[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 กรกฎาคม 2568 02:33:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ขอนแก่นเมืองใหญ่ รถยนต์ขวักไขว่ ระบบขนส่งไม่ครอบคลุม  (อ่าน 159 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กันยายน 2567 15:59:43 »

ขอนแก่นเมืองใหญ่ รถยนต์ขวักไขว่ ระบบขนส่งไม่ครอบคลุม
 


<span>ขอนแก่นเมืองใหญ่ รถยนต์ขวักไขว่ ระบบขนส่งไม่ครอบคลุม</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-09-21T02:10:27+07:00" title="Saturday, September 21, 2024 - 02:10">Sat, 2024-09-21 - 02:10</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>นันท์พนิตา สุขิตกุลพฤทธิพร ถ่ายภาพและรายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตัวเมืองขอนแก่นประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกับหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ การจราจรติดขัด ประชาชนพึ่งพายานพาหนะส่วนตัว มีการย้ายสถานีขนส่งออกไปอยู่นอกเมือง ในขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะไม่พอและไม่มีประสิทธิภาพที่จะรองรับเมืองเติบโต รถไฟฟ้ารางเบายังไม่คืบหน้า หนำซ้ำขบวนต้นแบบเพิ่งเกิดไฟไหม้ ส่วนรถเมล์ในเมืองวิ่งไม่กี่เส้นทาง มีเที่ยววิ่งจำกัด เอกชนต้องแบกรับต้นทุนเดินรถ เรื่องนี้จะมีทางออกอย่างไรรับฟังจากมุมมองผู้ประกอบการ ‘บัสซิ่ง ทรานซิท’ และเสียงจากผู้โดยสาร และภาคีผู้บริโภค</p><p>ขอนแก่นถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใจกลางของภูมิภาค ทำให้มีความสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคม การศึกษา หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การมีถนนมิตรภาพซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของการขนส่งในภาคนี้ สนามบินระดับนานาชาติที่เชื่อมต่อกับเมืองใหญ่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาชั้นสูงหลายแห่ง ล้วนทำให้ขอนแก่นกลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจและการเดินทาง นอกจากนี้ เมืองยังมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่รองรับประชากรและผู้ที่เดินทางเข้ามารับการรักษา</p><p>อย่างไรก็ตาม ขอนแก่นก็ประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกับหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ คือการขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพที่จะรองรับการเติบโตของเมือง แม้ว่าจะมีบริการรถโดยสารประจำทาง ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์หรือรถสองแถว แต่บริการเหล่านี้ไม่ครอบคลุมพื้นที่ทุกจุดในเมือง อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างเขตในเมืองและเขตนอกเมือง รวมถึงต่างอำเภอยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ในหลายพื้นที่กลับมีการให้บริการขนส่งสาธารณะที่ซ้ำซ้อนกัน ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและไม่คล่องตัว ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากจำเป็นต้องหันมาพึ่งพายานพาหนะส่วนตัว ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ แม้ว่าการใช้ยานพาหนะส่วนตัวจะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ก็ส่งผลให้การจราจรหนาแน่นและเกิดปัญหารถติดเพิ่มมากขึ้น</p><p>รายงานนี้มุ่งสำรวจแนวทางการจัดการปัญหาขนส่งสาธารณะในจังหวัดขอนแก่น โดยมุ่งหาคำตอบว่าอำนาจการปกครองส่วนกลางหรือการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน นอกจากนี้ ยังสำรวจถึงขีดจำกัด ปัญหาและอุปสรรคที่แต่ละส่วนต้องเผชิญ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางเลือกและแนวทางแก้ไข</p><h2>ขอนแก่นเมืองใหญ่ แต่ขนส่งสาธารณะไม่ครอบคลุม</h2><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001935530_0cba172e59_k.jpg" width="2048" height="1301" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">การจราจรบนสี่แยกเหล่านาดี ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น (แฟ้มภาพ/ประชาไท)</p><p>จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่าในปี พ.