[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 มิถุนายน 2567 20:31:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ธงชัย วินิจจะกูล : เราต่างเข้าใจผิดว่าอยู่ใน 'นิติรัฐ' แต่เราต่างอยู่ใน 'ราช  (อ่าน 75 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2567 04:53:04 »

ธงชัย วินิจจะกูล : เราต่างเข้าใจผิดว่าอยู่ใน 'นิติรัฐ' แต่เราต่างอยู่ใน 'ราชนิติธรรม'
 


<span>ธงชัย วินิจจะกูล : เราต่างเข้าใจผิดว่าอยู่ใน 'นิติรัฐ' แต่เราต่างอยู่ใน 'ราชนิติธรรม' </span>
<span><span>user007</span></span>
<span><time datetime="2024-05-27T01:17:54+07:00" title="Monday, May 27, 2024 - 01:17">Mon, 2024-05-27 - 01:17</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพโดย แมวส้ม</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สรุปปาฐกถา ธงชัย วินิจจะกูล ชี้ปัญหากระบวนการยุติธรรมไทยภายใต้ระบบกฎหมายแบบ “ราชนิติธรรม” ที่มีแต่ข้อยกเว้นให้รัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนไปจนถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากลด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคง ซึ่งระบบดังกล่าวถูกสถาปนาลงหลักปักฐานนับตั้งแต่ตุลาการภิวัฒน์เมื่อปี&nbsp;49</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53748108093_02da92c443_o.jpg" width="800" height="533" loading="lazy"><p>26 พ.ค.2567 ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ ธงชัย วินิจจะกูล กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม ทำงานอย่างไรในระบบกฎหมายไทย” ในงานปิดนิทรรศการ “วิสามัญยุติธรรม” ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ชี้ถึงที่มาของปัญหา “สภาวะยกเว้น” ในระบบยุติธรรมไทยเพื่อให้รัฐใช้อำนาจในการจัดการประชาชนเมื่อถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคง</p><p>ธงชัยเริ่มจากการวิจารณ์พรรคก้าวไกลว่าในงานเรื่องนโยบายของพรรคที่ไม่มีเรื่องกฎหมายและกระบวนยุติธรรมอยู่เลยแล้วไปรวมเรื่องการใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมไว้กับปัญหาของระบบเผด็จการ ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาเชิงระบบของกระบวนการยุติธรรมของไทยมีเรื่องอะไรบ้างและต้องแก้ไขอย่างไร</p><p>ธงชัยเห็นว่าสังคมไทยยังไม่ตระหนักว่าประชาธิปไตยเป็นไปไม่ได้เลยถ้าระบบยุติธรรมยังล่อแล่ และเข้าใจว่าความอยุติธรรมในสังคมไทยเป็นปัญหาการใช้กฎหมายอย่างผิดๆ และเป็นปัญหาตัวบุคคล เป็นปัญหาการใช้ ตัวระบบและกฎหมายไม่ใช่ปัญหา โทษอยู่แค่สองสาเหตุคือ หนึ่งบุคลากรไม่มีคุณภาพหรือไม่ยุติธรรมเพราะเงินหรืออำนาจหรือเพราะความกลัว สองโทษว่าการเมืองเข้ามากำหนดและบีบบังคับได้หรือที่เรียกว่ามีใบสั่ง</p><p>“แท้ที่จริงปัญหากระบวนการยุติธรรมเป็นปัญหาเชิงระบบมีรากฐานมาจากความคิดและนิติศาสตร์ที่บิดเบี้ยวมาแต่เริ่ม การบังคับใช้และพฤติกรรมของคนเป็นผลผลิตอันบิดเบี้ยวอันเรื่องมาจากระบบที่พลาดและผิดมาตั้งแต่รากฐานแต่ต้น การเมืองมีใบสั่งในคดีความได้ได้เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมาให้เราเห็น ในขณะที่ระบบยุติธรรมซึ่งผิดปกติของไทยกลับซ่อนอยู่พ้นจากการจับจ้องของสาธารณชน” ธงชัยเสนอมุมมอง</p><p>เขาย้ำว่าปัญหาระบบยุติธรรมของไทยมีรากฐานที่ผิดแต่ต้นที่เริ่มมาตั้งแต่การปฏิรูประบบยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ความอ่อนแอของผู้บังคับใช้กฎหมายไทย ไม่ใช่เพราะเรื่องใบสั่ง เหล่านี้เป็นผลผลิตมาจากรากฐานที่เป็นปัญหามาตั้งแต่ต้น เพราะการผนึกกำลังกันของนิติศาสตร์อำนาจนิยมสองกระแสที่พยายามสถาปนาระบบยุติธรรมที่ไม่ปกติให้เป็นปกติ และเป็นเรื่องที่ศูนย์ทนายความฯ อาจไม่ตระหนักคยวามหนักหน่วงของสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่</p><p>ธงชัยยกตัวอย่างคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกวิจารณ์ว่าได้ละเมิดหลักนิติศาสตร์และศาลสูงสุดกลับไม่เคารพกฎหมายเสียเอง