[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:35:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมประทีป ๙ :จิตคือธาตุรู้ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์  (อ่าน 3241 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554 09:43:36 »



ธรรมประทีป ๙

อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ ผู้เรียบเรียงหนังสือ ธรรมประทีป ๙

จิตคือธาตุรู้ ไม่เคยดับตายหายสูญ
โดย
อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
ท่านอาจารย์ไชยทรง จันทรอารีย์ เป็นนักปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง หลังเกษียณ,ได้ทุ่มเทกับงานเผยแพร่ธรรมะมาโดยตลอด เป็นวิทยากรรับเชิญไปบรรยายธรรมตามสถานที่ต่างๆ โดยไม่เคยคิดค่าใช้จ่ายใดๆ และจัดพิมพ์หนังสือธรรมประทีป ธรรมะภาคปฏิบัติ ไปแจกผู้เข้าร่วมอบรมเสมอ

ท่านอาจารย์ได้เขียนหนังสือธรรมประทีป และ หัวใจพระพุทธศาสนาไว้,หลายเล่มทีเดียว แต่ละเล่มพิมพ์แจกไปยังวัด หอสมุด ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา จะมีผู้สนใจอ่านแล้วได้รับประโยชน์ เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม เขียนจดหมายขอหนังสือของท่านอาจารย์เข้ามาเป็นระยะๆ หลายคนจดหมายมาขอบคุณที่ทำให้เขามีหลักในการปฏิบัติธรรม

ข้าพเจ้าค่อนข้างโชคดีที่มีหนังสือของท่านอาจารย์เกือบทุกเล่ม เนื้อหาแต่ละเล่มแตกต่างกันไป แจ่มแจ้ง ชัดเจน ตรงไปตรงมา ตามหลักเหตุผล เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม และยังประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนามากทีเดียว และยิ่งอ่านมากรอบก็ยิ่งซาบซึ้งในพระธรรมแห่งองค์พระศาสดา

ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาตท่านอาจารย์ รวบรวมงานเขียนของท่าน เป็นธรรมประทีป ๙ เล่มนี้ขึ้น เพื่อความสะดวกในการศึกษา อ่านง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา และลงมือปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง หากท่านทำใจให้เป็นกลาง อ่านด้วยความพินิจพิจารณา ย่อมจับหลักการและน้อมเข้าสู่การปฏิบัติธรรมได้โดยไม่ผิดพลาดอย่างแน่นอน

ในการรวบรวมหนังสือเล่มนี้ จนเสร็จสมบูรณ์ ท่านอาจารย์ได้กรุณาตรวจทาน แก้ไข แต่งเติมข้อความทั้งหมด ข้าพเจ้าหวังว่า ท่านจะอ่านในเวลาที่อำนวยให้ และได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ต่อไป.

เภสัชกรหญิงณัฏฐิยา ปันภัทรทรัพย์   nuthiya04@hotmail.com
คำนำจาก หนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
อ่านเรื่องจิต จากหนังสือธรรมประทีป ๙ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

: http://dhamaprateep.wordpress.com/2010/07/17/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/
เรียนขออนุญาตนำมาเเบ่งปันค่ะ..
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554 09:56:52 »



พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง ชำระจิตให้บริสุทธิ์
คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของชาวพุทธทั้งหลายนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประการ ดังนี้ คือ

๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือ การไม่ทำบาปให้เกิดขึ้นด้วยประการทั้งปวง อันได้แก่ คำสั่งสอนเกี่ยวกับศีล วินัย ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งจะป้องกันพุทธบริษัทผู้ปฏิบัติตาม ไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว หรือได้รับความเดือดร้อนนานาประการจากการอยู่ร่วมกันในสังคม
๒.กุสลสฺสูปสมฺปทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ คำสั่งสอนที่เกี่ยวกับการทำความดี ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม
๓.สจิตฺตปริโยทปนํ คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ปราศจากกิเลสต่างๆ ที่จะทำให้จิตเศร้าหมอง


คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ทั้ง ๓ ข้อนี้ ทรงแบ่งออกเป็นขั้นๆดังนี้ คือ ใน ๒ ข้อแรก ทรงสอนเรื่องเกี่ยวกับการรักษากายกับวาจา และทรงสอนเรื่อง การชำระจิตให้บริสุทธิ์ ในข้อสุดท้าย เพื่อให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม

แต่เนื่องจากทั้งกายและวาจานั้นอยู่ใต้การบังคับบัญชาของจิต ดังนั้นเรื่องใหญ่ใจความก็ไปตกที่ข้อสุดท้ายทั้งหมด เพราะว่า ถ้าทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วเสียอย่างเดียวเท่านั้น ก็ย่อมจะทำให้กายและวาจา ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาของจิต ดีตามไปด้วยในตัว

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า หลักธรรมเรื่อง การชำระจิตให้บริสุทธิ์ นี้ มีอยู่เฉพาะในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น ถึงแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ไปแล้วในอดีตหรือที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตทั้งหลาย อีกกี่พระองค์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีคำสั่งสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น

ดังพระบาลีว่า “อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ” แปลว่า “การทำให้จิตมีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”.

