สภาฝุ่นตลบ ปม 112 รวม สส.ทุกเฉดสี อภิปรายรายงานนิรโทษกรรม
<span>สภาฝุ่นตลบ ปม 112 รวม สส.ทุกเฉดสี อภิปรายรายงานนิรโทษกรรม</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-10-17T20:54:13+07:00" title="Thursday, October 17, 2024 - 20:54">Thu, 2024-10-17 - 20:54</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>หลังพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โจทย์สำคัญเรื่องหนึ่งที่ถูกทวงถามคือ การจัดการกับคดีการเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคดีคนรุ่นใหม่ที่เคลื่อนไหวช่วง 2563-2564 ซึ่งทางออกของฝ่ายบริหารที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ การออกกฎหมาย ‘นิรโทษกรรม’ ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยพยายามนำเรื่องนี้เข้าสู่การจัดการปัญหาในรัฐสภา </p><p>ขัตติยา สวัสดิผล สส.พรรคเพื่อไทย เสนอให้ตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษก่อน เพื่อให้ทุกส่วนได้พูดคุยกัน ในเดือน ก.พ.2567 สภามีมติตั้ง กมธ.วิสามัญ โดยมีตัวแทนจากทุกพรรคเข้าร่วม ประชุมร่วมกันอยู่ 6 เดือน ดูทุกเอกสาร ทุกรายงาน ทุกกฎหมาย ทุกงานวิชาการ และฟังเสียงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ออกมาเป็น ‘รายงานผลการศึกษา’ ซึ่งสรุปเป็น 3 แนวทางแบบไม่ฟันธงสำหรับ ‘คดีอ่อนไหว’ (
อ่านรายละเอียด)</p><p>หากดูภาพรวมการอภิปรายหลายชั่วโมงในวันที่ 17 ต.ค. ก่อนรองประธานสภาจะปิดการประชุมไปก่อนลงมติ พบว่า พรรคภูมิใจไทย-พรรคประชาธิปัตย์-พรรครวมไทยสร้างชาตินั้น ไม่เห็นด้วยกับรายงานของ กมธ. เพราะการมีข้อเสนอทางเลือกเกี่ยวกับการรวมมาตรา 112 อยู่ด้วย แม้จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณา เสียงคัดค้านนั้นสอดประสานกันอย่างดี อาทิ</p><p>สส.ภูมิใจไทย เชื่อมโยงไปไกลว่า การนิรโทษกรรมเท่ากับเป็นการยกเลิก ‘มาตรา 112’ ขณะที่ทางประชาธิปัตย์ระบุว่า ในประวัติศาสตร์การนิรโทษกรรมที่ผ่านมาไม่เคยมีการนิรโทษกรรมมาตรา 112 และมันจะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ที่ห้ามผู้ใดล่วงละเมิดสถาบัน รวมถึงอาจขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ทั้งยังเห็นเช่นเดียวกับพรรครวมไทยสร้างชาติว่าการรับรองรายงาน กมธ.ที่แม้จะไม่ฟันธงว่านิรโทษกรรมจะรวมมาตรา 112 หรือไม่ ก็เป็น ‘สารตั้งต้น’ สร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการยกร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่รวมมาตรา 112 ด้วย </p><p>กมธ.ลุกขึ้นชี้แจงหลายคน โดยย้ำว่า</p><p>1. กฎหมายนิรโทษกรรมช่วง 6 ต.ค.19 นั้นมีจำเลยที่โดยคดีมาตรา 112 ด้วย ที่บอกว่าไม่เคยนิรโทษกรรมมาตานี้จึงไม่เป็นจริง</p><p>2. การนิรโทษกรรม แม้หากรวมความผิดมาตรา 112 ก็ไม่ได้แปลว่าจะยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ตัวกฎหมายยังอยู่ หากทำผิดอีกก็ยังต้องโดนลงโทษ เพียงแต่การนิรโทษกรรมเป็นการยกเว้นความผิดบางช่วงเวลาเพื่อออกจากความขัดแย้ง</p><p>3. มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ เพราะมาตรา 6 เป็นการบัญญัติเพื่อเน้นย้ำสถานะความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์และผู้ใดจะฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ </p><p>4. