ยืนตรง “ไร่หมุนเวียน” (1) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐเปลี่ยนผัน
<span>ยืนตรง “ไร่หมุนเวียน” (1) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐเปลี่ยนผัน</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-07-04T16:39:52+07:00" title="Thursday, July 4, 2024 - 16:39">Thu, 2024-07-04 - 16:39</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รัชชา สถิตทรงธรรม รายงาน/ถ่ายภาพ</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><div class="summary-box"><ul><li>พาชมไร่หมุนเวียน การหยอดข้าวไร่ พืชพรรณธัญญาหาร และป่ามะแขว่นของชาวกะเหรี่ยงโปว์ ที่บ้านแม่ส้าน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ชุมชนที่นี่ดำรงชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียนที่มีรอบพักฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของไร่กว่า 15 ถึง 20 ปี ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนสืบทอดหลายชั่วคน</li><li>อย่างไรก็ตามชุมชนเผชิญความขัดแย้งเรื่องที่ทำกินทับซ้อนกับป่าอนุรักษ์นับตั้งแต่ยุค "เอาคนออกจากป่า" ประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกิน จนถึงนโยบาย "ทวงคืนผืนป่า" สมัย คสช. ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐบ่อยครั้ง</li><li>การเผาเพื่อเตรียมทำไร่หมุนเวียนในฤดูแล้ง ยังถูกมองว่าเป็นตัวการทำลายป่าและที่มาของฝุ่นควัน PM.25 ขณะที่ตัวแทนชุมชนยืนยันว่าการเผาในช่วงที่เหมาะสมจะช่วยกำจัดวัชพืช เพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ถือเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อมาจากบรรพชน ซึ่งดีกว่าการชิงเผาล่วงหน้าและทิ้งช่วงหลายเดือนตามมาตรการห้ามเผา เมื่อเริ่มหยอดข้าวไร่หมุนเวียนก็เกิดวัชพืชขึ้นหนาแน่นจนต้องออกแรงเผาอีกครั้ง</li><li>ทั้งนี้ชุมชมบ้านแม่ส้านและภาคประชาสังคมมีความหวังต่อการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยและทำกินของชุมชนชาวกะเหรี่ยง รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ผ่านวาระรับหลักการจากสภาฯ เมื่อต้นปี 2567 โดยหวังว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชน และแก้ไขปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรและการอนุรักษ์ของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง</li></ul></div><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834615414_6f11bd71cf_h.jpg" width="1600" height="1067" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ไร่หมุนเวียนหลังเก็บเกี่ยวข้าวและผลผลิตเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2566 (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>“ไร่หมุนเวียน” หรือที่หลายคนอาจเคยเข้าใจผิดมาก่อนว่าเป็น “ไร่เลื่อนลอย” ที่มักถูกเชื่อมโยงกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟป่า หมอกควัน PM2.5 น้ำท่วม หรือดินถล่ม จนนำไปสู่การเกิดอคติทางสังคมต่อพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองที่ถูกตีตราว่าเป็นต้นเหตุของภัยธรรมชาติดังกล่าว และปัจจุบันยังคงเป็นเช่นนั้น แม้ว่าวันนี้ในหน้าประวัติศาสตร์ของพวกเขาจะได้รับการยอมรับที่จับต้องได้อย่างร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... ที่ผ่านวาระรับหลักการจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา</p><p>จังหวัดลำปางเป็นหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่มีการทำไร่หมุนเวียนที่ชุมชนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) บ้านกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ หนึ่งในพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 และเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์การยืนหยัดสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อปกป้องวิถีไร่หมุนเวียนจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834714370_79957706fb_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สมชาติ รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกลาง (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>จุดเริ่มต้นของการรู้จักไร่หมุนเวียนในจังหวัดลำปางมาจากการได้พูดคุยกับ สมชาติ รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านกลางที่เวทีชุมนุมภาคี #Saveบางกลอย เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา โดยสมชาติได้เล่าให้ฟังในขณะนั้นว่า จริง ๆ แล้วชุมชนกะเหรี่ยงในจังหวัดลำปางที่กำลังต่อสู้กับอำนาจรัฐเพื่อปกป้องวิถีไร่หมุนเวียนไม่ได้มีแค่บ้านกลาง แต่ยังมีบ้านแม่ส้านซึ่งอยู่ถัดขึ้นไปจากบ้านกลางอีก 12 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมแล้ว บ้านแม่ส้านจะโดดเด่นทางด้านนี้มากกว่าบ้านกลางด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีทั้งความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยง ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ซึ่งจะทำให้ได้มิติการเรียนรู้และเข้าใจวิถีไร่หมุนเวียนที<a href="#Saveบางกลอย">
https://live.staticflickr.com/65535/53836745430_1fb16f7732_k.jpg" width="1639" height="2048" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตารางที่ 1 พื้นที่ทำไร่หมุนเวียนกับพื้นที่ป่า เปรียบเทียบระหว่างบ้านแม่ส้านและชุมชนกะเหรี่ยงในจังหวัดลำปาง</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834714360_4ea13af04b_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ณัฐนนท์ ลาภมา ชาวบ้านแม่ส้าน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>ณัฐนนท์ ลาภมา ชาวบ้านแม่ส้านเล่าให้ฟังว่า ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านทำเกษตรกรรมแบบไร่หมุนเวียนมาตั้งแต่เริ่มต้นตั้งถิ่นฐานและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน เพราะโดยธรรมชาติของชาวกะเหรี่ยงจะมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่ายและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างคนกับทรัพยากรในผืนป่าตามปรัชญาชาวกะเหรี่ยงที่บรรพชนสอนไว้ว่า “เราทำมาหากิน เราเดินตามระบบที่บรรพชนวางไว้”</p><p>“ไร่หมุนเวียนเมื่อ 300 ปีก่อนเป็นยังไง วันนี้ที่บ้านแม่ส้านยังคงมีไร่หมุนเวียนเหมือนกับวันนั้น ซึ่งในไร่หมุนเวียน 1 แปลงเราจะปลูกข้าวไร่เป็นหลัก และปลูกพืชผลต่างๆ แซมไปกับข้าวไร่ เช่น กล้วย พริก ถั่ว เผือก มัน และพืชผักผลไม้อื่น ๆ ที่ออกผลให้ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวตลอดทั้ง 12 เดือน”</p><p>ณัฐนนท์เริ่มต้นพาเราไปรู้จักไร่หมุนเวียนในช่วงเวลาที่ชาวบ้านได้เตรียมพื้นที่เพาะปลูกเสร็จแล้วและกำลังจะหยอดข้าวไร่ ซึ่งการหยอดข้าวไร่ของชาวกะเหรี่ยง (อาจรวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองอื่นด้วย) มีความพิเศษทางวัฒนธรรมอีกด้วยคือ ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหยอดลงบนพื้นที่เพาะปลูกต้องทำพิธีเสี่ยงทายตามความเชื่อดั้งเดิมว่า ลักษณะเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่หมุนเวียนในปีนี้จะให้ผลผลิตที่ดีต่อครอบครัวมากน้อยแค่ไหน</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834615359_9b2c591b4d_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านกำลังหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวบนพื้นที่ไร่หมุนเวียน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>“ถ้าเราทำตามผลเสี่ยงทายเมล็ดพันธุ์ นอกจากจะทำให้เราเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปริมาณที่น่าพอใจแล้ว เรายังได้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่หมุนเวียนมาอีกหลากหลายสายพันธุ์ด้วย อย่างที่บ้านแม่ส้านเราเคยมีสายพันธุ์ข้าวจากไร่หมุนเวียนมากสุดถึง 35 สายพันธุ์ แบ่งเป็นข้าวเหนียว 27-28 สายพันธุ์ นอกนั้นเป็นสายพันธุ์ข้าวเจ้า แต่ในทุกปีเราจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจาก 35 สายพันธุ์เพาะปลูกในไร่หมุนเวียนโดยแทบจะไม่ต้องนำเข้าสายพันธุ์ข้าวจากนอกพื้นที่เลย” ณัฐนนท์ระบุ</p><p>หลังเสร็จกิจกรรมหยอดข้าวไร่หมุนเวียน เราและชาวบ้านแม่ส้านจะยังคงเฝ้ารอความงดงามของไร่หมุนเวียนและผลผลิตอันงอกงามในช่วงฤดูฝนต่อจากนี้ โดยในระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิตชาวบ้านยังต้องขึ้นมาที่ไร่หมุนเวียนของตนเพื่อถางหญ้าและวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยเลย รวมไปถึงการปล่อยให้ต้นข้าวและพืชผลได้เติบโตตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยและไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทานเหมือนเกษตรพื้นราบ เพราะไร่หมุนเวียนจะอาศัยเพียงน้ำจากน้ำฝนเป็นหลัก</p><h2>“มะแขว่น” ยืนเด่นไร่หมุนเวียน</h2><p><strong>พฤศจิกายน 2566</strong></p><p>เรากลับขึ้นมายังบ้านแม่ส้านอีกครั้งในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตในไร่หมุนเวียน ณัฐนนท์พาเราเดินไปไร่หมุนเวียนของ พิเชษฐ์ ทึงวา ชาวบ้านแม่ส้านผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่กำลังเร่งเกี่ยวข้าวไร่ในแปลงสุดท้าย ซึ่งพิเชษฐ์เล่าให้เราฟังว่าข้าวไร่หมุนเวียนที่เก็บเกี่ยวได้ในปีนี้มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834272651_22265b17c2_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">พิเชษฐ์ ทึงวา ชาวบ้านแม่ส้าน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>“อันนี้เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวเปลือกเหลือง ภาษากะเหรี่ยงจะเรียกว่า ต่าแอ๊ะบะ มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี ลำต้นไม่หักง่าย แบบนี้ถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวสมบูรณ์ สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในปีต่อไปได้เลย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ข้าวไร่หมุนเวียนจะปลูกต่อเนื่องได้สูงสุด 3 ปี จากนั้นอาจเปลี่ยนเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะลำต้นแข็งแรงสมบูรณ์และทนทานกว่า” พิเชษฐ์กล่าว</p><p>หลังจากที่ข้าวไร่หมุนเวียนในแปลงสุดท้ายของพิเชษฐ์ถูกเก็บเกี่ยวจนหมด พิเชษฐ์เล่าให้ฟังระหว่างเดินจากไร่กลับหมู่บ้านต่อไปอีกว่า แปลงข้าวไร่หมุนเวียนหลังเก็บเกี่ยวเสร็จจะกลายเป็นไร่เหล่า หรือพื้นที่ที่ต้องถูกพักการเพาะปลูกต่อไปอีกอย่างน้อย 15–20 ปีจึงจะกลับมาปลูกข้าวได้อีกครั้ง ส่วนการทำไร่หมุนเวียนในปีต่อไปก็จะขยับไปทำอีกแปลงหนึ่ง</p><p>“เห็นต้นมะแขว่นน้อยตรงนั้นไหม ชาวบ้านแม่ส้านใช้อายุต้นมะแขว่นเป็นเครื่องวัดอายุไร่เหล่าหรือระยะเวลาพักไร่หมุนเวียนที่เหมาะสม” พิเชษฐ์กล่าวพร้อมชี้ไปยังต้นมะแขว่นในไร่หมุนเวียนที่กำลังจะเป็นไร่เหล่าในปีต่อไป</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834272616_a08ed5bb03_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กล้ามะแขว่นที่ขึ้นอยู่ในไร่หมุนเวียน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>มะแขว่นที่คนเหนือมักจะคุ้นเคยกับกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ดร้อนในเมนูอาหารเมืองยอดนิยม เช่น ลาบคั่ว แกงอ่อม แกงแค ยำไก่เมือง หรือแม้กระทั่งเมนูร่วมสมัยอย่างหมูทอดมะแขว่น ถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญระดับต้น ๆ ของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านเลยก็ว่าได้ เพราะหลายครอบครัวที่สามารถตั้งตัวได้จากรายได้การขายมะแขว่นตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาทต่อปี</p><p>ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมที่เราขึ้นไปอยู่บ้านแม่ส้านเป็นรอยต่อระหว่างฤดูเกี่ยวข้าวไร่หมุนเวียนกับฤดูเก็บมะแขว่นพอดี วันรุ่งขึ้นณัฐนนท์จึงพาเราติดตามชาวบ้านไปเก็บมะแขว่นในป่า ซึ่งต้นมะแขว่นที่มีผลผลิตพร้อมเก็บเกี่ยวจะมีความสูง 4 – 5 เมตรขึ้นไป สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมกราคมของทุกปี</p><p>“ป่ามะแขว่นที่เรากำลังยืนอยู่ตรงนี้เคยเป็นไร่หมุนเวียนมาก่อน ถ้าวัดอายุป่าจากต้นมะแขว่นก็น่าจะราว ๆ 7-10 ปีได้” ณัฐนนท์ระบุ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834272611_037a5169e5_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ต้นมะแขว่นที่ยืนต้นสูงจนคนต้องปีนขึ้นไปเก็บผลผลิต (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>ณัฐนนท์เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า วงจรไร่หมุนเวียนของบ้านแม่ส้านจะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากไร่หมุนเวียนทั่วไปตรงที่ใช้ต้นมะแขว่นระบุระยะเวลาพักฟื้นไร่เหล่าที่เหมาะสมต่อการบรรจบกับปีที่จะกลับมาทำไร่หมุนเวียนได้อีกครั้ง