17 กรกฎาคม 2568 05:15:56
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
นิทาน - ชาดก
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
.:::
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๙ อลีนจิตตชาดก : ช้างกัลยาณมิตร
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๙ อลีนจิตตชาดก : ช้างกัลยาณมิตร (อ่าน 285 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 6129
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๙ อลีนจิตตชาดก : ช้างกัลยาณมิตร
«
เมื่อ:
13 กรกฎาคม 2567 19:38:16 »
Tweet
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๙ อลีนจิตตชาดก
ช้างกัลยาณมิตร
อดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
มีบ้านช่างไม้อยู่ไม่ห่างจากกรุงพาราณสี พวกช่างไม้ ๕๐๐ คน เดินเรือขึ้นเหนือน้ำแล้วพากันเข้าไปในป่า ตัดไม้เพื่อทำเครื่องเรือนปราสาทแบบต่างๆ มีพื้นชั้นเดียวและสองชั้นแล้วทำเครื่องหมายไว้ในไม้ทุกชิ้น
พวกเขาขนไปยังฝั่งแม่น้ำบรรทุกเรือล่องมาถึงพระนคร จนกระทั่งผู้ใดต้องการเรือนแบบใดก็สร้างเรือนแบบนั้นให้ หมดแล้วก็กลับไปขนไม้มาใหม่อีก
เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างนี้ คราวหนึ่งเข้าตั้งค่ายตัดไม้อยู่ในป่า มีช้างตัวหนึ่งเหยียบตอตะเคียนเข้า ตอได้แทงเท้าของช้าง มันเจ็บปวดมาก เท้าบวม มีหนอง ช้างได้รับบาดเจ็บสาหัส ได้ยินเสียงตัดไม้ของพวกช่างไม้ จึงจะเข้าไปขอความช่วยเหลือ เดินสามเท้าเข้าไปหาเขาหมอบลงใกล้ๆ ช่างไม้เห็นช้างมีเท้าบวม จึงตรงเข้าไปใกล้ พบตอฝังอยู่ที่เท้า จึงใช้มีดที่คมกรีดรอบตอ ใช้เชือกดึงตอออก บีบหนอง เอาน้ำอุ่นล้าง ไม่นานนักที่พวกเขารักษาแผลให้หายด้วยใช้ยาที่ถูกต้อง ช้างหายเจ็บปวดจึงคิดว่า เราได้ชีวิตกลับมาอีกครั้งเพราะอาศัยช่างไม้เหล่านี้ เราควรช่วยเหลือตอบแทนเขา
ตั้งแต่นั้นมาเมื่อช่างไม้นำไม้มาถาก ช้างก็ช่วยพลิกให้ คอยส่งเครื่องมือให้กับพวกช่างไม้ มันใช้งวงพันจับปลายเชือกสายบรรทัด ในเวลาบริโภคอาหาร พวกช่างไม้ต่างก็ให้ก้อนข้าวแก่มันคนละปั้น ให้ถึง ๕๐๐ ปั้น ช่างนั้นมีลูกอยู่แล้ว ๑ เชือก เป็นลูกช้างอาชาไนย เพราะเหตุนั้นมันจึงคิดว่า เวลานี้เราก็แก่เฒ่าเราควรให้ลูกแก่ช่างไม้เหล่านี้ เพื่อทำงานแทนเรา แล้วเข้าป่าไป นำลูกมาแล้วบอกว่า “ช้างน้อยเชือกนี้เป็นลูกของข้า พวกท่านได้ช่วยเหลือชีวิตของข้าไว้ ข้าขอให้ลูกเป็นบำเหน็จค่าหมอพวกท่าน ตั้งแต่นี้ไปลูกของข้านี้จะทำการงานให้พวกท่าน” แล้วจึงสอนลูกว่า “ลูกน้อยตั้งแต่นี้ไปเจ้าจงทำการงานแทนแม่”
พอมอบลูกน้อยให้พวกช่างไม้แล้วตัวเองก็เข้าป่าไป ตั้งแต่นั้นมา ลูกช้างก็ทำตามคำสั่งของพวกช่างไม้ เป็นสัตว์ว่านอนสอนง่าย กระทำกิจการทั่วไป พวกช่างไม้ก็เลี้ยงดูลูกช้างด้วยอาหาร ๕๐๐ ปั้น ลูกช้างทำงานเสร็จแล้วก็ลงแม่น้ำอาบน้ำเล่นแล้วก็กลับ เด็กช่างไม้ก็จับลูกช้างที่งวง เล่นกับลูกช้างในน้ำและบนบก
ธรรมดาชาติอาชาไนยทั้งหลาย จะเป็นช้างก็ตาม ม้าก็ตาม คนก็ตาม ย่อมไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ เพราะฉะนั้นลูกช้างนั้นจึงไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ ถ่ายแต่ริมฝั่งแม่น้ำภายนอกเท่านั้น
