 ก.พ. 2567 กองทัพพม่ามีการประกาศยกเลิกเกณฑ์ทหารหญิงชั่วคราวไปก่อน</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>เผยเอกสารของอำเภอแม่สอด ขอกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน สกัดกั้นจับกุมชาวเมียนมาหนีเกณฑ์ทหารเข้าไทย</li>
<li>กองทัพพม่าประกาศเว้นผู้หญิงจากการเกณฑ์ทหารก่อนชั่วคราว</li>
<li>ผลกระทบจากการบังคับเกณฑ์ทหารและนโยบายเก็บภาษีแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลทหารเมียนมาต่อประเทศไทย</li>
<li>สมาชิกรัฐสภาอาเซียนฯ ประณามการบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารของรัฐบาลเมียนมา</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอถึงประเทศปลายทาง ปกป้องสิทธิและช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของกองทัพพม่า</span></h2>
<p>ด้าน MMN มีข้อเสนอดังนี้ ต่อประเทศปลายทางที่ชาวเมียนมาเดินทางไปทำงาน 1. เรียกร้องให้รัฐบาลและนายจ้างประเทศปลายทางของชาวเมียนมา ออกมาปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติในการตัดสินใจเกี่ยวกับการออม และการส่งรายได้ของพวกเขา ให้พวกเขามีอิสระในการเลือกธนาคารและช่องทางการโอนเงิน รวมไปถึงจำนวนเงินที่พวกเขาจะออมและส่งกลับบ้าน</p>
<p>2. เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศปลายทางและอาเซียนใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับแรงงานข้ามชาติ 3. สำหรับผู้มีบทบาทในภาคเอกชน เช่น ธนาคารและบริษัทจัดหางานต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในการบังคับส่งเงินและนโยบายการเก็บภาษีซ้ำซ้อนตามที่อธิบายไว้ข้างต้น MMN เรียกร้องให้ยุติความร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมาและตัวแทนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลทหาร</p>
<p>4. เนื่องจากความไม่ชอบธรรมของทหารในการปกครองประเทศ และบังคับคนหนุ่มสาวเข้ารับราชการทหาร นำมาซึ่งการบังคับใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ย้ายถิ่นรายใหม่จากเมียนมา ดังนั้น เราจึงขอเรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้านใช้การตอบสนองด้านมนุษยธรรมต่อผู้ย้ายถิ่นรายใหม่ทุกกรณี</p>
<p>5. เราขอเรียกร้องให้ประเทศปลายทางทำทุกวิถีทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำให้ผู้ย้ายถิ่นชาวเมียนมาที่เพิ่งเข้ามามีสถานะถูกต้องตามกฎหมาย และทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ย้ายถิ่นจะไม่กลายเป็นบุคคลไร้เอกสาร นอกจากนี้ เรายังต้องการเรียกร้องให้ประเทศปลายทางปรับปรุงการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและการศึกษาแก่ผู้ย้ายถิ่นทุกคน</p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง </strong></p>
<p>[1] "Cash-Starved Junta Milks Myanmar Migrant Workers With New Remittance Rule", The Irrawaddy, 12 September 2023, accessible at https://www.irrawaddy.com/news/burma/cash-starved-junta-milks-myanmar-migrant-workers-with-new-remittance-rule.html.</p>
<p>[2] "CBM Intensifies Crackdown on Illegal Hundi Businesses", Global New Light of Myanmar, 14 January 2024, accessible at https://www.gnlm.com.mm/cbm-intensifies-crackdown-on-illegal-hundi-businesses/.</p>
<p>[3] "Junta Requires Workers Abroad to Send Money Home Via Approved Banks", Radio Free Asia, 13 September 2023, accessible at https://www.rfa.org/english/news/myanmar/worker-remittances-09132023092811.html. For further details also see the statement from the Central Bank of Myanmar, accessible at https://www.cbm.gov.mm/content/8440 (in Burmese).</p>
<p>[4] See Radio Free Asia, Ibid.</p>
<p>[5] See US Department of State, "Transactions with Sanctioned Burmese Banks Must Be Wound Down by August 5, 2023", 4 August 2023, accessible at https://www.state.gov/transactions-with-sanctioned-burmese-banks-must-be-wound-down-by-august-5-2023/; Australian Minister of Foreign Affairs, "Further Sanctions on the Myanmar Military Regime", 1 February 2024, accessible at https://www.foreignminister.gov.au/minister/penny-wong/media-release/further-sanctions-myanmar-military-regime.</p>
<p>[6] In accordance with s 31 (a)(iv) of The Union Taxation Law, 2023, State Administration Council Law No.18/2023, income tax was exempted from “income from the head salary earned in the foreign currency</p>
<p>of a citizen residing abroad”. English translation accessible at https://ird.gov.mm/sites/default/files/UTL_2023%28english%20version%29.pdf.</p>
<p>[7] "Myanmar’s Military Reaches into Migrant Pockets", The News Lens, 27 October 2023, accessible at https://international.thenewslens.com/article/186630.</p>
<p>[8] Aung Naing, "Myanmar Regime to Require Proof of Paying Taxes for Passport Renewals", Myanmar Now, 18 October 2023, accessible at https://myanmar-now.org/en/news/myanmar-regime-to-require-proof-of-paying-taxes-for-passport-renewals/.</p>
<p>[9] As per Public Military Service Law (2010), ss 2(b) and s 3(a). English translation accessible at https://www.lincolnmyanmar.com/wp-content/uploads/2024/02/National-Service-Law.pdf.</p>
<p>[10] Ibid., s 2(d).</p>
<p>[11] Ibid., s 3(c).</p>
<p>[12] Ibid., s 4.</p>
<p>[13] Ibid., s 21(a).</p>
<p>[14] See, "Myanmar Military Extends State of Emergency, Vows to ‘Crush’ Opposition", Al Jazeera, 31 January 2024, accessible at https://www.aljazeera.com/news/2024/1/31/myanmar-military-extends-emergency-rule-for-another-six-months.</p>
<p>[15] See, "Fears of Mass Migration from Myanmar as Military Plans to Draft Thousands", Al Jazeera, 10 March 2024, accessible at https://www.aljazeera.com/news/2024/3/10/fears-of-mass-migration-from-myanmar-as-military-plans-to-draft-thousands; and MMN, "Neighbours in Need: Examining Thailand’s Response to Mixed Migration from Post-Coup Myanmar", August 2023, accessible at https://mekongmigration.org/wp-content/uploads/2023/09/Book_Neighbours-in-Need_EN.pdf.</p>
<p>[16] Nay Min Ni, "Two Women Trampled to Death as Thousands Attempt to Enter Mandalay Passport Office", Myanmar Now, 19 February 2024, accessible at https://myanmar-now.org/en/news/__trashed/.</p>
<p>[17] See Radio Free Asia, at n 16 above.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกตhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108645
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 350 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 266 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 275 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 208 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.86 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 19:10:26