[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 ธันวาคม 2567 10:31:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๒๑๖ สุสีมชาดก : พระเจ้าสุสีมะ  (อ่าน 45 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 ตุลาคม 2567 16:15:09 »




พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๒๑๖ สุสีมชาดก
พระเจ้าสุสีมะ

          ในอดีตกาลที่กรุงสาวัตถี ได้มีพระราชาพระนามว่า สุสีมะ  ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดในครรภ์ของพราหมณีของปุโรหิตของพระองค์
          เมื่อพระโพธิสัตว์อายุได้ ๑๖ ปี บิดาได้ถึงแก่กรรม ตอนปุโรหิตยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นผู้กระทำมงคลแก่ช้างของพระราชา เขาได้เครื่องอุปกรณ์และเครื่องประดับช้างทุกอย่างที่มีผู้นำมาในที่ทำการมงคลแก่ช้างทั้งหลาย ในการมงคลครั้งหนึ่งๆ ทรัพย์สินประมาณหนึ่งโกฏิเกิดขึ้นแก่เขา
          ต่อมาเมื่อเขาถึงแก่กรรม มหรสพในการมงคลช้างได้มาถึง พวกพราหมณ์อื่นๆ เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท มหรสพในการมงคลช้างได้มาถึงแล้ว ควรประกอบพิธีมงคล แต่บุตรของพราหมณ์ปุโรหิตยังเด็กนัก ไม่รู้ไตรเพท ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง พวกข้าพระพุทธเจ้าจะทำการมงคลช้างกันเอง พระเจ้าข้า”
          พระราชาทรงรับว่าดีแล้ว พวกพราหมณ์ต่างพากันรื่นเริงยินดีเดินไปมาด้วยคิดว่า พวกเราไม่ให้บุตรปุโรหิตทำการมงคลช้าง จักทำเสียเองแล้วก็จะได้รับทรัพย์
          ครั้นถึงวันที่สี่จักมีการมงคลช้าง เพราะฉะนั้น มารดาของพราหมณ์รู้ข่าวนั้น จึงเศร้าโศกคร่ำครวญว่า ขึ้นชื่อว่าการทำการมงคลแก่ช้างเป็นหน้าที่ของเราเจ็ดชั่วตระกูลแล้ว วงศ์ของเราจักเสื่อม และเราจักเสี่อมจากทรัพย์ด้วย พราหมณ์ถามว่า ร้องไห้ทำไม ครั้นได้ฟังเหตุการณ์นั้นแล้วจึงปลอบว่า “แม่จ๋า แม่อย่าเศร้าโศกไปเลย บางทีลูกจักทำการมงคลเอง”
          มารดาพูดว่า “ลูกแม่ ลูกไม่รู้ไตรเพท ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง ลูกจักทำการได้อย่างไร”
          พระโพธิสัตว์ถามว่า “แม่จ๋า เมื่อไรเขาจักทำการมงคลช้างกัน”
          มารดาตอบว่า “ในวันที่สี่จากนี้ไปแหละลูก”
          พราหมณ์ถามว่า “แม่จ๋า อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญไตรเพทรู้สูตรกล่อมช้างอยู่ที่ไหนเล่าแม่”
          มารดาบอกว่า “ลูกรัก อาจารย์ทิศาปาโมกข์เช่นว่านี้ อยู่ในเมืองตักศิลา แคว้นคันธาระ สุดทางจากนี้ไปร้อยยี่สิบโยชน์”
          พราหมณ์ปลอบมารดาว่า “แม่จ๋า ลูกจะไม่ยอมให้วงศ์ของเราพินาศ พรุ่งนี้ลูกจะไปเมืองตักสิลา เดินทางวันเดียวก็ถึง เรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้างเพียงคืนเดียวเท่านั้น รุ่งขึ้นจะกลับมาทำการมงคลช้างในวันที่สี่ในวันรุ่งขึ้น”
          พราหมณ์บริโภคอาหารแต่เช้า ออกเดินทางคนเดียว เพียงวันเดียวก็ถึงเมืองตักสิลา เข้าไปไหว้อาจารย์ แล้วนั่งอยู่ข้างหนึ่ง ลำดับนั้นอาจารย์ถามพราหมณ์ว่า “เจ้ามาจากไหนเล่าพ่อ”
          “จากกรุงพาราณสีขอรับท่านอาจารย์”
          “ต้องการอะไรเล่า”
          “ต้องการเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้างในสำนักของท่านอาจารย์ขอรับ”
          “ดีละ เรียนเถิดพ่อ”
          พราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอาจารย์ขอรับ งานของผมค่อนข้างด่วนมาก”
          แล้วก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ทราบ กล่าวว่า “กระผมมาเป็นระยะทางร้อยยี่สิบโยชน์ เพียงวันเดียวเท่านั้น วันนี้ขอท่านอาจารย์ให้โอกาสแก่ผมเพียงคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่สามจากวันนี้จักมีการมงคลช้าง กระผมขอเรียนทุกวิชาเพียงแต่หัวข้ออย่างเดียวเท่านั้น”
          ครั้นอาจารย์ให้โอกาส จึงล้างเท้าอาจารย์วางถุงทรัพย์พันหนึ่งไว้ข้างหน้าอาจารย์ ไหว้แล้วนั่งลงข้างอาจารย์ เริ่มศึกษา พออรุณขึ้นก็เรียนจบไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง  จึงถามว่า “ยังมีสิ่งอื่นๆ อีกหรือไม่ท่านอาจารย์” เมื่ออาจารย์กล่าวว่า “ไม่มีแล้ว จบหมดแล้ว” ยังสอบทานศิลปะให้อาจารย์ฟังว่า “ท่านอาจารย์ในคัมภีร์นี้มีบทขาดหายไปเท่านี้ มีที่เลอะเลือนเพราะสาธยายไปเท่านี้ ตั้งแต่นี้ไปท่านพึงบอกอันเตวาสิกทั้งหลายอย่างนี้” เสร็จแล้วบริโภคอาหารแต่เช้าตรู่ ไหว้อาจารย์กลับไปกรุงพาราณสีเพียงวันเดียวเท่านั้น แล้วไปไหว้มารดา เมื่อมารถามว่า “เรียนศิลปะจบแล้วหรือลูก” บอกว่า “จบแล้วจ้ะแม่” ทำให้มารดาปลาบปลื้มมาก
