หลอกให้หลง หลอกให้โอน | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.1
<span>หลอกให้หลง หลอกให้โอน | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.1</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-06-28T16:18:08+07:00" title="Friday, June 28, 2024 - 16:18">Fri, 2024-06-28 - 16:18</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="560" height="560" src="
https://www.youtube.com/embed/8FzZKtfCan8?si=56qnPAj481l-bhKd" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>"มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.1 : หลอกให้หลง หลอกให้โอน" พบกับ 'ณัฐกร วิทิตานนท์' และ 'ทศพล ทรรศนพรรณ' ชวนคุยเรื่องสแกมเมอร์ส หลอกให้หลง หลอกให้โอน การหลอกลวงออนไลน์มีอะไรบ้าง อะไรคือปัญหา ทั้งเราและรัฐจะจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร</p><p>พูดคุยกับ ผศ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ทศพล ทรรศนพรรณ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเรื่องปัญหาสแกมเมอร์ส หลอกให้หลง หลอกให้โอน จากที่ทั้งสองได้ร่วมกันทำวิจัยเจาะลึกในพื้นที่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแหล่งฐานที่ตั้งของกลุ่มอาชญากรข้ามชาติ ที่เข้ามาหลอกหลวงคนไทย</p><p>โดยเป็นการชวนทำความเข้าใจว่า การหลอกลวงออนไลน์มีอะไรบ้าง อะไรคือปัญหา ใครเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่สุด สำรวจลงไปถึงความเป็นมาของผู้กระทำความผิด ที่เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ การทำงานอย่างมีแบบแผน และความทับซ้อนที่หลายกรณีผู้ที่กระทำผิดเองก็มีความเหยื่อซึ่งถูกละเมิดต่าง ๆอีกด้วย รวมถึงขบคิดตั้งคำถามถึงกลไกลกฎหมาย แนวปฏิบัติของรัฐ ว่ามีความพร้อมแค่ในที่จะรักษาความเป็นส่วนตัว และป้องกันการหลอกหลวงออนไลน์</p><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="400" src="
https://www.youtube.com/embed/AGRpW1-6zNQ?si=6ysj9dbiaSaww2CA" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p class="text-align-center picture-with-caption">ไฮไลท์สัมภาษณ์ณัฐกร วิทิตานนท์ และทศพล ทรรศพรรณ พูดคุยกันในประเด็นหลอกลวงออนไลน์</p><h2>Romance Scam หมดเป็นแสน แขนไม่ได้จับ</h2><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/51901746292_35e1d54d91_b.jpg" width="1024" height="536" loading="lazy"><p>ก่อนหน้านี้ที่จะได้มาทำงานวิจัยการหลอกลวงออนไลน์โดยตรง อาจารย์ทศพล เคยได้ทำงานศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “พิศวาสอาชญากรรม” หรือ Romance Scam มาก่อน เนื่องจากได้เห็นตัวเลขว่าการหลอกลวงลักษณะนี้ไม่ได้มีจำนวนเยอะมาก แต่มีกลับมูลค่าความเสียที่สูง เมื่อศึกษาพบว่ามิจฉาชีพเหล่านั้นเจาะลงไปในจิตใจของเหยื่อ จนทำให้เกิดความเสน่หารักใคร่ จนเหยื่อบางคนสูญเสียเงินหลักล้าน และเมื่อสืบค้นลึกลงไปยังเห็นพบว่ามิจฉาชีพไม่ได้ทำงานกันแค่คนเดียว หรือกลุ่มเล็กๆ แต่บางครั้งมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม ที่มีการทำงานเป็นทีม แบ่งสายงานกันอย่างชัดเจน</p><p>เห็นถึงวิธีการทำงานที่ลำดับขั้นตอน มีการหลอกเหยื่อรายเดิมซ้ำอย่างมีกลยุทธ เช่นหลอกเอาทรัพย์สินได้แล้ว ก็จะมีอีกทีมที่จะหลอกว่าจะเข้ามาช่วยเหลืออีกครั้ง “การทำวิจัยทำให้เราเห็น 3 ส่วนคืออาชญากรเป็นใคร หลอกด้วยวิธีอะไรใครเป็นเหยื่อ และรัฐทำอะไรได้บ้างทำอะไรได้บ้าง ปราบปรามได้ไหม”</p><p>ซึ่งแก๊งที่เข้ามาหลอกลวงคนไทยนั้นเป็นอาชญากรจากต่างประเทศ เป้าหมายคือเหยื่อที่มีความเหงาและมีรายได้สูง มักจะเป็นคนที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้ดี แต่ไม่กล้าที่จะหาคู่ในสังคมไทย เนื่องจากกลัวถูกล้อเลียนต่างๆ จึงเข้าไปหาคู่บนโลกออนไลน์จนมาเจอกับอาชญากรเหล่านี้ ในกรณีที่เป็นคนไทยหลอกกันเองมีเช่นเดียวกัน แต่จำนวนไม่มาก เท่ากับต่างชาติเข้ามาหลอก</p><p>ในอดีต Romance Scam จะใช้ช่องทางโทรศัพท์ จนปัจจุบันมีการใช้แอปพลิเคชั่นหาคู่เดต แล้วชักชวนออกไปคุยกันต่อแบบส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะเป็นจุดที่มีหลอกหลวงกันเกิดขึ้น การหลอกลวงมีความเป็น Hybrid crime หรืออาชญากรรมแบบลูกผสมที่เมื่อพูดจาหว่านล้อมเอาทรัพย์สินไม่สำเร็จ จะมีการส่งลิ้งค์ให้เหยื่อ หากกดลิ้งค์ แก๊งเหล่านี้จะสามารถเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนบุคคล ไปจนถึงบัญชีธนาคารต่างๆ และสามารถดูดเงินได้อีกต่อหนึ่ง</p><h2>ความเป็นมาของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มังกรหลากสีประชิดชายแดนไทย</h2>

<p class="picture-with-caption">เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำหรือคิงส์โรมัน ในเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ตรงข้ามกับอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย (ที่มา: Wikipedia)</p><p>ณัฐกร อธิบายว่าอาชญากรรมไซเบอร์นั้นสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้หลายประเภท ตามข้อมูลของกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่เผยว่าประเภทที่เป็นการหลอกให้ลงทุน แม้จะเป็นมีจำนวนคดีที่เกิดขึ้นไม่มาก แต่มีมูลค่าความเสียหายสูงที่สุด ซึ่งรองลงมาเป็นเรื่องของคอลเซ็นเตอร์</p><p>จากข้อมูลจากงานของ รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เข้ามาในไทยตั้งแต่ราวปี 2007 ซึ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เหล่านี้มีจุดกำเนิดที่ประเทศไต้หวัน ราวทศวรรษที่ 1990 ถูกเรียกว่า ATM game เหยื่อส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับในปัจจุบัน ที่เป็นคนเกษียณอายุที่มีเงิน โดนหลอกให้ไปกดโอนเงินที่ตู้ ATM เมื่อมีการปราบปรามจึงได้ย้ายฐานปฏิบัติการเข้าไปในจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อถูกปราบปรามอีกจึงเริ่มหนีเข้ามาในประเทศไทย</p><p>โดยช่วงแรกกลุ่มที่อยู่ในประเทศไทย จะมีเป้าหมายเพื่อข้ามไปหลอกคนในจีนแผนดินใหญ่เป็นหลัก ต่อมาจากนั้นกลุ่มอาชญากรเหล่านี้จึงเริ่มเบนเข็มมาหลอกคนไทย ซึ่งงานศึกษาของอาจารย์ สุมนทิพย์ เป็นการศึกษาในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีข้อค้นพบที่น่าสนใจมากมาย เช่นมีการใช้ช่องทางต่าง ๆนอกจากโทรศัพท์ผสมผสานกันเพื่อหลอกหลวง เป็น Hybrid crime ทั้งอีเมล SMS โซเชี่ยลมีเดีย</p><p>“จุดที่น่าสนใจไปกว่านั้น ก็คือว่าแก๊งเหล่านี้ มีหลักการว่าถ้าจะหลอกคนประเทศไหนแก๊งจะไม่ได้ตั้งอยู่ประเทศนั้น ถ้าจะหลอกคนไทยเขาก็จะตั้งอยู่ที่อินโดนีเซีย บางครั้งไปจับได้ถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” ณัฐกรกล่าวด้วยว่า