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องล้มล้างการปกครองเพราะการเสนอแก้มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลนั้น ศาลมิได้ห้ามแตะต้องเรื่องนี้ และแม้จะเสนอแก้ไขก็กระทำได้หากเป็น ‘กระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ’ </p><p>ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคเพื่อไทยนั้น มี สส.ที่อภิปรายว่าควรต้องผ่านรายงานนี้ เพื่อหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่โดยส่วนตัวนั้นไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมมาตรา 112 เพราะมีความกังลในแง่การสร้างความขัดแย้งระลอกใหม่</p><p>นอกเหนือจากนี้ยังมีรายละเอียดทั้งการต่อต้านรายงานฉบับนี้ และความจำเป็นที่ต้องผ่านรายงานฉบับนี้อีกหลายประเด็น รายละเอียดมีดังนี้</p><h2>'ชูศักดิ์' ย้ำแล้วย้ำอีก ไม่ใช่กฎหมายแค่ผลศึกษา ไม่ผูกพันใคร</h2><p>ชูศักดิ์ ศิรินิล ประธาน กมธ.กล่าวชี้แจงเป็นคนแรกว่า</p><ul><li aria-level="1">ขอย้ำว่ารายงานนี้เลื่อนมา 2-3 ครั้งเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่า รายงานนี้ไม่ใช่การพิจารณาร่าง พ.ร.บ เป็นเพียงการศึกษาของ กมธ.ที่ได้รับมอบหมายจากสภา ซึ่งที่ประชุมสภานำข้อมูลนี้ไปประกอบการพิจารณาในการยกร่าง พ.ร.บ.ในอนาคต โดย กมธ.เสนอความเห็นในทุกมิติไว้ด้วย
</li><li aria-level="1">การนิรโทษกรรมไม่ใช่การยกเลิกความผิด เพียงแต่ยกเว้นความรับผิดเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมืองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีกฎหมายนิรโทษแล้ว 23 ฉบับแบ่งเป็น พ.ร.บ.19 ฉบับ พ.ร.ก.4 ฉบับ
</li><li aria-level="1">แม้รายงานจะเป็นการศึกษาการตรากฎหมาย แต่ กมธ.ยังสนอแนะแนวทางอื่นๆ ด้วย เช่น พ.ร.บ.ล้างมลทิน การขออภัยโทษ การชะลอการฟ้อง การสั่งไม่ฟ้องคดีไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ
ชูศักดิ์ยังกล่าวถึงข้อสังเกตของ กมธ.ด้วยว่า การตรา พ.ร.บ.อาจทำเป็นหลายฉบับ เพราะเหตุการณ์แต่ละช่วงมีความแตกต่างกัน ส่วนเรื่องความผิดตามมาตรา 110, 112 ประมวลกฎหมายอาญา ยังคงเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวที่อาจนำสู่ความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม ความเห็น กมธ.มิได้บังคับหรือผูกมัด ครม.ให้มีความเห็นตามที่เสนอ</li></ul><h2>'ภูมิใจไทย' ประกาศห้ามแตะต้อง ปกป้อง 112 ด้วยชีวิต</h2><p>สส.ที่อภิปรายต่อต้านรายงานนี้อย่างถึงพริกถึงขิงมากที่สุด มิใช่ในทางเนื้อหาเท่ากับท่าที นั่นก็คือ สส.พรรคภูมิใจไทย </p><p><span class="text-color-blue">สนอง เทพอักษรณรงค์</span> สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคต้องการให้ชาติบ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ให้เกิดความรักความสามัคคี และพร้อมให้มีการนิรโทษกรรมแต่ต้องแยกให้ชัดเจนว่าว่าไม่มีการนิรโทษกรรม มาตรา 112</p><p>ในรายงาน กมธ.ไม่มีการแยกแยะว่าอะไรที่นิรโทษกรรมได้ อะไรที่ไม่ได้ สำหรับพรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค และ สส.