ท้องถิ่นจัดการป่า (2) แนวคิด ‘ป่าชุมชน’ และ ‘ท้องถิ่น’ อยู่ตรงไหนในการจัดการป่า?
<span>ท้องถิ่นจัดการป่า (2) แนวคิด ‘ป่าชุมชน’ และ ‘ท้องถิ่น’ อยู่ตรงไหนในการจัดการป่า?</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-07-09T19:12:17+07:00" title="Tuesday, July 9, 2024 - 19:12">Tue, 2024-07-09 - 19:12</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>THE GLOCAL – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตอนที่สองของข่าวเจาะชุด "ท้องถิ่นจัดการป่า" เมื่อ "ป่าชุมชน" ถูกมองว่าเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเชิงประจักษ์กลับแสดงให้เห็นว่าการขยายพื้นที่ป่าชุมชนในรอบไม่กี่ปีมานี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า และที่น่าวิตกกว่านั้นคือแนวโน้มพื้นที่ป่าชุมชนกลับลดลง ซึ่งสวนทางกับความคาดหวังเดิมในการเพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน <a href="#ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ">#ท้องถิ่นสร้างสื่อสอ
https://live.staticflickr.com/65535/53845700438_4546e4efeb_k.jpg" width="2047" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง หมู่ที่ 10 ต.เนินขาม อ.เนินขาม จ.ชัยนาท ป่าชุมชนแห่งแรก ๆ ของประเทศไทย (ที่มา: กรมป่าไม้)</p><p>แนวคิดในการบริหารจัดการป่าในรูปแบบป่าชุมชน มีวิวัฒนาการมาจากการดำเนินงานโครงการ ด้านป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมต่าง ๆ ในอดีต เช่น โครงการหมู่บ้านป่าไม้ เพื่อรวบรวมราษฎรที่กระจัดกระจาย ในเขตต้นน้ำลำธารมาอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเหมาะกับการเกษตรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพเสื่อมโทรม มีการปลูกป่าเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และรักษาป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ โครงการปลูกไม้ยืนต้นแบบ ประชาอาสาโดยปลูกตามโรงเรียน วัด สองข้างทาง ที่สาธารณะประจำหมู่บ้าน ค่ายลูกเสือ หรือสถานที่ ราชการ โครงการปลูกไม้ฟื้นป่าชุมชน เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับชุมชนในหมู่บ้าน</p><p>และต่อมาในช่วง พ.ศ. 2530 กรมป่าไม้ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาป่าชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน มีการจัดกลุ่มเกษตรกร อบรมกลุ่มเกษตรกรและครูในพื้นที่เป้าหมาย สนับสนุนการเพาะกล้าไม้และส่งเสริม ให้ปลูกป่าชุมชนในพื้นที่หมู่บ้าน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) ควบคู่ไปกับการดำเนินการโครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านป่าไม้ ในท้องที่จังหวัดเป้าหมาย 47 จังหวัด โดยความช่วยเหลือของ UNDP/FAO/SIDA เพื่อให้บริการทางด้านป่าไม้ ให้ชุมชนต่าง ๆ ที่พึ่งพิงป่า ได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างถูกต้อง และกรมป่าไม้ยังได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิฟอร์ดในการพัฒนาโครงการนําร่องทางวนศาสตร์ชุมชนในประเทศไทย โดยเป็นความ ร่วมมือระหว่างกรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินงานด้านวนศาสตร์บนที่สูงอีกด้วย</p><p>ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โครงการพัฒนา ป่าชุมชนได้ถูกกําหนดให้เป็นกิจกรรมหนึ่งในแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด ตามแผนพัฒนาจังหวัด ภายใต้ระบบโครงการพัฒนาชนบท (กชช.) ซึ่งมุ่งกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ไปยังส่วนภูมิภาค โดยมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและกลุ่มประชาชน เพื่อการดำเนินการป่าชุมชน การศึกษาและวิจัยกึ่งปฏิบัติการ โดยการประสานงานระหว่างภาครัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน ในปี พ.