ศึกชิง อบจ. อุดรธานี เดือด ‘ส้ม-แดง’ เทสต์ระบบ วางเกมเลือกตั้งใหญ่
<span>ศึกชิง อบจ. อุดรธานี เดือด ‘ส้ม-แดง’ เทสต์ระบบ วางเกมเลือกตั้งใหญ่</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-11-21T19:31:10+07:00" title="Thursday, November 21, 2024 - 19:31">Thu, 2024-11-21 - 19:31</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p><strong>ทำไมสนามเลือกตั้งนายก อบจ. อุดรธานี จึงกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่าง ‘ส้ม-แดง’ ? ประชาไทวิเคราะห์เรื่องนี้จากหลายปัจจัย ไล่มาตั้งแต่ความพิเศษของพื้นที่ในฐานะ ‘เมืองหลวงคนเสื้อแดง’ , ข้อค้นพบเมื่อเปรียบเทียบตัวเลขผลการเลือกตั้งปี 2562 กับปี 2566 ที่กระแสส้มรุกคืบจนแชมป์เก่าหวั่นใจ รวมถึงมุมมองจากแกนนำระดับแม่เหล็กของทั้ง 2 พรรค</strong></p><p>การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานีในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย. ที่จะถึงนี้ เป็นการแข่งขันระหว่างผู้สมัครจาก 2 พรรคหลัก คือ
พรรคประชาชน เบอร์ 1 - คณิศร ขุริรัง ประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี 2 สมัยติด และอดีตรองนายก อบจ. (2552-2555)
พรรคเพื่อไทย เบอร์ 2 - ศราวุธ เพชรพนมพร อดีต สส. 4 สมัย</p><p>ทว่าศึกชิงนายก อบจ.ในครั้งนี้ถูกจับตามากกว่าสนามท้องถิ่นอื่นใด เพราะเป็นการประชันกันระหว่างพรรคส้ม-แดงเป็นครั้งแรกในภาคอีสานนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่พลังส้มกสามารถแทรกตัวผ่านกำแพง ‘บ้านใหญ่’ ได้หลายจังหวัด
ในขณะที่อุดรธานียังมีความพิเศษเชิงพื้นที่เพราะเป็นพื้นที่พรรคเพื่อไทยมาตลอด 2 ทศวรรษ และถูกเรียกว่าเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง การเลือกตั้ง 2548, 2554, 2562 อุดรธานีแบ่งพื้นที่เป็น 8-10 เขต เรียกว่า เพื่อไทยได้ สส. กวาดทุกเขตยกจังหวัด</p><p>จนมาปี 2566 นี้เองที่กระแสของก้าวไกลผงาดขึ้นช่วงชิงความนิยมเดิม แม้จะคว้า สส.เขตในจังหวัดอุดรได้เพียงเขต 1 เขตเดียว แต่หากดูคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ จะพบว่า ในความ “อันดับ 2” นั้น หลายพื้นที่ก็สูสีกับอันดับ 1 มากขึ้นทุกที </p><p>คะแนน สส.บัญชีรายชื่อ 10 เขต อุดรธานี</p><p><strong>เขต 1</strong></p><ul><li>ก้าวไกล 39,529</li><li>เพื่อไทย 26,599</li></ul><p><strong>เขต 2</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 37,194</li><li>ก้าวไกล 37,024</li></ul><p><strong>เขต 3</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 32,096</li><li>ก้าวไกล 28,124</li></ul><p><strong>เขต 4</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 33,209</li><li>ก้าวไกล 24,956</li></ul><p><strong>เขต 5</strong> </p><ul><li>เพื่อไทย 36,683</li><li>ก้าวไกล 26,633</li></ul><p><strong>เขต 6</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 36,134</li><li>ก้าวไกล 26,368</li></ul><p><strong>เขต 7</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 36,301</li><li>ก้าวไกล 31,191</li></ul><p><strong>เขต 8</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 36,527</li><li>ก้าวไกล 27,505</li></ul><p><strong>เขต 9</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 39,407</li><li>ก้าวไกล 29,012</li></ul><p><strong>เขต 10</strong></p><ul><li>เพื่อไทย 39,167</li><li>ก้าวไกล 27,585</li></ul><p>หากมองระดับ