ทุกคนประกาศชัด เรายอมยกโทษให้ในทุกกรณี ยกเว้นการยกเลิกมาตรา 112 เรายอมรับไม่ได้ ทำยังไงก็ยอมรับไม่ได้</p><p>"ไม่เถียงว่าประเทศไทยมีการนิรโทษหลายครั้ง แต่ถามว่าความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกแยกในอดีตถึงปัจจุบัน มีครั้งไหนบ้างที่ล่วงล้ำก้ำเกินสถาบันสูงสุดมากเท่าปัจจุบันนี้ ท่านไปทำความเดือดร้อนอะไรให้พวกเรา</p><p>“ถ้ายอมให้ผ่านความเห็นชอบจากสภานี้ แล้วจะไปตรา พ.ร.บ.ที่นิรโทษกรรมให้มาตรา 110, 112 คนของภูมิใจไทย จะไม่เป็นมิตรและไม่ยินยอมกับการกระทำในครั้งนี้ เรายืนยันเจตนารมณ์จงรักภักดีและปกป้องสถาบันถึงที่สุด"</p><p><span class="text-color-blue">นันทนา สงฆ์ประชา</span> สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า การนิรโทษกรรมคือการลืมความผิด เพื่อประโยชน์ในสังคมหรือทางการเมือง ในประวัติศาสตร์กฎหมายนิรโทษกรรม 23 ฉบับ มีสาระเพื่อยกเว้นโทษให้คณะรัฐประหาร 11 ฉบับ ยกเว้นโทษให้กลุ่มพยายามทำรัฐประหาร หรือกบฏ 6 ฉบับ ยกเว้นโทษให้สลายการชุมนุม ผู้ชุมนุม 3 ฉบับ ยกเว้นโทษให้ผู้ต่อต้านสงครามสงครามกับญี่ปุ่น ผู้ต่อต้านการปฏิวัติ และนักศึกษา ประชาชนที่เข้าร่วมกับ พคท.จะเห็นได้ทุกครั้งมีหลักการชัดว่า ยกเว้นโทษให้ใคร เพื่อะไร ส่งผลความปรองดองกับประเทศอย่างไร</p><p>“จากการศึกษารายงานอย่างถ่องแท้ รายละเอียดเนื้อหาเขียนแบบกำกวม ไม่ฟันธง มีแนวทางไม่ชัดเจน ทำไม กมธ.ไม่เอาบทเรียนในอดีตที่ได้กล่าวมาเป็นกรอบในการวางประเด็น ฐานความผิดที่ชัดเจนบนฐานการต่อสู้ทางการเมือง การชุมนุม ความมั่นคง พรรคภูมิใจไทยยินดีร่วมพิจารณาการนิรโทษด้วยอย่างยิ่ง”</p><p>"แต่ในความชัดเจนของพรรคภูมิใจไทย ท่านก็ทราบดีแล้วว่า พรรคเรามีเลือดสีน้ำเงินอันเข้มข้น เช่นเดียวกับคนไทยทุกคน เรามีจุดยืนที่จะไม่แตะต้องและพร้อมปกป้องมาตรา 112 ด้วยชีวิต โดยภูมิใจไทยจะไม่เห็นด้วยที่กับการแตะต้องมาตรา 112 อย่าว่าแต่พิจารณา แม้แต่เพียงแตะต้องก็ไม่ได้ เราไม่มีทางพิจารณาเด็ดขาด เพราะความผิด 112 ไม่ใช่ความผิดทางการเมือง ภูมิใจไทยจะไม่ร่วมพิจารณารายงานฉบับนี้ด้วยในทุกกรณี ถ้ามีมาตรา 112"</p><h2>'ประชาธิปัตย์' เล็งเป็นสารตั้งต้น ให้รัฐบาลนิรโทษกรรม 112</h2><p><span class="text-color-blue">จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์</span> สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าตนและ สส. พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นชอบกับรายงานผลการศึกษาฉบับนี้ และก็จะไม่เห็นชอบอีกเช่นกัน ถ้าที่ประชุมเห็นควรส่งให้รัฐบาลไปพิจารณาดำเนินการ</p><p>การนิรโทษกรรมในอดีตเคยทำกันมาแล้วถึง 23 ครั้ง แต่ไม่เคยมีการนิรโทษกรรมการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110 ความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ มาตรา 112 ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายฯ</p><p>มาตรา 112 นั้น มีไว้เพื่อคุ้มครองประมุขเฉกเช่นอารยประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศในระบอบประชาธิปไตย ระบบประธานาธิบดี หรือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็นเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สเปน เดนมาร์ก หรืออีกหลายประเทศล้วนแล้วแต่มีบทคุ้มครององค์ประมุขของประเทศด้วยกันทั้งสิ้น</p><p>รัฐธรรมนูญไทยยังระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ชัดเจนว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ตรงนี้จึงเป็นที่มาว่าทำไมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยจึงไม่เคยมีการนิรโทษกรรมในความผิดมาตรา 