[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 14:20:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

ชมรมที่เปิดหัวใจคุณด้วยใบหู ( บทสัมภาษณ์ ลง A-Day )

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชมรมที่เปิดหัวใจคุณด้วยใบหู ( บทสัมภาษณ์ ลง A-Day )  (อ่าน 2890 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 กันยายน 2554 23:07:39 »



ชมรมที่เปิดหัวใจคุณด้วยใบหู
 
Main course 130
 
เรื่องและภาพ> a team junior 8
 
ชมรมของนักพูดที่สอนให้ฟังคนอื่นเพื่อได้ยินเสียงตนเอง
 
ชมรมสอนการฟังที่เกิดจากนักพูด
 
ฟังดูไม่เข้ากันเท่าไหร่ แต่มีตัวมีตนอยู่จริง เรื่องมีอยู่ว่า ปีที่แล้วในช่วงเคอร์ฟิวที่มีกฏห้ามไม่ให้ประชาชนชุมนุมกันเกิน 5 คน กลุ่มเพื่อนนักพูดจากสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทยกลุ่มหนึ่งที่ต้องงดพูดชั่วคราวได้นัดมาคุยกันที่ร้านอาหาร ก่อนพูดกันเล่นๆ ว่า ทุกคนในกลุ่มล้วนพูดเก่ง น่าจะมีหลักสูตรสอนให้หยุดพูดบ้าง ซึ่งทำไปทำมา จากการพูดเล่นๆ ก็กลายเป็นการก่อตั้งชมรมสอนการฟังขึ้นอย่างจริงจัง โดยสมาชิกมีทั้งคนรู้จักของเหล่านักพูด และคนที่มาร่วมเพราะได้ข่าวจากโลกออนไลน์
 
ว่าแต่ ทำไม ‘การฟัง’ ถึงเป็นเรื่องต้องสอน
 
ชมรมสุนทรียแห่งการฟังอธิบายกับเราว่า เพราะที่ผ่านมา มนุษย์ไม่เคย ‘ฟัง’ กันจริงๆ เลยสักนิด เวลาที่คนอื่นพูด ในใจเราก็จะคิดแต่ว่า เดี๋ยวจะพูดอะไร หรือไม่ก็คิดตัดสินคำพูดที่เราได้ยิน เขาพูดถูก เขาพูดผิด ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ สมาชิกทุกคนในชมรมจึงพร้อมใจมาฝึกฟังให้เป็นกันเดือนละ 1 ครั้ง โดยกิจกรรมจะเริ่มจาก ‘การเล่น’ คือทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อให้ทุกคนเหมือนย้อนกลับไปเป็นเด็กที่พร้อมเรียนรู้ จากนั้นถึงเข้าสู่การพูดคุยที่เรียกว่า ‘สุนทรียสนทนา’ หรือ ‘ไดอะล็อค’ ซึ่งจากการไปแอบดู เราพบว่าสิ่งนี้คือการที่ทุกคนในชมรมนั่งล้อมเป็นวงกลม ก่อนผู้นำกิจกรรม(ทางชมรมเรียกว่า ‘กระบวนกร’) จะเปิดประเด็นชักชวนให้พูดคุย โดยเมื่อคนหนึ่งพูด คนที่เหลือก็จะนิ่งฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดขัดพูดแทรก บรรยากาศผ่อนคลายและเงียบสงบจนคนพูดสามารถได้ยินเสียงตัวเองชัดแจ๋ว
 
แต่ทั้งนี้ สิ่งสำคัญไม่อาจเห็นได้ด้วยตา ความเจ๋งของสุนทรียสนทนาจริงๆเกิดขึ้นจาก’ภายใน’ ของสมาชิกแต่ละคน เพราะคนที่นั่งฟังเพื่อนพูด จะต้องสังเกตว่าตัวเองกำลังฟังเฉยๆ หรือกำลังคิดตัดสินคนอื่น ซึ่งนี่เองคือ ‘การฟัง’ ที่ชมรมสุนทรียแห่งการฟังต้องการสอนเรา “การฟังในที่นี้หมายถึงการฟังเสียงภายในของตัวเอง เวลาฟังคนอื่นพูด เราจะรู้สึกต่อต้านถ้าเรื่องที่เขาพูดไม่ตรงกับความรู้สึกของเรา นั่นคือเสียงภายในที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน” พี่จุ้ย--เนตรติกาลณ์ ป้อมปราการ หนึ่งในกระบวนกรอธิบาย ก่อนเอ่ยต่อว่า เมื่อเราฟังเสียงตัวเองก็จะรู้จักและเข้าใจตัวเอง แล้วจากนั้น เราก็จะฟังเสียงคนอื่นโดยตัดสินน้อยลงและมีความสุขมากขึ้น
 