ภาคอีสาน เทียบปี 2562 กับ 2566 จะพบว่า </p><p>เพื่อไทย จากที่เคยได้ สส.เขต ทั้งหมด 84 คน ลดเหลือ 73 คน
ก้าวไกล จากที่เคยได้ สส.เขต ทั้งหมด 1 คน เพิ่มเป็น 8 คน
ภูมิใจไทย จากที่เคยได้ สส.เขตทั้งหมด 16 คน เพิ่มเป็น 35 คน
ดังนั้น การเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ จึงไม่ใช่การเลือกตั้งท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว (โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีลักษณะสูสี) แต่เป็นการวัดกระแสของ 2 พรรคใหญ่ เพื่อไทย-ประชาชน เพื่อดูทิศทางอนาคตการเลือกตั้งใหญ่ระดับประเทศในครั้งหน้า</p><p>แม้หลายคนจะบอกว่า ‘วิธีเลือก’ ของประชาชนตอนเลือกตั้งท้องถิ่นต่างจากการเลือกตั้งใหญ่ เพราะท้องถิ่นอาศัยความสัมพันธ์กันจริงๆ ขณะที่เลือกตั้งประเทศนั้นอาศัยกระแส แต่ดูเหมือนตอนนี้ ‘อุดร’ กลายเป็นกระแสท้ารบกันเสียแล้ว</p><p>ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วแกนนำระดับแม่เหล็กของทั้ง 2 พรรคต่างทุ่มสรรพกำลังในการลงพื้นที่หาเสียงและเนื้อหาปรากฏตอบโต้กันในหน้าข่าวอยู่หลายวัน</p><h2>เทียบวิธีหาเสียง-นโยบาย</h2><p>พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนต่างลงพื้นที่หาเสียงในช่วงไล่เลี่ยกัน แต่แตกต่างกันที่จุดขายที่นำมาใช้หาเสียง สะท้อนมุมมองต่อท้องถิ่นที่ต่างกัน</p><p>สำหรับพรรคเพื่อไทย มีการปรากฏตัวของทักษิณ แกนนำพรรคเพื่อไทยและอดีตแกนนำคนเสื้อแดง อาทิ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี, วิเชียร ขาวขำ อดีตนายก อบจ.อุดรธานี, พิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ อดีตแกนนำ นปช., จิราพร สินธุไพร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ, ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ</p><p>ทางด้านณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้เคยเป็นแกนนำ นปช. ได้โพสต์
ภาพคู่กับ “ขวัญชัย สาราคำ” อดีตแกนนำ นปช. ผู้มีดำแหน่งเป็นประธานชมรมคนรักอุดรฯ พร้อมบอกด้วยว่าการต่อสู้ในอดีตส่งผลให้สุขภาพของขวัญชัยไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเก่า แต่ว่าหัวใจยังเหมือนเดิม</p><p>ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณเปิดหน้าบนเวทีหาเสียงอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงของผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี และเป็นครั้งแรกที่เดินทางมาอุดรธานี นับตั้งแต่กลับเมืองไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว</p><p>ทักษิณอ้อนขอคะแนนจากคนเสื้อแดงหลายครั้ง ตั้งแต่ “คิดฮอตหลาย” “อย่าลืมผมนะ” และ “ผมกลับมาแล้ว” ปราศรัยหวนคืนความทรงจำเมื่อ 20 ปีที่แล้วเรื่องความสำเร็จของนโยบายไทยรักไทยและปลุกความเชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐบาลแพทองธาร อาทิ ดิจิทัลวอลเล็ต รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้สิน, การปราบยาเสพติด, การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน</p><p>ขณะที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อปราศรัยตอนหนึ่งว่างบประมาณท้องถิ่นมีไม่มาก แต่ถ้า อบจ. กับรัฐบาลมาจากพรรคเดียวกัน เชื่อมประสานกัน การทำงานก็หนุนส่งกันได้</p><p>ส่วนทางฝั่งพรรคประชาชนขนทัพ สส. และแกนนำระดับแม่เหล็กของพรรคส้มเดิมไปช่วยหาเสียงในช่วง 15-17 พ.