110 และมาตรา 112</p><p>จุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า ถ้าจะมีการนิรโทษกรรมในอนาคตควรยืนอยู่บนหลักการ 5 ข้อ</p><p>1. ต้องนำไปสู่การสร้างความปรองดอง ไม่ใช่สร้างความขัดแย้งแตกแยกครั้งใหม่ ต้องเป็นการเห็นพ้องต้องกันของสังคม </p><p>2. ต้องไม่ทำเพื่อตัวเอง เพราะจะเกิดแรงต้านครั้งใหญ่ ดังเช่นที่เราเคยได้รับบทเรียนกันมาแล้ว </p><p>3. ต้องไม่เป็นการสร้างแรงจูงใจ เป็นหัวเชื้อให้เกิดการกระทำผิดซ้ำขึ้นอีก</p><p>4. ต้องไม่สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย หรือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีผลผูกพันทุกองค์กร </p><p>5. ต้องไม่รวมความผิด 3 ฐานสำคัญ คือ 1) ฐานทุจริตคอร์รัปชัน 2) คดีอาญาร้ายแรง 3) มาตรา 110 และมาตรา 112</p><p>จุรินทร์ กล่าวอีกว่า เหตุผลที่ตนและพรรค ปชป. ไม่เห็นด้วยกับรายงานฉบับนี้ และไม่เห็นควรส่งรัฐบาลคือ รายงานของ กมธ.ฉบับนี้ได้รวมแนวทางการนิรโทษกรรมคดี 110 และ 112 เอาไว้ด้วย เป็นหนึ่งในทางเลือก ถือเป็นความล่อแหลม รวมถึงข้อสังเกตของกรรมาธิการ อาจกลายเป็นสารตั้งต้นในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่รวมความผิดมาตรา 110 และ 112 ต่อไปได้ </p><h2>รทสช.ย้ำ 3 รอบเห็นใจเยาวชน แต่คัดค้านรวม 112 ถึงที่สุด </h2><p><span class="text-color-blue">ธนกร วังบุญคงชัยชนะ</span> สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายว่า ไม่ได้ขัดข้องกับรายงานของ กมธ. แต่ต้องไม่รวมมาตรา 112 การนิรโทษกรรมถูกออกแบบมาเพื่อความผิดทางการเมือง แต่ความผิดตามมาตรา 112 ไม่ใช่การเมือง พรรค รทสช.จะคัดค้านถึงที่สุด</p><p>นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังระบุในมาตรา 6 ผู้ใดจะละเมิดมิได้ วันนี้นักร้องเยอะแยะมากกมาย ถ้าปล่อยเรื่องนี้ไปพวกเราอาจโดนร้องจริยธรรม และเมื่อดูคนไทย 70 กว่าล้านคน มีคนที่โดนคดี 112 เพียง 300 กว่าคดี</p><p>"ผมเห็นใจเยาวชนน้องๆ หลายคน แต่คนอยู่เบื้องหลังไม่เห็นออกมาแสดงความรับผิดชอบอะไร เคยเจอไบรท์ ชินวัตร ตอนนี้เขาติดคุกอยู่ เคยได้คุยกับเขาเขาสำนึกผิดแล้วก็น่าเห็นใจ น้องๆ เยาวชนหลายคนเดินทางออกนอกประเทศไป ก็น่าเห็นใจเยาวชนเหล่านี้"</p><p>อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องกระทบความมั่นคงของประเทศเพราะเป็นการลดความสำคัญของการปกป้องสถาบันและกระทบต่อความมั่นคงประเทศอย่างชัดเจนที่สุด</p><p>ผลการศึกษาเป็นสารตั้งต้น ถ้าจะส่งเรื่องให้ ครม. ต้องเขียนให้ชัดเจนเลยว่า มิให้การกระทำความผิดตามมาตรา 112 ได้รับการนิรโทษกรรม</p><p>"ผมเป็นพรรคร่วมรบ.เรามีหลายอย่างต้องไปทำ เรื่องปากท้อง เรื่องเศรษฐกิจ ก็ต้องแก้ ความเดือดร้อนของคน 70 ล้านคนสำคัญกว่า ไม่ใช่ไม่เห็นใจเยาวชน แต่ที่ผ่านมาเป็นการกระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ได้สำนึกผิด และคนที่อยู่เบื้องหลังควรไปบอกน้องๆ เลยว่ากระกระทำแบบนี้มันไม่ถูกต้อง สถาบันอยู่เหนือการเมืองและไม่เกี่ยวกับการเมือง ผมไม่เชื่อว่าถ้าไม่มีคนอยู่เบื้องหลังแล้วน้องๆ จะออกมา ผมเห็นใจ หลายคนผมเห็นใจมาก เพราะถูกชักชวนมา วิธีการแก้พวกท่านต้องไปทำความเข้าใจกับน้องๆ เหล่านี้ไม่ให้กระทำอีก" </p><h2>กมธ.