[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 มีนาคม 2567 15:34:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิญญาณ (อาลยวิญญาณ)  (อ่าน 5464 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2554 05:02:31 »





วิญญาณ
               วิญญาณเป็นตัวแทนของปฏิกิริยาหรือการตอบ
สนองของอินทรีย์ (อายตนะภายใน) ต่ออารมณ์ภายนอกที่เข้า
มากระทบ นี้คือลักษณะพื้นผิวด้านนอกสุดของวิญญาณขันธ์

               มนัส เป็นตัวแทนของลักษณะการทำงาน การคิด
การใช้เหตุผล การสร้างมโนทัศน์ของจิต เป็นต้น

               จิต ซึ่งในที่นี้เรียกว่า อาลยวิญญาณ เป็นตัวแทน
ของลักษณะวิญญาณขันธ์ในระดับที่ละเอียดอ่อนและลึกที่สุด
   
               จิตประกอบด้วยวาสนาหรือรอยประทับของกรรมใน
อดีต(เหตุ) และศักยภาพ(ผล)ที่จะก่อเกิดในอนาคตทั้งที่ดีและชั่ว



วิญญาณ ๓ ระดับ
จิตหรือวิญญาณของคนเรามีการทำงาน ๓ ระดับ แต่ละระดับมี
ชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้

(๑) ระดับที่เรียกว่า จิต คำนี้หมายเอาจิตระดับลึกหรือระดับ
มูลฐาน ซึ่งเรียกว่า อาลยวิญญาณ หรือ มูลวิญญาณ จิตระดับนี้
มีหน้าที่เก็บวิบากกรรมและวาสนาต่าง ๆ
เสมือนเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ คล้ายกับคำที่เรียก
ในภาษาทางจิตวิทยาว่า จิตไร้สำนึก (unconscious mind)
หรือ จิตใต้สำนึก (subconscious mind)

(๒) ระดับที่เรียกว่า มนัส คำนี้หมายเอาจิตในแง่ที่ทำหน้าที่ปรุง
แต่งสร้างสรรค์โลกแห่งความทุกข์ หรือโลกแห่งมายาภาพขึ้น
มา โดยอาศัยเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ในอาลยวิญญาณนั่นเองเป็น
วัตถุดิบสำหรับคิดปรุงแต่ง เนื่องจิตระดับนี้ทำงานบนฐานของ
ความไม่รู้หรืออวิชชา จึงตามมาด้วยความยึดมั่นถือมั่นในตัว
ตน สร้างโลกแห่งความเป็นคู่ (ทวิภาวะ) ระหว่างตัวกู
(อหังการ) กับของกูขึ้นมา (มมังการ)


(๓) ระดับที่เรียกว่า วิญญาณ หมายถึง วิญญาณที่รับรู้อารมณ์
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เรียกอีก
อย่างว่า วิถีวิญญาณ หรือปวัตติวิญญาณ

อาศัยการแยกอธิบายวิญญาณออกเป็น ๓ ระดับนี้
เอง จึงทำให้เกิดทฤษฎีวิญญาณ ๘ ขึ้น คือ

(๑) วิญญาณทางตา
(๒) วิญญาณทางหู
(๓) วิญญาณทางจมูก
(๔) วิญญาณทางลิ้น
(๕) วิญญาณทางกาย
(๖) วิญญาณทางใจ
(๗) มนัส
(๘) อาลยวิญญาณ หรือ มูลวิญญาณ

               หรือเรียกว่า
•   วิญญาณ 5  ได้แก่จักขุวิญญาณ , โสตวิญญาณ , 
    ฆานวิญญาณ ,  ชิวหาวิญญาณ , กายวิญญาณ

•   วิญญาณที่  6  คือ  มโนวิญญาณ  จิตรู้และจำแนก สิ่งต่าง ๆ

•   วิญญาณที่  7  คือ  มนัสวิญญาณ  จิตรับ 
    ทำหน้าที่ตรึกตรองนึกคิด  ปรุงแต่ง  ยึดมั่น  ตัวกู – ของกู 
    (กูมี  มีกู  คือ  อัตตา – มานะ)

•   วิญญาณที่  8  คือ  อาลยวิญญาณ  ศุนย์เก็บสภาว
    ธรรมทั้งหลาย = CPU = ราชาจิตวิญญาณ 