จิต คือ ตัวพระพุทธศาสนา
เนื่องจากพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสั่งสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จิตจึงเป็นสภาพธรรมที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ที่เราอาจกล่าวให้ชัดว่า จิต คือ ตัวพระพุทธศาสนา ก็ได้

แต่จิตไม่มีรูปร่างหน้าตาให้แลเห็น ทั้งๆที่เรารู้ว่ามีจิตอยู่ด้วยกันทุกคน ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องศึกษาให้รู้จักจิตพร้อมทั้งคุณลักษณะที่สำคัญทั้งหลาย ให้รู้จักตามความเป็นจริงเสียก่อน จึงจะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง.

※ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๑-๒

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554 10:00:22 »



สภาพเดิมของจิต
ตามพระบาลีในจิตฺตวคฺค แห่งพระธรรมบท กล่าวไว้ดังนี้

“ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ เย จิตฺตํ, สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา” แปลว่า
“ผู้ใดสำรวมจิตซึ่งมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลๆได้
ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็นที่อาศัย นี้ไว้ได้แล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากการพันธนาการของมาร(คือกิเลส)ได้”

ทั้งนี้แสดงว่า จิตของแต่ละคนมีดวงเดียว ไม่มีรูปร่างให้แลเห็นด้วยตา นอกจากจะแสดง “ความรู้” ออกมาให้รู้สึก โดยผ่านช่องทางซึ่งจิตใช้อาศัยสำหรับติดต่อกับอารมณ์เท่านั้น จิตมีสภาพว่องไวปราดเปรียวในการออกไปรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็เปลี่ยนไปรับรู้อารมณ์อย่างอื่นอีกต่อไปตามลำดับ ตลอดเวลาที่ตื่นนอนอยู่.

※ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๓

ต้นกำเนิดของจิต
ตามพระบาลีในอนมตัคคสูตร กล่าวไว้ดังนี้

“อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สงฺสาโร ปุพฺพาโกฏิ น ปญฺญายติ” แปลว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรนี้ มีอยู่ก่อนนานมาแล้ว
ซึ่งผู้มีปัญญาไม่อาจตามรู้ได้ว่ามาจากไหน? และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อใด”

ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่ก่อนนานมาแล้ว ไม่มีผู้ใดเป็นผู้สร้างขึ้น และไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยใดๆทั้งสิ้น เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ จิตไม่เคยดับตายหายสูญไปไหนเลย เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

กล่าวให้ชัดก็คือ จิตมีอยู่นานแล้ว โดยไม่มีใครรู้ว่าเริ่มต้นมาจากที่ไหน และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อไร.

※ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๓-๔

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554 10:10:17 »



จิตไม่เคยดับตายหายสูญ
มีพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร ว่าไว้ดังนี้ :

“จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อทสฺสนา สงฺสริตํ ทีฆมทฺธานํ ตาสุตาเสว ชาติสุ” แปลว่า
“ความเวียนว่ายของเรา เข้าไปในชาติน้อยใหญ่ทั้งหลาย
อันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้”

หมายความว่า จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เข้าไปเวียนว่ายจากพระชาติหนึ่งไปยังอีกพระชาติหนึ่ง ติดต่อกันไปหลายพระชาติ เป็นเวลาอันยาวนานนับไม่ถ้วนก่อนทรงตรัสรู้ และจิตของพระองค์ได้ยืนตัวเป็นประธานทุกชาติ ไม่ว่าจะเปลี่ยนพระชาติไปกี่ครั้งกี่หนก็ตาม

ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญไปไหน แต่รูปร่างกายซึ่งถือกำเนิดเป็นพระชาติต่างๆนั้นต่างหากที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร คือเปลี่ยนไปทุกพระชาติใหม่ทุกชาติ

ถ้าจิตเกิดดับเป็นคนละดวง หรือเปลี่ยนตามรูปร่างกายในแต่ละพระชาติด้วยแล้ว ก็ย่อมตรัสว่า พระองค์ได้ทรงเข้าไปเวียนว่ายในพระชาติเหล่านั้น,ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตจึงไม่ใช่สภาพธรรมที่เกิดดับ แต่ จิตชั้นสัมมาสัมพุทโธยืน รู้ อยู่ว่า รูปร่างกายในแต่ละพระชาติเกิดแล้วก็ตายไป ตามกาลเวลาที่ผ่านไปๆ โดยลำดับ นานแสนนานมาแล้ว.

※ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๔

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554 10:34:53 »



จิตทรงไว้ซึ่งความรู้ ไม่มีการเกิดดับ
เนื่องจากจิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีรูปร่าง ให้สัมผัสหรือให้แลเห็นได้เลย นอกจากจะแสดง ความรู้ ออกมาให้รู้สึกเท่านั้น อะไรเกิดขึ้นก็รู้ อะไรดับไปก็รู้ พอใจก็รู้ ไม่พอใจก็รู้ เฉยๆก็รู้ มีจิตอยู่ที่ใด ย่อมรู้อยู่ที่นั้นตลอดกาล ไม่มีการเกิดดับ กล่าวคือ ไม่มีการรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง

มีพระบาลีในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานรับรอง ไว้ดังนี้:
“สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ” แปลว่า
“เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิต ก็รู้ชัดว่าราคะเกิดขึ้นที่จิต เมื่อราคะหายไปจากจิต ก็รู้ชัดว่าราคะหายไปจากจิต”

ทั้งนี้แสดงว่า เมื่อมีกิเลสอย่างใดเกิดขึ้นก็รู้ (ในที่นี้คือ ราคะ) เมื่อกิเลสอย่างนั้นๆ ดับไปก็รู้ อะไรเกิดขึ้นก็รู้ อะไรดับไปก็รู้ สิ่งที่เกิดดับนั้น ไม่ใช่จิตแน่นอน จิตไม่มีการเกิดดับ แต่จิตทรงไว้ซึ่ง “ความรู้” ตลอดเวลา.

※ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๕

วิธีสาธิตว่าจิตไม่มีการเกิดดับ
เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เราเรียนท่องจำธรรมะจาก ตำราหรือครูอาจารย์ที่สอนว่า จิตเกิดดับ เป็นส่วนใหญ่ โดยมิได้เฉลียวใจว่า ขัดกับเหตุผลและหลักของกรรมกันเลย นั่นก็คือ เมื่อจิตดวงหนึ่งทำกรรมไว้อย่างหนึ่งแล้วดับไป จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง จะต้องรับกรรมต่อจากจิตดวงเก่า ดังนี้ ซึ่งจะเป็นผลให้รู้จักธรรมะข้ออื่นที่เกี่ยวข้อง ผิดตามไปด้วยตลอดสาย

ถ้าจิตเกิดดับเช่นนี้จริง เหมือนดังที่เรียนกันอยู่ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาต ในวันมาฆะบูชานั้น รวมทั้งข้อบัญญัติเรื่องมรรคมีองค์ ๘ ด้วย ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะพยายามนำไปปฏิบัตินานเพียงไรก็ตาม

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะลงมือสาธิตนั้น เราจะต้องทราบเป็นพื้นฐานเสียก่อนว่า จิตคือธาตุรู้
หมายความว่า ที่ใดมีธาตุรู้ยืนทรงตัวอยู่ ก็ต้องแปลว่าที่นั้นมีจิตอยู่
ถ้าธาตุรู้นั้น รู้อยู่โดยตลอดเวลาแล้ว แต่เรากลับพูดว่า จิตเกิดดับ (รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง)
ก็ย่อมพูดผิดจากความจริง

เพราะว่า ถ้าพูดว่า จิตเกิด ก็ย่อมแปลว่า เดิมไม่มีจิตอยู่ แต่เพิ่งจะมีจิตขึ้นมา และถ้าพูดว่า
จิตดับ ก็แปลว่า จิตนั้นได้หายไปแล้ว ขณะนี้ไม่มีธาตุรู้เหลืออยู่อีกแล้ว


ดังนั้น ขอให้ใช้ความเป็นธรรมสังเกตดูว่า “ธาตุรู้” ได้บกพร่องขาดหายไปในขณะใดหรือไม่ แล้วกล่าวออกมาตามความเป็นจริงเท่านั้น ก็จะทำให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และนี่คือสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนชาวพุทธทั้งหลาย เพื่อให้เข้าใจตามความเป็นจริง พระบรมศาสดาย่อมไม่ทรงสั่งสอนสิ่งใดที่ผิดไปจากความจริงเป็นอันขาด