ชี้แจงอยู่ที่ ครม.พิจารณา</h2><p><span class="text-color-blue">รังสิมันต์ โรม</span> สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการ ชี้แจงว่า กมธ.ชุดนี้ไม่ใช่ กมธ.ศึกษาเพื่อแก้ไขหรือยกเลิก ม.112 แต่ศึกษาเรื่องแนวทางในการนิรโทษ</p><p>รายงานฉบับนี้จะเป็นสารตั้งต้น เป็นหัวเชื้อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ที่ผ่านมาเราพิจารณารายงานหลายฉบับ แต่ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลจะปฏิบัติมากน้อยเพียงใด รัฐบาลจะทำตามข้อแนะนำของสภาแค่ไหน ยังเป็นเครื่องหมายคำถาม</p><h2>ไม่เกี่ยวกับเลิก ม.112 ไม่เชื่อมโยง ม.6</h2><p>ส่วนความพยายามจะโยงมาตรา 112 กฎหมายอาญา กับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญนั้นไม่ถูกต้อง สาระสำคัญมาตรา 6 คือการสะท้อนของหลักความเป็นกลางของสถาบันกษัตริย์ในระบอบการปกครองที่สถาบันอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เป็นหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย ถ้าพิจารณาการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ ที่มีสถาบัน หลายประเทศมีกฎหมยในลักษณะปกป้องสถาบัน แต่ประเทศเหล่านั้นก็ไม่มีการบังคับใช้ ญี่ปุ่นก็ไม่มีกฎหมายลักษณะนี้แล้ว ข้อกล่าวอ้างว่าประเทศต่างๆ มีกฎหมายลักษณะแบบนี้ เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง </p><p>ยิ่งกว่านั้น หากเราไปดูคำแนะนำของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกระเทศที่มีสถาบัน คำแนะนำจำนวนมากล้วนแสดงถึงความกังวลต่อการใช้กฎหมายลักษณะแบบนี้ของไทย เพราะมีการกล่าวหารุนแรง และหากตัดสินว่ามีความผิดจะมีคนจำนวนนับร้อยที่มีความผิดรุนแรง หลายคนจะต้องอยู่ในคุกถึง 40 ปีด้วยซ้ำไป</p><p>รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะหาทางออกทางการเมือง ข้อเสนอหลายส่วนเราตัดสินใจกำหนดลงไปว่าควรไปทิศทางไหน แต่เรื่องมาตรา 112 แม้แต่ใน กมธ.ยังมีความเห็นแตกต่างกัน อยากให้สภารับรายงานฉบับนี้ แล้วไว้ส่งต่อให้ ครม. มันคือสารตั้งต้นในการหาทางออกให้กับบ้านเมืองนี้ที่มีความขัดแย้งเป็นเวลานาน ทำไมเปิดประตูบานนี้เพื่อหาทางออกทางการเมือง เราไม่ควรนำคนที่เห็นต่างทางการเมืองไปคุมขังไปจำคุก อย่างน้อยมันคือการคลี่คลายผลทางการเมืองที่เกิดขึ้นไปแล้ว เปิดฝาหม้อให้น้ำที่เดือดและรอวันระเบิด ได้ปล่อยออกมา และเชื่อว่าประเทศเราช่วยกันหาทางออกได้</p><h2>เมตตา-ให้อภัย เป็นด้านหนึ่งของความยุติธรรม</h2><p><span class="text-color-blue">เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง</span> นักวิชาการด้านกฎหมาย หนึ่งใน กมธ.ชี้แจงว่า การยุติข้อขัดแย้งเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ต้องมีความยุติธรรมบางอย่างเกิดขึ้นก่อน ความยุติธรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หน้าหนึ่งคือการใช้อำนาจ ใช้การลงโทษตามกฎหมาย แต่ในอีกแง่หนึ่งความเมตตา การให้อภัย สังคมไทยใช้การลงทัณฑ์มาตลอด และมันไม่นำไปสู่จุดของความสามัคคี</p><p>มาตรา 112 กับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าองค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ล่วงละเมิดมิได้ จะฟ้องร้องล่วงเกินอำนาจพรองค์ไม่ได้ นั้นเป็นคนละเรื่อง เรายังสามารถพูดคุยกฎหมายที่ปกป้องสถาบันได้ </p><p>ส่วนตัวคำวินิจฉัยศาลบอกว่า ไม่สามารถแก้ไข เพิ่มเติมมาตรา 112 ในลักษณะที่ผู้ถูกร้องทำอยู่ แต่ถ้าเป็นกระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ สามารถทำได้ การนิรโทษกรรมนั้นนั้นไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัยเลย ตัวกฎหมายมาตรา 112 ก็ยังอยู่ หากทำผิดก็ยังโดนลงโทษได้อีก</p><h2>ประเทศไทยเคยนิรโทษกรรม 112 มาแล้ว </h2><p><span class="text-color-blue">ชัยธวัช ตุลาธน</span> หนึ่งใน กมธ. ชี้แจงว่า สมาชิกบางท่านอภิปรายว่า ที่ผ่านมาเราไม่เคยนิรโทษ 112 ถ้านิรโทษกรรมแล้วจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 หรือขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ อยากให้ข้อมูลข้อเท็จจริง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 บังคับใช้เมื่อ ก.ย.21 เป็นการนิรโทษให้กับการกระทำในธรรมศาสตร์และนอกมธ. และเจาะจงนิรโทษคดี 2 คดี คือ คดีในศาลทหารกรุงเทพและศาลอาญา ซึ่งทั้งสองคดีนี้จำเลยถูกฟ้องหลายข้อหารวมถึง มาตรา 112 ด้วย ดังนั้น ระบบกฎหมายไทยเคยมีการนิรโทษกรรมความผิด มาตรา 112 มาแล้ว และไม่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจาก มาตรา 6 พูดถึงหลักการขององค์พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยว่าทรงมีความเป็นกลางในการเมือง ความหมายของ ‘การละเมิดมิดได้’ เอกสารของรัฐสภาเองก็บันทึกไว้ว่าหมายถึงไม่สามารถมีใครฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลได้ </p><p>ส่วนที่บอกว่านิรโทษกรรมคดี 112 จะขัดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องล้มล้างการปกครอง เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกันเลย เพราะคำวินิจฉัยศาลเกี่ยวกับการกระทำ 2 เรื่องเท่านั้นคือ 1) ห้ามไม่ให้แสดงความเห็นรณรงค์ให้ยกเลิก ม.112 และ 2) ไม่ให้แก้มาตรา 112 ด้วยกระบวนการนิติบัญญัติที่ไม่ใช่กระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ</p><h2>พรรคประชาชนถาม ก้าวข้ามขัดแย้งโดยทิ้งหลายคนในคุก ?</h2><p><span class="text-color-blue">วีรนันท์ ฮวดศรี</span> สส.ขอนแก่น พรรคประชาชน อภิปรายว่า รายงาน กมธ.กำหนดผู้ต้องหา 112 อาจไม่เข้าข่ายนิรโทษกรรม นั่นคือ “ความอ่อนไหวที่คลุมเครือ”</p><p>ฐานความผิดต่อความมั่นคง ก่อการร้าย ทำร้ายร่างกาย ทำให้เสียทรัพย์ ฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน ชุมนุม ต่างรวมในคดีหลักและรอง ไม่ใช่ ‘คดีอ่อนไหว’ มีแต่เพียงสองอันคือ มาตรา 110, 112 ที่บอกว่า ‘อ่อนไหว’ กล่าวเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะไม่ให้นิรโทษคดีอื่นๆ แต่คำถามคือ 112, 110 ทำไมถูกแยกออกมา ทั้งที่อยู่ในคดีหลักคดีรองได้อยู่แล้ว</p><p>ดูแล้วคดี 112 เสี่ยงจะถูกกันออกจากการนิรโทษกรรมในครั้งนี้ ทั้งที่ผู้ต้องหาก็ได้รับผลกระทบทางการเมืองไม่ต่างจากคนอื่นๆ
</p><p>อีกเรื่องหนึ่งคือ แรงจูงใจทางการเมือง ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ เรื่องนี้เห็นด้วยแต่กรอบค่อนข้างแคบ หัวใจของนิรโทษ คือ การเปิดกว้างเพื่อหาทางออกจากความขัดแย้ง จะมีอีกหลายคดีที่ไม่แน่ว่าจะอยู่ในเงื่อนไขนี้ เช่น ผู้ต้องหาคดี 112 ที่เป็นผู้ป่วยจิตเภท มีบางคนต้องเดินทางจากลำพูนถึงนราธิวาส คนเหล่านี้จะนับว่ามีแรงจูงใจทางการเมืองหรือไม่
