[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 19:09:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  (อ่าน 1926 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.83 Chrome 17.0.963.83


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 มีนาคม 2555 02:28:48 »

รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์



รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร)
วัดราชผาติการาม
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม.



ท่านสาธุชนทั้งหลาย

ในลำดับต่อไปนี้ จะได้บรรยายธรรมะบางประการ เพื่อเป็นเครื่องเกื้อกูลการศึกษาธรรม เมื่อได้ฟังแล้วกำหนดจดจำไว้ แล้วนำไปปฏิบัติตาม ก็จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามกำลังแห่งการปฏิบัติ ธรรมะนั้นเหมือนยาหรืออาหาร ยาถ้าตั้งไว้ดูเฉยๆ ไม่รับประทาน โรคก็ไม่หาย อาหารถ้าไม่รับประทานก็ไม่อิ่ม ธรรมะก็เหมือนกัน ไม่ปฏิบัติไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เราฟังแล้วจึงต้องทำตาม เพราะธรรมะเป็นเครื่องแก้ความร้อนใจ ทำความร้อนใจให้สงบให้ใจสบาย ท่านจึงพรรณนาประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมไว้ว่า

สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ โอสถํ อุตฺตมํ วรํ
ปริฬาหูปสมนํ ธมฺมเตเชน โสตฺถินา
นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ ภยา วูปสเมนฺตุ เต


แปลว่า เพราะกระทำความเคารพคือปฏิบัติตามพระธรรมะรัตนะ อันเป็นโอสถสูงสุดประเสริฐ เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวายใจได้ ขออุบาทว์ทั้งปวงจงเหือดหายไป ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบโดยสวัสดี ด้วยเดชแห่งธรรมรัตนะ ดังนี้

"รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" เป็นภาษิตเก่า นำมาเป็นหัวข้อเรื่อง บางท่านให้ความเห็นว่า เป็นการเอาตัวรอดหรือแหวกช่องน้อยแต่พอตัว ไม่ได้นึกถึงผู้อื่น หรือผู้อื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง เรารอดตัวก็แล้วกัน ความเห็นอย่างนี้ไม่ถูก ตัวเรายังไปไม่รอดรักษาไม่ได้แล้ว จะไปเผื่อแผ่ผู้อื่นได้อย่างไร คนจะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ตนของตนต้องดีก่อน เมื่อตนของตนไม่ดีจะทำให้คนอื่นดีได้อย่างไร ภาษิตนี้จึงหมายความว่า ให้ทำตัวเราให้ดีเสียก่อนเป็นเบื้องต้น พระพุทธเจ้าเสด็จออกทรงผนวช ก็เพราะทรงมีพระกรุณาที่จะช่วยผู้อื่น จึงทรงทำพระองค์ให้ดีก่อน

ครูไม่มีความรู้จะสอนนักเรียนได้อย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าควรทำตนให้มีดีสมควร ตรัสสอนให้ปกครองตน เหมือนทางบ้านเมืองจัดการปกครองหัวเมืองชายแดน ให้มั่นคงทั้งภายนอกภายใน ด้วยปักเสาระเนียดไว้ด้านนอก ขุดคูไว้ป้องกันเป็นขั้นที่ 2 พูนคันคูหรือเชิงเทินไว้ให้สูงเป็นขั้นที่ 3 เตรียมศัสตราวุธไว้พร้อมเป็นขั้นที่ 4 เตรียมกำลังพลไว้ให้พร้อมพรั่งเป็นขั้นที่ 5 วางกำลังผู้เฝ้าประตูหรือนายประตูที่ชาญฉลาดเป็นขั้นที่ 6 ทำกำแพงให้มั่นคงไว้เป็นขั้นที่ 7 คือ ขั้นใน นับจากข้างนอกไปหาข้างใน สมมติเรียกว่ากำแพง 7 ชั้น สำหรับป้องกันอันตรายภายนอกภายใน

เมื่อข้าศึกจู่โจมเข้ามาจะได้ติดเครื่องป้องกันเข้าไม่ได้ทันที พอที่จะได้เตรียมต่อสู้ข้าศึกศัตรู เมื่อเข้ามาครั้งแรกก็ติดเสาระเนียด ข้ามเสาระเนียดมาได้ก็ติดคู ล่วงพ้นคูเข้ามาได้ก็ติดที่เชิงเทิน เมื่อเข้าเชิงเทินได้ ก็จะถูกประหารด้วยอาวุธซึ่งพุ่งซัดเข้าใส่ด้วยกำลังโยธาหาร หากผ่านพ้นเข้ามาได้ก็จะถูกนายประตูขัดขวาง แม้จะชนะนายประตูจู่โจมเข้ามาได้ก็ยังมีกำแพงอันแน่นหนาเป็นชั้นใน ผู้จะต่อสู้ข้าศึกศัตรูภายใน คือ กิเลส ความชั่วความเสียของเรา หรือที่จะมากล้ำกรายตัวเรา ก็ต้องจัดการเช่นเดียวกัน จึงแสดงธรรมไว้ 7 ประการ เปรียบด้วยกำแพง 7 ชั้น คือ