ซึ่งในช่วงปีที่งานวิจัยของสุมนทิพย์เผยแพร่ กลุ่มแก๊งเหล่านี้ยังไม่ได้มีฐานปฏิบัติการในประเทศเพื่อนบ้านของไทยมากนัก แต่จุดเปลี่ยนที่มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ย้ายมาอยู่ตามชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน คือช่วงของที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19</p><p>เมื่อเริ่มมีเบาะแสข้อมูลว่าแก๊งเหล่านี้ มีฐานปฏิบัติการอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเกิดเป็นการวิจัยที่ทำร่วมกับอาจารย์ทศพล เลือกพื้นที่วิจัย 3 พื้นที่ที่เป็นฐานปฏิบัติการ คือปอยเปต ประเทศกัมพูชา ติดกับอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และอีก 2 เมืองในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาหรือพม่าคือ เมียวดี ติดกับอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก และเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำหรือคิงส์โรมัน ในเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ตรงข้ามกับอำเภอเชียงแสน</p><p>ทศพล เล่าถึงการเก็บข้อมูลในเมียวดี ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีคนที่เป็นหัวหน้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางหาตึก หาสถานที่ปฏิบัติการ และมีการทำสัญญากับกองกำลังติดอาวุธในพื้นที่ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง จากนั้นจะปล่อยให้กลุ่มแก๊งต่างๆ เข้ามาเช่า ซึ่งมีขบวนการผิดกฎหมายต่างๆ ทั้งการพนัน ฉ้อโกง ไปจนถึงการหลอกลวง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีการหลอกลวงคนพม่าด้วยกันเอง สาเหตุเนื่องจาก หนึ่ง ความกลัวได้รับผลกระทบต่างๆ สอง เศรษฐกิจในประเทศพม่าไม่ดีจึงไม่คุ้มค่า และสาม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจคือ สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ไทย เข้าไปถึงพื้นที่เหล่านั้นได้ จึงสามารถใช้หมายเลขของไทย โทรเข้ามาให้เหยื่อตายใจ เพื่อทำให้หลอกหลวงได้ง่ายขึ้น </p><p>สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือ เมื่อหลอกหลวงสำเร็จ ใช้วิธีไหนในการส่งเงินข้ามมายังกลุ่มสแกมเมอร์ เงินเหล่านั้นจะถูกถอนออกมาจากบัญชีฝั่งประเทศไทย แล้วส่งข้ามแดนไป หรือโอนข้ามประเทศโดยตรง? และทำไมผู้ให้บริการโทรคมนาคม จึงงปล่อยให้สัญญาณสื่อสารที่ควรใช้ได้เพียงแค่ในประเทศไทย เข้าไปในเขตเพื่อนบ้านมากเกินไป “เราขับรถเข้าไปน่าจะถึง 10 กิโลเมตร สัญญาณยังเต็มเลย ซึ่งผมเข้าใจว่า กสทช. มีความพยายามจัดการอยู่ระดับหนึ่ง แต่เป็นการที่บอกว่ามีความพยายามที่จะขยายคลื่นจากฝั่งไทยไปให้ใช้ฝั่งตรงข้าม แต่ไม่มีการยอมรับว่ามีกลุ่มที่ตั้งใจทำให้คลื่นโทรคมนาคมไปถึงฝั่งนู้นหรือไม่ ยังเป็นข้อสงสัยอยู่”</p><p>ณัฐกรเสริมว่ามีเหยื่อบางคนให้ข้อมูลว่า ที่ถูกหลอกเพราะมีความความเชื่อใจ เนื่องจากอีกฝั่งมีข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บางเคสแก๊งคอลเซ็นเตอร์รู้ว่ามีที่ดินอยู่สองไร่ ต้องมีการเสียภาษีแล้วจึงส่งลิ้งค์แบบฟอร์มภาษีปลอมไปดักข้อมูลเป็นต้น ซึ่งเหยื่อไม่รู้ว่าข้อมูลการถือครองที่ดินแบบนี้หลุดไปได้อย่างไร แต่ตั้งข้อสงสัยเองว่าน่าจะมาจากการทำธุรกรรมออนไลน์</p><p>ทศพลมองว่าการที่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกเข้ารหัสความปลอดภัยได้ดีพอ จะถือว่าเป็นความเสี่ยงโดยทันที เมื่อกลุ่มอาชญากรได้ข้อมูลไป ก็จะสามารถนำข้อมูลไปปะติดปะต่อสร้างเรื่องมาหลอกได้อย่างสมจริง ซึ่งยังไม่รู้ว่าได้ข้อมูลเหล่านั้นไป โดยวิธีซื้อมาจากแฮกเกอร์ที่ขโมยข้อมูล หรือมีคนในองค์กรที่ใช้อำนาจโดยไม่ชอบนำข้อมูลออกมาขาย </p><p>องค์กรที่เก็บข้อมูลจึงควรจะมี ระบบป้องกันการเจาะระบบที่ดีพอ มีระบบชั้นความลับกำหนดว่าให้เพียงไม่กี่คนในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหวได้ รวมไปถึงเมื่อมีการนำข้อมูลออกมาแล้ว ควรจะมีกุญแจเพื่อเข้ารหัสสำหรับอ่านข้อมูลโดยเฉพาะ</p><p>ณัฐกร ซึ่งลงพื้นที่ทำวิจัยในแหล่งกาสิโนอย่างปอยเปตและคิงส์โรมัน ที่มองว่าสิ่งที่เหมือนกันของทั้ง 3 พื้นที่ในการทำวิจัย คือจะเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย มักจะเป็นพื้นที่ซึ่งยกสัมปทานให้กับเอกชนข้ามชาติเข้ามาใช้พื้นที่ รัฐไม่ค่อยกล้าที่เข้าไปบังคับใช้กฎหมาย กลายเป็นพื้นที่สีเทา ที่เป็นแหล่งรวมธรุกิจผิดกฎหมายต่างๆ</p><p>คิงส์โรมันเกิดขึ้นจากที่ตัวเจ้าของโครงการ ได้เช่าพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาดใหญ่มาก เปิดให้นักลงทุนจากชาติต่างๆ เข้ามาเช่าช่วงต่อไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างตึกขนาดใหญ่ที่มีรั้วรอบมิดชิดที่เรียกว่า compound ซึ่งตึกเหล่านี้เป็นแหล่งขององค์กรอาชญากรรสารพัดแก๊ง ที่เชี่ยวชาญอาชญากรรมด้านต่างๆ กันไป</p><p>ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มเหยื่อที่หนีหลุดลอดมาได้ ที่น่าสนใจคือในบริษัทที่ใหญ่ๆ จะมีการจัดองค์แบ่งตามพื้นที่เป้าหมาย อย่างส่วนงานที่มีเป้าหมายเป็นคนยุโรป ก็ต้องหาคนที่พูดอังกฤษหรือฝรั่งเศส ก็มักจะเป็นเอาคนมาเลเซีย หรืออินเดียเข้ามา ซึ่งไทยก็เป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่ง จึงมีความพยายามเอาคนไทยเข้าไปทำงาน </p><p>“มีความเป็นมังกรหลากสี หมายความว่าคนจีนที่มาเกี่ยวข้องไม่ได้มีแค่จีนที่มาจากแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ในระดับบนจะมีคนไต้หวันที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษา ส่วนนักลงทุนก็มักจะเป็นคนจีนที่มาจากทั้ง มาเลเซีย สิงคโปร์ ไปถึงมาเก๊า ฮ่องกง” ณัฐกร เล่าสิ่งได้ค้นพบจากการลงพื้นที่ทำงานวิจัย</p><h2>เมื่อผู้กระทำผิดและเหยื่อเป็นคนเดียวกัน รัฐควรปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างไร</h2><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/52934830020_ed04e38f9f_b.jpg" width="1024" height="536" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">กาสิโนบริเวณชายแดนไทย-พม่า ฝั่งตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก (ที่มา: แฟ้มภาพ)</p><p>“แก๊งพวกนี้ไม่ได้แค่หลอกคนที่อยู่ต่างประเทศ แต่มันมีการหลอกที่โหดร้ายทารุณกว่านั้น คือหลอกคนมาทำงาน เป็นการค้ามนุษย์ เป็นสิ่งเราเห็นว่ามันเป็นเทรนด์ที่พัวพันไปกับแก๊งคอลเซนเตอร์” ณัฐกร กล่าวถึงสิ่งที่ค้นพบต่อมาว่ามีคนจำนวนมากที่ถูกหลอกเข้าไปทำงานในองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ ที่มีลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ และถูกละเมิดด้านต่างๆ</p><p>ทศพล อธิบายว่าในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะหาเงินด้วยการทำอาชญากรรม