ศ. 2540 กรมป่าไม้ยังทำการส่งเสริมและพัฒนาโครงการป่าชุมชนตลอดมา จนกระทั่ง ปี 2542 กรมป่าไม้ได้อาศัยกฎหมายตามมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ มาตรา 17 (2) ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ส่งเสริมให้ชุมชนทำการจัดตั้งป่าชุมชนเป็น ผลสำเร็จครั้งแรก ในวันที่ 21 ธันวาคม 2542 จำนวน 3 แห่งด้วยกัน คือ (1) ป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง หมู่ที่ 10 ต.เนินขาม อ.เนินขาม จ.ชัยนาท (2) ป่าชุมชนปางขนุน หมู่ที่ 6 ต.นาบ่อคํา อ.เมือง จ.กำแพงเพชร (3) ป่าชุมชนเขาวังเยี่ยม หมู่ที่ 9 ต.นาบ่อคํา อ.เมือง จ.กำแพงเพชร </p><p>ต่อมาได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ซึ่งนิยาม “ป่าชุมชน” ตามกฎหมายฉบับนี้หมายความว่า "ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์หรือพื้นที่อื่นของรัฐนอกเขตป่าอนุรักษ์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นป่าชุมชน โดยชุมชนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูจัดการ บำรุงรักษา ตลอดจนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนอย่างสมดุลและยั่งยืนตามพระราชบัญญัตินี้" </p><p>ข้อมูลจาก
RECOFTCThailand - ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ประเทศไทย องค์กรที่จัดทำฐานข้อมูลป่าไม้ภาคพลเมืองระบุว่าในปี พ.ศ.2564 มีป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นป่าชุมชนตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 จำนวนรวม 11,327 โครงการ 13,028 หมู่บ้าน มีเนื้อที่รวม 6,295,718 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน 6.14% ของป่าทั้งหมดในประเทศไทย ณ ปี พ.ศ. 2563</p><h2>พื้นที่ป่าชุมชนแตะสู่ระดับสูงสุดในปี 2561 แต่หลังจากนั้นกลับลดลง</h2><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53845434806_6c7d149001_c.jpg" width="799" height="439" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">พื้นที่ป่าชุมชนในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2556 ถึง 2565 ข้อมูลในกราฟแท่งแสดงจำนวนหน่วยเป็นไร่ (ที่มา: กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)</p><p>ป่าชุมชนถูกมองว่าเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเชิงประจักษ์กลับแสดงให้เห็นว่า ในรอบไม่กี่ปีมานี้การขยายตัวของพื้นที่ป่าชุมชนเป็นไปอย่างเชื่องช้า และที่น่าวิตกกว่านั้นคือแนวโน้มพื้นที่ป่าชุมชนกลับลดลง ซึ่งสวนทางกับความคาดหวังเดิมในการเพิ่มที่ป่าชุมชน</p><p>ข้อมูลจาก
กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าระหว่างปี 2556-2565 แม้ว่าในภาพรวมตัวเลขพื้นที่ป่าชุมชนจะเพิ่มขึ้นจาก 3,545,035 ไร่ ในปี 2556 เป็น 6,230,622 ไร่ ในปี 2565 ซึ่งหากพิจารณาตามช่วงเวลาแล้วพบว่าการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอยู่ในช่วงปี 2556-2561 เท่านั้น ซึ่งในปี 2561 พื้นที่ป่าชุมชนในไทยขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดคือ 6,340,799 ไร่ โดยในช่วง 6 ปี (2556-2561) พื้นที่ป่าชุมชนในไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 465,961 ไร่เลยทีเดียว แต่หลังจากปี 2561 พบว่าแนวโน้มพื้นที่ป่าชุมชนกลับลดลง โดยในช่วง 5 ปี (2561-2565) พื้นที่ป่าชุมชนในไทยลดลงเฉลี่ยปีละ 22,035 ไร่</p><p>จากข้อมูลชุดนี้ อาจวิเคราะห์ได้ว่า หลังจากที่ 'โครงการป่าชุมชน' ได้รับความสนใจสูงสุดในปี 