[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:44:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความผูกพัน  (อ่าน 2416 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 11:43:24 »


   ความผูกพัน    
โดย รศ.พญ.จิรพรรณ มัธยมจันทร์


ความผูกพัน  หมายถึง การเกาะเกี่ยวกันทางใจด้วยความรักหรือความโกรธเกลียด หรือความหลง ทำให้ปล่อยวางหรือลืมเรืองนั้นเสียไม่ได้ สิ่งนั้นก็จะเกาะติดอยู่ในใจติดตามตัวไปทุกแห่งทุกหน ทำให้หาความผาสุก ความเป็นอิสระไม่ได้ เหมือนขาที่ถูกคล้องไว้ด้วยโซ่ตรวน ย่อมจะหนักและเดินลำบาก การมีความผูกพันกับสิ่งใด คนใด เรื่องใด ก็ไม่ต่างกับการมีโซ่ตรวนล่ามขาอยู่ฉะนั้น การผูกพันกันด้วยความรัก ใช่ว่าจะทำให้เกิดความสุขเสมอไป เมือมีความรักก็ย่อมมีความห่วงใยเป็นธรรมดา อยากให้คนที่ตนรักเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความอยากของคนเราใช่ว่าจะได้ดังที่อยากเสมอไปก็หาไม่ บางครั้งก็ไม่สมอยาก

พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสสอนว่า
"ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง แปลว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์"

ผูกพันด้วยความโกรธ ความเกลียด โดยไม่ละ ไม่วาง ยังผูกใจเจ็บแค้นกันอยู่ตลอดเวลา ก็เหมือน เอาโซ่ตรวนล่ามกันไว้เช่นกัน การที่จะอธิษฐานจิตว่า"เกิดชาติใดขออย่าให้ได้พบได้เจอคนอย่างนี้อีกเลย" ก็คงเป็นเรื่องยาก เพราะใจเราผูกพันกับเขาด้วยความโกรธ ความเกลียด ความชิงชังอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยแกะโซ่ตรวนที่ล่ามติดกับเขาไว้ แล้วจะพ้นจากคนที่เราไม่ชอบได้อย่างไร ตราบใดที่ยังไม่แกะโซ่ตรวนออกก็ต้องตามผจญกรรมกันไปทุกภพทุกชาติ ไม่ว่าจะอธิษฐานอย่างไร ถ้าไม่ชอบใคร ไม่อยากเจอใคร ต้องทำใจไม่ให้นึกถึงคนนั้น เรื่องเกี่ยวกับคนนั้น

         หรือถ้านึกถึงก็ให้น้อยที่สุด ยิ่งอโหสิกรรมหรือให้อภัยกันเสีย ก็จะมีโอกาสหนีพ้นจากกัน เปรียบเหมือนแกะโซ่ตรวนออกแล้ว ก็ย่อมเป็นอิสระ ไม่ต้องไปเผชิญเวรเผชิญกรรมกันอีกทุกภพทุกชาติ ยิ่งทำดี มีเมตตากรุณากับผู้ที่เราไม่ชอบ ผลแห่กรรมดีที่เรากระทำยิ่งสูงกว่าคนที่เราไม่ชอบเท่าใด ภพ ภูมิก็จะต่างกันเท่านั้น ยิ่งเกลียด ยิ่งไม่อยากเห็นหน้ากัน ก็อย่าฝังใจอยู่ทุกวี่วัน ยิ่งจะดึงเขาเข้ามาหาเรามากขึ้นเท่านั้น จึงต้องตามผจญกันไปทุกชาติ อยากให้พ้นจากใคร ก็จงให้อภัยทาน จะได้หมดเวรหมดกรรมกัน