แต่ก็ไม่รู้สึกประหลาดใจและคนจำนวนมากก็ไม่ประหลาดใจเพราะคาดการณ์ได้ คำตัดสินที่ผิดเพี้ยนแบบนี้มีมาตั้งแต่ตุลาการภิวัฒน์พร้อมกับการรัฐประหาร&nbsp;2549 เป็นต้นมา แม้ว่าช่วงแรกๆ ผู้สังเกตการณ์นักวิชาการจะคาดการณ์ต่างๆ ผิดหลายครั้งแต่เมื่อเวลาผ่านไปก็คาดการณ์ได้บ่อยครั้งขึ้นและประหลาดใจน้อยลง</p><p>“ความประหลาดใจหรือคาดการณ์แต่แรกที่คาดการณ์แล้วผิดเพราะเรายึดหลักกฎหมายที่ควรจะเป็น นานวันเข้าดูเหมือนทุกคนทุกฝ่ายจะตระหนักว่าก็อย่ายึดหลักกฎหมายเหล่านั้นสิ แล้วเราจะประหลาดใจน้อยลง”</p><p>การอธิบายคำตัดสินของศาลเหล่านั้นว่าเกิดจากใบสั่งด้วยทฤษฎีสมคบคิด แต่เขาไม่ชอบคำอธิบายด้วยทฤษฎีสมคบคิดเท่าไหร่และเขาไม่รู้ว่ามีจริงๆ หรือไม่ เพราะเขาก็ไม่เชื่อว่าจะมีใบสั่งทุกครั้งเพื่อให้มีคำพิพากษาแบบใดแบบหนึ่ง แต่เชื่อว่าระบบต่างหากที่มีปัญหาและเอื้อให้เกิดใบสั่งได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งเป็นรูปธรรมเป็นครั้งๆ ไป</p><p>คำตัดสินที่ละเมิดหลักกฎหมายหลายครั้งในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมาอิงหลักเหตุลอีกชุดที่คงเส้นคงวา การละเมิดอย่างคงเส้นคงวานี้เพราะว่ามีแบบแผนหรือเหตุผลชุดหนึ่งที่เราพอจะคาดเดาได้ ถ้าอย่างนั้นการออกคำสั่งหรือคำตัดสินทั้งหลายยึดหลักกฎหมายและเหตุผลคละชุดกับที่เราหรือนักกฎหมายทั่วไปคาดหวัง คือเขาไม่ได้ยึดหลักนิติศาสตร์ตามบรรทัดฐานในระบบกฎหมายปกติ แต่เป็นหลักนิติศาสตร์แบบไทยๆ</p><p>เขาเรียกหลักนิติศาสตร์แบบไทยว่า ราชนิติธรรมและนิติรัฐอภิสิทธิ์ เพื่อพยายามระบุคุณสมบัติของระบบกฎหมายไทย และเขาเห็นว่าราชนิติธรรมเป็นนิติศาสตร์เป็นแบบหนึ่งของนิติรัฐอภิสิทธิ์ และมีความพยายามแข็งขันเปลี่ยนระบบกฎหมายไทยให้ราชนิติธรรมลงหลักปักฐานมั่นคงทั้งที่ขัดกับหลักกฎหมายที่เป็นบรรทัดฐาน และคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นการสถาปนานิติศาสตร์ที่ผิดปกติดังกล่าวนี้</p><p>ธงชัยเริ่มจากอธิบายราชนิติธรรมและนิติรัฐอภิสิทธิ์ว่า รากฐานกฎมหายไทยมาจากการปฏิรูประบบกฎหมายให้เป็นสมัยใหม่ในรัชกาลที่ 5 เป็นแบบหลังอาณานิคมที่เป็นการผสมกันระหว่างนิติศาสตร์และธรรมเนียมทางกฎหมายก่อนสมัยใหม่คือกษัตริย์เป็นต้นธารของกฎหมายและความยุติธรรมทั้งหมดกับระบบกฎหมายสมัยใหม่ที่ต้องเป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน</p><p>การปฏิรูปครั้งนั้นสยามไม่ได้รับเอาหัวใจของระบบกฎหมายตามบรรทัดฐานสากลมาด้วยคือการปกป้องสิทธิและทรัพย์สินของพลเมืองให้ปลอดพ้นจากการคุกคามของอำนาจรัฐซึ่งเป็นหัวใจของระบบนิติรัฐทุกแห่งในทางสากลนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา</p><p>“การปฏิรูปครั้งนั้นมีเชิงอรรถในร่างกฎหมายฉบับนั้นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้ระบุเรื่องสิทธิพลเมืองไว้ เพราะในสังคมไทยไม่เคยมีความคิดเรื่องนี้ดำรงอยู่”</p><p>ธงชัยชี้ว่า เท่ากับหัวใจในมาตรฐานสากลที่ต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ยอมให้รัฐเข้ามารุกล้ำดินแดนสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นสังคมไทยยกออกไปเลย แล้วทำแค่การปรับให้ระบบกฎหมายสมัยเก่าเป็นระบบใหม่ในแง่ที่ก็ทำให้ระบบกฎหมายก่อนสมัยใหม่มาเป็นระบบมาตรฐานเดียวกันด้วยการสร้างตัวบทกฎหมายขึ้นมาเพราะก่อนหน้านั้นตัวบทไม่มีมาตรฐานและปฏิรูปกระบวนการศาลทั้งหมด</p><p>เราเข้าใจผิดมาตลอดว่าการทำให้กฎหมายเป็นมาตรฐานเดียวกันและมีตัวบทชัดเจนและกระบวนการยุติธรรมหรือระบบศาลเป็นระบบระเบียบแล้วรวมศูนย์ที่ศูนย์กล่างเท่ากับเราเป็นนิติรัฐแล้ว เพราะเราทิ้งหัวใจของนิติรัฐในมาตรฐานสากลไปตั้งแต่ต้น จึงไม่ใช่ระบบกฎหมายตามมาตรฐานสากล แต่กฎหมายไทยนำธรรมเนียมและจารีตหลายอย่างที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระบบเท่านั้น</p><p>ทำให้ระบบกฎหมายของไทยมีสองด้านคือ ด้านแรกนิติรัฐอภิสิทธิ์ ที่ให้อภิสิทธิ์แก่รัฐให้ความมั่นคงของรัฐเป็นจุดหมายสูงสุดไม่ให้สิทธิแก่ปัจเจคชนและไม่มีสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่กฎหมายต้องมุ่งปกป้องรักษาไว้ไม่ให้รัฐละเมิดตามแบบฉบับของนิติรัฐในกฎหมาย และด้านที่สองคือกฎหมายไทยยึดโยงกับสถาบันกษัตริย์ หรือที่เรียกว่าคือราชนิติธรรม</p><p>ธงชัยกล่าวว่าทั้งสองด้านนี้มีควบคู่กันในยุคสมบูรณายาสิทธิราชย์ แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ทั้ง 2 ด้านนี้หันออกจากกันแล้วถึงกับเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองด้านนี้ต่อมาหลายทศวรรษ เพราะทหารเลือกสืบทอดระบบนิติรัฐอภิสิทธิ์ไม่เอาราชนิติธรรมมาด้วย โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้โจมตีฝ่ายทหารว่าเป็นสำนักกฎหมายบ้านเมืองและนิติศาสตร์ของไทยควรจะรับนิติศาสตร์ตามสำนักกฎหมายธรรมชาติแต่ความพยายามของ มธ.นี้ได้ฟื้นหลักราชนิติธรรมกลับมา แต่สำนักทางนิติศาสตร์ทั้งสองแบบนี้ในไทยไม่เป็นมาตรฐานสากลด้วยกันทั้งคู่และยังมีจุดร่วมคือเป็นมรดกของระบอบสมบูรณายาสิทธิราช์ทั้งคู่ แค่แยกทางกันเดินและกลับมาต่อสู้กันจนกระทั่งกลับมาประสานกันตอนที่สถาบันกษัตริย์ได้รับการฟื้นฟูอำนาจโดยเฉพาะในช่วงที่มีระบบทหารที่จงรักภักดี</p><p>“จนในที่สุดเมื่อมี “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” สถาปนาอย่างมั่นคงได้สำเร็จโดยที่วังครองอำนาจนำและทหารพระราชาครองกองทัพได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในบริบทเช่นนี้ทำให้นิติศาสตร์ทั้งสองกระแสที่มีรากร่วมกันและแยกกันเดิน กลับมาประสานกันสนิทอีกครั้งหนึ่งและปรากฏตัวครั้งแรกชัดเจนเมื่อนิติศาสตร์สองกระแสถูกคุกคามในช่วงต้นทศวรรศ(ค.ส.) 2000 กว่าๆ จนทำให้ต้องเรียกตุลาการภิวัฒน์ออกมา ตุลาการภิวัฒน์เป็นปรากฏการณ์รูปธรรมที่นิตศาสตร์สองกระแสนี้ประสานกันได้สนิทแล้วเผยตัวออกมา การประสานกันได้สนิทครั้งนี้เห็นได้ชัดตั้งแต่ปี&nbsp;2549 เป็นราชนิติธรรม เป็นนิติศาสตร์ที่ค้ำจุนนิติรัฐอภิสิทธิ์แบบ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข””</p><p>นิติรัฐอภิสิทธิ์ (prerogative state) เป็นประเด็นที่มีคนศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นคำที่ใช้เรียกครอบคลุมระบบกฎหมายที่มีลักษณะแตกต่างกันพอสมควร ตั้งแต่ระบบกฎหมายแบบนาซี ไปจนถึงระบบกฎหมายแบบสิงคโปร์ เห็นชัดว่าทั้งสองระบบดังกล่าวจะแตกต่างกันมากและไม่เหมือนกันเลยส่วนของไทยจะอยู่ตรงไหนเขายังต้องขอศึกษาเพิ่ม</p><p>อย่างไรก็ตาม คำว่านิติรัฐอภิสิทธิ์นี้เป็นการรวมความหมายของรัฐที่ประกอบด้วยนิติรัฐตามบรรทัดฐานมีระบบศาลและระบบบริหารราชการตามมาตรฐานปกติที่ใช้อยู่ถึงครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งในระบบ แต่ในเวลาเดียวกันคือให้อำนาจรัฐมากเกินกว่าปกติคือมีการใช้อำนาจรัฐแบบในสภาวะฉุกเฉินที่ให้ใช้อำนาจในภาวะยกเว้นเท่านั้น เช่น เมื่อเกิดภัยคุกคาม เกิดสงครามหรือภัยพิบัติที่รัฐต้องใช้อำนาจพิเศษอย่างเร่งด่วน</p><p>แม้ว่าทุกรัฐมีอำนาจในสภาวะยกเว้นแบบนี้แต่รัฐที่ถือว่าเป็นนิติรัฐอภิสิทธิ์คือให้อำนาจเกินกว่าปกติจนเป็นปกติ เพราะในรัฐที่อยู่ในระบบนิติรัฐปกติปกติจะให้ใช้อำนาจนี้สั้นๆ แล้วสภาเป็นคนอนุมัติ แต่รัฐที่เป็นนิติรัฐอภิสิทธิ์จะละเมิดกระบวนการตามขั้นตอนทางกฎหมายเช่นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและให้ถือว่าเป็นการใช้กฎหมายในสภาวะยกเว้น&nbsp;</p><p>ธงชัยยังกล่าวต่อไปว่าในรัฐที่ใช้ระบบนิติรัฐอภิสิทธิ์ยังรัฐที่ให้อภิสิทธิ์ในการลอยยนวลพ้นผิดด้วยแต่มีเพียงไม่กี่แห่งและไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มนี้หมายถึงกฎหมายปกติเอาผิดรัฐไม่ได้เป็นมหาอภิสิทธิ์ทางกฎหมายที่แม้กระทั่งรัฐอภิสิทธิ์บางรัฐไม่ยอมให้เกิดขึ้นอย่างเช่น สิงคโปร์จะไม่ปล่อยให้เกิดการลอยนวลพ้นผิดหากเกิดการใช้อำนาจพิเศษในทางฉ้อฉลต้องรับโทษหนักกว่าปกติ</p><p>ธงชัยอธิบายถึงเรื่องราชนิติธรรมต่อว่า ชนชั้นนำไทยต่างกับรัฐอื่นส่วนมากคือไม่ได้มีแต่ทหารหรือจอมเผด็จการเท่านั้น เพราะหลังจากฝ่ายกษัตริยนิยมชนะพลังของฝ่ายทหารตั้งแต่หลังทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ทหารสยบลงเป็นทหารของพระราชาชนชั้นนำทั้งสองฝ่ายผนึกกำลังเหนียวแน่นเพราะกลางทศวรรษ 2000 ถูกประชาธิปไตยแบบบ้านใหญ่มาท้าทายอำนาจรัฐราชการซึ่งเป็นอำนาจของทหารบวกวัง การรัฐประหารพ.