             อาลย หมายถึงคลัง  ที่เก็บรวบรวม  เรือนคลังอันที่
เก็บ ที่ก่อ ที่สั่งสมเมล็ดพันธุ์ทั้งหลายทั้งปวง (สรรพพีชะ)
เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวนี้ ก็คือ วาสนา(พฤติกรรมเคยชิน) และวิบาก
กรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำลงไป ทั้งที่เป็นบุญและบาป
กุศลและอกุศล สิ่งต่างๆ ที่ถูกเก็บสะสมไว้ในเรือนคลังแห่ง
อาลยวิญญาณนี้ เปรียบเสมือนเมล็ดพืชนานาพันธุ์ พร้อมที่จะพัฒนา
ไปเป็นไม้แห่งความทุกข์ในสังสารวัฏก็ได้ ไปเป็นไม้แห่งความ
ดับทุกข์คือนิพพานก็ได้

             ในอาลยวิญญาณจึงมีทั้ง อกุศลกรรม  และกุศล
กรรม  มีทั้งเหตุปัจจัยก่อเกิดผล  ผลกลายเป็นเหตุอันใหม่  หมุน
เวียนมิสิ้นสุด  พร้อมด้วยกิเลส  ตัณหา  อุปาทาน  ปนเป็น 
จน “อวิชชาบดบังสภาพปรมัตถ์”   สรรพสัตว์จึงยากที่จะรู้สภาพ
ที่เป็นจริง  มิอาจเข้าถึงสัจธรรมได้ง่าย  ต้องบำเพ็ญปัญญาเท่า
นั้น  จึงจะดับราชาแห่งจิตวิญญาณนี้ได้


            อาลยวิญญาณเป็นธาตุรู้ มีหน้าที่  3  ประการ คือ
1.  หน้าที่รู้เก็บ คือสามารถเก็บเอาพลังต่างๆของกรรม
โดยไม่ขาดตกบกพร่อง สิ่งที่เก็บไว้ในอาลยวิญาณ เรียกว่า
"พีชะ" อันประกอบด้วยกุศลพีชะ อกุศลพีชะ อัพยากตพีชะ
เพราะฉะนั้น บางครั้งก็เรียกอาลยวิญญาณว่า "สรวพีช
วิญญาณ" ท่านเปรียบเหมือนยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกไว้ฉะนั้น
   
2 . หน้าที่รู้ก่อ คือก่อสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นปรากฏ 
การณ์ของพีชะในอาลัยวิญญาณนั้น ผลิดอกออกผล รวมทั้ง
วัตถุด้วยเช่น ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นพีชะในอาลัยวิญญาณก่อขึ้นมา
     
3 . หน้าที่รู้ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ให้วิจิตรให้พิสดารต่างๆ
เป็นไปตามคลองแห่งตัณหา ทำให้ประกอบกรรม เกิดวิบาก ส่ง
ผลเป็นพีชะเข้าไปเก็บไว้ในอาลัยวิญญาณอีก แล้วงอกเงยเป็น
อารมณ์ออกมาอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะหมดภพหมดชาติ

         บรรดาพีชะในอาลยวิญญาณต่างแยกกันอยู่เป็นส่วนๆ
กุศลก็อยู่ฝ่ายกุศล อกุศลก็อยู่ฝ่ายอกุศล แต่สถานที่เก็บเป็น
คลังแห่งเดียวกัน พีชะเหล่านี้เมื่อก่อปฏิกิริยาออกมาก็คือ
อารมณ์ต่างๆ ทั้งฝ่ายนามธรรมและรูปธรรม
บุญเป็นปัจจัยนำเกิด ปัญญาเป็นปัจจัยหยุดเกิด


            บุคคล  5  จำพวก  อาจแบ่งบุคคลตามพีชะที่ฝังอยู่
ในอาลยวิญญาณได้ 5  ระดับ เรียกว่าปัญจโคตร คือ

•   พุทธพีชบุคคล คือผู้สร้างบารมีสู่พุทธภูมิ
•   ปัจเจกโพธิพีชบุคคล คือผู้สร้างบารมีเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
•   สาวกพีชบุคคล คือผู้สร้างบารมีเป็นพระอรหันต์
•   อนิยตพีชบุคคล ผู้มีคติไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการอบรม
•   กิจฉันติกพีชบุคคล คือผู้ที่โปรดไม่ได้ในชาตินี้   แต่
อาจบรรลุได้   หากปรับปรุงตัวในชาติต่อๆไป



Credit by : http://www.navagaprom.com/oldsite/con1.php?con_id=536
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: จากหลักธรรม ปรัชญาโยคาจาร นิกายธรรมลักษณะ นิกายโยคาจาร ท่านอสังคะ ท่านวสุพันธุ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.368 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 มีนาคม 2567 18:38:54