หลายคนก็โดนหลอกมาเช่นกัน คิดว่าจะได้ทำงานที่สุดจริต แต่ไม่สามารถกลับออกมาได้ ถูกทั้งกักขังบังคับให้ทำงาน นอกจากนั้นยังมีการถูกข่มขืน บังคับค้าบริการ บังคับให้เสพสิ่งเสพติด จึงเป็นคำถามสำคัญต่อฝ่ายรัฐไทยที่จะเข้าไปช่วยเหลือหรือเข้าไปจับกุม และหากคนกลุ่มนี้หนีกลับมาได้ รัฐไทยจะปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้ในฐานะเหยื่อ หรือผู้กระทำผิด</p><p>โดยมีอีกแนวทางที่เจ้าหน้าที่รัฐนิยมนำมาใช้ คือการเข้าไปช่วยกลุ่มคนเหล่านี้ โดยแลกกับความร่วมมือบางอย่างเช่น ให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ หรือเป็นสายสืบให้กับทางการ “จึงเกิดเป็นคำถามว่า ตกลงเขาได้รับการช่วยเหลือเพราะว่าเขาเป็นเหยื่อ หรือว่าแค่อยากจะใช้งานเขา” ทศพล กล่าว</p><h2>ความเหงา ช่องว่างระหว่างวัยในสังคมไทย ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นเหยื่อ </h2><p>ซึ่งเมื่อมีความกดดันจากนานาชาติเข้ามา ก็จะนำมาสู่การปราบปราม กลุ่มอาชญากรเหล่าก็จะมีการย้ายฐานปฏิบัติการ ไปหาพื้นที่ใหม่ซึ่งมีภาวะยกเว้นทางการบังคับใช้กฎหมายเช่นเดียวกัน และเปลี่ยนรูปแบบการหลอกหลวงใหม่ ซึ่งประเด็นที่ทศพลมองว่าให้ควรถูกให้ความสำคัญคือ ความไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยีตามช่วงวัย ที่ผ่านมักจะมีแนวคิดที่ว่าควรส่งเสริมการรู้เท่าทันเทคโนโลยีให้กับเยาวชน แต่เมื่อได้ทำวิจัยประเด็นนี้กลับพบว่าคนที่เสี่ยงจะเป็นเหยื่อคือผู้สูงอายุ ซึ่งไม่ได้เกิดเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ</p><p>อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนไทยถูกหลอกได้ง่าย คือมีความกลัวต่อหน่วยงานรัฐ หรือบริษัทใหญ่ ไม่กล้าที่จะตั้งคำถามกับองค์กรเหล่านี้ เมื่อมีคนโทรมาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็จะเชื่อโดยง่าย เมื่อไม่มีการตั้งคำถามจึงไม่มีความรู้เท่าทัน โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าที่โตมาด้วยความคิดการเป็นพลเมืองที่เชื่อฟังรัฐ นอกจากนั้นปัจจัยที่เพิ่มเติมเข้าไป คือพบว่าคนสูงวัยในปัจจุบันมีความเปลี่ยวเหงามากขึ้น เพราะไม่มีสามารถพูดคุยเชื่อมต่อกับลูกหลานได้ “ไปทะเลาะกันเรื่องการเมือง เวลาโดนหลอกก็อายไม่กล้าไปปรึกษาลูกหลาน เพราะไปสั่งสอนเขาเรื่องการเมือง เรื่องสังคม เรื่องชีวิต ไว้เยอะ กว่าลูกหลานจะรู้ก็โดนหลอกไปหลายครั้งแล้ว”</p><p>มีหลายกรณีที่ผู้สูงอายุโดนหลอกซ้ำซ้อนกันหลายๆ ครั้ง เพราะไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่จะเข้ามาช่วยป้องกันได้ จึงเป็นคำถามที่น่าขบคิดว่าทำใมสังคมไทยถึงมีช่องว่างระหว่างวัยมากเช่นนี้ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานรัฐ หรือบริษัทเอกชน พยายามบีบให้ทุกคนใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งที่มีคนหลายกลุ่มที่ไม่พร้อมใช้สิ่งเหล่านี้อย่างรู้เท่าทัน และหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถแก้ไข้ปัญหา หรือเยี่ยวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้</p><h2>กลไกลทางกฎหมายในการแก้ปัญหามีพร้อม แต่รัฐต้องมีความจริงใจในการบังคับใช้</h2><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53648657898_35e3453f23_b.jpg" width="1024" height="536" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตำรวจสอบสวนกลางแถลงข่าวเมื่อ 12 เม.