ซึ่งรอบหมุนของไร่หมุนเวียนบ้านแม่ส้านโดยเฉลี่ยจะได้สูงถึง 15 – 20 ปี ซึ่งเป็นรอบหมุนที่สูงกว่าไร่หมุนเวียนทั่วไปที่ได้รอบหมุนมาตรฐานโดยเฉลี่ย 7 - 12 ปี</p><p>“จริงๆ ไร่หมุนเวียนที่ได้พักฟื้น 7 ปีก็ได้มาตรฐานระดับสอบผ่านแล้วเพราะหน้าดินมีเวลาสะสมธาตุอาหารอย่างพอเหมาะ แต่ถ้าวันนี้บ้านแม่ส้านไม่ได้มีต้นมะแขว่น รอบหมุนอย่างน้อย 7 ปีรัฐจะยอมให้เราหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะมะแขว่นบ้านแม่ส้านเป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตตามธรรมชาติบนพื้นที่ป่าและไร่หมุนเวียนอยู่ก่อนแล้ว” ณัฐนนท์กล่าว</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834520923_511de014e4_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กำธร ชาวบ้านแม่ส้าน (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>กำธร ชาวบ้านแม่ส้านเล่าให้ฟังหลังเก็บมะแขว่นเสร็จเมื่อช่วงบ่ายวันนั้นว่า โดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนจะเก็บมะแขว่นได้อย่างน้อยวันละ 4 – 5 กระสอบ ส่งขายวันต่อวัน ถ้าเป็นมะแขว่นสดราคาเริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 20 บาท (ราคาปี 2566) แต่ถ้าตากแห้งอีก 2 – 3 วัน ราคามะแขว่นจะพุ่งสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 – 120 บาท</p><p>“ทุกปีจะมีลูกค้าออเดอร์เข้ามาเยอะมาก เขาบอกว่ามะแขว่นบ้านแม่ส้านมีกลิ่นหอมไม่แพ้มะแขว่นจากที่อื่น แม้ว่าปริมาณผลผลิตของบ้านแม่ส้านจะเก็บได้น้อยกว่าก็ตาม แต่มะแขว่นเป็นผลผลิตจากไร่หมุนเวียนที่ช่วยให้คนในเมืองมองวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงในทางที่ดีขึ้น และชาวบ้านแม่ส้านก็สามารถยืนหยัดวิถีไร่หมุนเวียนและเอาตัวรอดจากสภาวะความจำเป็นเรื่องปากท้องด้วยมะแขว่นไปพร้อมกันได้ด้วย” กำธรกล่าว</p><p>แม้ว่ามะแขว่นจะกลายเป็นผลผลิตที่มีความสำคัญต่อปากท้องชาวบ้านแม่ส้าน แต่พวกเขายังคงยืนหยัดที่จะทำไร่หมุนเวียนเป็นหลักต่อไป ด้วยต้นมะแขว่นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในช่วงระหว่างพักการเพาะปลูกเป็นไร่เหล่าอยู่แล้ว ซึ่งชาวบ้านแทบจะไม่ต้องนำต้นกล้ามะแขว่นจากที่อื่นมาปลูกเพิ่มเลย มะแขว่นจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่พิสูจน์ว่า ชุมชนมีความสามารถรักษาความมั่นคงในระบบนิเวศของไร่หมุนเวียน</p><h2>“แม่ส้าน” ยืนเดี่ยวต้านความไม่เป็นธรรมของอำนาจรัฐ</h2><p>แม้ว่ามะแขว่นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านรักษาพื้นที่ไร่หมุนเวียนไว้ได้ แต่บ้านแม่ส้านยังคงประสบปัญหาพื้นที่ทำกินถูกประกาศทับซ้อนกับเขตป่าอนุรักษ์นับตั้งแต่เกิดนโยบายเอาคนออกจากป่าของรัฐบาลทหารยุค รสช. และการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเมื่อปี 2534 จนนำมาสู่การพยายามเรียกร้องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินทำกินที่มีมาแต่ก่อนประกาศเขตอุทยานฯ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะประเด็นการทำไร่หมุนเวียนที่ถูกมองว่าเป็นการทำลายป่าและกลายเป็นแพะรับบาปของการเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ</p><p>ชาวบ้านแม่ส้านยืนยันว่าพวกเขาอยู่ที่นี่ก่อนมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายเป็นครั้งแรกจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งจากการประกาศใช้กฎหมายฉบับต่าง ๆ หลังจากนั้นเป็นต้นมาจะพบว่า สาระสำคัญของกฎหมายหรือนโยบายสำคัญแต่ละฉบับได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองอย่างไรบ้าง</p><div class="note-box"><h2>รายชื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายป่าไม้ เรียงลำดับตามปีที่ประกาศใช้ สาระสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้น</h2><p><strong>พระราชบัญญัติป่าไม้ (พ.ศ. 2484)</strong> การเข้าถึงทรัพยากรในพื้นที่ป่า เช่น หาของป่า ทำไม้ จะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ</p><p><strong>พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ (พ.