[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 กรกฎาคม 2568 23:24:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ปัญหาและอุปสรรคทางการเงินในการสมัครเป็นวุฒิสมาชิก  (อ่าน 265 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 เมษายน 2567 23:31:00 »

ปัญหาและอุปสรรคทางการเงินในการสมัครเป็นวุฒิสมาชิก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-04-03 22:20</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ณัฐดนัย นาจันทร์
สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>1. ความนำ</strong></p>
<p>เมื่อวุฒิสภาชุดแรกที่ได้รับการแต่งตั้งตามบทเฉพาะการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำลังจะหมดวาระลงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 นี้ สิ่งที่จะเกิดตามมา (จริง ๆ กระบวนการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการไปแล้วในเวลาที่บทความนี้ถูกเขียนขึ้น) คือการเลือกวุฒิสภาชุดใหม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 </p>
<p>ผู้เขียนต้องกล่าวว่าการเลือกวุฒิสภาชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้มีข้อที่น่าพิจารณาหลายประการ ทั้งการกำหนดที่มาของวุฒิสภาจากกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้มีสิทธิเลือก แต่ให้ผู้สมัครในแต่ละกลุ่มอาชีพเลือกกันเอง (น่าสนใจว่าการกำหนดแนวทางเช่นนี้จะทำให้ได้รับ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ถ่วงดุลการใช้อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมจริงหรือ) และอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะนำเสนอในบทความนี้ นั่นคือการกำหนดให้มีค่าธรรมเนียมการสมัครเพื่อเข้ารับการเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สมัครได้รับสิทธิสองประการ ประการแรก สิทธิในการเป็นผู้ถูกเลือก และประการที่สอง สิทธิในการเป็นผู้เลือก สมาชิกวุฒิสภา โดยสิทธิสองประการนี้เองเป็นสิ่งที่ผู้เขียนประสงค์จะนำเสนอความเห็นบางประการที่เกี่ยวข้องไว้ในบทความนี้ </p>
<p><strong>2. ค่าธรรมเนียมการสมัคร: กำแพงของการเป็นสมาชิกวุฒิสภา </strong></p>
<p>แนวปฏิบัติในการกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของรัฐสภา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไม่ใช่เรื่องใหม่ มาตรา 89 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 กำหนดการสมัครเข้ารับเลือกตั้ง (โดยตรงจากประชาชน) ไว้ที่ 10,000 บาท ในขณะที่การสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 กำหนดไว้ในมาตรา 121 และ 128 ให้ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้ารับเลือกตั้งหรือเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครเป็นเงินจำนวน 5,000 บาท ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การที่บทบัญญัติมาตรา 15 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการสมัครเป็นเงินจำนวน 2,500 บาท นั้น สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ได้กระทำมาแล้วในอดีต อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนประสงค์ที่จะใช้บทความนี้เป็นพื้นที่ในการตั้งคำถามว่า การกำหนดค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ รวมถึงการไม่กำหนดกลไกใดเลยในกฎหมายที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าธรรมเนียมให้กับผู้ประสงค์จะมีส่วนร่วมในวุฒิสภาจะมีลักษณะเป็นการสร้างกำแพงทางการเงิน (Paywall) ที่กีดกันไม่ให้บุคคลที่มีทุนทรัพย์เพียงพอเข้ามามีส่วนร่วมในวุฒิสภาหรือไม่</p>
<p>ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการกำหนดกำแพงทางการเงินที่ชื่อว่าค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกนั้นมีมาก่อนแล้ว ดังนั้นจึงดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่แนวปฏิบัตินี้ได้รับการสานต่อภายใต้ระบบการเลือกตั้งวุฒิสภาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ โดยพื้นฐานแล้วเหตุผลสนับสนุนในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสมัคร มักวางอยู่บนฐานคิดที่ว่าการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจะใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรองผู้สมัคร กล่าวคือ เฉพาะผู้สมัครที่ประสงค์จะทำหน้าที่ในฐานะวุฒิสมาชิกอย่างแท้จริงเท่านั้นจึงจะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อสมัครเข้ามา และทำให้ตนมีสิทธิได้รับคัดเลือกเป็นวุฒิสมาชิก โดยเหตุผลในลักษณะนี้สอดคล้องกับเหตุผลที่ปรากฎในเอกสารสรุปความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. .... ที่เผยแพร่โดย คณะอนุกรรมการจัดทำฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว พบว่าผู้ให้ความเห็นล้วนสนับสนุนการดำรงอยู่ของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมภายใต้เหตุผลที่ว่า การกำหนดค่าธรรมเนียมนั้นจะทำให้ได้ผู้สมัครที่มีความรับผิดชอบ มีความมุ่งมั่น และมีจิตสำนึกทางการเมือง ส่วนความเห็นอื่นนอกจากนี้ คือการสนับสนุนให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการคัดเลือกของภาครัฐ</p>
<p>เหตุผลสนับสนุนการมีอยู่ของค่าธรรมเนียมที่กล่าวมานั้น ผู้เขียนเห็นว่าส่วนที่ว่าด้วยการประหยัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐดูจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีความกังขาในระดับหนึ่งว่าการสร้างกำแพงการสมัครโดยอาศัยค่าธรรมเนียมเป็นเครื่องมือนั้นจะทำให้ได้ผู้สมัครเป็นวุฒิสมาชิกที่มีคุณภาพจริงหรือไม่ จริงอยู่ที่การกำหนดค่าธรรมเนียมภายใต้รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจะมีจำนวนที่ต่ำลงมามาก เมื่อเทียบกับบรรดาค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บในช่วงที่รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 และ 2550 ยังใช้บังคับอยู่ แต่การกำหนดเอาปัจจัยทางเศรษฐกิจได้แก่ “เงิน” มาเป็นเครื่องมือจำกัดผู้เข้าสมัครโดยหวังว่าจะได้ผู้สมัคร “ที่มีคุณภาพ” ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลนัก และดูจะทำให้อนุมานได้ว่าผู้กำหนดเงื่อนไขในลักษณะนี้เชื่อว่า “เงิน” คือเครื่องมือประกัน “คุณภาพ” ของผู้สมัคร </p>
<p>นอกจากนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ผู้ที่สนับสนุนให้มีการใช้กำแพงทางการเงินนั้นควรคำนึงว่า การสร้างภาระให้กับบุคคลที่ประสงค์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบการเมืองอย่างเกินความจำเป็น บุคคลทั้งหลายควรมีความสามารถเต็มที่ในการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมือง การกำหนดเงื่อนไขในการเข้าสู่ระบบการเมืองนั้นสามารถกระทำได้ แต่หากเงื่อนไขที่ว่านั้นวางอยู่บนฐานของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขเช่นว่านั้นก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ การกำหนดกำแพงทางด้านการเงินในการรับสมัครผู้ที่จะเข้าเป็นวุฒิสมาชิกนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาการกีดกันบุคคลทั้งหลายผู้ประสงค์จะมีส่วนร่วมในระบบการเมืองแต่ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอให้ไม่สามารถมีสิทธิที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบการเมืองเทียบเท่ากับผู้ที่มีทุนทรัพย์ ข้อจำกัดเช่นนี้นอกจากอาจจะละเมิดสิทธิของบุคคลในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองแล้ว ยังส่งผลให้คนจำนวนหนึ่งถูกกีดกันออกไปจากเวทีทางการเมืองของประเทศ และทำให้ระบบการเลือกวุฒิสมาชิกไม่ว่าจะในลักษณะใด กลายเป็นระบบที่ปฏิเสธผู้ที่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในท้ายที่สุด ปัญหาเช่นว่านี้อาจลุกลามไปสู่การสร้างวุฒิสภาที่มีฉากทัศน์ทางการเมืองในรูปแบบเดียวกัน และฉากทัศน์นั้นไม่ปรากฎฉากทัศน์ที่รับรู้โดยสายตาของผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันรวมอยู่ด้วย </p>
<p>ผู้เขียนไม่ได้เขียนบทวิพากษ์นี้ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธการกำหนดค่าธรรมเนียมในการสมัคร แต่ผู้เขียนเห็นว่าการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไว้แต่ไม่กำหนดเครื่องมืออื่น ๆ ในการช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมในการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ย่อมเป็นการปฏิเสธและกีดกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบการเมืองอย่างชัดเจน ในแง่นี้ ผู้เขียนอยากตั้งคำถามสำคัญไว้ประการหนึ่งว่า เหตุใดผู้ออกแบบกระบวนการที่ปรากฎในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้จึงไม่สร้างเครื่องมือบางประการ เช่น ระบบการยกเว้นค่าธรรมเนียม หรือระบบการให้เงินช่วยเหลือสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่น่าจะช่วยป้องกันการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากกำแพงทางการเงินที่ว่านี้ได้ </p>
<p><strong>3. ค่าธรรมเนียมการสมัคร: ค่าธรรมเนียมเพื่อสิทธิในการเลือกวุฒิสมาชิก</strong></p>