ย. อาทิ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ, พรรณิการ์ วานิช รวมทั้ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่บินกลับจากสหรัฐอเมริกามาช่วยอ้อนขอคะแนนให้คณิศร โดยในช่วงก่อนหน้านั้น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล และศิริกัญญา ตันสกุล ก็ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาปราศรัยก่อนแล้ว แต่อาจไม่ได้เป็นกระแสมากนัก</p><p>พรรคประชาชนชูสโลแกน “เปลี่ยนอุดรให้ก้าวไกล อบจ.รับใช้ประชาชน” แนวคิดหลักคือการกระจายอำนาจและงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาบริการสาธารณะ โดยชูโครงการเรือธงอย่าง “น้ำประปาดื่มได้” เป็นนโยบายด่วนทำทันทีภายใน 1 ปี นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงนโยบายรถเมล์ไฟฟ้า กำหนดเส้นทางเชื่อมโยงกลางเมืองอุดรธานี, ถนนปลอดหลุม ไฟสว่าง มีกล้องวงจรปิด เป็นต้น</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
'ทักษิณ' ขึ้นปราศรัยเวทีแรก กลับอุดรในรอบ 18 ปี ช่วย 'ศราวุธ' ชิงนายก อบจ.</li><li>
ปชน.ขนทัพช่วย ‘คณิศร’ ชิงนายก อบจ.อุดร ชู 6 นโยบายด่วน ‘น้ำประปาดื่มได้’ ทำทันทีปีแรก</li><li>
'ณัฐวุฒิ' ขึ้นเวทีเมืองหลวงเสื้อแดง อ้อนคนอุดรเลือก 'ศราวุธ' นั่งนายก อบจ.</li><li>
รวมวิวาทะ 2 พรรคใหญ่ ควันหลง 'ทักษิณ' ลงพื้นที่อุดร</li></ul></div><h2>พรรคสีแดงมีแต้มต่อ</h2><p>ถ้ามองตามสภาพพื้นที่ เพื่อไทยมีความได้เปรียบอยู่หลายประการ ได้แก่</p><p>หนึ่ง – ก่อนหน้านี้ตำแหน่งนายก อบจ. อุดรธานีเป็นของ “วิเชียร ขาวขำ” คนของเพื่อไทย 2 สมัยติดต่อกัน การส่งศราวุธลงเลือกตั้งในครั้งนี้จึงคือการรักษาเก้าอี้ให้ฝ่ายแชมป์</p><p>สอง – ศราวุธมีฐานเสียงในเมืองอยู่แล้วพอสมควร เขาเป็นอดีต สส.อุดรธานี เขต 1 อำเภอเมืองมาถึง 4 สมัยติดต่อกัน บวกกับเขายังเป็นลูกเขยของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีตรองนายกฯ และรมว.ยุติธรรมในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วน “หทัยรัตน์ เพชรพนมพร” ผู้เป็นน้องสาวของศราวุธก็เป็น สส.อุดรธานี เขต 2 พรรคเพื่อไทย</p><p>ทว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาปี 2566 เขาเพิ่งสอบตกครั้งแรก หลังพ่ายแพ้ให้กระแสพรรคส้มที่ลามเข้ามาถึงอำเภอเมืองอุดรธานี</p><p>สาม – พรรคสีส้มที่มีฐานเสียงเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมากเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสนามท้องถิ่น เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นมีปัจจัยที่แตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไปคือ ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งทำให้กลุ่มฐานเสียงของพรรคประชาชนที่ไปเรียนหรือไปทำงานที่จังหวัดอื่น ไม่สามารถมาโหวตให้พรรคประชาชนได้</p><p>ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งปี 2566 เมื่อดูคะแนนของจังหวัดอุดรธานีทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง โดยดูเฉพาะส่วนของบัตรเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักร จะพบว่าพรรคก้าวไกลได้คะแนนส่วนนี้เป็นอันดับ 1 ทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อ (อ้างอิงข้อมูลจาก
คณะกรรมการการเลือกตั้ง)</p><h2>พรรคสีส้มก็มีแต้มต่อ</h2><p>หนึ่ง - ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยถูกยื่นเรื่องร้องเรียนกับ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักข่าว