ศ. 2504)</strong> พื้นที่ป่าถูกอำนาจรัฐส่วนกลางผูกขาดทั้งด้านการอนุรักษ์และแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เกิดแนวคิดป่าปลอดคนที่ไม่ยอมรับว่า กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองคือคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อนการประกาศบังคับใช้กฎหมาย</p><p><strong>พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (พ.ศ. 2507)</strong> ส่งเสริมให้ทำป่าเศรษฐกิจโดยการอนุญาตให้ปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยต้องเสียค่าตอบแทนให้กับรัฐเมื่อได้รับอนุญาต</p><p><strong>พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (พ.ศ. 2532) </strong>ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ กรมป่าไม้เร่งรัดประกาศเขตป่าอนุรักษ์และเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่สนใจว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ จนนำไปสู่ปฏิบัติการไล่คนออกจากป่า</p><p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 56</strong> ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนว่า บุคคลมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ บุคคลสามารถฟ้องร้องรัฐได้เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและการมีส่วนร่วมดังกล่าว</p><p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 67</strong> มีเนื้อหาเดียวกับบทบัญญัติในมาตรา 56 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540</p><p><strong>มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (พ.ศ. 2553)</strong> ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย)</p><p>เพิกถอนพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ป่าสงวนซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีข้อเท็จจริงจากการพิสูจน์อย่างเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ได้อยู่อาศัย ดำเนินชีวิต และใช้ประโยชน์ในที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน หรือก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมาย หรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)</p><p>ส่งเสริมและยอมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งผลักดันให้ระบบไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)</p><p>กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเพื่อการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเรียกขานเป็น "พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์” เมื่อปี 2566 (กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงวัฒนธรรม)</p><p><strong>คำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 “นโยบายทวงคืนผืนป่า” (พ.ศ.2557) </strong>ให้อำนาจทหาร ตำรวจ กอ.รมน. และฝ่ายปกครองเป็นผู้นำภารกิจจับกุมผู้บุกรุกป่าและตรวจยึดที่ดินที่ชาวบ้านทำการเกษตรอยู่ จากที่เดิมปฏิบัติการแบบนี้นำโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้</p><p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 43 </strong> บุคคลและชุมชนมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สามารถเข้าชื่อเสนอต่อหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรือยับยั้งมิให้ดำเนินการอันใดที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนหรือชุมชน แต่เมื่อเทียบกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนจะพบว่า ไม่ปรากฏสิทธิที่ประชาชนจะสามารถฟ้องร้องรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและการมีส่วนร่วมได้</p><p><strong>พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ (พ.ศ. 2562) </strong>ปรับบทกำหนดโทษสูงขึ้น เช่น การยึดถือ ครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 - 20 ปี หรือปรับ 400,000 – 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งแตกต่างจากบทกำหนดโทษใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ที่กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ</p><p>ถ้าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 หรือชั้น 2 หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 41 </p><p><strong>พระราชบัญญัติป่าชุมชน (พ.ศ. 2562)</strong> บทเฉพาะกาลบัญญัติไม่ให้นำกฎหมายอุทยานและกฎหมายสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามาบังคับใช้กับพื้นที่ป่าชุมชน แต่กรมป่าไม้เลือกที่จะรับรองเฉพาะป่าชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ภายใต้อำนาจของกรมป่าไม้ ส่วนป่าชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าก็ให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติจริงเกิดมาตรฐานที่แตกต่างกัน </p><p><strong>(ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... …</strong></p><p>จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
