[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 ธันวาคม 2567 05:42:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๑๖. ติปัลลัตถมิคชาดก ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน  (อ่าน 87 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 สิงหาคม 2567 18:05:24 »




ขุททกนิกายภาค ๑  เอกนิบาต ๒. สีลวรรค
๑๖. ติปัลลัตถมิคชาดก ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ใน พทริการาม นครโกสัมพี ทรงปรารภพระราหุลเถระ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้

ความพิสดารว่า กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยเมืองอาฬวีประทับอยู่ในอัคคาฬวเจดีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ และภิกษุณี จำนวนมากไปวิหารเพื่อฟังธรรมในตอนกลางวัน ส่วนการฟังธรรมในเวลาค่ำอุบาสิกาและภิกษุณีทั้งหลายไม่ไป มีแต่พวกภิกษุและอุบาสกทั้งหลายครั้นเมื่อเสร็จสิ้นการฟังธรรมภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระพากันไปยังที่อยู่ของตน ๆ ภิกษุหนุ่มกับพวกอุบาสกนอนที่อุปัฏฐานศาลาคือ โรงฉัน เมื่อพวกภิกษุหนุ่มและพวกอุบาสกเหล่านั้นหลับ บางคนนอนกรนเสียงครืด ๆ นอนกัดฟัน บางคน นอนครู่เดียวแล้วลุกขึ้น พวกอุบาสกเห็นประการอันแปลกของภิกษุหนุ่ม จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็ภิกษุใดนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วได้เสด็จไปยังนครโกสัมพี

เมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านราหุลว่า

“อาวุโส ราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว บัดนี้ ท่านจงรู้ที่อยู่ของตน ก็เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์ท่านราหุลนั้นผู้มายังที่อยู่ของตนๆ เป็นอย่างดีเพราะอาศัยความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า และความที่ท่านราหุลนั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา และได้ลาดเตียงเล็ก ให้จีวรเพื่อหนุนศีรษะ แต่วันนั้นแม้ที่อยู่ก็ไม่ได้ให้แล้วเพราะกลัวต่อสิกขาบท”

ฝ่ายพระภัทรราหุลก็ไม่ไปยังสำนักของพระทศพล ด้วยคิดว่า เป็นพระบิดาของเรา หรือของพระธรรมเสนาบดีด้วยคิดว่า เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่า เป็นอาจารย์ของเรา หรือของท่านพระอานนท์ด้วยคิดว่าเป็นอาของเรา แต่ได้เข้าไปยังเวจกุฏีสำหรับถ่ายของพระทศพล ตลอดคืนยังรุ่ง

ครั้นเวลาก่อนอรุณทีเดียว พระศาสดาประทับยืนที่ประตูเวจกุฏีแล้วทรงพระกาสะ (ไอ) ขึ้น ส่วนท่านพระราหุลนั้นก็ไอขึ้นเช่นกัน

พระศาสดาตรัสถามว่า “ใครนั่น ?”

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ราหุล” แล้วออกมาถวายบังคม

พระศาสดาตรัสถามว่า “ราหุล เพราะเหตุไรเธอจึงนอนที่นี่ ?”

พระราหุลกราบทูลว่า “เพราะไม่มีที่อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าเมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลาย กระทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์ บัดนี้ไม่ให้ที่อยู่เพราะกลัวตนต้องอาบัติ ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ที่นี้เป็นที่ไม่เบียดเสียดผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ จึงนอนในที่นี้”

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดธรรมสังเวชขึ้นว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายสละราหุลได้อย่างนี้ ต่อไปภายหน้าเด็กในตระกูลทั้งหลายอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแต่เช้าตรู่แล้วตรัสกับพระธรรมเสนาบดีว่า

“สารีบุตร วันนี้ราหุลอยู่ที่เวจกุฏี ดูก่อนสารีบุตร ท่านทั้งหลายเมื่อละราหุลได้อย่างนี้ ต่อไปภายหน้า เด็กทั้งหลายเหล่าอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้บวชในพระศาสนานี้จักเป็นผู้ไม่มีที่พึง บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายจงให้ อนุสัมปันทั้งหลายอยู่ในสำนักของตนวันหนึ่ง สองวัน ในวันที่สามรู้ที่เป็นที่อยู่ของอนุสัมปันเหล่านั้นแล้วจงให้อยู่ภายนอก”

ดังนี้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทอีก ทรงกระทำให้เป็นอนุบัญญัติข้อนี้.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา แล้วกล่าวคุณของพระราหุลว่า

“ดูเอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ราหุลนี้ใคร่ต่อการศึกษาเป็น กำหนด ชื่อว่าผู้ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ของท่าน ก็ไม่โต้ตอบแล้วก็ได้ไปอยู่ในเวจกุฏี”

เมื่อภิกษุเหล่านั้นพากันกล่าวอยู่อย่างนี้ พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภาประทับนั่งบนอาสนะที่แล้วตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ”

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องของพระราหุล พระศาสดาตรัสว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลมิได้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเพียงในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน บังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน” แล้วทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่งครองราชสมบัติอยู่ในพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดมฤค อยู่ในป่า ครั้งนั้น แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวของพระโพธิสัตว์นั้นนำบุตรน้อยของตนเข้าไปแล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พี่ ท่านจงให้หลานของท่านนี้ ศึกษามารยาของเนื้อ”

พระโพธิสัตว์รับคำแล้วจึงนัดหมายเวลาเพื่อให้ เนื้อผู้เป็นหลานมาเรียนวิชา ครั้นถึงเวลานัดหมายเนื้อผู้เป็นหลานนั้นจึงเข้าไปหาลุงนั้นแล้วศึกษามารยาของเนื้อจนเสร็จสิ้น

วันหนึ่งเนื้อผู้เป็นหลานนั้นเที่ยวไปในป่า เกิดติดบ่วงของนายพรานจึงร้องบอกให้รู้ว่าติดบ่วง หมู่เนื้อพากันหนีไปบอกแก่มารดาของเนื้อนั้นว่าบุตรของท่านติดบ่วง แม่เนื้อนั้นจึงไปยังที่อยู่ของพี่ชายแล้วถามว่า

“พี่ท่าน ให้หลานศึกษามารยาของเนื้อแล้วหรือ ?”

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า “เจ้าอย่า กลัวไปเลย เราให้บุตรของเจ้านั้นศึกษามารยาของเนื้ออย่างดีแล้ว บุตรของเจ้านั้นก็จะเอาตัวรอดแล้วหนีไปได้โดยปลอดภัย”

พระโพธิสัตว์เมื่อแสดงความที่เนื้อหลานชายเรียนมารยาของเนื้อดีแล้วจึงปลอบโยนเนื้อผู้น้องสาวให้เบาใจ ด้วยประการต่าง ๆ

ฝ่ายลูกเนื้อนั้นแม้ติดบ่วง ก็ไม่ดิ้นรนเลย ก็ได้ใช้วิชาต่าง ๆ ที่เนื้อผู้เป็นลุงได้สั่งสอนเอาไว้ โดยนอนเหยียดเท้าทั้ง ๔ ไปทางด้านที่ถนัด เอากีบคุ้ยในที่ที่ใกล้ ๆ เท้าทำดินร่วนและหญ้าให้กระจุยขึ้น ปล่อยอุจจาระปัสสาวะออกมา ทำให้หัวตกลิ้นห้อย กระทำสรีระให้เปรอะเปื้อนด้วยน้ำลาย ทำให้ตัวพองขึ้นด้วยการอั้นลม ทำนัยน์ตาทั้งสองให้เหลือก ทำลมให้เดินทางช่องนาสิกล่าง กลั้นลมทางช่องนาสิกบน ทำหัวให้แข็ง แสดงอาการของเนื้อที่ตายแล้ว ฝ่ายแมลงวันหัวเขียวก็ตอมเนื้อนั้นกาทั้งหลายพากันแอบอยู่ในที่นั้น ๆ

ฝ่ายนายพรานเมื่อเห็นเนื้อติดบ่วงจึงมาเอามือดีดท้องคิดว่า เนื้อนี้คงติดบ่วงตั้งแต่เช้าตรู่ จึงเกิดอาการจะเน่าขึ้นมา จึงแก้เชือกที่ผูกเนื้อนั้นออก เพราะตั้งใจจะแล่เอาแต่เนื้อไป เมื่อเชือกบ่วงถูกแก้ออกแล้ว ลูกเนื้อนั้นจึงลุกขึ้นด้วยเท้าทั้ง ๔ สลัดกายเหยียดคอ แล้วได้ไปยังที่อยู่ของมารดาโดยเร็ว ประดุจเมฆฝนถูกลมพายุใหญ่พัดขาดไปฉะนั้น.

ฝ่ายพระบรมศาสดาตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน” ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง ประชุมชาดกว่า

ลูกเนื้อผู้เป็นหลานในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลในบัดนี้

ฝ่ายมารดาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณาในบัดนี้

ส่วนเนื้อผู้เป็นลุงในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.254 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 18 พฤศจิกายน 2567 08:34:34