ย. 2567 ยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กว่า 6,000 ชิ้น ซุกซ่อนอยู่ริมแม่น้ำโขง คาดเป็นอุปกรณ์ที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ต้องการย้ายฐานจากพม่าไปลาว (ที่มา: แฟ้มภาพ/CIB)</p><p>ณัฐกร ได้ตั้งคำถามว่าปัจจุบันไทยมีกฎหมายที่พร้อมที่ใช้รับมือกับปัญหาหรือไม่ และเมื่อกลุ่มอาชญากรอยู่นอกประเทศ ไทยสามารถใช้เครื่องมือหรือกลไกลนานาชาติอะไรที่เข้าไปจัดการได้หรือไม่</p><p>โดยทศพล อธิบายว่า ก่อนที่ไทยจะออก พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เรื่องนี้โดยตรง ก่อนหน้านี้ไทยมีกฎหมายอื่นๆ เพียงพออยู่แล้วที่จะนำมาใช้ได้อย่างครอบคลุม เช่น การจัดการกับกลุ่มที่อยู่ในต่างประเทศสามารถใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เรื่องการเงิน มี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน</p><p>หรือการหลอกลวงออนไลน์สามารถใช้มาตรา 14 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขอให้เจ้าของแพลตฟอร์มลบเนื้อหาที่มีความผิด หรือตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบได้</p><p>แต่ปัญหาที่เกิดในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ จนจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ขึ้นมา เพราะรัฐบาลมองว่าผู้ให้บริการเอกชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือ “แต่ถามกลับว่าทำใมเอกชนถึงไม่อยากความร่วมมือ เพราะเขาไม่รู้ว่าเวลาเขาร่วมมือไป คุณเอาข้อมูลไปใช้ลักษณะไหน ใช้ในการปราบปราอาชญากรรมจริงไหม หรือขอข้อมูลคนนี้มาเพราะ คนนี้เป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เป็นนักวิชาการ เป็นพรรคฝ่ายค้าน” ทศพลกล่าว</p><p>เช่น ถ้าหากมีข่าวออกมาว่าผู้ให้บริการร่วมมือกับรัฐ ให้ข้อมูลเพื่อใช้จับตานักกิจกรรมทางการเมือง จะสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับแพลตฟอร์ม ผู้บริการจึงตั้งกำแพงที่สูงในการให้ความร่วมมือกับรัฐ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายที่มีพออยู่แล้ว ต้องติดอยู่กับขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนเพื่อให้ผู้ให้บริการยอม ให้รับความร่วมมือ “ดังนั้นรัฐต้องสร้างความไว้วางใจให้กับบริษัททั้งหลาย ว่าถ้าร่วมมือแล้วจะแก้ปัญหาอาชญากรรมอย่างที่บอกจริง ๆ ไม่ได้เอาไปใช้เรื่องอื่น อันนี้สำคัญที่สุด” ทศพลกล่าว</p><p>ในส่วนของปัญหาที่ผู้กระทำความผิดอยู่นอกประเทศ ทศพลอธิบายว่า กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับอาชญากรข้ามชาติที่ออกมาใช้ในไทยนั้น เริ่มมาจากที่หน่วยงานระหว่างประเทศอย่างองค์กรตำรวจสากล เจอปัญหาเหล่านี้เหมือนกันในหลายประเทศ จึงแนะนำให้ไทยออกกฎหมายเหล่านี้ และมีกลไกลการประสานความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศอยู่แล้ว หากไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ จะสามารถแก้ไขได้ หรือไทยมีอำนาจมากพอที่จะดึงในประเทศอื่นเข้ามาร่วมมือ เหมือนอย่างที่ประเทศมหาอำนาจที่จริงจังในการปราบปราม จะเห็นได้ว่าประเทศเล็กๆ จะรีบให้ความร่วมมืออย่างดี</p><p>การแก้ปัญหาจึงไม่ใช้เพียงแค่เรื่องของกฎหมายเป็นยังมีปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย “อย่างที่เราบอกว่าปัญหามันเริ่มจากว่า