ศรัทธา เปรียบด้วยเสาระเนียด หิริ เปรียบด้วยคู โอตตัปปะ เปรียบด้วยคันคูหรือเชิงเทิน พานุสัจจะ เปรียบด้วยอาวุธ วิริยารัมภะ เปรียบด้วยกำลังพล สติ เปรียบด้วยนายประตู ปัญญา เปรียบด้วยกำแพง เมื่อพร้อมด้วยธรรมะ 7 ประการดังกล่าวแล้ว บุคคลย่อมแคล้วคลาดจากข้าศึกภายนอกภายใน

ศรัทธา คือความเชื่อ ได้แก่เชื่อกรรมเชื่อผลแห่งกรรม เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ คน ใครทำดีก็ได้รับผลดี ใครทำชั่วก็ได้รับผลชั่ว คนทำชั่วได้ดีและทำดีได้ชั่วไม่มี แม้จะมีได้บ้างก็ด้วยบังเอิญ และเป็นการชั่วคราวไม่จริง ได้รับจนกว่ากรรมจริงๆ จะให้ผลเท่านั้น เหมือนคนอาบน้ำเย็นจริง อยู่ใกล้ไฟร้อนจริง คนอาบน้ำจะร้อนและคนอยู่ใกล้ไฟจะเย็นไม่มี

หิริ แปลว่าความละอายแก่ใจในการที่จะกระทำความชั่ว เกลียดกลัวขยะแขยงต่อความชั่ว เห็นความชั่วเป็นสิ่งโสโครกสกปรกเศร้าหมอง เหมือนบุคคลรักษาความสะอาด อาบน้ำชำระร่างกายแต่งกายสะอาดแล้ว ไม่ประสงค์จะเข้าใกล้สิ่งโสโครก หรือเกลียดแต่สิ่งโสโครกที่จะมาถูกต้องตัว ฉะนั้น

โอตตัปปะ แปลว่าความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว เห็นผลของความชั่วเป็นของที่น่าเกลียดน่ากลัว กลัวว่าเมื่อทำชั่วจะได้รับผลแห่งความชั่ว ทำให้เดือดร้อนใจในภายหลัง เหมือนบุคคลรู้ว่าไฟร้อนแล้วไม่กล้วจับไฟกลัวไฟไหม้มือ หรือเหมือนบุคคลเว้นไม่เดินไปตามทางที่มีอันตราย เพราะกลัวจะได้ประสบอันตราย หรือเหมือนคนรักชีวิตเกลียดกลัวยาพิษ ฉะนั้น

พาหุสัจจะ แปลว่าความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ได้แก่ความเป็นผู้คงแก่เรียน การศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้มาก เป็นเครื่องกำจัดความไม่รู้ ทำให้เกิดความฉลาดในทางเสื่อม ฉลาดในทางเจริญ และฉลาดในการที่จะเว้นทางเสื่อมดำเนินตามทางเจริญได้

วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร หรือมีความเพียร คนมีความเพียรย่อมสามารถในกิจการกล้าได้กล้าเสียในทางที่ดี ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก มีความพากเพียรอดทน กล้าสู้ในการงานแม้ที่ยาก บากบั่นให้การงานสำเร็จผ่านพ้นไปได้

สติ ความระลึกได้ก่อนที่จะทำการงาน ก่อนแต่จะพูด ก่อนแต่จะคิด คิดก่อนเพื่อให้รอบคอบไม่ผิดพลาด วิธีที่จะให้เกิดสติท่านให้นึกอยู่เสมอว่า "วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ บัดนี้เราเป็นอะไรอยู่ นึกอยู่อย่างนี้เสมอก็มีสติไม่เผลอตัว ไม่มัวเมาประมาท มีบาลีว่า "สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง"

ปัญญา ความรอบรู้ หรือความรู้ทั่วถึง คือรู้ดีรู้ชั่ว รู้ผิดรู้ถูก รู้ได้รู้เสีย ปัญญาก็เกิดจากการฟังการศึกษา การค้นคิดพิจารณา การไต่ถามผู้รู้ การขีดเขียนกำหนด่จดจำไว้ รวมเรียกว่า หัวใจบัณฑิต คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ที่รู้ๆ กันอยู่ทั่วไปแล้ว

รวมความว่าวิธีป้องกันตัวให้ปลอดภัย ต้องมีความเชื่อ ต้องละอายบาป กลัวบาป มีความรอบรู้ มีความกล้าหาญ มีความระลึกรู้สึกตัว และมีปัญญา เมื่อมีธรรมเป็นเครื่องมือดังนี้แล้ว จะไม่พลั้งพลาด ใครจะมาชักชวนให้ทำอะไรในทางที่ไม่ดีไม่งาม หรือใครจะมายั่วยุให้โกรธให้เกลียดกับใคร เราก็รู้ทัน เช่น ใครจะมาช่วยให้เราไปทำกรรมที่ชั่ว เช่นไปฉกชิงวิ่งราวใคร ให้ไปเล่นการพนันที่ไหนเราก็ใช้ธรรม 7 อย่างนั้นเข้าเทียบดูว่าดีหรือไม่ สมควรหรือไม่สมควร เมื่อเราใช้ศรัทธาเข้าจับ ใช้หิริโอตตัปปะเข้าจับเป็นต้นแล้ว เราก็จะรู้ทันทีว่าไม่ดี ไม่สมควร เป็นสิ่งที่ควรงดเว้น คนที่ประพฤติผิดประพฤติชั่ว ล้วนแต่คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองใจทั้งนั้น คนมีธรรมสำหรับคุ้มครองใจแล้วย่อมไม่ประพฤติชั่วประพฤติผิด