2561 ชุมชนที่มีความพร้อมและศักยภาพในการจัดการป่าได้เข้าร่วมโครงการจนเกือบครบทุกพื้นที่แล้ว ส่วนชุมชนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมอาจประสบกับข้อจำกัดสองประการ ประการแรก คือ ขาดศักยภาพหรือความพร้อมในการบริหารจัดการป่าชุมชน ประการที่สอง คือ อาจติดขัดกับกฎระเบียบและข้อบังคับตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ก็เป็นได้</p><div class="more-story"><p>ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</p><ul><li>
‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย, 20 ธ.ค. 2566</li><li>
ท้องถิ่นจัดการป่า (1) ปัญหาการจัดการ ‘ป่าไม้’ ในไทย และตัวอย่างจากต่างประเทศ, 2 ก.ค. 2567</li><li>
ยืนตรง “ไร่หมุนเวียน” (1) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐเปลี่ยนผัน, 4 ก.ค. 2567</li></ul></div><h2>ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการป่าชุมชน</h2><p>แม้ประเทศไทยได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม แต่ในทางปฏิบัติ การดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้ยังคงเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการ</p><p>จากรายงาน
Thailand’s Community Forest Act: Analysis of the legal framework and recommendations ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ที่แม้จะยืนยันให้เห็นว่าการตรากฎหมายฉบับนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการเสริมสร้างการยอมรับบทบาทของชุมชนในการจัดการป่าไม้นอกพื้นที่ป่าคุ้มครองอย่างเป็นทางการ แต่ก็ยังพบช่องว่างทางกฎหมายที่สำคัญคือสมาชิกในชุมชนได้รับอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าเพื่อการยังชีพเท่านั้น ห้ามใช้เพื่อการค้า</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53845700383_3bb892bf25_b.jpg" width="1000" height="563" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ปราโมทย์ ผลภิญโญ ที่ปรึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท)</p><p>ปราโมทย์ ผลภิญโญ ที่ปรึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของ พ.ร.บ.ป่าชุมชน ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีปัญหาตั้งแต่แนวคิดในการผลักดันร่างกฎหมาย เห็นแย่งกันอยู่ 2 ฝ่าย ทั้งรัฐและประชาชน ประเด็นที่แย้งกันคือ 1.พื้นที่ในการกำหนดเขตป่าชุมชน รัฐห้ามกำหนดพื้นที่จัดตั้ง ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย 2. การใช้ประโยชน์จากป่า รัฐมองว่าไม่ควรใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ที่เป็นส่วนสำคัญจากป่า ในการสร้างสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนหรือสิ่งจำเป็น ให้ใช้เฉพาะสิ่งที่นอกเหนือจากการคุ้มครอง ซึ่งมันส่วนทางกับความหมายของป่าชุมชน ที่ชุมชนควรมีส่วนได้รับประโยชน์ด้วย</p><p>“ท้ายสุดกลับไปที่ตัวนิยามของป่าชุมชน วิธีคิดของการจัดการ ซึ่งตอนผลักดันร่างกฎหมายยังไม่ตกผลึก พอกฎหมายออกมาในช่วงที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของชาวบ้านถูกตัดตอน ทำให้ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมด้วย” ปราโมทย์ กล่าว</p><p>สอดคล้องกับชัยพงษ์ สำเนียง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เคยระบุไว้ใน