อยู่มาวันหนึ่งฝนตกลงมาเหนือแม่น้ำ คูถลูกช้างที่แห้งก็ไปสู่แม่น้ำ ได้ติดอยู่ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งที่ท่ากรุงพาราณสี ครั้งนั้นพวกควาญช้างของพระราชานำช้าง ๕๐๐ เชือกไปด้วยอาบน้ำ ช้างเหล่านั้นได้กลิ่นคูถลูกช้างอาชาไนยเข้า จึงไม่กล้าลงแม่น้ำสักตัวเดียว ชูหางพากันหนีไปทั้งหมด พวกควาญช้างจึงแจ้งเรื่องแก่นายหัตถาจารย์ พวกเขาคิดกันว่าในน้ำต้องมีอันตราย จึงทำความสะอาดน้ำ เห็นคูถช้างอาชาไนยติดอยู่ที่พุ่มไม้ก็รู้ว่านี่เองเป็นสาเหตุในเรื่องนี้ จึงให้นำถาดมาใส่น้ำขยำคูถลงในถาดนั้นแล้วให้รดจนทั่วตัวช้างทั้งหลาย ตัวช้างก็มีกลิ่นหอม ช้างเหล่านั้นจึงลงอาบน้ำกันได้
นายหัตถาจารย์ทูลเล่าเรื่องราวนั้นแด่พระราชา แล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ พระองค์ควรสืบหาช้างอาชาไนยนั้นนำมาเถิด พระเจ้าข้า”
พระราชาเสด็จสู่แม่น้ำด้วยเรือขนาน เมื่อเรือขนานแล่นไปถึงตอนบน ก็บรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้ ลูกช้างกำลังเล่นน้ำอยู่ได้ยินเสียงกลอง จึงกลับไปยืนอยู่กับพวกช่างไม้ พวกช่างไม้ถวายการต้อนรับพระราชา แล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะหากพระองค์มีประสงค์ด้วยไม้ เหตุไรต้องเสด็จมา จะทรงส่งคนให้ขนไปไม่ควรหรือพระเจ้าข้า”
พระราชารับสั่ง “นี่แน่พวกเจ้า เรามิได้มาเพื่อประสงค์ไม้ดอก แต่เรามาเพื่อต้องการช้างเชือกนี้”
พวกช่างไม้กราบทูลว่า “ขอเดชะโปรดให้จับไปเถิด พระเจ้าข้า”
ลูกช้างไม่ปรารถนาจะไป โดยแสดงอากัปกิริยาออกมา
พระราชารับสั่งถามว่า “ช้างให้ทำอย่างไร”
พวกเขากราบทูลว่า “ขอเดชะ ช้างจะให้พระราชทานค่าเลี้ยงดูแก่ช่างไม้พระเจ้าข้า”
พระราชารับสั่งว่า “ตกลง”
แล้วโปรดให้วางราชรถลงที่เท้าช้างทั้ง ๔ ข้าง ที่งวงและที่หางแห่งละแสนบาท แม้เพียงนี้ช้างก็ไม่ไป ครั้นพระราชทานผ้าคู่แก่ช่างไม้ทั้งหมด พระราชทานผ้านั่งแก่ภรรยาช่างไม้ แม้เพียงนี้ก็ไม่ไป เมื่อพระราชทานเครื่องบริหารสำหรับเด็กแก่เด็กชายหญิงที่เล่นอยู่ด้วยกัน ลูกช้างจึงเหลียวไปดูพวกช่างไม้และพวกเด็กแล้วเดินไปกับพระราชา
พระราชาทรงพาไปถึงพระนคร แล้วรับสั่งให้ประดับพระนครและโรงช้าง ทรงประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ทรงทำการอภิเษกยกขึ้นเป็นราชพาหนะ ทรงตั้งไว้ในฐานะเป็นสหายพระองค์ พระราชทานสมบัติกึ่งหนึ่งแก่ช้าง ได้ทรงกระทำการเลี้ยงดูเสมอด้วยพระองค์ ตั้งแต่ช้างมา ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระราชาสิ้นเชิง
ครั้นกาลเวลาผ่านไป พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้น ในเวลาที่พระนางทรงครรภ์แก่ พระราชาได้ทรงสวรรคตเสียแล้ว ถ้าพญาช้างพึงรู้ว่าพระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว หัวใจของพญาช้างก็จะต้องแตกสลายไป ดังนั้นพวกคนเลี้ยงช้างจึงบำรุงมิให้พญาช้างรู้ว่า พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว
ฝ่ายพระเจ้ากรุงโกศล ซึ่งมีพระราชอาณาจักรใกล้เคียงกันทรงทราบว่าพระราชาสวรรคตแล้ว ทรงดำริว่าราชสมบัติกรุงพาราณสีว่าง พระราชาจึงยกกองทัพใหญ่ล้อมพระนคร ชาวพระนครพากันปิดประตูเมือง ส่งสาส์นถวายพระเจ้ากรุงโกศลว่า พระอัครมเหสีของพระราชาของพวกข้าพเจ้าทรงครรภ์แก่ พวกโหรทำนายว่า จากนี้ไปเจ็ดวันพระอัครมเหสีจักคลอดพระโอรส พวกข้าพเจ้าจักขอรบในวันที่ ๗ จักไม่มอบราชสมบัติให้ ขอได้โปรดทรงรอไว้ชั่วเวลา ๗ วันก่อน พระเจ้ากรุงโกศลทรงรับว่าตกลง
ครั้นถึงวันที่ ๗ พระเทวีประสูติพระโอรส ก็ในวันขนานพระนาม มหาชนได้ขนานนามพระโอรสว่า อลีนจิตตราชกุมาร เพราะพระโอรสทรงบันดาลให้มหาชนที่ขวัญเสียกลับมีขวัญดีขึ้น ตั้งแต่วันที่พระโอรสประสูติ ชาวพระนครของพระองค์ก็สู้รบกับพระเจ้ากรุงโกศล เมื่อขาดผู้นำ แม้จะมีกำลังต่อสู้มากมายเพียงไร ก็ถอยกำลังลงทีละน้อย ๆ พวกอำมาตย์พากับกราบทูลความนั้นแด่พระเทวี แล้วทูลถามว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้า เมื่อกำลังลดถอยลงอย่างนี้ พวกข้าพเจ้าเกรงว่าจะแพ้สงคราม มงคลหัตถี สหายของพระราชามิได้รู้ว่าพระราชาสวรรคตด พระโอรสประสูติ และพระเจ้ากรุงโกศลเสด็จมาทำสงคราม พวกข้าพเจ้าจะบอกให้พญาช้างนั้นรู้ดีไหม พระเจ้าข้า”
พระเทวีรับสั่งว่าดีแล้ว จึงตกแต่งพระโอรสให้บรรทมเหนือพระอู่บุด้วยภูษาเนื้อดี เสด็จลงจากปราสาท มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม เสด็จถึงโรงพญาช้างให้พระโอรสบรรทมใกล้ๆ พญาช้าง แล้วตรัสว่า “พญามงคลหัตถี พระสหายของท่านสวรรคตเสียแล้ว พวกข้าพเจ้ามิได้บอกเพราะเกรงว่าท่านหัวใจแตกสลาย นี่คือพระราชโอรสแห่งพระสหายของท่าน พระเจ้าโกศลเสด็จมาล้อมพระนคร ต่อสู้กับพระโอรสของท่าน ไพร่พลหย่อนกำลัง ท่านอย่าปล่อยให้พระโอรสของท่านตายเสียเลย จงยึดราชสมบัติถวายแก่เธอเถิด”
ขณะนั้นพญามงคลหัตถีก็เอางวงลูบคลำพระโอรส แล้วยกขึ้นประดิษฐานไว้เหนือกระพอง ร้องไห้คร่ำครวญ แล้วจึงวางพระโอรสให้บรรทมบนพระหัตถ์ของพระเทวี แล้วออกจากโรงช้างไป คิดว่าจะจับพระเจ้ากรุงโกศล ลำดับนั้นพวกอำมาตย์จึงสวมเกราะ ตกแต่งพญาช้างเปิดประตูพระนคร พากันล้อมพญาช้างออกไป พญามงคลหัตถีครั้นออกจากพระนครแล้ว ก็แผดเสียงดังถึงเข้าทำลายค่ายข้าศึก คว้าพระเมาลีพระเจ้ากรุงโกศลไว้ได้แล้วพามาให้หมอบลงแทบบาทมูลของพระโอรส หมู่ทหารเข้ารุมล้อมเพื่อฆ่าพระเจ้ากรุงโกศล พญาช้างก็ห้ามเสียแล้วถวายโอวาทว่า “ตั้งแต่นี้ไปพระองค์อย่าประมาท อย่าสำคัญว่าพระกุมารนี้ยังเด็ก”
ตั้งแต่นั้นมาราชสมบัติทั่วชมพูทวีปก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระโอรส ขึ้นชื่อว่าข้าศึกปัจจามิตรอื่นๆ ไม่สามารถจะเผชิญหน้าได้เลย
พระโพธิสัตว์ได้รับการอภิเษกให้ขึ้นครองราชย์ทรงมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษา ทรงพระนามว่า อลีนจิตตราช ทรงปกครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์จนวาระสุดท้ายพระชนมชีพ
นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“เราต้องรู้จักบุญคุณของคน”
พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
สปฺปุริสภูมิ ยทิทํ กตญฺญุตา กตเวทิตา
การรู้คุณและตอบแทนคุณ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี (๒๐/๗๐)
ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดยธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...