จัดตั้งสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย
จัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์
กำหนดพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
เพิ่มสิทธิประโยชน์และข้อยกเว้นในพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
กำหนดบทลงโทษต่อผู้จงใจเลือกปฏิบัติหรือทำร้ายกลุ่มชาติพันธุ์
มีหลักประกันที่ชัดเจนสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง สามารถใช้อ้างอิงในทางกฎหมาย และมีศักดิ์เทียบเท่ากับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ก่อน เช่น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ</p></div><p>จากระยะเวลาของการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองจะพบว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองอย่างชัดเจนเกิดขึ้น 3 ช่วงเวลา ได้แก่</p><p>(1) พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 : จุดเริ่มต้นของยุคสมัยแห่งการใช้อำนาจรัฐส่วนกลางควบคุมผืนป่า</p><p>(2) ประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ พ.ศ. 2531 – 2532 : จุดเริ่มต้นของปฏิบัติการเอาคนออกจากป่าเพื่อเร่งประกาศเขตป่าอนุรักษ์ ชาวบ้านสูญเสียพื้นที่ทำกินหรือใช้สอยประโยชน์จากพื้นที่ที่รัฐจัดสรรให้ใหม่ไม่ได้ </p><p>(3) นโยบายทวงคืนผืนป่า พ.ศ. 2557 - 2562 : กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองถูกอำนาจรัฐรุกคืบหนักขึ้น เช่น กรณีชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี</p><p>โดยเฉพาะนโยบายทวงคืนผืนป่าในช่วงรัฐบาล คสช. ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่าเพื่อหวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2558 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เร่งรัดให้อุทยานแห่งชาติเตรียมประกาศทุกแห่งรวมทั้งถ้ำผาไทได้สำรวจพื้นที่ ทำให้สถานการณ์ไร่หมุนเวียนบ้านแม่ส้าน (รวมทั้งบ้านกลาง) ถูกรุกคืบขึ้นมาอีก</p><p>ข่าวชาวบ้านถูกดำเนินคดีทวงคืนผืนป่า ซึ่งในจังหวัดลำปางมีกรณีของแสงเดือน ตินยอด ที่ถูกยึดที่ดินทำกินในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนภายหลัง ประกอบกับชุมชนบริเวณใกล้เคียงบ้านแม่ส้านถูกคุกคาม จากทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อุทยานฯ ตลอดจนทหารค่ายรบพิเศษประตูผาอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านเริ่มกังวลและไม่มั่นใจที่จะทำไร่หมุนเวียนต่อไปดีหรือไม่ ณัฐนนท์ได้เผยว่า พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ทรัพยากรของประชาชนที่ไม่เป็นธรรมเพราะกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นโดยไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน อีกทั้งยังเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและเพิ่มโทษผู้กระทำผิดด้วย</p><p>“นี่ขนาดแค่เตรียมประกาศอุทยานฯ ยังถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามขนาดนี้ ถ้าเป็นอุทยานฯ แล้วจะขนาดไหน ชาวบ้านที่ทำไร่หมุนเวียนโดยไม่มีโฉนด ไม่มีเอกสารสิทธิ์ พวกเขาจะอยู่ยังไงเมื่อทำไร่หมุนเวียนไม่ได้ เผลอ ๆ ที่ดินอาจถูกยึดเป็นของอุทยานอีก ถ้าวันนั้นมาถึงแล้วเป็นแบบนี้ เราคงไม่ต่างอะไรจากตายทั้งเป็น เพราะที่ดินคือชีวิต ไร่หมุนเวียนคือจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง” ณัฐนนท์เล่าให้ฟังด้วยความรู้สึกคับแค้นและน้อยอกน้อยใจต่อการถูกกระทำโดยรัฐ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53834520858_1e21d0c965_h.jpg" width="1600" height="1068" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตากแห้งผลมะแขว่น ภายหลังเก็บเกี่ยว (ภาพโดย: รัชชา