ศ.&nbsp;2566 จังหวัดขอนแก่นมีเนื้อที่&nbsp;10,886 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 1.78 ล้านคน โดยมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด&nbsp;355,094 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรคิดเป็น&nbsp;163.46 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่ปัญหาที่น่ากังวลก็คือ ขอนแก่นยังไม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนได้อย่างเต็มที่ รถโดยสารที่ให้บริการไม่สามารถครอบคลุมทุกเส้นทาง ทำให้ประชาชนไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบรอบการเดินรถได้ว่ารถจะมาถึงเมื่อใดหรือออกเดินทางไปแล้วหรือยัง ปัญหานี้ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์มาใช้เอง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย</p><p>ในขณะเดียวกัน ขอนแก่นมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น&nbsp;225 แห่ง แบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล&nbsp;140 แห่ง เทศบาลตำบล&nbsp;77 แห่ง เทศบาลเมือง&nbsp;6 แห่ง เทศบาลนคร&nbsp;1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอีก&nbsp;1 แห่ง อย่างไรก็ตาม การขาดงบประมาณเพียงพอในการจัดหาบริการขนส่งสาธารณะให้กับประชาชนในจังหวัดยังเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากการกระจายอำนาจจากส่วนกลางยังไม่เป็นรูปธรรม ทำให้องค์กรท้องถิ่นไม่สามารถจัดการได้เต็มที่</p><h2>จบที่ซื้อรถมาใช้เอง ใช่ว่าจะจบปัญหา</h2><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001515636_e278c56235_k.jpg" width="2048" height="1533" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร)&nbsp;</p><p class="picture-with-caption">(ที่มา: นันท์พนิตา สุขิตกุลพฤทธิพร)</p><p>ยุทธศาสตร์ที่สำคัญขององค์การอนามัยโลก (WHO) ภายใต้&nbsp;Global Plan หรือแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก ซึ่งเป็นแผนที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ.&nbsp;2561-2573 โดยเน้นเรื่องความเชื่อมโยงของการขนส่งสาธารณะและการเดินทางที่หลากหลาย (Multi-Modal Transportation) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้นและลดการพึ่งพารถยนต์ส่วนตัวกับรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะในเมืองที่มีการขนส่งสาธารณะที่ดี ประชาชนสามารถเลือกใช้ขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัวได้ ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุจราจรและเพิ่มความปลอดภัยได้</p><p>นพ.วิทยายังกล่าวต่อไปว่า หากมีรถขนส่งสาธารณะที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ รถยนต์ส่วนตัว&nbsp;50 คันสามารถถูกทดแทนได้ด้วยรถโดยสารเพียงคันเดียว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาจราจรได้อย่างมาก นอกจากนี้ ยังสามารถลดการใช้งานรถจักรยานยนต์และช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ได้อีกด้วย</p><p>ในกรณีของจังหวัดขอนแก่น นายแพทย์วิทยาเสริมว่าการพัฒนาจุดเชื่อมต่อระหว่างชุมชนและสถานีขนส่งสาธารณะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ขณะนี้ จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟ รถโดยสารประจำทาง หรือสนามบินกับชุมชนยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร การพัฒนาระบบขนส่งจากหมู่บ้านไปยังจุดขึ้นรถยังจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวหรือการเช่ารถแทน ซึ่งเป็นภาระที่หนักสำหรับประชาชน ทั้งนี้ การแก้ปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการวางแผนและลงทุนร่วมกัน</p><p>ขอนแก่นมีศักยภาพสูงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสาธารณะ แต่สิ่งที่ยังขาดคือความร่วมมือที่ชัดเจนระหว่างองค์กรท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมและหอการค้า การจัดการร่วมกันเพื่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพยังเป็นสิ่งที่จำเป็น นายแพทย์วิทยาเชื่อว่า หากได้รับสัญญาณที่ชัดเจนจากรัฐบาลกลาง