[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 01:45:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักบินอวกาศ  (อ่าน 563 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 13
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2640


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 มิถุนายน 2567 19:54:43 »


บรูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527
(ภาพจากองค์การนาซา)


นักบินอวกาศ

นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก

คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอต (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ

คำว่า แอสโตรนอต ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี

ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอต (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี

ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอต (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง

ส่วนในจีน เรียกว่า ไทโคนอต (taikonaut) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1998 โดยสื่อมวลชนชาวมาเลเซีย ชื่อ Chiew Lee Yih ซึ่งมาจากคำว่า ไท่คง (太空) ในภาษาจีน หมายถึง อวกาศ แต่ในภาษาจีนนั้น มีคำว่า อยู่หาง หยวน (宇航員, ต้นหนอวกาศ) ซึ่งใช้กันมานานในความหมายว่า นักบินอวอากาศและมนุษย์อวกาศ ในภาษาพูดทั่วไปจะใช้ว่า ไท่คงเหริน (太空人) มีความหมายว่ามนุษย์อวกาศนั่นเอง แต่ข้อความภาษาอังกฤษที่ทางการจีนใช้เรียกนักบินอวกาศของตน ยังคงใช้ว่า astronaut ตามปกติ



ยูรี กาการิน เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกและสหภาพโซเวียต (ยุโรป)


อลัน เชพเพิร์ด เป็นนักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐ (อเมริกาเหนือ)


อเล็กซานเดอร์ คาเรรี เป็นนักบินอวกาศหนึ่งในสองคนแรกของรัสเซีย


หยาง ลีเหว่ย เป็นนักบินอวกาศคนแรกของจีน


นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์ที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลกและสหรัฐ


ซิกมันด์ จาห์น จากเยอรมนีตะวันออก เป็นชาวเยอรมันคนแรกในอวกาศ


เฮเลน ชาร์แมน เป็นชาวสหราชอาณาจักรคนแรกในอวกาศ


อัลฟ์ เมอร์โบลด์ จากเยอรมนีตะวันตก เป็นนักบินอวกาศคนแรกของเยอรมนี


ฟรังโก มาเลอร์บา เป็นชาวอิตาลีคนแรกในอวกาศ


ฌ็อง-ลัว เครเตียง เป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกในอวกาศ


แฟม ตวน เป็นชาวเวียดนาม (เอเชีย) คนแรกในอวกาศ


มาร์โก พอนเทส เป็นชาวบราซิล (อเมริกาใต้) คนแรกในอวกาศ


มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ เป็นชาวแอฟริกาใต้ (แอฟริกา) คนแรกในอวกาศ


อี โซ-ย็อน จากเกาหลีใต้ เป็นชาวเกาหลีคนแรกในอวกาศ


ราเกซ เชอร์มา เป็นชาวอินเดียคนแรกในอวกาศ


วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลกและสหภาพโซเวียต


แซลลี ไรด์ เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของสหรัฐ


เยเลน่า คอนดาโคว่า เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของรัสเซีย


หลิว หยัง เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของจีน


จิอากิ มุไค เป็นผู้หญิงญี่ปุ่นคนแรกในอวกาศ


คลอเดีย ไฮเนเรอ เป็นผู้หญิงฝรั่งเศสคนแรกในอวกาศ


ซามานธา คริสโตเฟอเรตติ เป็นผู้หญิงอิตาลีคนแรกในอวกาศ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 13
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2640


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2567 20:02:29 »



การใช้ชีวิตในอวกาศ

เมื่อยานอวกาศถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก หรือออกไปสู่อวกาศ มนุษย์ที่ขึ้นไปกับยานนั้นต้องทนต่อสภาพต่างๆ ในอวกาศที่แตกต่างจากสภาพบนพื้นโลก เช่น สภาพไร้น้ำหนัก สภาพความดัน และอุณหภูมิที่ต่างกับบนพื้นโลก ดังนั้น การใช้ชีวิตในอวกาศจึงเป็นเรื่องยากและต้องมีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี

ขณะที่ยานอวกาศโคจรรอบโลก มนุษย์อวกาศในยานจะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานน้อยลง เช่น หัวใจสูบฉีดโลหิตน้อยลง กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลงเพราะไม่ได้ออกแรงเคลื่อนไหวมาก ความหนาแน่นของกระดูกก็จะลดลง เพราะไม่ต้องพยุงร่างกายมาก มนุษย์อวกาศจึงต้องออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อให้อวัยวะทุกส่วนทำงานได้เป็นปกติ

นักบินอวกาศที่อยู่ในยานอวกาศ หรืออยู่ในสถานีอวกาศจะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันจึงแตกต่างจากการใช้ชีวิตบนโลกดังนี้

1. อาหาร
อาหารบนยานอวกาศเป็นอาหารสำเร็จรูปถูกทำให้แห้งเพื่อลดมวล อาจต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน ช้อนส้อมและภาชนะใส่อาหาร จะถูกวางไว้บนแถบแม่เหล็กเพื่อไม่ให้ลอย ขณะตักอาหารทานต้องระวังไม่ให้อาหารกระจายไปทั่วยาน อาหารเหลวและน้ำจะถูกบรรจุไว้ในภาชนะปิดมิดชิด แล้วใช้หลอดดูดเท่านั้น

2. การขับถ่าย
มนุษย์อวกาศจะถ่ายปัสสาวะลงท่อ แล้วนำไปรีไซเคิลให้เป็นน้ำบริสุทธิ์ เพื่อใช้อุปโภคบริโภคในยานอวกาศ การถ่ายอุจจาระจะใช้ความดันอากาศดูดออกแทนการใช้น้ำ แล้วทำให้แห้ง แล้วเก็บกลับมาทิ้งบนโลก

3. การออกกำลังกาย
มนุษย์อวกาศต้องออกกำลังกายประมาณวันละ 2 ชั่วโมงทุกวัน โดยใช้เครื่องออกกำลังกายที่ใช้เท้าเหยียบ แล้วออกกำลังกายโดยการวิ่ง ขณะวิ่งร่างกายต้องรัดติดไว้กับเครื่องออกกำลังกาย และเครื่องเออร์โกมิเตอร์ ที่มีรูปร่างคล้ายรถจักรยานที่ไม่มีล้อ

4. การนอน
มนุษย์อวกาศจะใช้ช่องนอนขนาดเล็กและถุงนอน โดยใช้สายรัดร่างกายไว้อย่างหลวมๆ กับช่องนอน เพื่อไม่ให้ร่างกายลอยไปลอยมาในขณะที่หลับ

5. การแต่งกาย
ขณะอยู่ในยานอวกาศ สามารถแต่งตัวตามสบายเหมือนอยู่บนพื้นโลก เนื่องจากภายในยานอวกาศถูกปรับสภาพแวดล้อมให้เหมือนบนพื้นโลก แต่ต้องสวมใส่ชุดอวกาศขณะที่ออกไปปฏิบัติภารกิจนอกยาน และขณะที่ยานกำลังขึ้นสู่อวกาศหรือกลับสู่โลก เพื่อเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

น้ำที่ใช้ในยานอวกาศส่วนหนึ่ง ได้จากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง อีกส่วนหนึ่งได้จากการรีไซเคิลน้ำที่ใช้แล้วรวมทั้งน้ำปัสสาวะ

ชุดอวกาศ ทำหน้าที่เป็นเกาะป้องกันรังสี เป็นฉนวนควบคุมอุณหภูมิ บรรจุแก๊สออกซิเจนสำหรับใช้หายใจและปรับความกดอากาศ



อาหาร
ภาพ : shutterstock.com


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.407 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มิถุนายน 2568 19:59:32