ศ.&nbsp;2549 และพ.ศ. 2557 รวมถึงการเปลี่ยนรัชกาลทำให้การผนึกกำลังของทั้งสองฝ่ายยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้นและความเข้มแข็งของ “ระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ถึงขนาดที่มีคนเสนอว่าควรจะต้องไปให้ถึงการมีระบอบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ</p><p>ราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นคำที่หมายถึงระบอบการปกครองก่อนพ.ศ. 2475 ที่พระมหากษัตริย์ยอมให้มีรัฐธรรมนูญแล้วให้มีรัฐบาลบริหารประเทศแต่ผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลและรัฐธรรมนูญยังอยู่ที่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่รัชกาลที่ 7 กำลังจะพระราชทานให้ ไม่ใช่ประชาธิปไตย และการต่อสู้และเผยแพร่อุดมการณ์ด้วยการผลิตชุดความรู้เรื่องนี้เพื่อสนับสนุนระบอบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญมีมากที่สุดนับตั้งแต่พ.ศ.2475 เป็นต้นมา และเรื่องนี้เป็นบริบทพื้นฐานที่ทำให้นิติศาสตร์ทั้งด้านนิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรมกลับมาประสานกันหลังเกิดการต่อสู้กันอยู่นานหลายปี ทำให้นิติศาสตร์ของไทยเป็นราชนิติธรรมซึ่งต่างจากนิติรัฐอภิสิทธิ์ในประเทศอื่นๆ ด้วย</p><p>ทำให้ไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมามีการสร้างทฤษฎีราชนิติธรรมขึ้นมาอย่างเป็นระบบตั้งพระองค์ธานีนิวัตร คึกฤทธิ์ ปราโมชย์ เสรีย์ ปราโมชย์ นินทร์ กรัยวิเชียร บวรศักดิ์ อุวรรณโน เป็นต้น โดยอธิบายว่านิติศาสตร์ของไทยมาจากหลักกฎหมายโบราณที่มีพระมหากษัตริย์ไทยเป็นต้นทางของระบบกฎหมายและความยุติธรรมด้วย เพราะพระมหากษัตริย์ของไทยมีคุณธรรมดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเสมอ และอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์มาตลอดเพียงแต่พระมหากษัตริย์ได้ให้ประชาชนได้ทดลองประชาธิปไตย เมื่อประชาธิปไตยล้มเหลวอำนาจอธิปไตยก็จะกลับคืนสู่พระมหากษัตริย์ก่อนที่จะส่งประชาธิปไตยให้ประชาชนทดลองใหม่อีกครั้งการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.2475 ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ และรัฐธรรมนูญที่แท้จริงคือสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ดำรงอยู่อย่างมั่นคงถาวรมานานหลายร้อยปีในสังคมไทยรัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ถูกเขียนในกระดาษ</p><p>ความชอบธรรมของราชนิติธรรมและนิติรัฐอภิสิทธิ์ นิติรัฐอภิสิทธิ์ทุกประเภทถือว่าความมั่นคงของรัฐเป็นเป้าหมายสูงสุดของรัฐ และอนุญาตให้รัฐใช้อำนาจพิเศษเกินกว่ากฎหมายปกติได้งดเว้นการใช้กฎหมายปกติได้ การสู้กับนิติรัฐอภิสิทธิ์ทุกแห่งในโลกคือการสู้ในระดับนิยามของ “ความมั่นคงของรัฐ” คืออะไรเพื่อไม่ให้มาละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและปัจเจคชน การสู้กับความอยุติธรรมจึงไม่ใช่การสู้กันแค่ในทางคดีและตัวกฎหมายเท่านั้น เพราะรากของกฎหมายที่อยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องทางการเมืองของการอ้าง “ความมั่นคง”</p><p>ธงชัยกล่าว่าความมั่นคงที่ใช้กันในบริบทของไทยถูกใช้อย่างครอบจักรวาลทั้งเพื่อให้กองทัพแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจได้มากมายและใช้ทำร้ายผู้คนได้ด้วย</p><p>“มีประเทศไหนบ้างอนุญาตให้กองทัพครอบครองคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ต่อเนื่องมากว่า&nbsp;70 ปีตั้งแต่ก่อนผมเกิดอีก