[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 กรกฎาคม 2568 04:08:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ยืนตรง “ไร่หมุนเวียน” (1) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐเปลี่ยนผัน  (อ่าน 201 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2567 16:47:23 »

ยืนตรง “ไร่หมุนเวียน” (1) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐเปลี่ยนผัน
 


<span>ยืนตรง “ไร่หมุนเวียน” (1) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐเปลี่ยนผัน</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-07-04T16:39:52+07:00" title="Thursday, July 4, 2024 - 16:39">Thu, 2024-07-04 - 16:39</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รัชชา สถิตทรงธรรม รายงาน/ถ่ายภาพ</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><div class="summary-box"><ul><li>พาชมไร่หมุนเวียน การหยอดข้าวไร่ พืชพรรณธัญญาหาร และป่ามะแขว่นของชาวกะเหรี่ยงโปว์ ที่บ้านแม่ส้าน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ชุมชนที่นี่ดำรงชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียนที่มีรอบพักฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของไร่กว่า 15 ถึง 20 ปี ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนสืบทอดหลายชั่วคน</li><li>อย่างไรก็ตามชุมชนเผชิญความขัดแย้งเรื่องที่ทำกินทับซ้อนกับป่าอนุรักษ์นับตั้งแต่ยุค "เอาคนออกจากป่า" ประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกิน จนถึงนโยบาย "ทวงคืนผืนป่า" สมัย คสช. ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐบ่อยครั้ง</li><li>การเผาเพื่อเตรียมทำไร่หมุนเวียนในฤดูแล้ง ยังถูกมองว่าเป็นตัวการทำลายป่าและที่มาของฝุ่นควัน PM.25 ขณะที่ตัวแทนชุมชนยืนยันว่าการเผาในช่วงที่เหมาะสมจะช่วยกำจัดวัชพืช เพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ถือเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อมาจากบรรพชน ซึ่งดีกว่าการชิงเผาล่วงหน้าและทิ้งช่วงหลายเดือนตามมาตรการห้ามเผา เมื่อเริ่มหยอดข้าวไร่หมุนเวียนก็เกิดวัชพืชขึ้นหนาแน่นจนต้องออกแรงเผาอีกครั้ง</li><li>ทั้งนี้ชุมชมบ้านแม่ส้านและภาคประชาสังคมมีความหวังต่อการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยและทำกินของชุมชนชาวกะเหรี่ยง รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่ผ่านวาระรับหลักการจากสภาฯ เมื่อต้นปี 2567 โดยหวังว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชน และแก้ไขปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรและการอนุรักษ์ของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง</li></ul></div><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834615414_6f11bd71cf_h.jpg" width="1600" height="1067" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ไร่หมุนเวียนหลังเก็บเกี่ยวข้าวและผลผลิตเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2566 (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>“ไร่หมุนเวียน” หรือที่หลายคนอาจเคยเข้าใจผิดมาก่อนว่าเป็น “ไร่เลื่อนลอย” ที่มักถูกเชื่อมโยงกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟป่า หมอกควัน PM2.5 น้ำท่วม หรือดินถล่ม จนนำไปสู่การเกิดอคติทางสังคมต่อพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองที่ถูกตีตราว่าเป็นต้นเหตุของภัยธรรมชาติดังกล่าว และปัจจุบันยังคงเป็นเช่นนั้น แม้ว่าวันนี้ในหน้าประวัติศาสตร์ของพวกเขาจะได้รับการยอมรับที่จับต้องได้อย่างร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่ผ่านวาระรับหลักการจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา</p><p>จังหวัดลำปางเป็นหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่มีการทำไร่หมุนเวียนที่ชุมชนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) บ้านกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ หนึ่งในพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 และเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์การยืนหยัดสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อปกป้องวิถีไร่หมุนเวียนจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834714370_79957706fb_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สมชาติ รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกลาง (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>จุดเริ่มต้นของการรู้จักไร่หมุนเวียนในจังหวัดลำปางมาจากการได้พูดคุยกับ สมชาติ รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านกลางที่เวทีชุมนุมภาคี #Saveบางกลอย เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา โดยสมชาติได้เล่าให้ฟังในขณะนั้นว่า จริง ๆ แล้วชุมชนกะเหรี่ยงในจังหวัดลำปางที่กำลังต่อสู้กับอำนาจรัฐเพื่อปกป้องวิถีไร่หมุนเวียนไม่ได้มีแค่บ้านกลาง แต่ยังมีบ้านแม่ส้านซึ่งอยู่ถัดขึ้นไปจากบ้านกลางอีก 12 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมแล้ว บ้านแม่ส้านจะโดดเด่นทางด้านนี้มากกว่าบ้านกลางด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีทั้งความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยง ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ซึ่งจะทำให้ได้มิติการเรียนรู้และเข้าใจวิถีไร่หมุนเวียนที<a href="#Saveบางกลอย">https://live.staticflickr.com/65535/53836745430_1fb16f7732_k.jpg" width="1639" height="2048" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตารางที่ 1 พื้นที่ทำไร่หมุนเวียนกับพื้นที่ป่า เปรียบเทียบระหว่างบ้านแม่ส้านและชุมชนกะเหรี่ยงในจังหวัดลำปาง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834714360_4ea13af04b_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ณัฐนนท์ ลาภมา ชาวบ้านแม่ส้าน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>ณัฐนนท์ ลาภมา ชาวบ้านแม่ส้านเล่าให้ฟังว่า ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านทำเกษตรกรรมแบบไร่หมุนเวียนมาตั้งแต่เริ่มต้นตั้งถิ่นฐานและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน เพราะโดยธรรมชาติของชาวกะเหรี่ยงจะมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่ายและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างคนกับทรัพยากรในผืนป่าตามปรัชญาชาวกะเหรี่ยงที่บรรพชนสอนไว้ว่า “เราทำมาหากิน เราเดินตามระบบที่บรรพชนวางไว้”</p><p>“ไร่หมุนเวียนเมื่อ 300 ปีก่อนเป็นยังไง วันนี้ที่บ้านแม่ส้านยังคงมีไร่หมุนเวียนเหมือนกับวันนั้น ซึ่งในไร่หมุนเวียน 1 แปลงเราจะปลูกข้าวไร่เป็นหลัก และปลูกพืชผลต่างๆ แซมไปกับข้าวไร่ เช่น กล้วย พริก ถั่ว เผือก มัน และพืชผักผลไม้อื่น ๆ ที่ออกผลให้ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวตลอดทั้ง 12 เดือน”</p><p>ณัฐนนท์เริ่มต้นพาเราไปรู้จักไร่หมุนเวียนในช่วงเวลาที่ชาวบ้านได้เตรียมพื้นที่เพาะปลูกเสร็จแล้วและกำลังจะหยอดข้าวไร่ ซึ่งการหยอดข้าวไร่ของชาวกะเหรี่ยง (อาจรวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองอื่นด้วย) มีความพิเศษทางวัฒนธรรมอีกด้วยคือ ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหยอดลงบนพื้นที่เพาะปลูกต้องทำพิธีเสี่ยงทายตามความเชื่อดั้งเดิมว่า ลักษณะเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่หมุนเวียนในปีนี้จะให้ผลผลิตที่ดีต่อครอบครัวมากน้อยแค่ไหน</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834615359_9b2c591b4d_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านกำลังหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวบนพื้นที่ไร่หมุนเวียน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>“ถ้าเราทำตามผลเสี่ยงทายเมล็ดพันธุ์ นอกจากจะทำให้เราเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปริมาณที่น่าพอใจแล้ว เรายังได้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่หมุนเวียนมาอีกหลากหลายสายพันธุ์ด้วย อย่างที่บ้านแม่ส้านเราเคยมีสายพันธุ์ข้าวจากไร่หมุนเวียนมากสุดถึง 35 สายพันธุ์ แบ่งเป็นข้าวเหนียว 27-28 สายพันธุ์ นอกนั้นเป็นสายพันธุ์ข้าวเจ้า แต่ในทุกปีเราจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจาก 35 สายพันธุ์เพาะปลูกในไร่หมุนเวียนโดยแทบจะไม่ต้องนำเข้าสายพันธุ์ข้าวจากนอกพื้นที่เลย” ณัฐนนท์ระบุ</p><p>หลังเสร็จกิจกรรมหยอดข้าวไร่หมุนเวียน