ภาคท้องถิ่นจะสามารถตอบสนองและเริ่มดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p><h2>เพราะขาดเจ้าภาพ ภาคเอกชนจึงริเริ่มการพัฒนา</h2><p>เมื่อภาครัฐไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะงบประมาณที่ไม่เพียงพอ การกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึง หรือข้อจำกัดต่างๆ ทำให้กลุ่มธุรกิจเอกชนในจังหวัดขอนแก่นเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมือง ในปี 2558 กลุ่มนักธุรกิจท้องถิ่นกว่า 20 บริษัท ได้ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้ง “บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด” เพื่อแสดงเจตจำนงในการพัฒนาเมืองโดยไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ กลุ่มนักธุรกิจเหล่านี้มีความตั้งใจที่จะผลักดันให้บ้านเกิดของพวกเขาเติบโตอย่างยั่งยืน</p><p>การรวมกันของภาคเอกชนท้องถิ่นนำไปสู่การลงทุนโครงการ "รถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Train: LRT)" ซึ่งเป็นโครงการขนส่งสาธารณะที่ตอบโจทย์ความเร่งด่วนของเมือง โดยรถไฟฟ้ารางเบานั้นสามารถวิ่งบนผิวถนนร่วมกับรถยนต์ทั่วไปได้ และมีความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อได้เปรียบสำคัญคือมีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำกว่าระบบรถไฟฟ้ารางหนักอย่าง&nbsp;BTS หรือ&nbsp;MRT ในกรุงเทพฯ กลุ่มธุรกิจเอกชนตั้งเป้าระดมทุนผ่านการเปิดขายหุ้นต่อสาธารณะ (Crowdfunding) และจดทะเบียนโครงการในตลาดหลักทรัพย์เพื่อหาทุนดำเนินโครงการต่อไป</p><p>โครงการนี้ยังได้นำแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า (Transit Oriented Development: TOD) มาใช้ เพื่อให้การขนส่งมวลชนเป็นแกนกลางในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ แต่ละสถานีรถไฟฟ้ารางเบาจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญในการสร้างพื้นที่พาณิชย์และที่อยู่อาศัยที่สะดวกต่อการเข้าถึง ส่งเสริมการเดินทางและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวต้องหยุดชะงักเนื่องจากปัญหาด้านกฎหมาย และไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากการบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะยังไม่อยู่ภายใต้อำนาจของภาคเอกชน</p><p>ในเดือนมีนาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ลงนามในแผนพัฒนาขอนแก่น ซึ่งถูกบรรจุในแผนปฏิบัติการวาระแห่งชาติ เพื่อเปลี่ยนขอนแก่นให้กลายเป็น “Khon Kaen Smart City” เมืองอัจฉริยะต้นแบบของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด "Khon Kaen Model" โครงการนี้มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีใน 6 สาขาหลัก ได้แก่&nbsp;Smart Mobility, Smart Living, Smart Citizen, Smart Economy, Smart Environment และ&nbsp;Smart Governance หนึ่งในสาขาสำคัญคือ&nbsp;Smart Mobility หรือการเดินทางอัจฉริยะ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับความสะดวกสบายของคนในพื้นที่</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001515581_de4a1d160b_c.jpg" width="800" height="467" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">มิติ 6 สาขาของการเป็นเมืองอัจฉริยะ
(ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน)</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001834784_97a2e74e94_c.jpg" width="800" height="457" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ลำดับเหตุการณ์ของรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น (ที่มา: บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด)</p><p>ในระยะแรก มีการอนุมัติโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบาสายเหนือ-ใต้ ซึ่งมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการวิเคราะห์และสรุปว่า รถไฟฟ้ารางเบาเป็นระบบขนส่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเมืองขอนแก่น โดยได้กำหนดเส้นทางและสถานี 16 แห่ง นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้อนุมัติการจัดตั้งบริษัท 