ด้วยเหตุเรื่องความมั่นคงกองทัพสามารถนำไปแสวงหาทางธุรกิจได้มากมาย แจกจ่ายกันนานชั่วอายุคน กองทัพยังมีธุรกิจที่อาศัยภาษีประชาชนดำเนินการแต่เก็บผลประโยชน์เข้ากองทัพหรือผู้นำกองทัพเอง เช่น สนามกอล์ฟ กองทัพยังมีที่ดินมหาศาลในครอบครองและที่ดินโดยมากได้มาด้วยภาษีประชาชน แต่รัฐบาลจากการเลือกตั้งต้องการใช้ที่ดินเหล่านั้นกลับต้องขอ วิงวอน ในที่สุดต้องซื้อคืนด้วยภาษีประชาชนอีกครั้งหนึ่ง แถมยังต้องขอบคุณขอบใจเสียยกใหญ่ราวกับว่าการที่กองทัพเอาเงินประชาชนไปสองต่อเพื่อที่จะเอาที่ดินเหล่านั้นมาทำประโยชน์ต่อสาธารณชนนั้นเป็นบุญเป็นคุณที่หนักหนาเหลือเกิน อันนี้เป็รความสัมพันธ์แบบระบบมาเฟีย มาเฟียเรียกค่าคุ้มครองจากเรา เราต้องการคุ้มครองมาเฟียก็จัดความคุ้มครองให้กับเรา เงินเราทั้งนั้น</p><p>ธงชัยชี้ว่ากองทัพไทยเป็นระบบศักดินาสมัยใหม่ และระบบศักดินาทุกที่ในโลกล้วนมีรากเหง้ามาจากระบบมาเฟีย ระบบประชาธิปไตยสมัยใหม่เป็นระบบแรกที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแบบเดียวกับระบบมาเฟีย ตราบใดที่กลไกของรัฐใช้อำนาจปกครองแบบศักดินาก็จะต้องใช้ความสัมพันธ์แบบมาเฟียเข้ามาจัดการ</p><p>เขากล่าวต่อมาในเรื่องความมั่นคงว่า ยังเป็นเหตุผลในทำลายด้วย เช่น การปราบปรามอุ้มหาย การขับคนออกจากที่ดินทำกิน และยังเป็นเหตุผลเพื่อใช้ในการโกหกประชาชนจนนำไปสู่การก่ออาชยากรรมด้วยอย่างการสร้างเรื่องผังล้มเจ้า และความมั่นคงยังเป็นเหตุผลในการนำกฎหมายพิเศษหลายฉบับในการจัดการพื้นที่ชายแดนใต้ด้วยนับตั้งแต่พ.ศ. 2547 แล้วรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ยังต่ออายุให้ และทำให้ประชาชนในสามจังหวดชายแดนใต้กลายเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานี้ไม่รู้จักภาวะปกติถูกพรากเอาสิทธิไป พวกเขาอยู่ในภาวะไม่ปกตินับตั้งแต่ลืมตาดูโลกและกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53747922131_77d0b755f4_o.jpg" width="800" height="533" loading="lazy"><p>ธงชัยอธิบายว่านิติรัฐอภิสิทธิ์จะต้องอ้างประวัติศาสตร์ อย่างสิงคโปร์ก็อ้างประวัติศาสตร์ที่เคยถูกมาเลเซียอ้างสิทธิ์และด้วยความเป็นประเทศเล็กจึงอยู่กับความไม่มั่นคงตลอดเวลา ส่วนราชนิติธรรมของไทยก็อ้างความชอบธรรมถึงประวัติศาสตร์ไทยและไม่เหมือนใครในโลก</p><p>เขายกตัวอย่างคำตัดสินในคดีม.112 ที่ให้เหตุผลสั้นๆ ว่า พระมหากษัตริย์มีความสำคัญอย่างไรการการกระทำของจำเลยกระทบจิตใจคนไทยทั้งชาติอย่างไร หรือคำตัดสินคดีพรรคก้าวไกลที่พูดเรื่องความสำคัญของกษัตริย์ต่อสังคมไทย เหตุผลเหล่านี้อิงกับประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมที่ตื้นเขินเสมือนเป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ทำให้ศาลสามารถเขียนเป็นเหตุผลประกอบคำตัดสินของตนได้โดยไม่ต้องหาเหตุผลอื่นมาอธิบายประกอบอีกต่อไป</p><p>มีแต่ความเชื่อทางประวัติศาสตร์ที่ง่อนแง่น แต่อำนาจทุกชนิดในสังคมไทยกลับช่วยค้ำจุนเอาไว้จนกลายเป็นความจริงแม้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นไม่มีความเข้มแข็งทางวิชาการแต่อยู่ได้หรือกลายเป็นความจริงได้เพราะอำนาจล้วนๆ สถาปนาจนมั่นคงแข็งแรงจนเป็นความจริงยิ่งกว่าความจริงใดทั้งหมด ความรู้ที่ดิ้นได้ทางประวัติศาสตร์เพราะมีหลายด้านกลับกลายมาตายตัวใช้ตัดสินชีวิตคนจำนวนมากหลายครอบครัวได้</p><p>“ความเชื่อผิดๆ ทางประวัติศาสตร์ที่บรรดาผู้นิยมเจ้าอุปโลกน์กันขึ้นมา ทำให้เกิดคำกล่าวว่ายิ่งจริงยิ่งผิดในการต่อสู้คดี&nbsp;112 ถ้าคุณใช้แนวทางต่อสู้แบบทนายอานนท์คือพูดความจริง คำเตือนหนึ่งก็คือว่าแพ้ทุกราย เพราะยิ่งจริงยิ่งผิด เหตุผลก็คือการอิงกับประวัติศาสตร์อย่างที่กล่าวมามันข้ามการพิสูจน์ทั้งสิ้นแล้วเป็นการละเมิดความเชื่อทางประวัติศาสตร์เช่นนั้น เพราะไปท้าทายมิจฉาทิฐิของตุลาการราชนิติธรรม การต่อสู้ของอานนท์ นำภาด้วยความจริงจึงไม่ใช่การชนะคดีแต่คือการตีไปที่หัวใจของราชนิติธรรมอย่างตรงที่สุด