เราและชาวบ้านแม่ส้านจะยังคงเฝ้ารอความงดงามของไร่หมุนเวียนและผลผลิตอันงอกงามในช่วงฤดูฝนต่อจากนี้ โดยในระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิตชาวบ้านยังต้องขึ้นมาที่ไร่หมุนเวียนของตนเพื่อถางหญ้าและวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยเลย รวมไปถึงการปล่อยให้ต้นข้าวและพืชผลได้เติบโตตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยและไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทานเหมือนเกษตรพื้นราบ เพราะไร่หมุนเวียนจะอาศัยเพียงน้ำจากน้ำฝนเป็นหลัก</p><h2>“มะแขว่น” ยืนเด่นไร่หมุนเวียน</h2><p><strong>พฤศจิกายน 2566</strong></p><p>เรากลับขึ้นมายังบ้านแม่ส้านอีกครั้งในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตในไร่หมุนเวียน ณัฐนนท์พาเราเดินไปไร่หมุนเวียนของ พิเชษฐ์ ทึงวา ชาวบ้านแม่ส้านผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่กำลังเร่งเกี่ยวข้าวไร่ในแปลงสุดท้าย ซึ่งพิเชษฐ์เล่าให้เราฟังว่าข้าวไร่หมุนเวียนที่เก็บเกี่ยวได้ในปีนี้มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834272651_22265b17c2_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">พิเชษฐ์ ทึงวา ชาวบ้านแม่ส้าน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>“อันนี้เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวเปลือกเหลือง ภาษากะเหรี่ยงจะเรียกว่า ต่าแอ๊ะบะ มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี ลำต้นไม่หักง่าย แบบนี้ถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวสมบูรณ์ สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในปีต่อไปได้เลย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ข้าวไร่หมุนเวียนจะปลูกต่อเนื่องได้สูงสุด 3 ปี จากนั้นอาจเปลี่ยนเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะลำต้นแข็งแรงสมบูรณ์และทนทานกว่า” พิเชษฐ์กล่าว</p><p>หลังจากที่ข้าวไร่หมุนเวียนในแปลงสุดท้ายของพิเชษฐ์ถูกเก็บเกี่ยวจนหมด พิเชษฐ์เล่าให้ฟังระหว่างเดินจากไร่กลับหมู่บ้านต่อไปอีกว่า แปลงข้าวไร่หมุนเวียนหลังเก็บเกี่ยวเสร็จจะกลายเป็นไร่เหล่า หรือพื้นที่ที่ต้องถูกพักการเพาะปลูกต่อไปอีกอย่างน้อย 15–20 ปีจึงจะกลับมาปลูกข้าวได้อีกครั้ง ส่วนการทำไร่หมุนเวียนในปีต่อไปก็จะขยับไปทำอีกแปลงหนึ่ง</p><p>“เห็นต้นมะแขว่นน้อยตรงนั้นไหม ชาวบ้านแม่ส้านใช้อายุต้นมะแขว่นเป็นเครื่องวัดอายุไร่เหล่าหรือระยะเวลาพักไร่หมุนเวียนที่เหมาะสม” พิเชษฐ์กล่าวพร้อมชี้ไปยังต้นมะแขว่นในไร่หมุนเวียนที่กำลังจะเป็นไร่เหล่าในปีต่อไป</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834272616_a08ed5bb03_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กล้ามะแขว่นที่ขึ้นอยู่ในไร่หมุนเวียน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>มะแขว่นที่คนเหนือมักจะคุ้นเคยกับกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ดร้อนในเมนูอาหารเมืองยอดนิยม เช่น ลาบคั่ว แกงอ่อม แกงแค ยำไก่เมือง หรือแม้กระทั่งเมนูร่วมสมัยอย่างหมูทอดมะแขว่น ถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญระดับต้น ๆ ของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านเลยก็ว่าได้ เพราะหลายครอบครัวที่สามารถตั้งตัวได้จากรายได้การขายมะแขว่นตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาทต่อปี</p><p>ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมที่เราขึ้นไปอยู่บ้านแม่ส้านเป็นรอยต่อระหว่างฤดูเกี่ยวข้าวไร่หมุนเวียนกับฤดูเก็บมะแขว่นพอดี วันรุ่งขึ้นณัฐนนท์จึงพาเราติดตามชาวบ้านไปเก็บมะแขว่นในป่า ซึ่งต้นมะแขว่นที่มีผลผลิตพร้อมเก็บเกี่ยวจะมีความสูง 4 – 5 เมตรขึ้นไป สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมกราคมของทุกปี</p><p>“ป่ามะแขว่นที่เรากำลังยืนอยู่ตรงนี้เคยเป็นไร่หมุนเวียนมาก่อน ถ้าวัดอายุป่าจากต้นมะแขว่นก็น่าจะราว ๆ 7-10 ปีได้” ณัฐนนท์ระบุ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834272611_037a5169e5_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ต้นมะแขว่นที่ยืนต้นสูงจนคนต้องปีนขึ้นไปเก็บผลผลิต (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>ณัฐนนท์เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า วงจรไร่หมุนเวียนของบ้านแม่ส้านจะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากไร่หมุนเวียนทั่วไปตรงที่ใช้ต้นมะแขว่นระบุระยะเวลาพักฟื้นไร่เหล่าที่เหมาะสมต่อการบรรจบกับปีที่จะกลับมาทำไร่หมุนเวียนได้อีกครั้ง ซึ่งรอบหมุนของไร่หมุนเวียนบ้านแม่ส้านโดยเฉลี่ยจะได้สูงถึง 15 – 20 ปี ซึ่งเป็นรอบหมุนที่สูงกว่าไร่หมุนเวียนทั่วไปที่ได้รอบหมุนมาตรฐานโดยเฉลี่ย 7 - 12 ปี</p><p>“จริงๆ ไร่หมุนเวียนที่ได้พักฟื้น 7 ปีก็ได้มาตรฐานระดับสอบผ่านแล้วเพราะหน้าดินมีเวลาสะสมธาตุอาหารอย่างพอเหมาะ แต่ถ้าวันนี้บ้านแม่ส้านไม่ได้มีต้นมะแขว่น รอบหมุนอย่างน้อย 7 ปีรัฐจะยอมให้เราหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะมะแขว่นบ้านแม่ส้านเป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตตามธรรมชาติบนพื้นที่ป่าและไร่หมุนเวียนอยู่ก่อนแล้ว” ณัฐนนท์กล่าว</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834520923_511de014e4_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กำธร ชาวบ้านแม่ส้าน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>กำธร ชาวบ้านแม่ส้านเล่าให้ฟังหลังเก็บมะแขว่นเสร็จเมื่อช่วงบ่ายวันนั้นว่า โดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนจะเก็บมะแขว่นได้อย่างน้อยวันละ 4 – 5 กระสอบ ส่งขายวันต่อวัน ถ้าเป็นมะแขว่นสดราคาเริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 20 บาท (ราคาปี 2566) แต่ถ้าตากแห้งอีก 2 – 3 วัน ราคามะแขว่นจะพุ่งสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 – 120 บาท</p><p>“ทุกปีจะมีลูกค้าออเดอร์เข้ามาเยอะมาก เขาบอกว่ามะแขว่นบ้านแม่ส้านมีกลิ่นหอมไม่แพ้มะแขว่นจากที่อื่น แม้ว่าปริมาณผลผลิตของบ้านแม่ส้านจะเก็บได้น้อยกว่าก็ตาม แต่มะแขว่นเป็นผลผลิตจากไร่หมุนเวียนที่ช่วยให้คนในเมืองมองวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงในทางที่ดีขึ้น และชาวบ้านแม่ส้านก็สามารถยืนหยัดวิถีไร่หมุนเวียนและเอาตัวรอดจากสภาวะความจำเป็นเรื่องปากท้องด้วยมะแขว่นไปพร้อมกันได้ด้วย” กำธรกล่าว</p><p>แม้ว่ามะแขว่นจะกลายเป็นผลผลิตที่มีความสำคัญต่อปากท้องชาวบ้านแม่ส้าน แต่พวกเขายังคงยืนหยัดที่จะทำไร่หมุนเวียนเป็นหลักต่อไป ด้วยต้นมะแขว่นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในช่วงระหว่างพักการเพาะปลูกเป็นไร่เหล่าอยู่แล้ว ซึ่งชาวบ้านแทบจะไม่ต้องนำต้นกล้ามะแขว่นจากที่อื่นมาปลูกเพิ่มเลย มะแขว่นจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่พิสูจน์ว่า ชุมชนมีความสามารถรักษาความมั่นคงในระบบนิเวศของไร่หมุนเวียน</p><h2>“แม่ส้าน” ยืนเดี่ยวต้านความไม่เป็นธรรมของอำนาจรัฐ</h2><p>แม้ว่ามะแขว่นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านรักษาพื้นที่ไร่หมุนเวียนไว้ได้ แต่บ้านแม่ส้านยังคงประสบปัญหาพื้นที่ทำกินถูกประกาศทับซ้อนกับเขตป่าอนุรักษ์นับตั้งแต่เกิดนโยบายเอาคนออกจากป่าของรัฐบาลทหารยุค รสช. และการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเมื่อปี 2534 จนนำมาสู่การพยายามเรียกร้องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินทำกินที่มีมาแต่ก่อนประกาศเขตอุทยานฯ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะประเด็นการทำไร่หมุนเวียนที่ถูกมองว่าเป็นการทำลายป่าและกลายเป็นแพะรับบาปของการเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ</p><p>ชาวบ้านแม่ส้านยืนยันว่าพวกเขาอยู่ที่นี่ก่อนมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายเป็นครั้งแรกจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งจากการประกาศใช้กฎหมายฉบับต่าง ๆ หลังจากนั้นเป็นต้นมาจะพบว่า สาระสำคัญของกฎหมายหรือนโยบายสำคัญแต่ละฉบับได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองอย่างไรบ้าง</p><div class="note-box"><h2>รายชื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายป่าไม้ เรียงลำดับตามปีที่ประกาศใช้ สาระสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้น</h2><p><strong>พระราชบัญญัติป่าไม้ (พ.ศ. 2484)</strong> การเข้าถึงทรัพยากรในพื้นที่ป่า เช่น หาของป่า ทำไม้ จะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ</p><p><strong>พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ (พ.