บ้านเมืองที่ไม่มีเสาระเนียดเป็นเครื่องปัองกันภายนอก ไม่ได้ขุดคูไว้เป็นเครื่องขัดขวาง ไม่ทำเชิงเทินไว้ป้องกันให้แน่นหนา ไม่มีศัสตราวุธไว้ให้พร้อม ไม่มีกำลังพลไว้อุดหนุน ไม่มีคนคอยเฝ้าประตูป้องกัน ไม่ทำกำแพงไว้ให้แน่นหนา ถ้าข้าศึกจู่โจมมาก็เข้าได้ง่าย แต่เมื่อได้ตระเตรียมเครื่องป้องกันไว้พร้อม ข้าศึกจู่โจมมาก็เข้าโจมตียากหรือเข้าไม่ได้ฉันใด คนเราแต่ละคนก็เหมือนกัน เมื่อไม่มีธรรมเป็นกำลังภายใน มีแต่ใจเปล่าๆ เหมือนบ้านเมืองไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ทนต่ออารมณ์ฝ่ายต่ำไม่ได้ เมื่ออารมณ์ไม่ดีมากระทบก็เป็นไปทันที

ใครมาหลอกก็เชื่อตามคำหลอก ใครมาชวนก็เชื่อตามคำชวน ใครยั่วก็เป็นไปตามเรื่องที่ถูกยั่ว ความกำหนัด รักใคร่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อิจฉาริษยา อยากได้ใคร่ดี อยากมีอยากจน เกิดขึ้นครอบงำใจเพราะคนไม่มีธรรมทั้งสิ้น ถ้าเรามีธรรมะ 7 ประการอยู่ประจำใจ ใครจะมาหลอกก็มาหลอกเราไม่ได้ เพราะมีศรัทธาเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมอยู่แล้ว เรามีความละอายบาปเกรงกลัวต่อผลของบาป ได้เล่าเรียนศึกษามามากแล้ว มีความเพียรกล้าในการละชั่ว ประพฤติดีอยู่แล้ว มีสติปัญญาอยู่แล้ว เหมือนบ้านเมืองที่มีเครื่องป้องกันทั้ง 7 ชั้น

ข้าศึกเข้าทำร้ายลำบากหรือเข้าไม่ได้ คนที่เสียคน โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่เสียคนไปมากมาย ต้องได้รับสัญญาใหม่ว่าอันธพาล ทางราชการต้องจัดสถานที่ให้อยู่ใหม่ที่ลาดยาวเป็นต้น ก็คนดีๆ ทั้งนั้นแต่ทำไปเพราะหลงผิดชั่วขณะ ครั้นแล้วก็ดื้อเคยตัวเห็นชั่วเป็นคนดี จิตใจมืดมิดไปหมด มารดาบิดาครูอาจารย์ จะเดือดร้อนเสียหายอย่างไร ไม่ยอมรับรู้ด้วย กลายเป็นผู้ก่อทุกข์ให้พ่อแม่ อันที่จริงไม่มีใครอยากเป็นเช่นนั้นเลย แต่เป็นเพราะประมาทพลั้งเผลอ ที่ประมาทพลั้งเผลอก็เพราะขาดธรรมเป็นหลักใจ

จึงขอชักชวนให้ช่วยกันนึกถึงเรื่องนี้ให้มากๆ ให้ช่วยตักเตือนลูกหลาน เด็กๆ ก็ให้เห็นใจพ่อแม่ว่า เมื่อเราเสียไปแล้ว ท่านจะมีความโทมนัสสักเพียงใด กลายเป็นก่อทุกข์ให้พ่อแม่ผู้หวังดีต่อเรา ขออย่าเป็นผู้ประมาท หาโอกาสศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมกันเถิด เราจะได้อยู่เย็นเป็นสุขนอนตาหลับไม่ต้องเกรงภัย

ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ท่านผู้ฟังทุกท่านฯ




ที่มา เว็บธรรมจักร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ธรรม ธรรมะ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระธรรมปาโมกข์รูปที่ ๑๑ : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 4477 กระทู้ล่าสุด 26 เมษายน 2555 19:35:51
โดย Kimleng
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1320 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2560 20:00:08
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) วัดสุปัฏนารามฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1264 กระทู้ล่าสุด 21 เมษายน 2560 05:44:33
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) วัดสุปัฏนารามฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1082 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2560 12:38:53
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 840 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2561 13:06:25
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.369 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มีนาคม 2567 12:30:51