สมมุติว่า เรายกวัตถุชิ้นหนึ่ง ออกมาตั้ง ณ จุดๆหนึ่ง แล้วเพ่งดูอยู่ ณ จุดๆนั้น โดยไม่ให้สายตาที่เพ่งดู เคลื่อนออกไปเพ่งดูที่จุดอื่นนอกจากที่จุดนั้นเพียงจุดเดียวเท่านั้น เราย่อม “รู้” ว่าขณะนี้วัตถุชิ้นนั้น ตั้งอยู่ที่จุดนั้น
ทีนี้ เรายกเอาวัตถุชิ้นนั้น ออกไปเสียจากจุดนั้น โดยใช้สายตาเพ่งดูอยู่ที่จุดที่กำหนดไว้ตามเดิม เราก็ย่อม “รู้” ว่าขณะนี้วัตถุชิ้นนั้น ได้หายไปจากจุดนั้นแล้ว

ต่อจากนี้ ก็ยกเอาวัตถุชิ้นเดิมนั้นกลับเข้ามาตั้ง ณ จุดที่กำหนดไว้เดิมอีก เราก็ย่อม “รู้”ว่า วัตถุชิ้นนั้น ได้กลับมาตั้งอยู่ในที่เดิมอีกแล้ว และเมื่อเรายกวัตถุชิ้นนั้น ออกไปเสียจากจุดนั้นอีกครั้งหนึ่ง เราก็ย่อม “รู้” ว่าขณะนี้วัตถุชิ้นนั้น ได้หายไปจากจุดนั้นอีกแล้ว ดังนี้
ทำเช่นนี้ไม่ว่ากี่ครั้งก็ตาม ย่อมสรุปผลได้ว่า เราย่อม “รู้” อยู่ทุกขณะและตลอดเวลา ว่าวัตถุชิ้นนั้นได้เกิดขึ้น ณ จุดนั้น และวัตถุชิ้นนั้นได้หายไปจากจุดนั้น ไม่ว่าจะมีวัตถุตั้งอยู่หรือไม่ได้ตั้งอยู่ ณ จุดที่กำหนดให้นั้นก็ตาม

ทั้งนี้ ย่อมแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า จิตของเราไม่ได้ดับตายหายสูญไปไหน คือ ไม่ได้เกิดดับ ดังที่เรียนท่องจำกันอยู่ในปัจจุบันนี้เลย แต่วัตถุ คือ “สิ่งที่ถูกจิตรู้” ต่างหาก ได้เกิดขึ้นที่การรับรู้ของจิต เมื่อยกไปตั้งที่จุดนั้น และดับไปจากการรับรู้ของจิต เมื่อยกออกไปเสียจากจุดนั้น วัตถุต่างๆหรือเรื่องที่จิตรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความนึกคิดทางใจ ซึ่งเรียกว่า อารมณ์ นั้น ต่างหากที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา อย่างนับครั้งไม่ถ้วนในระยะวันหนึ่งๆ

มีพระบาลี ในมหาสติปัฏฐานสูตรรับรองอยู่ ดังนี้ คือ
“สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ, วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ”
แปลว่า “เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิต ก็รู้ชัดว่า ราคะเกิดขึ้นที่จิต
เมื่อราคะหายไปจากจิต ก็รู้ชัดว่าราคะหายไปจากจิต ดังนี้”

ทั้งนี้ เราย่อมเห็นได้ชัดเจนที่สุดว่า สิ่งที่เกิดดับตามพระบาลีนี้คือราคะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดดับตามอารมณ์จากภายนอก แต่ ธาตุรู้คือจิต นั้น รู้ทรงตัวอยู่เสมอ ไม่ได้เกิดดับตามราคะไปด้วย อาการรัก-ชังของจิตเท่านั้น ที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไปจากจิต จิตไม่ได้เกิดดับเลย.

※ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๖-๘

บันทึกการเข้า
คำค้น: คัดลอกจาก หนังสือธรรมประทีป ๙  ธรรมะภาคปฏิบัติ ณัฏฐิยา ปันภัทรทรัพย์ ผู้รวบรวม 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
จิตคือธาตุรู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 4 3530 กระทู้ล่าสุด 01 เมษายน 2553 16:52:34
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.298 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 12:31:54