</p><p>"ถ้าการนิรโทษกรรมจะทำให้สังคมไทยเดินหน้า ก้าวข้าวมความขัดแย้ง คนอย่างอานนท์ นำภา จะได้เดินหน้าไปกับนิรโทษครั้้งนี้ด้วยไหม ป้าอัญชัญที่โทษจำคุกหลายสิบปี กำลังฉลองวันเกิดวัย 69 ปีในเรือนจำ และคนอื่นๆ ในเรือนจำเวลานี้จะได้เดินไปกับเราไหม เราจะก้าวข้าวมความขัดแย้งแล้วทิ้งพวกเขาไว้ข้างหลังอย่างไม่แยแสอย่างนี้หรือ"
</p><p>ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน เมื่อ 11 ต.ค. 2567 ระบุว่า มีผู้ต้องหาคดีการเมืองถูกคุมขังในเรือนจำ ทั้งสิ้น 41 คน ในจำนวนนี้มีถึง 28 คนเป็นคดี 112</p><p>คำถามคือ ถ้าไม่นิรโทษกรรมคนที่ถูกขังจริงๆ เรากำลังทำอะไรกันอยู่
</p><h2>'เพื่อไทย' ชี้แต่ละพรรคคุยภายใน เสนอร่างกฎหมายแบบตัวเอง </h2><p><span class="text-color-blue">นพดล ปัทมะ </span>สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รายงานฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับที่เป็นข้อยุติ เป็นรายงานที่สภาสามารถพิจารณาเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยได้ และไม่ได้มีผลนิรโทษกรรมแต่อย่างใด ถ้าแต่ละพรรคจะผลักดันการนิรโทษก็ต้องไปคุยกับสมาชิกแล้วเสนอร่างเข้าสภาในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านต้องตอบสังคมและรับผิดชอบต่อสังคมว่าเสนอเช่นนั้นเพราะเหตุใด ดังนั้น จึงไม่มีประเด็นอะไรในชั้นนี้ที่มีความขัดแย้ง</p><p>หลักใหญ่ๆ ของรายงานคือ การเสนอแนวทางการตรากฎหมาย คดีที่อยู่ในข่ายนิรโทษกรรมควรมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่ใช่คดีอาชญากรรมทั่วไป เกิดในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด อาจารย์หลายท่านไปศึกษาตัวอย่างคดีและมาตราต่างๆ ที่ควรได้รับนิรโทษกรรมมาเป็นลิสต์ให้สภาไปศึกษาเพิ่มเติมได้ หากยังมีคดีอื่นๆ เสนอเพิ่มก็สามารถทำได้</p><p>ยืนยันละเอียดอ่อน ยังมีเวลาหาฉันทามติ</p><p>ข้อสังเกตในฐานะเป็น สส.พรรคเพื่อไทย มีข้อสังเกตดังนี้</p><p>1. การนิรโทษกรรมต้องบรรลุวัตถุประสงค์ คือ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชาติ นำไปสู่ความเป็นเอกภาพทางการเมือง ความมั่นคงทางการเมือง เพื่อเรียกร้องความเชื่อมั่นจากนักลงทุน เพิ่มขีดความสามารถของประเทศ เพราะเสถียรภาพทางการเมืองกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ</p><p>2.การนิรโทษกรรมคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองและมีกรอบระยะเวลา เห็นด้วยกับ กมธ.</p><p>3. มีบางเรื่องที่เรายังไม่ตกผลึก ไม่มีฉันทามติของสังคมว่า บางความผิดควรนิรโทษกรรมหรือไม่ เห็นด้วยกับ ปธ.กมธ.ว่า การนิรโทษต้องไม่นำไปสู่การขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหม่ เช่น 112 110 กมธ.ก็มีข้อสรุปที่ไม่มีข้อสรุป เป็นลักษณะ 3 แนวทาง </p><p>“โดยส่วนตัวมีจุดยืนอย่างนี้ หนึ่ง การนิรโทษกรรม มาตรา 110,112 เป็นเรื่องละเอียดอ่อน สอง ความผิด 112 เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติ สาม สังคมมีความเห็นหลากหลายแตกต่างกันมาก ยังมีเวลาแสวงหาฉันทามติในประเด็นนี้ต่อไปได้อีก ผมเองยึดมั่นในระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงไม่เห็นด้วยกับการรวม 112, 110 ในการนิรโทษกรรม” </p><h2>ชทพ.