ทางชมรมมีเป้าหมายว่า อยากให้ให้สมาชิกนำสุนทรียสนทนานี้ไปใช้ในครอบครัว เพราะถ้าครอบครัวหลายๆ ครอบครัวสงบสุข ผลที่ได้ก็จะขยายกว้างเป็นสังคมที่ร่มเย็น ซึ่งแม้เป้าหมายนี้อาจฟังดูเป็นอุดมคติเหลือเกิน แต่สมาชิกหลายคนก็ยืนยันกับเราฟังว่า สุนทรียสนทนาที่เรียนรู้จากชมรม มีสรรพคุณใช้แก้ปัญหาพ่อแม่ลูกไม่ฟัง ไม่เข้าใจกันได้จริงๆ
 
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงวันนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมสุนทรียแห่งการฟังมีความหลายหลายมากขึ้น (มีตั้งแต่ทนาย ดีเจ ยันว่าที่นักเรียนหมอ) รวมถึงมีความสัมพันธ์เหนียวแน่นกว่าเดิม ทุกคนเริ่มอยากมาพบกันจนคอยถามว่าเดือนนี้จะเจอกันที่ไหนเมื่อไหร่ ทั้งหมดคือบทพิสูจน์ว่า ชมรมอายุ 1 ขวบกว่านี้กำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยดีจากความร่วมมือของหูหลายคู่ “เราไม่สามารถเรียนรู้โลกทั้งหมด หรือเจอปัญหาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน แต่การมาเจอแล้วได้ฟังกัน เราก็สามารถเรียนรู้ทุกอย่างแล้วเติบโตไปพร้อมกันได้” พี่จุ้ยเอ่ยทิ้งท้ายกับเรา
 
อยากมาลองฟังด้วยกันไหมล่ะ?
 
http://aestheticoflist.gagto.com/
 
ล้อมกรอบ fact: วันก่อตั้ง: พ.ศ. 2553
 
จำนวนสมาชิก: ประมาณ 20 คน
 
สถานที่รวมตัว: ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือน สาขาเลียบทางด่วนอาจณรงค์
 
วันรวมตัว: ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน
 
ล้อมกรอบ เกร็ด: วงสุนทรียสนทนามีกฏเหล็กว่าพูดได้ทีละหนึ่งคน ดังนั้น ช่วงแรกๆ ที่ทุกคนยังอยาก
 
แย่งกันพูด จึงมีการเอา ‘หินวิเศษ’ มาใช้ โดยคนที่มีหินก้อนนี้อยู่ในมือเท่านั้นที่จะมี สิทธิ์เปิดปากพูดได้
 


http://aestheticoflist.gagto.com/?cid=293326

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บทสัมภาษณ์ ดร.อาจอง ชุมสายฯ เรื่องอนาคตเมืองไทยอีก 10 ปีข้างหน้า
คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
หมีงงในพงหญ้า 0 2851 กระทู้ล่าสุด 05 มิถุนายน 2553 22:29:24
โดย หมีงงในพงหญ้า
หนทางสู่สันติภาพโลก บทสัมภาษณ์ องค์ทาไลลามะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 2756 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2553 20:33:43
โดย มดเอ๊ก
“หลายสิ่งดูจะชัดเจนขึ้นยามเมื่อคุณจนมุม” บทสัมภาษณ์ เชอเกียม ตรุงปะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2171 กระทู้ล่าสุด 24 กันยายน 2553 15:40:28
โดย มดเอ๊ก
บทสัมภาษณ์ อาจารย์ ฌาณเดช พ่วงจีน: ตำนานจอมขมังเวทย์แห่งล้านนา
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 3 6230 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2553 22:48:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
Deep listening บทสัมภาษณ์ หลวงปู่ ติช นัท ฮันน์ ในรายการของ โอปรา วินฟรีย์
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 1876 กระทู้ล่าสุด 04 กรกฎาคม 2559 06:39:19
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.283 วินาที กับ 36 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 18:52:59