          วันรุ่งขึ้น เขาเตรียมงานมหรสพมงคลช้างกันเป็นการใหญ่ ประชาชนต่างจัดเตรียมช้างของตนๆ สวมเครื่องประดับด้วยทองคำ ผูกธงด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทอง ตกแต่งกันที่พระลานหลวง พวกพราหมณ์ก็ประดับประดารอท่าตั้งใจว่าพวกเราจักทำการมงคลช้าง แม้พระเจ้าสุสีมะก็ทรงเต็มยศ ให้ข้าราชบริพารถือเครื่องอุปกรณ์เสด็จไปยังมงคลสถาน
          พราหมณ์ก็ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอย่างเด็ก มีบริษัทของตนห้อมล้อมเป็นบริวารไปยังสำนักของพระราชา กราบทูลว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทราบข่าวว่าพระองค์ทรงทำวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและของพระองค์เองให้พินาศ แล้วได้รับสั่งจะให้พราหมณ์อื่นทำการมงคลช้าง แล้วมอบเครื่องประดับช้างและเครื่องอุปกรณ์ให้จริงหรือพระพุทธเจ้า” แล้วกล่าวว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า สุสีมะ ช้างสีดำมีงาขาวประมาณร้อยเชือกเหล่านี้ ประดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยิกาอยู่เนืองๆ แล้วทรงตรัสว่า เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์เหล่าอื่นดังนี้ เป็นความจริงหรือพระเจ้าข้า”
          พระราชากล่าว “เราให้ช้างเหล่านี้แก่ท่าน คือ ในสำนักของท่าน เราจะให้ช้างซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงประมาณร้อยเชือก จำพวกสีดำงาขาวแก่พราหมณ์เหล่าอื่น"
          “ข้าแต่พระราชาสุสีมะ พระองค์ตรัสอย่างนี้เป็นความจริงหรือ”
          พระราชาทรงระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยิกาเนืองๆ พราหมณ์ทูลถามซ้ำอีกว่า “ในวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและของพระองค์เอง ข้าแต่มหาราช บิดาและปู่ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายกระทำมงคลช้างแก่พระชนกและพระอัยยิกาของพระองค์จนเจ็ดชั่วตระกูล พระองค์แม้ทรงระลึกได้อย่างนี้ ก็ยังทำวงศ์ของข้าพระองค์ทั้งหลายและของพระองค์ให้พินาศ นัยว่ารับสั่งอย่างนี้จริงหรือ”
          พระเจ้าสุสีมะทรงสดับคำของพราหมณ์ จึงตรัสว่า “มาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประมาณร้อยเชือกเหล่านี้ประดับด้วยข่ายทองซึ่งเป็นของเรา เราระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยิกาอยู่เนืองๆ พูดว่า ว่าเราจะให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น เป็นความจริง”
          ลำดับนั้นพราหมณ์ได้กราบทูลพระราชาว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงวงศ์ของพระองค์และของข้าพระองค์ได้ เพราะเหตุไรพระองค์จึงทิ้งข้าพระองค์เสีย แล้วให้ผู้อื่นกระทำการมงคลช้างเล่า พระเจ้าข้า”
          พระราชาตรัสว่า “เจ้าพวกพราหมณ์เขาบอกเราว่า เจ้าไม่รู้ไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง เพราะฉะนั้น เราจึงให้พวกพราหมณ์อื่นทำพิธี”
          พราหมณ์พูดเสียงดังว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท บรรดาพราหมณ์ทั้งหมดนี้ แม้สักคนหนึ่งสามารถเจรจากับข้าพระองค์ได้ในพระเวทก็ดี ในพระสูตรก็ดีมีอยู่ จงลุกขึ้นมา พราหมณ์อื่นนอกจากข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่ารู้ไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง พร้อมด้วยวิธีทำการมงคลช้าง ไม่มีเลยทั่วชมพูทวีป”
          พราหมณ์แม้สักคนหนึ่งก็ไม่สามารถลุกขึ้นเป็นคู่แข่งกับพระโพธิสัตว์ได้ 
 

ธรรมนิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ความพยายามนำมาซึ่งความสำเร็จทุกประการ”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อาสึเสเถว ปุริโส น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต
ปสฺสามิ โวหํ อตฺตานํ ยถา อิจฺฉึ ตถา อหุ

เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น (๒๘/๔๕๐)


คัดจาก : หนังสือ พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ / จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย สถาบันบันลือธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.425 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 20 พฤศจิกายน 2567 21:41:11