การผูกพันด้วยความหลง เป็นเรื่องหนักกว่าเพื่อน เพราะผู้ที่มีความหลงก็คือ เห็นสิ่งที่ผิดเป็นถูก เห็นสิ่งที่ไม่งามเป็นสิ่งที่งาม ฯลฯ ที่โบราณเรียกว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว"คือเห็นสิ่งที่เป็นอันตราย (กงจักรเป็นอาวุธที่อันตราย) ว่าเป็นของที่น่ารัก น่าบูชา แม้ใครจะบอก ใครจะเตือน ก็ไม่สามารถจะเอาชนะความงมงายหรือความหลงได้ ผู้ที่มีความผูกพันด้วยความหลง จึงจัดเป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า"มดไต่ขอบกระด้ง"หาทางออกไม่ได้ ก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จบชีวิตที่มีความผูกพันกับสิ่งใดมากเกินไป ไม่เคยให้ความสุขแก่ผู้ใดเลยรักมากก็ห่วงมาก กลุ้มมาก เกลียดมากก็ร้อนใจมาก จะเห็นว่าล้วนเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ทั้งสิ้น

การเดินสายกลางอย่าไปผูกพันยึดติดกับสิ่งใด และรู้จักปล่อยวาง จะเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเราเลี้ยงสุนัข เรารักเขามาก ผูกพันกับเขาเหลือเกิน แต่อายุขัยของสุนัขน้อยกว่าคนมาก จึงมักตายก่อน เจ้าของผู้มีความผูกพันกับสุนัขตัวนั้น ก็จะเศร้าสร้อยไปพักหนึ่งทีเดียว ความรักความปรานีเราจะให้แก่ใครก็ได้ และเป็นสิ่งที่ควรให้แต่การผูกพัน การยึดติดนั้นเป็นเรื่องอันตราย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์ ก็อย่ายึดติด หรือผูกพันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด รู้จักปล่อยวาง รู้จักหาอิสรภาพให้แก่ตนเอง จะเป็นสุขในที่สุด...



http://img64.imageshack.us/img64/4884/273a.gif
ความผูกพัน


พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

Pics by : Google
Credit by : http://www.dhammajak.net/dhamma/67.html

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 17:04:13 »

การเดินสายกลางอย่าไป ผูกพันยึดติดกับสิ่งใด และรู้จักปล่อยวาง จะเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเราเลี้ยงสุนัข เรารักเขามาก ผูกพันกับเขาเหลือเกิน แต่อายุขัยของสุนัขน้อยกว่าคนมาก จึงมักตายก่อน เจ้าของผู้มีความผูกพันกับสุนัขตัวนั้น ก็จะเศร้าสร้อยไปพักหนึ่งทีเดียว ความรักความปรานีเราจะให้แก่ใครก็ได้ และเป็นสิ่งที่ควรให้แต่การผูกพัน การยึดติดนั้นเป็นเรื่องอันตราย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์ ก็อย่ายึดติด หรือผูกพันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด รู้จักปล่อยวาง รู้จักหาอิสรภาพให้แก่ตนเอง จะเป็นสุขในที่สุด...

-*--------------------------------------------------------------------------------------------------------------





พี่ แป๋ม เมื่อหลายปีก่อน(บางครั้ง)เลี้ยงสุนัขดังที่เห็นในภาพมันทั้งฉลาดและแสนซนประจบ - ประแจงเก่ง(บางครั้ง)ชอบแกล้งมัน

เพระมันชอบเที่ยวเวลาไปไหนมันต้องขอตามไปเวลาไม่ให้ไปมันก็งอนไม่พูดด้วยซ่ะงั้น แต่ตอนนี้มันได้จากไปแล้ว คิดถึงมันจังเลย นั่นเพราะความผูก

พันธ์มันเป็นโรคติดเชื้อในลำไส้พาไปรักษาหายแต่ตอนหลังก็หนีกฏธรรมชาติไม่พ้น ไม่กล้าเลี้ยงสุนัขหรือแมวอีกกลัวมันจากไปและก็มานั่งคิดถึง

มัน ไม่อยากทุกข์ใจอีก แต่ว่าจนบัดนี้ก็ยังคิดถึงมันอยู่เสมอไม่รู้ว่าตอนนี้มันอยู่ภพไหน หรือไปเกิดใหม่แล้ว
บันทึกการเข้า
คำค้น: เหตุแห่งทุกข์  ความผูกพัน  อโหสิกรรม  อิสระ การยึดติด  อภัยทาน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความผูกพัน (พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2356 กระทู้ล่าสุด 17 ธันวาคม 2553 23:20:36
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.283 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 30 พฤศจิกายน 2566 19:20:10