สถิตทรงธรรม)</p><p>หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สถานการณ์ความไม่มั่นคงในวิถีไร่หมุนเวียนยิ่งส่งผลกระทบต่อชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ส้านมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงปี 2563 – 2564 ที่มีมาตรการล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับช่วงเวลานั้นมะแขว่นมีราคาตกต่ำและความต้องการซื้อลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านแม่ส้านมีรายได้จากมะแขว่นลดลงไปถึง 60 - 70%</p><p>แม้โดยภาพรวมของผลผลิตในไร่หมุนเวียนที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปีนั้นยังสามารถช่วยให้ชาวบ้านแม่ส้านไม่ต้องพึ่งพาอาหารจากภายนอกอย่างเกินความจำเป็นไว้ได้ แต่ผลกระทบจากการขายมะแขว่นได้น้อยลงทำให้หลายครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้จ่ายกับภาระหนี้สินต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าผ่อนรถและค่าเทอมลูก</p><p>“จากที่เคยขายได้ปีละ 30,000 บาทเป็นอย่างน้อย ปกติพี่จะนำรายได้จากตรงนี้มาเตรียมไว้จ่ายค่าเทอมลูกส่วนหนึ่ง ค่างวดรถอีกส่วนหนึ่ง แต่ถ้าปีไหนที่ขายมะแขว่นได้มากกว่า 30,000 บาท ส่วนต่างที่เหลือเราจะเก็บออมไว้เผื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้จ่าย เพิ่งมีปี 2564 นี่แหละที่ราคามะแขว่นต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหลือเพียงกิโลละ 10 - 30 บาท จนยอดรวมได้ไม่ถึง 30,000 บาท” กำธรกล่าว</p><p>จากปรากฏการณ์ราคามะแขว่นตกต่ำเมื่อปี 2564 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีเกษตรไร่หมุนเวียนในปี 2565 ชาวบ้านแม่ส้านบางส่วนเลือกที่จะปลูกข้าวโพดแทนการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งกำธรเล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า ถ้าราคามะแขว่นในปีต่อไปยังไม่มีแนวโน้มว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นก็ต้องแบ่งพื้นที่ที่จะทำไร่หมุนเวียนส่วนหนึ่งมาปลูกข้าวโพดด้วย หากจะอาศัยรายได้จากมะแขว่นและไร่หมุนเวียนคงไม่เพียงพอต่อภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ เพราะผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในไร่หมุนเวียนให้ปริมาณแค่พอกินในครัวเรือนเท่านั้น </p><p>“ปีนั้นผมขายข้าวโพดได้ 100,000 บาท แต่พอหักต้นทุนอย่างเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืช และค่าแรงคนงานแล้วเหลือประมาณ 30,000 บาท ก็ยังพอได้จ่ายค่าเทอมลูกกับผ่อนรถได้ 3 งวด แล้วต่อจากนี้เราจะเอาอะไรกิน ในเมื่อไร่หมุนเวียนกลายเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้ว” กำธรกล่าว</p><p>การเปลี่ยนจากไร่หมุนเวียนมาเป็นพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดไม่ได้เกิดจากปัจจัยความจำเป็นทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเกิดจากข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐที่ทำให้ชาวกะเหรี่ยงยืนหยัดในวิถีไร่หมุนเวียนได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการถูกบังคับห้ามเผาไร่หมุนเวียนในห้วงที่ต้องเผาตามปฏิทินไร่หมุนเวียน 12 เดือน ซึ่งตรงกับห้วงห้ามเผาที่หลายจังหวัดภาคเหนือมักจะกำหนดเป็นประจำทุกปีคือช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน</p><h2>“ไร่หมุนเวียน” ยืนหยัดต้านมาตรการห้ามเผา</h2><p>นับตั้งแต่จังหวัดลำปางออกประกาศกำหนดห้วงวันห้ามเผาโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 15, 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554 จะพบว่าสถานการณ์หมอกควันในจังหวัดลำปางในปีต่อๆ มาจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามข้อมูลสถิติค่าฝุ่นในช่วงห้ามเผาในช่วง 5 ปีย้อนหลังที่ตรวจวัดได้จากสถานีตรวจวัดค่าฝุ่นบ้านหัวฝาย ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53836745090_ca7a30bcba_k.jpg" width="1638" height="2047" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตารางที่ 2 แสดงวันที่เกิดค่า PM2.5 สูงสุดในรอบปี และจำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินเกณฑ์มาตรฐานในรอบปี วัดจากสถานี 39T โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าสี ตำบล