ศ. 2504)</strong> พื้นที่ป่าถูกอำนาจรัฐส่วนกลางผูกขาดทั้งด้านการอนุรักษ์และแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เกิดแนวคิดป่าปลอดคนที่ไม่ยอมรับว่า กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองคือคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อนการประกาศบังคับใช้กฎหมาย</p><p><strong>พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (พ.ศ. 2507)</strong> ส่งเสริมให้ทำป่าเศรษฐกิจโดยการอนุญาตให้ปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยต้องเสียค่าตอบแทนให้กับรัฐเมื่อได้รับอนุญาต</p><p><strong>พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (พ.ศ. 2532) </strong>ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ กรมป่าไม้เร่งรัดประกาศเขตป่าอนุรักษ์และเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่สนใจว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ จนนำไปสู่ปฏิบัติการไล่คนออกจากป่า</p><p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 56</strong> ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนว่า บุคคลมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ บุคคลสามารถฟ้องร้องรัฐได้เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและการมีส่วนร่วมดังกล่าว</p><p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 67</strong> มีเนื้อหาเดียวกับบทบัญญัติในมาตรา 56 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540</p><p><strong>มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (พ.ศ. 2553)</strong> ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย)</p><p>เพิกถอนพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ป่าสงวนซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีข้อเท็จจริงจากการพิสูจน์อย่างเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ได้อยู่อาศัย ดำเนินชีวิต และใช้ประโยชน์ในที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน หรือก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมาย หรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)</p><p>ส่งเสริมและยอมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งผลักดันให้ระบบไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)</p><p>กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเพื่อการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเรียกขานเป็น "พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์” เมื่อปี 2566 (กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงวัฒนธรรม)</p><p><strong>คำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 “นโยบายทวงคืนผืนป่า” (พ.ศ.2557) </strong>ให้อำนาจทหาร ตำรวจ กอ.รมน. และฝ่ายปกครองเป็นผู้นำภารกิจจับกุมผู้บุกรุกป่าและตรวจยึดที่ดินที่ชาวบ้านทำการเกษตรอยู่ จากที่เดิมปฏิบัติการแบบนี้นำโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้</p><p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 43&nbsp;</strong> บุคคลและชุมชนมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สามารถเข้าชื่อเสนอต่อหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรือยับยั้งมิให้ดำเนินการอันใดที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนหรือชุมชน แต่เมื่อเทียบกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนจะพบว่า ไม่ปรากฏสิทธิที่ประชาชนจะสามารถฟ้องร้องรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและการมีส่วนร่วมได้</p><p><strong>พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ (พ.ศ. 2562) </strong>ปรับบทกำหนดโทษสูงขึ้น เช่น การยึดถือ ครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 - 20 ปี หรือปรับ 400,000 – 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งแตกต่างจากบทกำหนดโทษใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ที่กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ</p><p>ถ้าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 หรือชั้น 2 หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 41&nbsp;</p><p><strong>พระราชบัญญัติป่าชุมชน (พ.