อิศราเปิดเผยว่าภรรยาของเขาได้ร่วมถือหุ้นบริษัทอสังหาฯ ในภูเก็ตเมื่อปี 2557 ร่วมกับ ‘ตู้ห่าว’ นักธุรกิจจีนผู้ต้องหาคดียาเสพติด แม้ศราวุธได้มีการยื่นเพิ่มเติมบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเติมแล้วและเคยให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทดังกล่าวยังไม่ได้ทำธุรกิจอะไร ภรรยาก็ยังไม่ได้รับประโยชน์ใด ผลสอบสวนก็ยังไม่มีความชัดเจน แต่เรื่องนี้ก็สุ่มเสี่ยงกลายเป็นเป้าสร้างความลังเลให้กับผู้ลงคะแนนได้</p><p>ชัยธวัช ตุลาธน ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชนก็หยิบยกเรื่องนี้มาปราศรัยบนเวทีอุดรฯ จนท้ายที่สุดศราวุธได้มอบหมายทนายความให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับชัยธวัช และร้องเรียนกับ กกต.ว่าเป็นการจงใจปราศรัยใส่ร้าย</p><p>สอง แม้ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า แต่การเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 ก็เห็นพลังของ ‘หัวคะแนนธรรมชาติ’ อย่างคนรุ่นใหม่แล้วว่าพวกเขาจำนวนไม่น้อยติดต่อสื่อสารและบอก ‘ที่บ้าน’ ว่าควรเลือกใคร</p><p>ทั้งนี้ ปัจจุบันพรรคประชาชนประกาศตัวแล้วว่าจะส่งผู้สมัครลงชิงนายก อบจ.12 จังหวัด ล็อคเป้าพร้อมประกาศชัดเจนว่าจะเลือกสู้ในพื้นที่ใดบ้าง</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
'พรรคประชาชน' เปิดตัว ผู้สมัครนายก อบจ. เพิ่ม 12 จังหวัด ดัน 5 นโยบาย ยกระดับคุณภาพชีวิต</li></ul></div><p> </p><h2>แกนนำ 2 พรรคมองเกมนี้ยังไง</h2><p>พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า กล่าวในรายการ The Politics ทาง
มติชนทีวีว่า พรรคเพื่อไทยใช้เวทีเลือกตั้ง อบจ.อุดร เพื่อสนองเป้าหมายการเมืองภาพใหญ่ เห็นได้จากการที่ทักษิณปราศรัยพาดพิงพรรคส้มรวมถึงให้สัมภาษณ์พาดพิงธนาธร ทำให้คนหันมาสนใจสนามเลือกตั้งท้องถิ่นอุดรธานีในฐานะที่เป็นเวทีปะทะกันของส้ม-แดง</p><p>“พอบอลมันถูกเตะเข้ามาสู่พวกเราแล้วกลายเป็นการเมืองระดับชาติ ดิฉันต้องใช้คำว่ามันไปกระตุ้นต่อมผู้รักประชาธิปไตยในอุดรธานี คำว่า “ตระบัดสัตย์ข้ามขั้ว” “ไปหลอมรวมกับอำมาตย์” หรือคำอย่างเช่น “ประชาชนเข้าใจผิด” “สีตก” มันไปกระตุ้นต่อมให้คนรู้สึกว่า เฮ้ยไม่ได้แล้ว นี่ไม่ใช่แค่การเมือง อบจ. ที่เป็นเรื่องน้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ แต่มันเป็นการแสดงพลังให้เห็นว่าคนอุดรจะต้องการการเมืองแบบไหน ไม่ใช่แค่เฉพาะ อบจ.”</p><p>พรรณิการ์กล่าวว่า สถานการณ์ที่โทนอารมณ์ของผู้คนเป็นแบบนี้ถือเป็นคุณกับพรรคส้ม เพราะมันสอดคล้องกับสิ่งที่พรรคส้มสื่อสื่อสารมาตลอดในภาพใหญ่อยู่แล้ว และจากที่เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนเองได้ไปเดินแจกแผ่นพับหาเสียง เจอชาวบ้านหลายคนบอกว่าลูกๆ ของพวกเขากำลังจะบ้านมาเลือกตั้ง ซึ่งก็อาจเป็นผลมาจากการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.ที่ถูกโหมกระแสให้เป็นเรื่องการเมืองภาพใหญ่ “เป็นการเทสต์ว่าอีสานหลังจากตั้งรัฐบาลข้ามขั้วเป็นแบบไหน”</p><p>พรรณิการ์กล่าวว่า สมรภูมินี้คล้ายกับการ “เทสต์ระบบ” เพราะเมื่อมองย้อนดูสนามการเลือกตั้งท้องถิ่นในพื้นที่อื่นๆ ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ปะทะกันอย่างชัดเจนระหว่างพรรคเพื่อไทยกับประชาชน แต่อุดรธานีเป็นสนามการเลือกตั้งท้องถิ่นแรกที่แดงกับส้มต้องแข่งกันในภาคอีสาน และก็เป็นธรรมดาที่พรรคการเมืองจะมองยาวไปถึงเลือกตั้งใหญ่ปี 2570 ฉะนั้นสนาม อบจ.อุดรธานีจึงสามารถบอกความนิยมได้ระดับหนึ่ง</p><p>ทางด้าน ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ในรายการ