การต่อสู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในเรื่อง&nbsp;2475 และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองไทยจึงเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย”</p><p>ธงชัยเห็นว่าราชนิติธรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ้างอิงกับ 2475 และทำให้คณะราษฎรไม่มีความสำคัญ มีปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ร้าย และเป็นเรื่องที่ยอมให้มีการพูดถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองไม่ได้เพราะจะทำลายราชนิติธรรมทั้งหมดให้พังลง</p><p>ธงชัยกลับมาอธิบายต่อถึงเรื่องการประสานของราชนิติธรรมและนิติรัฐอภิสิทธิ์ว่าที่อยู่ด้วยกันได้เพราะเป็นการปกครองด้วยสภาวะยกเว้นทางกฎหมายเหมือนกัน ก่อนจะแจกแจงว่ามีอยู่&nbsp;5 ประเด็นคือ</p><p>หนึ่ง มีการแยกแยะคดีที่เกี่ยวกับภัยความมั่นคงหรือกระทบผลประโยชน์รัฐออกจากคดีระหว่างบุคคลหรือคดีอื่นๆ ที่ไม่มีนัยยะเรื่องความมั่นคง โดยให้คดีระหว่างบุคคลหรือคดีอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงใช้กระบวนการตามบรรทัดฐานกฎหมาย แล้วให้ถือคดีความั่นคงของรัฐเป็นคดีที่อยู่ในสภาวะยกเว้นแล้วงดใช้กฎหมายตามบรรทัดฐานแล้วใช้กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐแทน</p><p>ธงชัยชี้ปัญหาว่า เส้นแบ่งนี้ระหว่างคดีที่เป็นคดีความมั่นคงกับคดีที่ไม่เป็นนี้มักคลุมเครือ และเป็นไปตามใจผู้มีอำนาจ และถูกปล่อยให้ไม่ชัดเจนไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ความคลุมเครือนี้ทำให้ประชาชนคาดการณ์ไม่ได้และตกอยู่ในความกลัวว่าตัวเองจะถูกจัดการด้วยอำนาจพิเศษเมื่อไหร่</p><p>สอง รัฐมีอำนาจเหนือนิติศาสตร์ตามบรรทัดฐานได้ หากเกิดความขัดแย้งระหว่างการใช้อำนาจพิเศษกับการใช้อำนาจตามกฎหมายปกติหรือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา( ป.วิ อาญา) เช่น กระบวนการจับกุมควบคุมตัวเพื่อสอบสวนที่ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมาย ก็ให้ใช้อำนาจพิเศษนั้นเหนือกว่ากระบวนการตามกฎหมายปกติ และทำให้แม้กระทั่งการซ้อมทรมานก็ยังไม่เป็นความผิดเพราะกระบวนการตามกฎหมายปกติถูกงดใช้ไปแล้ว</p><p>“การพูดถึงสภาวะยกเว้นเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องนามธรรมที่เข้าใจยาก แต่เป็นเรื่องเข้าใจได้ง่ายเลยคือสภาวะยกเว้นกฎหมาย วิ.อาญาตามปกติแล้วให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ”</p><p>สาม อำนาจพิเศษมากับสภาวะยกเว้นหลายรัฐจึงต้องพยายามสร้างสภาวะยกเว้นให้เกิดขึ้น</p><p>สี่ กฎหมายไทยให้อำนาจพิเศษในกฎหมายหลายระดับ</p><p>ระดับแรกคือในกฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งโดยมากจะต้องให้เป็นอำนาจรัฐสภาในการประกาศใช้เฉพาะสถานที่และเฉพาะเวลาชั่วคราวสั้นๆ แต่ไทยสามารถใช้กฎอัยการศึกต่อเนื่องเป็นสิบปีได้ช่วงสงครามเย็น แล้วในภาคใต้ยังใช้กฎอัยการศึกกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินได้เป็นเวลาต่อเนื่องกัน&nbsp;20 ปีแล้ว</p><p>ระดับที่สอง มีการออกกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษก็คือ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎอัยการศึกและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน</p><p>ระดับที่สาม คือการมีข้อยกเว้นในกฎหมายปกติ ที่มักระบุข้อยกเว้นเรื่องความมั่นคงเอาไว้&nbsp; ทั้งในกฎหมายการพิมพ์ กฎหมายป่าไม้ กฎหมายสื่อ พ.ร.บ.