ไม่รวม 112 ชี้ไม่ต้องกลัว รายงานรวมทุกความเห็น</h2><p><span class="text-color-blue">นิกร จำนง</span> ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) และเลขาฯ กมธ. กล่าวว่า ในการทำรายงานการศึกษาทำกันอย่างละเอียด มีหลายความเห็นในนั้น การรวบรวมความเห็นเสนอต่อที่ประชุมเป็นภารกิจที่จำเป็นในทางการเมือง ประเด็นมาตรา 110 ,112 สรุปไว้แล้วในรายงาน กมธ.เห็นว่าเป็นคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ไม่ได้มีข้อสรุปว่าควรนิรโทษกรรมหรือไม่ เพียงแต่ศึกษาข้อดีข้อเสียในคดีทุกแบบ และเนื่องจากมีความเห็นต่างอย่างมีนัยสำคัญ กมธ.จึงไม่พึงประสงค์จะโหวต เพราะจำนวนบุคคลไม่สามารถสะท้อนความเห็ความเชื่อของ กมธ.ได้ จึงเปิดโอกาสให้ กมธ.รวมถึงที่ปรึกษาแต่ละท่านชี้แจงแสดงความเห็น</p><p>ลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ไม่เคยทำ เคยทำตอนศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่มีพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน เพราะความเห็นต่างนั้นมีมาก ก็มีการเรียงความเห็นมาในรายงานและสภานี้ก็เคยเห็นชอบแล้วและเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย สุดท้ายสภาแก้ได้อย่างเดียวคือระบบเลือกตั้ง</p><p>"ผมเองให้ความเห็นใน กมธ.ว่า ไม่เห็นด้วยกับนิรโทษกรรมมารตรา 110,112 เนื่องจากที่ผ่านมามีการดำเนินการเกี่ยวกับการปรองดองและสมานฉันท์ ไม่มีฉบับใดเลยเสนอให้นิรโทษกรรม 110,112 เป็นคดีที่มีความอ่อนไหว กรณีนี้เป็นผลกระทบทางบวกและทางลบ ต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง อาจนำสู่ความขัดแย้งได้อีก ประเด็นที่สอง เห็นว่าถ้านิรโทษอาจจะขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ศาลเคยชี้ว่าต้องมีกฎหมายคุ้มครองการละเมิดสถาบันสูงสุด ผมเชื่อด้วยตัวเองว่า ถ้าเสนอรวม 112 ด้วยจะไม่ผ่าน ถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญแน่ และในฐานะ สส.พรรคชาติไทยพัฒนา ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมมาตรา 112 เรียกว่าบันทึกไว้หมด และกมธ.ไม่ได้ชี้ว่าต้องเอาความเห็นไหน
"ความผิด 110, 112 ยังคงเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวอยู่ เรียกว่ามันชัดทุกตอน ตอนต้น ตอนกลาง ตอนท้าย ไม่สามารถนำไปสู่สารตั้งต้นอะไรได้เลย เป็นเพียงการสรุปความเห็นของสมาชิก ถ้าเรื่องเข้า ครม. พรรคไหนมติเป็นยังไงก็สามารถยืนยันใน ครม.ได้"</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">พ.ร.บ.นิรโทษกรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C" hreflang="th">พรรคประชาธิปัตย
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">พรรครวมไทยสร้างชาต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5" hreflang="th">ชูศักดิ์ ศิรินิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B9%8C" hreflang="th">จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">สนอง เทพอักษรณรงค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">นันทนา สงฆ์ประช
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/10/111091 