ที่ตั้งแก๊งเหล่านี้เป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย แล้วถ้ายังไปสนับสนุนให้ประเทศเหล่านั้น ให้ไม่มีนิติรัฐ ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายทุกพื้นที่อย่างเสมอภาค ปัญหานี้ก็จะเกิดไปเรื่อยๆ วนไป” ทศพลกล่าว</p><p>ซึ่งณัฐกรได้เสริมทิ้งท้ายไว้ว่า ปัญหานี้ไม่มีสามารถแก้ไขเป็นรายพื้นที่ไปได้ อย่างที่เห็นนเมื่อการปราบปรามเกิดขึ้นองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ก็จะย้ายพื้นที่ทำงานเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เห็นจากการที่ทางการไทยต้องเข้าไปช่วยคนไทยลึกเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ดังนั้นต้องมองปัญหาเป็นภาพใหญ่ทั้งภูมิภาค</p><div class="more-story"><p><strong>ติดตามรายการมนุษย์ออนไลน์</strong></p><ul><li>
(ไฮไลต์) หลอกให้หลง หลอกให้โอน | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.1</li><li>
หลอกให้หลง หลอกให้โอน | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.1</li><li>
'คนพิการ' กับ 'สิทธิดิจิตัล' ในการเลือกตั้ง #HumanOnTheLine | มนุ<a href="#HumanOnTheLine">ษย์ออนไลน์ EP.5[/url]</li><li>
ประชาชนจะตรวจสอบรัฐได้อย่างไร #HumanOnTheLine | มนุ<a href="#HumanOnTheLine">ษย์ออนไลน์ EP.4[/url]</li><li>
ปลอมเปลือก! ปอกเปลือกข่าวปลอม #HumanOnTheLine | มนุ<a href="#HumanOnTheLine">ษย์ออนไลน์ EP.3[/url]</li><li>
ความเป็นส่วนตัวมีจริงหรือไม่ รัฐสอดแนมเราได้แค่ไหน? #HumanOnTheLine | มนุ<a href="#HumanOnTheLine">ษย์ออนไลน์ EP.2[/url]</li><li>
คุยเรื่องสิทธิดิจิทัลกับเจ้าของลานจอดรถทัวร์ในโซเชียลมีเดีย #HumanOnTheLine | มนุษย์ออนไลน์ EP.1</li></ul></div><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53788573235_b413695482_k.jpg" width="2048" height="1152" loading="lazy"></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5" hreflang="th">ไอซีท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดี
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">มนุษย์ออนไลน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5" hreflang="th">สิทธิดิจิทั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C" hreflang="th">สแกมเมอร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">หลอกลวงออนไลน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93" hreflang="th">ทศพล ทรรศนพรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" hreflang="th">ณัฐกร วิทิตานนท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B2" hreflang="th">จีนเท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5" hreflang="th">มังกรหลากส
http://prachatai.com/category/humanontheline" hreflang="th">HumanOnTheLine[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99" hreflang="th">กาสิโ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%95" hreflang="th">ปอยเป
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%88" hreflang="th">ชเวก๊กโก
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99" hreflang="th">การพนั
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/06/109739 