ศ. 2562)</strong> บทเฉพาะกาลบัญญัติไม่ให้นำกฎหมายอุทยานและกฎหมายสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามาบังคับใช้กับพื้นที่ป่าชุมชน แต่กรมป่าไม้เลือกที่จะรับรองเฉพาะป่าชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ภายใต้อำนาจของกรมป่าไม้ ส่วนป่าชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าก็ให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติจริงเกิดมาตรฐานที่แตกต่างกัน&nbsp;</p><p><strong>(ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... &nbsp; &nbsp;…</strong></p><p>จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
จัดตั้งสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย
จัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์
กำหนดพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
เพิ่มสิทธิประโยชน์และข้อยกเว้นในพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
กำหนดบทลงโทษต่อผู้จงใจเลือกปฏิบัติหรือทำร้ายกลุ่มชาติพันธุ์&nbsp;
มีหลักประกันที่ชัดเจนสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง สามารถใช้อ้างอิงในทางกฎหมาย และมีศักดิ์เทียบเท่ากับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ก่อน เช่น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ</p></div><p>จากระยะเวลาของการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองจะพบว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองอย่างชัดเจนเกิดขึ้น 3 ช่วงเวลา ได้แก่</p><p>(1) พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 : จุดเริ่มต้นของยุคสมัยแห่งการใช้อำนาจรัฐส่วนกลางควบคุมผืนป่า</p><p>(2) ประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ พ.ศ. 2531 – 2532 : จุดเริ่มต้นของปฏิบัติการเอาคนออกจากป่าเพื่อเร่งประกาศเขตป่าอนุรักษ์ ชาวบ้านสูญเสียพื้นที่ทำกินหรือใช้สอยประโยชน์จากพื้นที่ที่รัฐจัดสรรให้ใหม่ไม่ได้&nbsp;</p><p>(3) นโยบายทวงคืนผืนป่า พ.ศ. 2557 - 2562 : กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองถูกอำนาจรัฐรุกคืบหนักขึ้น เช่น กรณีชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี</p><p>โดยเฉพาะนโยบายทวงคืนผืนป่าในช่วงรัฐบาล คสช. ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่าเพื่อหวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2558 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เร่งรัดให้อุทยานแห่งชาติเตรียมประกาศทุกแห่งรวมทั้งถ้ำผาไทได้สำรวจพื้นที่ ทำให้สถานการณ์ไร่หมุนเวียนบ้านแม่ส้าน (รวมทั้งบ้านกลาง) ถูกรุกคืบขึ้นมาอีก</p><p>ข่าวชาวบ้านถูกดำเนินคดีทวงคืนผืนป่า ซึ่งในจังหวัดลำปางมีกรณีของแสงเดือน ตินยอด ที่ถูกยึดที่ดินทำกินในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนภายหลัง ประกอบกับชุมชนบริเวณใกล้เคียงบ้านแม่ส้านถูกคุกคาม จากทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อุทยานฯ ตลอดจนทหารค่ายรบพิเศษประตูผาอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านเริ่มกังวลและไม่มั่นใจที่จะทำไร่หมุนเวียนต่อไปดีหรือไม่ ณัฐนนท์ได้เผยว่า พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ทรัพยากรของประชาชนที่ไม่เป็นธรรมเพราะกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นโดยไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน อีกทั้งยังเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและเพิ่มโทษผู้กระทำผิดด้วย</p><p>“นี่ขนาดแค่เตรียมประกาศอุทยานฯ ยังถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามขนาดนี้ ถ้าเป็นอุทยานฯ แล้วจะขนาดไหน ชาวบ้านที่ทำไร่หมุนเวียนโดยไม่มีโฉนด ไม่มีเอกสารสิทธิ์ พวกเขาจะอยู่ยังไงเมื่อทำไร่หมุนเวียนไม่ได้ เผลอ ๆ ที่ดินอาจถูกยึดเป็นของอุทยานอีก ถ้าวันนั้นมาถึงแล้วเป็นแบบนี้ เราคงไม่ต่างอะไรจากตายทั้งเป็น เพราะที่ดินคือชีวิต ไร่หมุนเวียนคือจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง” ณัฐนนท์เล่าให้ฟังด้วยความรู้สึกคับแค้นและน้อยอกน้อยใจต่อการถูกกระทำโดยรัฐ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53834520858_1e21d0c965_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตากแห้งผลมะแขว่น