บทความชิ้นหนึ่งว่าการพิจารณากฎหมายป่าชุมชนซึ่งออกมาบังคับใช้ในปี 2562 จะเห็นว่า พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ฉบับนี้ไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนไหวของประชาชน แต่เกิดจากการสั่งการของรัฐบาล ที่จะก่อปัญหาต่อชาวบ้านในอนาคต เช่น มาตรา 4 ที่ระบุว่าให้คำนิยามของ “…“ป่าชุมชน” หมายความว่า ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์หรือพื้นที่อื่นของรัฐนอกเขตป่าอนุรักษ์ ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นป่าชุมชน” ซึ่งจะเห็นว่าป่าชุมชนจำนวนมากอยู่ในเขอนุรักษ์ที่ระบุว่า “…“เขตป่าอนุรักษ์” หมายความว่า เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า หรือ เขตพื้นที่อื่นใดที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ หรือคุณค่าอื่นอันควรแก่การอนุรักษ์หรือรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” อีกทั้งในมาตรา 32 ยังระบุว่า “…หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอจัดตั้งป่าชุมชนและการอนุมัติให้จัดตั้งป่าชุมชน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด…” จากข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่ไม่สามารถดูและและเป็นเจ้าของป่าชุมชนที่ดูแลมานานปีได้อีกต่อไปถ้าอยู่ในเขตอุทยานตามนิยามนี้ อีกทั้งการตั้งป่าชุมชนต้องขึ้นอยู่กับระบบราชการอย่างเข้มข้น</p><h2>ท้องถิ่นอยู่ตรงไหนกับการจัดการป่าไม้</h2><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53844548052_1d91f3f627_z.jpg" width="639" height="415" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">นักเรียนทำกิจกรรมสำรวจป่าชุมชน ที่มา: แฟ้มภาพ/กรมป่าไม้</p><p>ทั้งนี้ ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ควรได้รับการกระจายอำนาจอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตป่าชุมชนที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้การจัดการป่าชุมชนสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง</p><p>แต่กระนั้น การมีส่วนร่วมดังที่กล่าวไป อาจไม่เกิดขึ้นจริงหาก อปท. ยังไม่มีอำนาจมากพอในการร่วมจัดการป่าชุมชน ยกตัวอย่างเช่นในงานศึกษา 'ปัญหาของพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562 ศึกษากรณีการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการจับกุม' โดยนพพล เดชปั้น ระบุว่าแม้เจตนารมณ์ที่แท้จริงในการให้ชมชุนเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เอง ชุมชนต้องการให้รัฐเป็นผู้สนับสนุนให้ความรู้ ส่งเสริมงบประมาณเท่านั้น ไม่ใช่ผู้กำหนดขั้นตอนหรือกระบวนการทั้งหมด การดำเนินการในฐานะรัฐที่เป็นผู้สนับสนุนประชาชนมีความพึงพอใจที่จะให้ อปท. เป็นผู้ดำเนินการให้ความสนับสนุน ช่วยเหลือ เพราะ อปท. เป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในท้องถิ่นมากที่สุด กิจกรรมของ อปท. สามารถจับต้องและเข้าถึงได้ง่ายมากกว่ารัฐส่วนกลาง โดยจุดเด่นของการปกครองท้องถิ่น นั้นคือ ประชาชนในท้องถิ่นมีอิสระสามารถเลือกผู้นาของตนเองได้ผ่านการเลือกตั้ง แต่งานศึกษาชิ้นนี้กลับพบว่าตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มาตรา 6 และมาตรา 23 มีปัญหา “การไม่กระจายอำนาจให้ อปท.ดำเนินการจัดการบริหารป่าชุมชนที่มากพอ” ซึ่งดูเหมือนจะขัดต่อหลักการกระจายอานาจและยังขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย</p><p>ย้อนไปที่บทความของชัยพงษ์ ได้ชี้ให้เห็นว่าการนิยามสมาชิกป่าชุมชนก็ต้องขึ้นกับ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 ทั้งที่ในอดีตชาวบ้านจะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาบังคับใช้กันเองหรือที่เรียกว่า “ธรรมาภิบาลท้องถิ่น” แทนที่จะเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวที่รัฐสร้างขึ้น อาจไม่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ซึ่งจะนำมาสู่ปัญหาการจัดการป่าไม้เหมือนดังที่ผ่านมา อีกทั้ง พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 ยังให้อำนาจของรัฐส่วนกลางในการเป็นกรรมการป่าชุมชน เป็นการโอนอำนาจการจัดการ การตัดสินใจจากชาวบ้านผู้ดูแลป่าสู่รัฐราชการ อีกทั้งถ้าจะใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนก็ต้องขออนุญาตจาก ‘คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด’ จะเห็นว่าป่าชุมชนที่เคยอยู่ในการแก้ไขของชาวบ้านจะถูกดึงไปอยู่ในการดูแลของรัฐภายใต้กฎเกณฑ์ที่สลับซับซ้อน ผิดไปจากการเคลื่อนไหวเพื่อณรงค์สร้างป่าชุมชนที่มีมาแต่เดิม อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายที่แย่ไม่มีดีกว่ามี เพราะเมื่อเป็นกฎหมายแล้ว จะถูกสถาปนาความชอบธรรมและมีสภาพบังคับ ชาวบ้านคือผู้ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53845872850_e1a9c13007_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สมนึก จงมีวศิน ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
(ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท)</p><p>เช่นเดียวกับ สมนึก จงมีวศิน ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร มองว่า พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตป่าชุมชน ทั้งป่าไม้และป่าชายเลน เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อเอื้อให้เกิดการจดทะเบียนป่าชุมชน โดยความหมายในตอนนั้นผู้ออกกฎหมายอยากให้มีป่าชุมชน ดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่า ทำให้เกิดความหลากหลาย แต่ในเนื้อในของกฎหมายเป็นการบังคับด้วยข้อกำหนดตัด อปท. ที่เป็นตัวเชื่อมออก ให้ขึ้นตรงกับกรมป่าไม้ ภาครัฐส่วนกลางคิดอนุบัญญัติ (กฎหมายรอง) ทำให้เกิดปัญหากับหลักคิดของชุมชน โดยที่ อปท. ที่เป็นตัวแทนของคนในชุมชนกลับไม่มีอำนาจที่จะออกกฎระระเบียบ ข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติที่จะดูแลตัวเองได้ โดยใน พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับนี้ อปท. ก็ไม่มีอำนาจเข้ามาทำเรื่องพวกนี้ มีแค่ดูแลทางอ้อม ทำให้ขาดข้อต่อกลางตรงนี้ไป ไม่ต่างอะไรกับกฎหมายหรือระเบียบเดิมที่เคยมีมา</p><p>“ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ชัดเจนแบบนี้ อปท.และประชาชนในพื้นที่จะร่วมกันกำหนดพื้นที่ป่าชุมชน ว่าตรงไหนเหมาะสมแล้วทำให้เป็นระเบียบของพื้นที่ แต่พอมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ ดูเหมือนจะกระจายอำนาจ แต่พอดูเนื้อในแล้ว เป็นการดึงอำนาจกลับไปอยู่ส่วนกลาง ทำให้การมีของ พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ แทนที่จะเข้ามาแก้ปัญหาตรงที่ติดปัญหาแต่ก่อน กลับกลายมาเป็นข้อจำกัดประชาชนและท้องถิ่น” สมนึก กล่าว </p><p>สมนึก ระบุอีกว่าชาวบ้านและ อปท. ก็เจอปัญหาว่าก่อนหน้านี้มีการพยายามทำระเบียบข้อบัญญัติของชุมชนหรือพื้นที่ร่วม ให้เป็นระเบียบของพื้นที่ตามอำนาจ อปท. แต่พอ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 ออกมา กลายเป็นว่าต้องทำตามระเบียบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทำให้เกิดปัญหาในหลายพื้นที่ ภาคประชาชนก็เห็นกันว่า เราควรแก้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ รายมาตรา กระจายอำนาจกฎหมาย ให้อำนาจจากกรมที่ดูแลพื้นที่ป่าอยู่ ลงมา อปท. ที่เขามาจากการเลือกตั้งฉันทามติของประชาชนในพื้นที่ เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบต่าง ๆ จะทำให้เข้าใจบริบทในพื้นที่ได้ ป่าชุมชนเปรียบเหมือนระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่ชาวบ้านจะเข้าไปใช้ฐานทรัพยากรในป่าได้ ชาวบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงได้จากป่าที่ร่วมกันดูแลรักษา </p><h2>ทางไปต่อ พ.