มีเรื่อง (อยาก) Live ว่าพรรคส้มเคยขึ้นสู่กระแสสูงในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วก็จริง แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปในทุกกรณี ถ้าดูจากโพลสำรวจความนิยมในช่วงหลัง เราจะเห็นว่าระดับความนิยมพรรคประชาชน ทั้งในตัวพรรคและผู้นำพรรคลดลง ในขณะที่ระดับคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยและผู้นำพรรคอย่างแพทองธารก็เพิ่มขึ้น</p><p>“ถ้าเป็นสนามการเมืองท้องถิ่น ส่วนตัวผมให้น้ำหนักกับความเป็นจริงทางการเมือง ก็คือนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่เกาะติดกับคนในพื้นที่ ทำงานเครือข่าย ทำงานกับประชาชนมายาวนาน โอกาสเขาจะสูงกว่า ซึ่งพรรคประชาชนยังไม่เด่นในเรื่องนี้”</p><p>ณัฐวุฒิกล่าวว่าตั้งแต่อนาคตใหม่มาจนถึงก้าวไกล พรรคสีส้มก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในสนาม อบจ.สักครั้งเลย ส่วนหนึ่งจึงต้องยอมรับว่าผู้สมัครที่อยู่ติดพื้นที่ มีผลงาน หรือวงศ์ตระกูลที่ผูกพันใกล้ชิดกับชาวบ้านก็มีโอกาสจะได้รับเลือกตั้งสูงกว่า ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเลือกตั้งระดับประเทศเมื่อปีที่แล้ว กระแส “มีลุงไม่มีเรา” ที่สอดรับกับวาระทางการเมืองในตอนนั้น “มันก็วูบเดียวนำพาไปสู่ชัยชนะได้” แต่ในการเลือกตั้งท้องถิ่นมันไม่สามารถใช้กระแสแบบนั้นได้</p><h2>มุมมองนักวิชาการ</h2><p>รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาให้มุมมองกับ
สำนักข่าวทูเดย์ว่า การลงพื้นที่ของทักษิณในครั้งนี้สามารถมองได้ว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกทั้งฝูง กล่าวคือเป็นการปลุกกระแสนิยมพรรคเพื่อไทยเพื่อหวังผลการเลือกตั้งในปี 2570 อีกทั้งยังป้องกันการรุกคืบของพรรคภูมิใจไทยที่จะขยับดึงคะแนนเสียงจากอีสานใต้ เริ่มเข้ามาอีสานกลางแล้ว รวมถึงเป็นการส่งสัญญาณไปถึงกลุ่มบ้านใหญ่ที่อาจยังลังเลในการเข้าร่วมกับเพื่อไทย</p><p>ทางด้าน ดร. สติธร ธนานิธิโชติ ผอ.สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า วิเคราะห์กับ
สำนักข่าวพีพีทีวีว่า การที่ทักษิณเดินเกมปลุกกระแสชนกับพรรคส้ม อาจเป็นไปเพื่อรักษาบรรยากาศการต่อสู้ของ 2 พรรค ซึ่งในมุมหนึ่งก็อาจมองได้ว่าเป็นไปเพื่อสกัดความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่หวังจัดการกับทักษิณและพรรคเพื่อไทยผ่านกระบวนการทางกฎหมายและนักร้องต่างๆ</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%88" hreflang="th">อบจ.[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" hreflang="th">อุดรธาน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">ทักษิณ ชินวัต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">พิธา ลิ้มเจริญรัตน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3-%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87" hreflang="th">คณิศร ขุริรั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3" hreflang="th">ศราวุธ เพชรพนมพ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E2%80%8B-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%8A" hreflang="th">พรรณิการ์ วานิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4-%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD" hreflang="th">ณัฐวุฒิ ใสยเกื้
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/11/111448 