ภายหลังเก็บเกี่ยว (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สถานการณ์ความไม่มั่นคงในวิถีไร่หมุนเวียนยิ่งส่งผลกระทบต่อชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงปี 2563 – 2564 ที่มีมาตรการล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับช่วงเวลานั้นมะแขว่นมีราคาตกต่ำและความต้องการซื้อลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านแม่ส้านมีรายได้จากมะแขว่นลดลงไปถึง 60 - 70%</p><p>แม้โดยภาพรวมของผลผลิตในไร่หมุนเวียนที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปีนั้นยังสามารถช่วยให้ชาวบ้านแม่ส้านไม่ต้องพึ่งพาอาหารจากภายนอกอย่างเกินความจำเป็นไว้ได้ แต่ผลกระทบจากการขายมะแขว่นได้น้อยลงทำให้หลายครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้จ่ายกับภาระหนี้สินต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าผ่อนรถและค่าเทอมลูก</p><p>“จากที่เคยขายได้ปีละ 30,000 บาทเป็นอย่างน้อย ปกติพี่จะนำรายได้จากตรงนี้มาเตรียมไว้จ่ายค่าเทอมลูกส่วนหนึ่ง ค่างวดรถอีกส่วนหนึ่ง แต่ถ้าปีไหนที่ขายมะแขว่นได้มากกว่า 30,000 บาท ส่วนต่างที่เหลือเราจะเก็บออมไว้เผื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้จ่าย เพิ่งมีปี 2564 นี่แหละที่ราคามะแขว่นต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหลือเพียงกิโลละ 10 - 30 บาท จนยอดรวมได้ไม่ถึง 30,000 บาท” กำธรกล่าว</p><p>จากปรากฏการณ์ราคามะแขว่นตกต่ำเมื่อปี 2564 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีเกษตรไร่หมุนเวียนในปี 2565 ชาวบ้านแม่ส้านบางส่วนเลือกที่จะปลูกข้าวโพดแทนการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งกำธรเล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า ถ้าราคามะแขว่นในปีต่อไปยังไม่มีแนวโน้มว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นก็ต้องแบ่งพื้นที่ที่จะทำไร่หมุนเวียนส่วนหนึ่งมาปลูกข้าวโพดด้วย หากจะอาศัยรายได้จากมะแขว่นและไร่หมุนเวียนคงไม่เพียงพอต่อภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ เพราะผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในไร่หมุนเวียนให้ปริมาณแค่พอกินในครัวเรือนเท่านั้น&nbsp;</p><p>“ปีนั้นผมขายข้าวโพดได้ 100,000 บาท แต่พอหักต้นทุนอย่างเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืช และค่าแรงคนงานแล้วเหลือประมาณ 30,000 บาท ก็ยังพอได้จ่ายค่าเทอมลูกกับผ่อนรถได้ 3 งวด แล้วต่อจากนี้เราจะเอาอะไรกิน ในเมื่อไร่หมุนเวียนกลายเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้ว” กำธรกล่าว</p><p>การเปลี่ยนจากไร่หมุนเวียนมาเป็นพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดไม่ได้เกิดจากปัจจัยความจำเป็นทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเกิดจากข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐที่ทำให้ชาวกะเหรี่ยงยืนหยัดในวิถีไร่หมุนเวียนได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการถูกบังคับห้ามเผาไร่หมุนเวียนในห้วงที่ต้องเผาตามปฏิทินไร่หมุนเวียน 12 เดือน ซึ่งตรงกับห้วงห้ามเผาที่หลายจังหวัดภาคเหนือมักจะกำหนดเป็นประจำทุกปีคือช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน</p><h2>“ไร่หมุนเวียน” ยืนหยัดต้านมาตรการห้ามเผา</h2><p>นับตั้งแต่จังหวัดลำปางออกประกาศกำหนดห้วงวันห้ามเผาโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 15, 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554 จะพบว่าสถานการณ์หมอกควันในจังหวัดลำปางในปีต่อๆ มาจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามข้อมูลสถิติค่าฝุ่นในช่วงห้ามเผาในช่วง 5 ปีย้อนหลังที่ตรวจวัดได้จากสถานีตรวจวัดค่าฝุ่นบ้านหัวฝาย ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53836745090_ca7a30bcba_k.jpg" width="1638" height="2047" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตารางที่ 2 แสดงวันที่เกิดค่า PM2.5 สูงสุดในรอบปี และจำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินเกณฑ์มาตรฐานในรอบปี วัดจากสถานี 39T โรงพยาบาล

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.2 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มิถุนายน 2568 14:32:36