ร.บ. ป่าชุมชน 2562 รื้อหรือเลิก?</h2><p>สมนึก มองปัญหาเพิ่มเติมว่าการประกาศป่าชุมชนไม่ใช่ปัญหาใหญ่เท่ากับปัญหาที่ว่า พื้นที่จะทำป่าชุมชนเข้าไปทับซ้อนกันอยู่ ไม่ว่าจะเขตกรมป่าไม้ เขตกรมธนารักษ์เขตทหาร หรือพื้นที่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ที่ยังไม่มีขอบเขตชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการสัมปทานป่า 30 ปี แบบเดิม ที่ควรยกเลิกไปได้แล้ว และยกพื้นที่ให้ชุมชนทำป่าชุมชน ไม่ใช่ให้นายทุนคนนอกพื้นที่เข้าไปใช้ประโยชน์</p><p>“พ.ร.บ.ป่าชุมชน มีไว้เพื่อให้เกิดป่าชุมชนในพื้นที่นั้น ๆ และใช้สอยประโยชน์ในป่านั้นได้ ระเบียบต่าง ๆ ควรเขียนไว้ใน พ.ร.บ.น้อย ๆ เปิดกว้างให้ อปท.กับคนในพื้นที่เข้ามาร่างระเบียบ ให้คนในพื้นที่ออกแบบกฎกติกากันเอง ไม่ใช้อำนาจ ระเบียบกฎหมายกลางเข้าไปให้ข้อปฏิบัติบังคับ ไม่มีใครรู้ดีเท่าคนในพื้นที่ อย่าให้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน เป็นอุปสรรคในการจัดตั้งป่าชุมชนเสียเอง” สมนึก กล่าว</p><p>ด้านปราโมทย์ ที่ปรึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ให้ภาพว่าการที่รัฐส่วนกลางเป็นคนกำหนดกฎหมายลงมา ขาดการมีส่วนร่วม ท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดเลย แม้แต่ อปท. ทำให้เหมือนรัฐขีดเส้นจากบนลงล่าง ท้องถิ่นก็แค่ทำตามข้อบังคับ ในส่วนของภาคประชาชนมีความพยายามพลักดันมาตลอดว่า ป่าชุมชนเป็นสิทธิชุมชน เป็นสิทธิของชาวบ้าน ประชาชนควรบริหารจัดการได้ในป่าทุกประเภท โดยที่ไม่มีการกำหนดตามเงื่อนไขของรัฐดำเนินการไว้ จะทำให้เกิดการบริหารจัดการของชุมชนอย่างยั่งยืน และไม่ก่อเกิดปัญหาในภายหลังเหมือนกันที่เคยเป็นมา </p><p>“ต้องแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยเฉพาะสิ่งที่รัฐกำหนดไว้เอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยื่นจดจัดตั้ง การดำเนินการใด ๆ ที่เป็นไปอย่างจำกัด รวมถึงเปลี่ยนกำหนดนิยามของพื้นที่ เมื่อประชาชนและท้องถิ่นไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามตามนิยามป่าชุมชนของเขา ก็เหมือนว่ารัฐขีดกรอบให้ พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ เลยยังไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริง และมีแต่จะก่อเกิดปัญหาในอนาคต” ปราโมทย์ กล่าวทิ้งท้าย.</p><p><strong>ในตอนต่อไปจะขอกล่าวถึงการนำป่าชุมชนเข้าสู่ตลาด 'คาร์บอนเครดิต' ที่ถือเป็น 'ความหวังใหม่' สำหรับท้องถิ่นที่จะได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการป่าไม้ได้เอง ว่าแท้จริงแล้วมันจะสามารถดำเนินการได้ดังเป้าหมายที่สวยหรูจริงหรือ?</strong></p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">สิ่งแวดล้อ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89" hreflang="th">ป่าไม
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">ป่าชุมช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%99" hreflang="th">พ.ร.บ.ป่าชุมข
http://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81-%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%99" hreflang="th">สมนึก จงมีวศิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่
http://prachatai.com/category/the-glocal-%E2%80%93-%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81" hreflang="th">The Glocal – ท้องถิ่นเคลื่อนโล
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/07/109859 







