[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 กรกฎาคม 2568 08:32:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๐ กุททานชาดก : กุททาลมหาบัณฑิต  (อ่าน 339 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 6128


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2567 17:05:10 »




พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๐ กุททานชาดก
กุททาลมหาบัณฑิต

          พระจิตหัตถสารีบุตร เป็นเด็กที่เกิดในตระกูลผู้หนึ่งในนครสาวัตถี อยู่มาวันหนึ่งไถนาแล้ว ขากลับเข้าไปสู่วัด ได้โภชนะอาหารประณีตอร่อยมีรสสนิทจากบาตรพระเถระองค์หนึ่ง คิดว่า ถึงแม้เราจะกระทำงานต่างๆ ด้วยมือของตนตลอดคืนตลอดวันก็ยังไม่ได้อาหารอร่อยอย่างนี้ แม้เราก็สมควรจะเป็นสมณะ ดังนี้
          เขาบวชแล้วอยู่มาได้ประมาณครึ่งเดือน เมื่อไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ตกไปในอำนาจกิเลส สึกไป พอลำบากไม่มีอาหารจะกิน ก็มาบวชอีก เรียนพระอภิธรรมด้วยอุบายนี้ สึกแล้วบวชถึง ๖ ครั้ง  ในความเป็นภิกษุครั้งทึ่ ๗ เป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ ได้บอกธรรมแก่ภิกษุเป็นอันมาก บำเพ็ญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ครั้งนั้นภิกษุผู้เป็นสหายของท่านพากันเยาะเย้ยว่า อาวุโส จิตหัตถ์ เดี๋ยวนี้กิเลสทั้งหลายของเธอ ไม่เจริญเหมือนเมื่อก่อนดอกหรือ?
          ท่านตอบว่า “ผู้มีอายุ ตั้งแต่บัดนี้ไป ผมไม่เหมาะเพื่อความเป็นคฤหัสถ์”
          ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตถ์อย่างนี้แล้ว เกิดโจทย์กันขึ้นในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่ออุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เห็นปานนี้มีอยู่ ท่านพระจิตหัตถสารีบุตรต้องสึกถึง ๖ ครั้ง  โอ! ความเป็นปุถุชนมีโทษมากดังนี้  พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า
          “ขึ้นชื่อว่าจิตของปุถุชนข่มได้ยากคอยไปติดด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ ลงติดเสียครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่อาจปลดเปลื้องได้โดยเร็ว การฝึกฝนจิตเห็นปานนี้เป็นความดี จิตที่ฝึกฝนดีแล้วเท่านั้น จะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้” แล้วตรัสว่า “การฝึกฝนจิต ที่ข่มได้ยาก มีปกติตกไปตามอารมณ์ที่ปรารถนาเป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกฝนแล้วย่อมนำสุขมาให้ ”
          มุ่งบรรพชา เสด็จออกทรงผนวชพร้อมด้วยพลนิกาย พวกเราจักทำอะไรกันในเมืองนี้ ดังนี้แล้ว บรรดาผู้อยู่ในพระนครทั้งนั้นต่างพากันเดินทางออกจากกรุงพาราณสี อันมีระยะทางประมาณได้ ๑๒ โยชน์ บริษัทก็ได้มีระยะทาง ๑๒ โยชน์ พระโพธิสัตว์พาบริษัทนั้นเข้าป่าหิมพานต์
          ในขณะนั้นอาสนะที่ประทับนั่งของท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงตรวจดูทอดพระเนตรเห็นว่า กุททาลบัณฑิตออกสู่มหาภิเนกษกรม แล้วทรงพระดำริว่า จักเป็นมหาสมาคม ควรที่ท่านจะได้สถานที่อยู่ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า พ่อวิสสุกรรม กุททาลบัณฑิตกำลังออกสู่มหาภิเนกษกรม ท่านควรจะได้ที่อยู่ ท่านจงไปป่าหิมพานต์ เนรมิตอาศรมบถยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๑๕ โยชน์ ณ ภูมิภาคอันราบรื่น
          วิสสุกรมเทพบุตร รับเทวบัญชรว่า “ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำให้สำเร็จดังเทวบัญชา” แล้วไปทำตามนั้น 
          ฝ่ายวิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตบรรณศาลาในอาศรมบถแล้วก็ขับไล่ เนื้อ นก และอมนุษย์ที่มีเสียงชั่วร้ายไปเสี่ย แล้วเนรมิตหนทางเดินแคบๆ ตามทิสาภาคนั้นๆ เสร็จแล้ว เสด็จกลับไปยังวิมานอันเป็นสถานที่อยู่ของตนทันที
          ฝ่ายกุททาลบัณฑิตพาบริษัทเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ลุถึงอาศรมบถที่ท้าวสักกะทรงประทาน ถือเอาเครื่องบริขารแห่งบรรพชิตที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ให้ บวชตนเองก่อนให้บริษัทบวชทีหลัง จัดแจงแบ่งอาศรมบถให้อยู่กันตามสมควร มีพระราชาอีก ๗ พระองค์ สละราชสมบัติ ๗ พระนคร (ติดตามมาทรงผนวชด้วย) อาศรมบถ ๓๐ โยชน์ เต็มบริบูรณ์  กุททาลบัณฑิตทำบริกรรมในกสิณที่เหลือ เจริญพรหมวิหารธรรม บอกกรรมฐานแก่บริษัท บริษัททั้งปวงล้วนได้สมาบัติ เจริญพรหมวิหารแล้วพากันไปสู่พรหมโลกทั่วกัน ส่วนประชาชนที่บำรุงพระดาบสเหล่านั้น ก็ล้วนได้ไปสู่เทวโลก
   

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“เป็นคนควรฝึกหัดพัฒนาตนจนเอาดีให้ได้”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนนั่นแหละประเสริฐที่สุด (๒๕/๒๔)

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
บัณฑิตย่อมฝึกตน (๓๕/๒๒)

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ
มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก (๒๕/๓๑)

ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดยธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.438 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มิถุนายน 2568 18:49:33