<p>ความแตกต่างสำคัญประการหนึ่ง ระหว่างระบบการคัดเลือกวุฒิสมาชิกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540, 2550, และ 2560 นั่นคือการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 นั้น วุฒิสมาชิกจะต้องเป็นผู้ที่ประชาชนเลือกมาโดยตรง ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550 นั้นกำหนดให้ประชาชนเลือกวุฒิสมาชิกบางส่วนเข้ามาทำหน้าที่ (76 จาก 150 คน) หากนำประเด็นนี้ไปพิจารณาควบคู่ไปกับการตั้งกำแพงทางการเงินเพื่อกีดกันผู้สมัคร ผู้อ่านจะพบว่าการจ่ายค่าธรรมเนียมนั้นเป็นการจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเป็นผู้สมัคร ในขณะที่สิทธิในการเลือกผู้สมัครเป็นของประชาชน (แม้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550 สิทธินั้นจะถูกจำกัดอยู่เฉพาะการเลือกวุฒิสมาชิกแค่เพียงบางส่วนก็ตาม) </p>
<p>อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาระบบการคัดเลือกวุฒิสมาชิกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2560 ผู้อ่านจะพบข้อเท็จจริงสองประการ ประการแรก ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประชาชนไม่มีสิทธิในการเลือกผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นวุฒิสมาชิก และประการที่สอง ผู้ที่จ่ายค่าธรรมเนียมเข้าไปชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกนั้น ไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ได้รับ “สิทธิในการเป็นผู้สมัคร” แต่ยังเป็นผู้ที่ได้รับ “สิทธิในการเลือก” วุฒิสมาชิกอีกด้วย</p>
<p>กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เขียน (ขอขอบคุณกัลยาณมิตรผู้ย้ำเตือนผู้เขียนถึงประเด็นนี้ในวันที่ผู้เขียนกำลังร่างบทความฉบับนี้ขึ้น) เห็นว่าการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในที่นี้ เมื่อรวมกับระบบการให้ผู้สมัครคัดเลือกผู้ที่จะเป็นวุฒิสมาชิกในหมู่ผู้สมัครด้วยกันเอง ก่อให้เกิดระบบที่มีลักษณะพิกลขึ้นมา นั่นคือระบบที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีทุนทรัพย์สามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อสิทธิในการเลือกวุฒิสมาชิกได้ สิ่งที่ตามมาจากข้อสังเกตประการนี้ นั่นคือการที่ผู้เขียนอยากชี้ชวนให้ผู้อ่านทุกท่านทบทวนถึงความเหมาะสมของระบบดังกล่าว กล่าวคือ แทนที่ระบบการเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติจะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าไปมีสิทธิเลือกตั้งตามระบบการเลือกตั้งที่มีความเสรี อันเป็นรากฐานประการหนึ่งของการปกครองในระบบประชาธิปไตย ระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกลับกำหนดให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจถูกใช้เป็นเงื่อนไขหลักในการกำหนดว่าผู้ใดจะมีสิทธิในการเลือกวุฒิสมาชิกบ้าง (ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคงไม่ได้มีเจตนาให้ระบบนี้เกิดขึ้น แต่ผู้เขียนเห็นว่าการปฏิเสธความเป็นไปได้อันเป็นผลพลอยได้จากระบบตามที่ผู้เขียนกล่าวอ้างนี้ก็ทำได้โดยยากเช่นกัน) ซึ่งเป็นสิ่งที่ดูจะไม่เหมาะสมนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบนี้แสดงให้เห็นว่า “เงิน” กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเข้าถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมในทางการเมืองได้เพียงใด</p>
<p><strong>กล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าการกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา ภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งฐานะทางเศรษฐกิจและการแปรสภาพสิทธิในการเลือกวุฒิสมาชิกให้กลายเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้โดยอาศัยการจ่ายค่าธรรมเนียม ผู้เขียนเห็นว่า หากระบบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งจะมีอยู่ต่อไป ควรมีการกำหนดกลไกในการช่วยเหลือผู้ไม่มีทุนทรัพย์ไว้ด้วย และในขณะเดียวกัน หากต้องใช้ระบบการเลือกตั้งในการเลือกวุฒิสมาชิก ผู้เขียนเห็นว่าควรปล่อยให้ประชาชนทั้งหลายเป็นผู้เลือกวุฒิสมาชิกด้วยตนเอง หาไม่แล้ว ระบบการเลือกวุฒิสมาชิกก็จะกลายเป็นอภิสิทธิของผู้มีเงิน ที่มีทุนทรัพย์เพียงพอในการจ่ายค่าธรรมเนียมเข้าไปเพื่อให้ตนมีสิทธิเลือกวุฒิสมาชิกนั่นเอง</strong>
    
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108683
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.469 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 08 มิถุนายน 2568 19:01:57