5 เทศบาล โดยมีชื่อว่า “5 ทหารเสือ” เพื่อเป็นผู้ดูแลและขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา รวมถึงการบริหารจัดการและเก็บรายได้จากการดำเนินโครงการ</p><h2>รถเมล์ประจำเมือง: ขอนแก่นซิตี้บัส</h2><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54000611647_c854cefc51_k.jpg" width="2048" height="1536" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ศุภกร ศิริสุนทร&nbsp;CFO และ&nbsp;Co-Founder ของบริษัทบัสซิ่ง ทรานซิท ผู้เดินรถขอนแก่นซิตี้บัส</p><p class="picture-with-caption">(ที่มา: นันท์พนิตา สุขิตกุลพฤทธิพร)</p><p>ในขณะที่ขอนแก่นยังอยู่ระหว่างศึกษาและลงทุนเรื่องระบบรถไฟฟ้า แต่ทั้งเมืองยังคงขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนพื้นฐาน มีเส้นทางรถเมล์ประจำทางอย่างจำกัด ศุภกร ศิริสุนทร&nbsp;CFO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทบัสซิ่ง ทรานซิท ซึ่งให้บริการขอนแก่นซิตี้บัส เล่าว่าการย้ายสถานีขนส่งออกนอกเมืองในปี&nbsp;2560 ได้สร้างผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน โครงการขอนแก่นซิตี้บัสจึงเกิดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อสถานีใหม่กับตัวเมือง โดยสาย&nbsp;24 กลายเป็นเส้นทางสำคัญในการบรรเทาปัญหาการเดินทาง</p><p>ศุภกรเล่าว่าทีมบัสซิ่ง ทรานสิทนั้นในอดีตเคยเป็นทีมเซ็ตอัพระบบให้กับขอนแก่นซิตี้บัส แล้วส่งต่อให้กับทาง KKTT (ขอนแก่นพัฒนาเมือง) ไปดำเนินการต่อ แต่เมื่อต้นปี 2566 ภายหลังช่วงโควิด-19 KKTT ประกาศจะหยุดให้บริการ ทำให้ศุกภรและทีมงานบัสซิ่งได้ยินข่าวก็เสียดายและไม่อยากให้หยุด จึงคำนวณเรื่องความเป็นไปได้ทางการเงินแล้วเข้ามารับช่วงต่อ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001935390_8446c0fd19_k.jpg" width="1899" height="1451" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">รถโดยสารขอนแก่นซิตี้บัส ณ จุดจอด บขส. ขอนแก่น (ที่มา: นันท์พนิตา สุขิตกุลพฤทธิพร)</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001834804_f3c28f57f3_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เครื่องเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถโดยสารขอนแก่นซิตี้บัส &nbsp;(ที่มา: แฟ้มภาพ/สมานฉันท์ พุทธจักร)</p><p>"พวกเราไม่อยากเห็นบริการขนส่งสาธารณะแบบนี้หายไป เพราะเราเชื่อว่ามันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเมืองขอนแก่น แม้ว่าการขนส่งสาธารณะจะไม่ใช่ธุรกิจที่ทำกำไรได้ง่ายก็ตาม” เขาและทีมรู้ว่าธุรกิจขนส่งสาธารณะมีความเสี่ยงสูงก็ตาม เพราะมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะเมื่อราคาค่าโดยสารถูกกำหนดโดยภาครัฐต่ำกว่าต้นทุนจริง ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทำกำไรได้และคุณภาพการบริการลดลง มีกรณียกเว้นที่บางเส้นทางเดินรถแล้วมีผู้โดยสารมากจริง ๆ หรือบางเมืองอย่างภูเก็ตสามารถเก็บค่าโดยสารราคาสูงได้ ภายใต้เงื่อนไขนี้ธุรกิจขนส่งสาธารณะจึงจะทำกำไร หรือไม่ก็เสมอตัว</p><p>ศุภกรยังกล่าวถึงปัญหาการบริหารเส้นทาง ว่าแม้ภาครัฐจะเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่เส้นทางต่างๆ กลับไม่เชื่อมต่อกันดีพอ ส่งผลให้การขยายเส้นทางหรือเพิ่มความถี่ของรถทำได้ยาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาข้อจำกัดในการวางแผนจัดเส้นทางเดินแบบรถข้ามเขตสัมปทานรถ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดสภาวะที่เหมือนงูกินหาง ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างรายได้เพียงพอเพื่อพัฒนาระบบขนส่งของตัวเอง</p><p>นอกจากนี้ ศุภกรยังวิจารณ์การควบคุมราคามากกว่าคุณภาพของบริการจากภาครัฐ รวมทั้งขาดการสนับสนุนด้านการจัดการจากรัฐ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดปัญหาในระบบขนส่ง พอขนส่งสาธารณะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร หรือเกิดความไม่มั่นใจในคุณภาพการบริการ สุดท้ายประชาชนหันไปใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากขึ้น เพราะไม่มั่นใจในบริการขนส่งสาธารณะ นำไปสู่การจราจรที่แออัด ปัญหามลพิษ และอุบัติเหตุ</p><p>อย่างไรก็ตาม บัสซิ่งแสวงหาความร่วมมือกับภาครัฐเพื่อผลักดันระบบขนส่งสาธารณะในขอนแก่น อย่างเช่น ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในโครงการ&nbsp;Park &amp; Go สำหรับเทศกาลเฉียงเหนือเฟส โดยประชาชนสามารถจอดรถนอกสถานที่แล้วใช้ซิตี้บัสเข้าร่วมงาน โครงการนี้ระบายผู้เข้าร่วมงานกว่า&nbsp;25,000 คนภายใน&nbsp;2 ชั่วโมง นอกจากนี้ บัสซิ่งยังได้ขยายบริการในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่และสงกรานต์ พร้อมโปรแกรม&nbsp;Day Pass ให้ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้ซิตี้บัสท่องเที่ยวในเมืองขอนแก่นโดยใช้ตั๋วโดยสารแบบ Day Pass เพื่อรับส่วนลดจากร้านค้าและคาเฟ่ต่างๆ ในเมือง ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเดินทางอย่างยั่งยืนและลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล</p><h2>สมาคมผู้บริโภคขอนแก่น: ติดตามเรื่องขนส่งสาธารณะและรถโดยสารนักเรียน</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001753168_a816d934b1_b.jpg" width="1024" height="961" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">แผนผังการเดินรถของรถบัสมหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU Smart Transit (ที่มา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น)</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54000611622_580d652306_k.jpg" width="2048" height="1808" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ป้ายจุดจอดรถบัส สามารถบอกตารางเวลาเดินรถ เส้นทางการเดินรถ และลิ้งดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน&nbsp;KKU Smart Transit (ที่มา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น)</p><p>สำหรับผู้โดยสารกลุ่มใหญ่ของระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองขอนแก่น ยังมีนักเรียนหลายโรงเรียนในขอนแก่นที่ต้องโดยสารขอนแก่นซิตี้บัส และรถสองแถว เพื่อเดินทางไปโรงเรียนและสถานที่ต่างๆ ส่วนนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะใช้บริการ&nbsp;KKU Smart Transit ซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย และมีสายวิ่งไปยังย่านกังสดาลและโนนม่วง ซึ่งเป็นแหล่งพักอาศัยและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด</p><p>อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเรียนและนักศึกษาที่เข้าไม่ถึงบริการของขอนแก่นซิตี้บัสหรือรถเมล์ของสถาบันการศึกษา พวกเขาต้องพึ่งพาผู้ปกครอง การใช้บริการขนส่งของเอกชน เช่น ใช้แกร็บ หรือขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์มาเอง ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาค่าใช้จ่ายสูง ความไม่ปลอดภัย และความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ</p><p>สมาคมผู้บริโภคขอนแก่นซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะในด้านการให้บริการแก่เด็กนักเรียน&nbsp; นักศึกษา โดยสมาคมผู้บริโภคฯ เริ่มต้น “โครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยและเป็นธรรม จังหวัดขอนแก่น” ตั้งแต่เดือนมิถุนายน&nbsp;2566 ถึงมกราคม&nbsp;2568 เพื่อศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีผลการสำรวจจากผู้โดยสารที่ใช้บริการรถสองแถวในขอนแก่น พบว่ารถสองแถวยังมีปัญหาหลายประการ เช่น การไม่ครอบคลุมพื้นที่เพียงพอ การมาถึงไม่ตรงเวลา และการบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวน รวมถึงมีปัญหาด้านความปลอดภัยจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถโดยไม่แจ้งให้ทราบ และความยากลำบากในการเดินทางจากการย้ายสถานีขนส่ง</p><p>จากผลการสำรวจ ผู้โดยสารยังเสนอแนะให้มีการปรับปรุงจุดจอดรถสาธารณะ เพิ่มจุดจอดใหม่ในพื้นที่ที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น และจัดทำป้ายบอกข้อมูลเส้นทางการเดินรถในจุดเชื่อมต่อหลัก นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้เปิดใช้พื้นที่สถานีขนส่ง บขส.1 เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเดินรถสองแถวในเมืองขอนแก่น รวมถึงการเพิ่มเส้นทางเดินรถและเที่ยวรถในชั่วโมงเร่งด่วน และปรับปรุงจุดข้ามถนน เช่น ทางม้าลายและสะพานลอย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร</p><p>สมาคมผู้บริโภคได้เสนอแนะให้มีการบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตเมืองขอนแก่น โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน รวมทั้งการปรับปรุงจุดจอดและจุดเชื่อมต่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ ควรจัดทำป้ายแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรถโดยสาร เช่น ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร และควรจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในจุดจอดเพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร</p><h2>ขอนแก่นรวมกลุ่มแก้ปัญหา&nbsp;“เป้าหมายเดียวกัน ทำคนละวิธี”</h2><p>ตัวแทนจากสมาคมผู้บริโภค จังหวัดขอนแก่นกล่าวว่าในแง่ปัญหาด้านกฎหมายต่อการสร้างรถไฟฟ้ารางเบาของ&nbsp;KKTT นั้นทางสมาคมผู้บริโภคกำลังรวบรวมข้อมูลและศึกษาอย่างต่อเนื่อง คาดว่ากรอบเวลาจะเสร็จภายในปี&nbsp;2567 อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะล่าช้าออกไปเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้สถานที่ทดลองรถไฟฟ้ารางเบาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567</p><p>สมาคมผู้บริโภคฯ ยังเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจมาส่วนท้องถิ่นมากขึ้น และอยากให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในนโยบายของรัฐที่มีผลกระทบต่อพื้นที่นั้นๆ การมีผู้บริโภคในพื้นที่ร่วมออกแบบเส้นทางขนส่งสาธารณะจะทำให้ประชาชนเข้าถึงรัฐสวัสดิการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และผู้ประกอบการก็จะได้รับประโยชน์จากค่ารถและค่าตั๋ว ซึ่งเอื้อกันทุกฝ่าย</p><p>สมาคมผู้บริโภคฯ เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและเข้าร่วมกับ สอจร. ขอนแก่น โดยนำโดยนายแพทย์ วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธาน สอจร และดึงภาคีความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อธิบายภาระงานที่แต่ละองค์กรรับผิดชอบ และหาจุดร่วมที่สามารถจับมือกันได้ โดยใช้หลัก “เป้าหมายเดียวกัน แต่ทำคนละวิธี” ต่อมามีองค์กรเข้าร่วม เช่น สำนักงานขนส่ง ขอนแก่น, กองช่างจากเทศบาลนครขอนแก่น, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอนแก่น, ตำรวจเทศบาลนครขอนแก่น, บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, เครือข่ายงดเหล้า, เครือข่ายหมออนามัย เป็นต้น การประชุมเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม&nbsp;2567 และเกิดขึ้นประจำทุกเดือน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถสร้างขอนแก่นโมเดลเพื่อให้เป็นตัวอย่างสำหรับปรับใช้ได้อีกหลายจังหวัดทั่วประเทศตามที่ทุกฝ่ายตั้งใจไว้แต่แรก</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ขอนแก่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%8C" hreflang="th">รถเมลhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0" hreflang="th">ระบบขนส่งสาธารณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94" hreflang="th">รถติhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3" hreflang="th">จราจhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2" hreflang="th">รถไฟฟ้ารางเบhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97" hreflang="th">บัสซิ่ง ทรานสิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">วิทยา ชาติบัญชาชัhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3" hreflang="th">นันท์พนิตา สุขิตกุลพฤทธิพhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">ภาคอีสาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/09/110749
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.213 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 03 กรกฎาคม 2568 09:07:52