คอมฯ เท่ากับสามารถ “เว้นแต่” เพื่องดใช้กฎหมายเหล่านี้ได้เสมอ ข้อยกเว้นแบบนี้มีแม้กระทั่งในรัฐธรรมนูญ 2540 ในหมวดสิทธิเสรีภาพ เท่ากับเป็นการงดใช้รัฐธรรมนูญก็ยังได้</p><p>นอกจากนั้นยังมีอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค&nbsp;2 หมวด 1 เป็นความผิดต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรและถูกใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2451 และฎหมายหมดวนี้เป็นกฎหมายที่รวมมาตรา&nbsp;112 และ 116 อยู่ด้วย เป็นกฎหมายที่ให้สภาวะยกเว้นอย่างถาวร</p><p>รัฐไทยได้สร้างสร้างสภาวะยกเว้นไว้หลายชั้นเพื่อให้หยิบมาใช้ได้ และสังคมที่เจอการใช้กฎหมายที่มีสภาวะยกเว้นซ้อนกันแบบนี้คือสามจังหวัดชายแดนใต้ที่เรียกกฎหมายเหล่านี้รวมๆ กันว่ากฎหมายพิเศษเพราะเมื่อหากหลุดจากการใช้กฎหมายฉบับหนึ่งก็หยิบอีกฉบับมาใช้เพื่อให้อำนาจพิเศษแก่รัฐในการจัดการกับคนที่เป็นภัยความมั่นคง</p><p>แต่สังคมไทยที่ไม่ต้องเจอการใช้กฎอัยการศึกทั้งประเทศ แต่ก็อยู่ในสภาพที่ต้องเจอกับประมวลกฎหมายอาญา ภาค&nbsp;2 หมวด 1 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และกฎหมายทั่วไปที่มีข้อยกเว้นเต็มไปหมด</p><p>“เราเองต่างหากที่เข้าใจผิดว่าระบบกฎหมายที่เราใช้ยึดตามหลักนิติธรรมจึงจะได้มีสิทธิประกันตัวเป็นสิทธิพื้นฐาน ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาคือผู้บริสุทธิ์ก่อนที่จะถูกพิสูจน์ว่ามีความผิด ถือว่าภาระพิสูจน์เป็นของผู้กล่าวหา แต่ในความเป็นจริงกระบวนการยุติธรรมไทยทั้งหมดทั้งศาลในพระปรมาภิไธยของพระเจ้าอยู่หัวด้วย ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองด้วยสภาวะยกเว้น ของราชนิติธรรมซึ่งเป็นนิติรัฐอภิสิทธิ์สยาม ปกครองด้วยสภาวะยกเว้นทางกฎหมายนั่นหมายความว่าระงับหลักการที่กล่าวมาทั้งหมดไว้ก่อน”</p><p>ธงชัยกล่าวว่า เมื่อหลักการเรื่องสิทธิประกันตัวหรือเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะถูกพิสูจน์ถูกระงับไปแล้ว ก็กลับไปใช้หลักตามแบบโบราณที่ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช์คือถือว่าจำเลยมีความผิดไว้ก่อนและเป็นคนพิสูจน์ว่าตนเองบริสุทธิ์</p><p>อย่างไรก็ตาม ธงชัยก็ยังเห็นว่าในคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอบ่างคดีระหว่างประชาชนด้วยกันแม้จะใช้ระบบกฎหมายปกติ แต่ในสังคมไทยระบบกฎหมายปกติก็ยังอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมป์ที่เต็มไปด้วยเส้นสายอภิสิทธิ์ แม้ว่านิติรัฐอภิสิทธิ์จะไม่จำเป็นต้องเกิดในสังคมที่ใช้เส้นสาย แต่ในไทยคดีไม่เกี่ยวความมั่นคงที่บังคับใช้ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งหรือ ป.วิ อาญาตามปกติ ก็ยังต้องสู้กับระบบเส้นสายอีกทอดหนึ่งเพราะเป็นสภาวะปกติอีกอย่างหนึ่งของสังคมไทย แต่เขายังต้องขอละเรื่องนี้ไว้เพราะเป็นอีกประเด็นใหญ่อีกเรื่องของสังคมไทย</p><p>นิติรัฐอภิสิทธิ์เป็นระบบนิติศาสตร์ที่ไม่ปกติที่มุ่งสยบให้ประชาชนยอมจำนนเพราะเชื่อว่าประชาชนขี้ขลาดและเขลาแล้วยอมศิโรราบ และราชนิติธรรมคือระบบที่ใช้ปกครองประชาชนที่ยังไม่พร้อมเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จำเป็นต้องมีรัฐผู้รู้ดีนำทางความมั่นคงของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นในการนำพาประชาชนไปด้วยกัน แต่ในไทย หมายถึงความมั่นคงของรัฐที่มีชนชั้นนำเป็นผู้นิยมเจ้า และความคิดทำนองนี้ก็มีมาอย่างต่อเนื่อง</p><p>ธงชัยยกเรื่องการถกเถียงในอนิเมชั่นเรื่อง 2475 ก็เช่นกัน เพราะผู้สร้างเชื่อว่าประชาชนไม่รู้เรื่องรู้ราวและโง่จนจับโกหกไม่ได้ว่าความรู้ในอนิเมชั่นเรื่องนี้เก่าขนาดไหนและเป็นความรู้ชุดเดียวกับที่พยายามกลบฝังคณะราษฎรและให้ร้ายปรีดีมานานแล้วตั้งแต่ 2490 แต่ถูกนักวิชาการตอบโต้ไปแล้วและนักวิชาการคนหนึ่งที่ออกมาตอบโต้ก็คือนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ที่เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในขณะนี้</p><p>ในกรณีวิทยานิพนธ์ของของณัฐพล ใจจริง ที่ภายหลังถูกทำออกมาเป็นหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ว่าเขาถูกกล่าวหาด้วยวิธีสกปรกเพราะแม้ว่าจะเกิดข้อผิดพลาดในวิทยานิพนธ์แต่เมื่อออกเป็นหนังสือมาแล้วก็ได้มีการยกส่วนที่ผิดพลาดออกไปแล้วแต่ฝ่ายนิยมเจ้าก็ยังเชื่อว่าในหนังสือที่ออกมายังมีข้อผิดพลาดอยู่และพยายามตีขลุมว่าในหนังสือยังมีข้อความที่ผิดอยู่ ณัฐพลยังถูกฟ้องเป็นคดีและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเอาผิดดั่งศาลศาสนาในยุโรปในอดีตด้วย</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53748336575_2ff678ee79_o.jpg" width="800" height="533" loading="lazy"><p>ธงชัยกล่าวว่าความรู้นักนิติศาสตร์ของไทยจะต้องมีฐานที่ไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิกกฎหมายเพื่อตีความ นำบริบทเข้ามาแวดล้อมที่ต้องรู้เข้ามาเพื่อเข้าใจหลักเหตุผลของการร่างกฎหมายและการใช้กฎหมาย และต้องยอมให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีพลวัตรเข้ามาเติบโตให้ระบบกฎหมายไทยมีพลวัตรด้วยเช่นกัน&nbsp;&nbsp;</p><p>การใช้กฎหมายกำหลาบนักกิจกรรมต่อเนื่องมาหลายปีเพราะเชื่อว่าประชาชนโง่เขลาและขลาดกลัวเกินกว่าจะตอบโต้การคุกคามของรัฐทำให้เราอึดอัด แต่เราก็ยังต่อสู้ตามช่องทางตามระบบ ทั้งการแก้รัฐธรรมนูญพยายามสมัคร สว.ทั้งที่ทุกขั้นตอนไม่เป็นธรรมเลย และคนที่ขลาดอย่างแท้จริงคือคนในระบบทั้งหลายที่ไม่กล้าทำตามวิชาชีพของตนด้วยความรับผิดชอบ ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ คนเหล่านี้หวาดกลัวในการสูญเสียตำแหน่ง หน้าตา ผลประโยชน์ คนเหล่านี้ขลาดกลัวอย่างที่สุด</p><p>ธงชัยกล่าวถึงความเสียดายที่รัฐบาลปัจจุบันเพิกเฉยทั้งที่เคยหาเสียงว่าจะทำให้เกิดความยุติธรรม แต่ปล่อยให้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนใต้ยังถูกใช้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีความคิดจะเลิกตีตรวนข้อมือข้อเท้าผู้ต้องขัง ไม่ยกเลิกสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐเลิกติดตามคุกคามนักกิจกรรม ยังไม่ต้องพูดเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ทำได้ยากกว่าเรื่องที่กล่าวไป</p><p>“ราชนิติธรรมเป็นนิติอปกติที่มุ่งสยบให้เรายอมจำนน แล้วเราเขลาหรือ เราขลาดหรือ หากรัฐบาลมีความกล้าหาญต้องผลักประตูให้เปิดออกสักบานสองบาน ผมเชื่อว่าความหวังของผู้คนจะกลับมามากโข ประตูบานหนึ่งคือการคืนความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงและผู้เสียชีวิตในวัดปทุม ประตูอีกบานหนึ่งคือนิรโทษกรรมให้กับผู้ต้องหาทางการเมืองทุกคน”</p><p>เขากล่าวทิ้งท้ายถึงการต่อสู้ที่ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนตลอด 10 ปีที่ผ่านมาว่ากำลังเผชิญสิ่งที่หนักกว่าที่คิด บริบทคือกฎหมายอำนาจนิยมสองกระแสที่ผนึกรวมกันเข้ามาภายใต้ฉันทามติภูมิพล หลังตุลาการภิวัฒน์ 2549 ศูนย์ทนายความฯ กำลังต่อสู้กับความถดถอยที่มีลักษณะเฉพาะในประวัติศาสตร์ของระบบกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมายและนิติศาสตร์ของไทยที่ผิดพลาดมาแต่ต้น</p><p>“เอาหัวใจของ Rule of Law กลับลงไปในกฎหมาย หัวใจนั้นคือสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งจะต้องไม่ปล่อยให้รัฐใช้อำนาจมารุกล้ำ อันนั้นเป็นหัวใจของ Rule of Law ทั้งโลก” ธงช

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“ยามขึ้นอย่าหลง ยามลงอย่าท้อ” ธงชัย ประสงค์สันติ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1180 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2559 18:15:13
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 523 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 563 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - The Memoirs of Haji Sulong : ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 76 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2566 23:03:18
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - The Memoirs of Haji Sulong : ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 253 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 02:08:38
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.769 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มิถุนายน 2567 17:08:07