[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 01:12:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กระดาษเคลือบยาพิษ ภูมิปัญญาของคนจีน  (อ่าน 80 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 เมษายน 2567 13:28:41 »


หนังสือชุดประวัติศาสตร์จีนที่ผลิตด้วยกระดาษซวนจื่อย้อมด้วยน้ำคั้นจากต้นชวนหวงป้อ
ใบรองปกเคลือบด้วยสารพิษเพื่อป้องกันแมลงกัดกินทำลายกระดาษ และเขียนสันและเนื้อหา
ภายในเล่มด้วยพู่กันจีน







กระดาษเคลือบยาพิษ ภูมิปัญญาของคนจีน

ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สืบทอดผ่านต่อความคิดรุ่นต่อรุ่นมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะภูมิปัญญาในการผลิตกระดาษขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งคิดค้นโดย ไช่หลุน ปราชญ์เมธีสมัยราชวงศ์ฮั่น (ฮั่นตะวันออก) โดยการนำเปลือกของต้นไม้ ป่าน เศษผ้า และตาข่ายดักปลาแช่น้ำรวมกันให้เปื่อยแล้วนำไปบดผสมกันจนป่น หลังจากนั้นนำมาตากแห้งจนกลายมาเป็นแผ่นๆ โดยเรียกว่า กระดาษไช่หลุน ซึ่งการผลิตกระดาษของไช่หลุน นับว่าเป็นต้นกำเนิดของประดิษฐกรรมและวิทยาการต่างๆ ของโลก และที่สำคัญกระดาษนับว่าเป็นสัญลักษณ์มงคลของลูกหลานพันธุ์มังกร และเป็นหนึ่งในสี่สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือ (เหวินฝางซื่อเป่า) ที่ต้องมีซึ่งประกอบด้วย พู่กัน (ปี่) หมึก (ม่อ) กระดาษ (จื่อ) และจานฝนหมึก (เอี้ยน)

ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง มีการผลิตกระดาษซึ่งทำมาจากฟางข้าวและเปลือกไม้จันทน์ขึ้น เรียกว่า กระดาษซวนจื่อ เป็นกระดาษที่มีคุณภาพดี ลักษณะเนื้อกระดาษมีความเหนียว สามารถซึมซับน้ำและหมึกได้เป็นอย่างดี มีความเรียบลื่นและอ่อนนุ่ม สามารถม้วนเก็บไว้ได้โดยง่าย มีน้ำหนักเบา และคุณสมบัติที่พิเศษที่สุดคือ สามารถถ่ายทอดความงามของหมึกและสีได้เป็นอย่างดี สีหมึกยังคงเข้มและสดเสมอ อีกทั้งยังสามารถรักษาสภาพของงานจิตรกรรมและลายตัวอักษรให้คงทนถาวรนับร้อยนับพันปี โดยที่เนื้อกระดาษไม่เปื่อยยุ่ย ทั้งนี้กระบวนการผลิตกระดาษซวนจื่อที่มีชื่อเสียง ซึ่งตั้งอยู่มณฑลอันฮุยของจีนนั้น ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จากองค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๒ (ค.ศ. 2009) อีกด้วย

สำหรับผู้อ่านท่านใดต้องการเห็นหรือสัมผัสกระดาษซวนจื่อ รวมถึงอ่านเรื่องราวต่างๆ ที่นำมาเขียนอักษรด้วยพู่กันจีนนั้น สามารถหาอ่านได้ที่ห้องหนังสือนานาชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งภายในห้องหนังสือนานาชาติ ได้รวบรวมและให้บริการหนังสือซึ่งเป็นภาษาของแต่ละประเทศ จำนวน ๖๔ ประเทศ รวม ๕๕ ภาษา และหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนหนังสือมากที่สุดคือ หนังสือภาษาจีน โดยให้บริการต้นฉบับหายากและรูปเล่มปัจจุบัน

ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงหนังสือภาษาจีนหายากซึ่งมีอายุมากกว่าร้อยปี คือ หนังสือชุดประวัติศาสตร์จีน โดยแบ่งออกเป็นยุคราชวงศ์ต่างๆของจีน อาทิ ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ชิง เป็นต้น ซึ่งมีจำนวน ๑,๖๐๐ เล่ม ที่สำคัญหนังสือชุดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนจีนอย่างแท้จริงในการคิดค้นวิธีในการดูแลรักษากระดาษให้มีระยะการใช้งานที่ยาวนานและไม่มีแมลงกัดกินทำลายกระดาษ ซึ่งความพิเศษของหนังสือชุดนี้คือ เนื้อหาภายในเล่ม ถูกเขียนขึ้นด้วยพู่กันจีนลงบนกระดาษซวนจื่อ ซึ่งถูกย้อมด้วยน้ำคั้นจากต้นชวนหวงป้อ พืชสมุนไพรจีนที่ให้สีเหลือง โดยน้ำคั้นที่ได้นั้นมีคุณสมบัติสำคัญในการป้องกันแมลง

แต่สำหรับใบรองปกหนังสือนั้นจะถูกเคลือบด้วยสารเคมี ที่เรียกว่าสารหนูซึ่งเป็นสารพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอาจารย์แห่งสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และอาจารย์ประจำคณะภาษาเอเชียและแอฟริกา มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ที่เดินทางมาค้นคว้าและเยี่ยมชมสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า เหตุที่เป็นเช่นนั้นมีเหตุผลเพื่อป้องกันหนอนและแมลงกัดกินทำลายกระดาษและเล่มหนังสือ เนื่องจากในอดีตยังไม่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการป้องกันแมลงดังเช่นปัจจุบัน สำหรับสารหนูที่เคลือบบนใบรองปกนั้นมีสีส้มเนื่องจาก สีส้มหรือสีเหลืองเป็นสีสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกถึงสีแห่งจักรพรรดิและความยิ่งใหญ่ และยังให้ข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า ใบรองปกของหนังสือชุดนี้นั้นจะถูกพับและเย็บรวมเล่มไม่สามารถเปิดได้เพื่อไม่ให้สีฟุ้งกระจาย เป็นการป้องกันนักอ่านที่ชอบเอานิ้วแตะน้ำลายเปิดเล่มหนังสือ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้อ่าน ดังนั้นหนังสือชุดนี้จึงต้องอยู่ในความดูแลของบรรณารักษ์ หากผู้ใช้บริการต้องการอ่านหนังสือชุดนี้จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักหอสมุดแห่งชาติกำหนด




ภาพ : ไช่หลุน ปราชญ์เมธี (ขันที) สมัยราชวงศ์ฮั่น (ฮั่นตะวันออก)


ภาพ : กระดาษซวนจื่อ


ภาพ : ต้นชวนหวงป้อ


ภาพ : เปลือกไม้ชวนหวงป้อตากแห้ง


ขอขอบคุณ "สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา" (ที่มาเรื่อง-ภาพประกอบ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.264 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 13:02:07